เงินเฟ้อรอบนี้ สินทรัพย์ประเภทไหนทำได้ดีบ้าง ?

Which inflation hedge worked this time?

เงินเฟ้อรอบนี้ สินทรัพย์ประเภทไหนทำได้ดีบ้าง ?

Which Inflation hedges have worked?

อันนี้เป็นบทความของ Morningstar ที่ผมก็คิดว่าน่าสนใจดี คือเค้าดูว่าช่วงเงินเฟ้อสูงรอบนี้ สินทรัพย์อะไรที่ทำได้ดีบ้าง สินทรัพย์ที่ปกติคนเชื่อว่าดีช่วงเงินเฟ้อดีจริงหรือเปล่า แต่อันนี้คือต้องเข้าใจก่อนว่าเค้ากำลังพูดถึงระยะสั้นนะ https://www.morningstar.com/articles/1113374/which-inflation-hedges-have-worked

เค้าดูแยกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ ซึ่งคือมีทอง, commodities อื่นนอกเหนือจากทอง, อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด, อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหุ้น

ผลที่ได้คือพวก commodities ที่ไม่ใช่ทองทำได้ดีมาก ซึ่งอันนี้ก็คงเป็นเพราะมันรวมพวกพลังงานที่ราคาสูงขึ้นเยอะมากจากปัจจัยเรื่องสงคราม แต่โดยรวมแล้วราคาน้ำมันก็จะสูงในช่วงที่ความต้องการสูงด้วยเช่น 2007, 2010, 2017 ดังนั้นแปลว่าในช่วงไหนที่เงินเฟ้อสูงจากความต้องการสูง สินทรัพย์กลุ่มนี้ก็อาจจะทำได้ดีตามไปด้วย หรือก็คืออาจจะมีประโยชน์ในการสู้กับเงินเฟ้อในสถานการณ์แบบนั้น

แต่ที่แปลกใจคือทองดูทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไม่ถึงกับแย่ แต่ก็มูลค่าลดลงและผิดกับภาพที่ปกติเราจะมองว่ามันสู้กับเงินเฟ้อได้ดี

ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ลิสต์ในตลาด พวกนี้ก็คล้ายกับหุ้นคือมูลค่าลดลง ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่นอกตลาด ข้อมูลหายากหน่อยแต่เท่าที่ดูคือไม่ได้ชนะเงินเฟ้อ แต่ไม่ถึงกับเลวร้าย

กลุ่มที่สองคือพวกที่จ่ายดอกเบี้ย

Inflation bonds ที่ผลตอบแทนมีส่วนที่คงที่กับส่วนที่เพิ่มตามเงินเฟ้อทำได้ดีก็ไม่ได้น่าแปลกใจ แต่ที่่แปลกใจคือกลุ่ม TIPS ซึ่งก็ควรจะสู้กับเงินเฟ้อดูจะทำได้แย่กว่ามาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

กลุ่มสุดท้ายคือ alternative strategies กลุ่มนี้ปกติเค้าก็ไม่ได้บอกว่าเอาไว้สู้กับเงินเฟ้อหรืออะไร แต่แค่ปกติจะเอาไว้คาดหวังผลตอบแทนที่ต่างจากสินทรัพย์ประเภทอื่น

อันที่ดูทำได้ดีมากคือ Systematic Trend Funds ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลงทุนใน futures และได้รับประโยชน์จากราคา commodities ที่สูงขึ้น ส่วนอันอื่นๆก็ดูจะไม่เลวร้าย คือขาดทุนแต่ไม่ถึงกับเละ

สรุปแล้วคือดูเหมือนสินทรัพย์ที่รอดจากเงินเฟ้อสูงในระยะสั้นได้ก็ดูจะไม่ค่อยมีนะ Inflation bond นี่ปกติมันจะจำกัดการซื้อ

แล้วมันมีความหมายอะไรกับการลงทุนเราหรือเปล่า เอาตามตรงคือถ้าเราลงทุนระยะยาวอยู่แล้วสิ่งนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมาก รู้ไว้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเฉยๆครับ

ส่วนอันนี้คือ list ของที่มาว่าเค้าใช้อะไรเป็นตัวแทนของสินทรัพย์แต่ละหมวด
Nongold commodities—iShares S&P GSCI Commodity-Indexed Trust GSG
Gold—SPDR Gold Shares GLD
Real estate: private—Winans Real Estate Index
Real estate: public—Morningstar Category average, U.S. real estate funds
I Bonds—Author’s calculation, based on U.S. Treasury data
Floating-rate bonds—iShares Floating Rate Bond ETF FLOT
Short TIPS—iShares 0-5 Year TIPS Bond ETF STIP
Nontraditional bond funds—Morningstar category average
TIPS—iShares TIPS Bond ETF TIP
Systematic trading funds—Morningstar Category average
Macro trading funds—Morningstar Category average
Event-driven funds—Morningstar Category average
Multistrategy funds—Morningstar Category average
Relative value funds—Morningstar Category average
Options-trading funds—Morningstar Category average
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไงให้พอร์ตเกษียณไม่พังจากตลาดตก ?

What to do with the retirement portfolio in the bad year?

ทำไงให้พอร์ตเกษียณไม่พังจากตลาดตก ?

ทำไงให้พอร์ตเกษียณไม่พังจากตลาดตก

วีดิโอนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากวีดิโอรอบที่แล้วที่พูดถึงการจัดการเงินสำหรับการเกษียณครับ มีคนถามว่าในช่วงเวลาตลาดหุ้นตกรุนแรง เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรให้เงินลงทุนของเราไม่พัง

ผมก็เข้าใจความเป็นห่วงนะ และเดี๋ยวตอบโดยแบ่งคนเป็นช่วงอายุ 3 ช่วง เพราะแต่ละช่วงอายุผมว่าสิ่งที่ควรทำมันไม่เหมือนกัน

สำหรับคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี
เอาจริงๆคือยังอยู่ในช่วงที่กำลังสะสมทรัพย์สินอยู่ มีเวลาลงทุนอีกซักพักใหญ่
ทำให้กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงน้อยสุด
จะมีเพียงความเสียหายทางจิตวิทยาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากหน่อย แต่เป้าหมายของพอร์ตไม่ได้มีปัญหาอะไร ไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะยังมีเวลาอีกหลายปีกว่าที่จะเกษียณ
เรื่องสำคัญตอนนี้น่าจะคือการโฟกัสไปยังสิ่งที่เราควบคุมได้ ซึ่งคืออัตราการออม
ในช่วงที่ตลาดตกรุนแรง อัตราการออมเราเท่าเดิมแต่เราจะซื้อหุ้นได้เยอะขึ้น ถ้าเป็นไปได้เราควรจะเช็คดูว่าเราสามารถเพิ่มอัตราการออมขึ้นอีกได้มั้ย
อีกอย่างที่ควรทำคือเช็คสัดส่วนการลงทุน (allocation) ของสินทรัพย์ไม่หลุดออกจากเป้าหมายมากนัก การ rebalance ในช่วงนี้ก็จะเป็นเหมือนการซื้อสินทรัพย์ที่ราคาตกลงมาเยอะกว่า เหมือนอารมณ์ซื้อของถูก

สำหรับกลุ่มคนอายุ 41 – 55 คือยังไม่เกษียณแต่ใกล้ ๆ ละ
เรื่องที่เหมือนกับช่วงอายุแรกคือ ยังไงก็ยังให้ความสำคัญ กับอัตราการออม การออมเพิ่มในเวลานี้จะส่งผลไปในอนาคตอีกไกล ถ้าเป็นไปได้ไหนสมมติเราไม่มีภาระอะไร ลองดูว่าเราสามารถเพิ่มอัตราการออมขึ้นอีกได้มั้ย
ช่วงอายุนี้ สัดส่วน allocation เป็นเรื่องสำคัญสุด ถ้าเป็นไปได้เราควรจะต้องมีสัดส่วนที่มีสมดุลระหว่างสินทรัพย์ปลอดภัยกับเสี่ยงมากขึ้น อาจจะทยอยลดหุ้นไปเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นและระยะกลาง ตามอายุที่เข้าใกล้การเกษียณมากขึ้น
หรือถ้าใกล้ปีเกษียณมากแล้ว อาจจะควรเริ่มมีส่วนที่เป็นเงินสดบ้าง
โดยรวม หลักสำคัญสำหรับช่วงอายุนี้คือ ”ความสมดุล”
และสำหรับคนวัยนี้ การวางแผนเกษียณควรจะเป็นเรื่องที่ต้องลงรายละเอียดจริงจังแล้ว เช่น
ประมาณเงินที่ต้องใช้ เผื่อพวกเรื่องพิเศษด้วยเช่น ซื้อรถใหม่, ซ่อมบ้าน, ฯลฯ
จะย้ายถิ่นที่อยู่ไหม หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรใหญ่ ๆ กับการดำเนินชีวิตมั้ย
ควรจะถอนเงินมาใช้ด้วยอัตราเท่าไหร่ดี หลังวันที่เราไม่มีรายได้ประจำแล้ว

สำหรับกลุ่มที่เกษียณอยู่แล้ว (55+)
สำหรับคนที่เกษียณอยู่ สิ่งที่จะควบคุมได้ก็คืออัตราในการถอนเงินมาใช้
จากงานวิจัยที่เราศึกษา การที่เราสามารถที่จะมีความยืดหยุ่นในการถอนเงินได้จะทำให้เราได้เปรียบกว่าการถอนแบบคงที่ เช่นถ้าสมมติเป็นช่วงตลาดกำไรดี เราก็อาจจะถอนออกมาใช้เยอะหน่อยได้ และถ้าเป็นช่วงตลาดตก เราก็อาจจะถอนออกมาน้อยหน่อย แต่ก็ต้องสัมพันธ์กับเงินต้นคงเหลือที่จะเพียงพอให้มีสำรองใช้ไปนาน ๆ เช่นกัน
โดยรวมแล้วเราควรจะพิจารณาปีที่ผ่านมาเต็มปีว่าความเหมาะสมของการถอนคือเท่าไหร่ และอาจจะดูด้วยว่าจะลดออกจากสัดส่วนสินทรัพย์ใด จึงจะเหมาะสมที่สุด (เช่น ปีนี้หุ้นลงทั้งปี แต่ปัจจัยยังดีอยู่ก็อาจขายส่วนหุ้น น้อยหน่อย แต่ไปขายมากขึ้นในส่วนตราสารหนี้แทน เป็นต้น)
ในพอร์ตควรจะมีเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้นความเสี่ยงต่ำไว้ตลอด เพื่อสำรองค่าใช้จ่ายระหว่างทาง และยามฉุกเฉิน

สุดท้ายที่สำคัญคือ พยายามอย่าติดตามข่าวมากนัก ให้ยึดและเดินตามแผนเกษียณที่วางไว้จะดีกว่า คนที่ติดตามข่าวสารมากไปจะรู้สึกว่าต้องลงมือทำอะไรซักอย่างอยู่ตลอด ซึ่งเป็นอันตรายกับแผนเกษียณมากกว่าจะเป็นเรื่องดี

ขอให้นึกไว้เสมอว่าเหตุการณ์ตอนนี้ไม่ใช่วันสิ้นโลก เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวและคนเรายังจะพยายามทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นพัฒนาต่อไป

หวังว่าจะช่วยคลายความกังวลลงได้ มีแนวทางยึดแผนเดิมต่อไป ไม่ต้องคอยซื้อตามข่าวตลาดอยู่ตลอดเวลาครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนใน REIT Leasehold ควรจะอายุสัญญาเหลืออย่างน้อยกี่ปี ?

For leasehold REIT, is the longer the number of years left the better?

ลงทุนใน REIT Leasehold ควรจะอายุสัญญาเหลืออย่างน้อยกี่ปี ?

อันนี้มีคนถามเข้ามา โฟกัสไปที่ REIT ที่เป็น Leasehold ที่มีอายุสัญญาจำกัด

ลงทุนตอนอายุหลือเยอะๆดีกว่าใช่มั้ย ? ไม่ใช่ครับ

ควรหลีกเลี่ยงเมื่ออายุสัญญาเหลือกี่ปี ? ไม่เกี่ยวเลยครับ สัญญาเหลือปีเดียวอาจจะดีกว่าก็ได้

คือเราไม่สามารถสรุปจากปัจจัยอายุสัญญาอย่างเดียวแล้วบอกว่าอะไรหรือไม่ดีได้

เพื่อให้เห็นภาพ ผมยกตัวอย่างง่ายๆนะ

สมมติ REIT เหลืออายุปีเดียว จะปันผลอีก 1 ครั้งเท่านั้น ปันผล 10 บาท แล้วตอนนี้ราคาขายอยู่ 5 บาท คุ้มค่าที่จะซื้อมั้ย ? เป็นการลงทุนที่ผลตอบแทนดีมากมะ ?

ก็แน่นอนถูกมะ ซื้อ 5 บาทได้ 10 บาทในปีเดียวนี่ 100% เลยนะ สังเกตว่ามันก็ไม่เกี่ยวว่าอายุสัญญาเหลือปีเดียวแปลว่าต้องไม่ดีมะ ?

หรือกลับกันนะ สมมติอายุสัญญาเหลือ 100 ปีเลย จะปันผลอีก 100 ครั้ง ครั้งละ 1 บาท แล้วราคาขายตอนนี้อยู่ 100 บาท คุ้มมั้ยน่ะ ? เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีมะ ?

ดังนั้นสิ่งที่จะสื่อคือ การลงทุนในอะไรซักอย่างจะดีหรือไม่มันไม่ได้ดูเรื่องเดียวแล้วสรุปน่ะครับ เราไม่สามารถบอกว่าอายุสัญญายาวแปลว่าดีกว่าเสมอมันไม่ได้ไง

โดยปกติการประเมินว่าลงทุนไปคุ้มมั้ยนี่มันมีอยู่ 3 เรื่องครับ
ลักษณะ Payoff ที่คาดว่าจะได้ ได้กี่บาท จะปันผลหรือ capital gain ก็แล้วแต่ ได้เมื่อไหร่
ราคาซื้อที่เราซื้อ
ความแน่นอนว่า payoff ที่ว่าจะเกิดขึ้นอย่างที่คาด อย่างเลวร้ายมันจะประมาณไหน
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมกองทุนบางกองถึงปิด ?

Why are some funds closed?

ทำไมกองทุนบางกองถึงปิด ?

ทำไมกองทุนบางกองถึงปิด ?

มีคนถามว่าทำไมมันถึงมีเหตุการณ์ที่กองทุนรวมปิดกอง

คืออันนี้ผมไม่แน่ใจว่าถามถึงปิดกองแบบไหน ปิดกองมันมี 2 แบบ
ปิดแบบไม่รับเงินลงทุนเพิ่ม แต่กองทุนยังดำเนินการอยู่นะ
ปิดแบบเลิก คือขายทรัพย์สินคืนเงินให้กับผู้ลงทุน

ทีนี้คำถามว่าทำไม

สมมติว่าคนถามหมายถึงปิดกองแบบไม่รับเงินลงทุนเพิ่ม เคสพวกนี้เท่าที่เห็นเกิดไม่ค่อยบ่อย สาเหตุที่เค้าไม่รับเงินลูกค้าเพิ่มเป็นเพราะวิธีการหรือ scope การลงทุนของกองอาจจะรองรับเงินลงทุนได้จำกัด ถ้าเงินเยอะไปอาจจะไม่สามารถลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้จัดการกองทุนเลยปิดไม่รับเพิ่ม เช่นสมมติเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นเล็กในตลาดเกิดใหม้เท่านั้นอะไรงี้ ถ้าเงินลงทุนขนาดใหญ่ไปก็อาจจะทำให้ผู้จัดการกองทุนหาโอกาสที่ดีไม่ได้

ส่วนกรณีที่ปิดแบบเลิก อันนี้ก็ทั่วไปนะ หลักๆก็ไม่มีอะไรมาก คือเค้าเลิกเพราะมันไม่คุ้มจะทำต่อครับ เช่นผลงานลงทุนอาจจะไม่ดี ลูกค้าเลยทยอยถอนเงินลงทุน แล้วก็เลยทำให้ทำไปไม่คุ้มก็เลยประกาศปิดกอง หรืออย่างตอนปีโควิด มันมีกองทุนของ TMB ที่่ประกาศปิดกองเพราะคนตกใจโควิดแห่เทขาย เค้าเกรงว่าการแห่เทขายอย่างเร็วจะทำให้ราคาตราสารหนี้ตกรุนแรงทั้งที่คุณภาพสินทรัพย์ยังดีอยู่ เค้าเลยประกาศปิดกองเพื่อให้มีเวลาทยอยขาย ไม่เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุน แต่เคสส่วนใหญ่ก็คือผลการดำเนินงานไม่ดีแหละ หรือไม่ก็คนไม่สนใจอาจจะเป็นกอง niche จัด ไม่คุ้มทำต่อก็เลยเลิกไป

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมตลาดผันผวนอีกแล้ว ทำไงต่อดี ?

Situation update Oct 2022 - Why are the market crashing again?

ทำไมตลาดผันผวนอีกแล้ว ทำไงต่อดี ?

ทำไมตลาดผันผวนอีกแล้ว ทำไงต่อดี ?

ในช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นตก ดูเหมือนมีคนถามเกี่ยวกับสถานการณ์ภาพรวมหลายคน ผมเลยรวบรวมคำถามมาตอบเป็นข้อๆครับ

    ตลาดหุ้นตกเรื่องอะไร ?

จะบอกว่าเรื่องเดิมกับเมื่อต้นปีครับ ไม่ได้มีอะไรต่างไปในสาระสำคัญ หลักๆคือเริ่มมาจากเงินเฟ้อที่สูงจากความต้องการที่สูงขึ้นพรวดช่วงปลายปี 2021 กับสงครามที่ทำให้ราคาพลังงาน, อาหาร, ค่าแรงสูงขึ้น แล้วก็เลยทำให้ราคาของสินค้าเกือบทุกประเภทสูงขึ้นตาม ทีนี้ธนาคารกลางทั่วโลกก็พยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ได้อย่างรวดเร็ว Fed ประกาศตั้งแต่แรกว่าเอาจริงนะ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะควบคุมเงินเฟ้อได้ แล้วก็เลยมีความกังวลว่าเศรษฐกิจจะหดตัวจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างรวดเร็ว

ถ้าสังเกตก็คือเรื่องเดียวกับตอนต้นปีเป๊ะ

    แล้วมีโอกาสจะเกิดเศรษฐกิจหดตัวมั้ย ?

ส่วนตัวผมพูดเหมือนเดิมกับต้นปีคือเชื่อว่าน่าจะเกิด เพราะการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นการลดฝั่งอุปสงค์ของตลาด ดังนั้นถ้าเกิดการบริโภคและการลงทุนลดลงอยู่รุนแรงมากไปก็อาจจะทำให้การเติบโตหลุดไปทางติดลบได้

และที่ผ่านมาในอดีตเคยมีเหตุการณ์เงินเฟ้อสูง Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงๆเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ในเวลานั้นก็มีเศรษฐกิจหดตัว การว่างงานสูงขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นไปแล้ว

แต่ทั้งนี้ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาถาวรอะไร เพราะอย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่าการหดตัวของเศรษฐกิจลักษณะนี้ ไม่เหมือนวิกฤติที่มาจากการใช้เงินเกินตัว มีการกู้ยืมเงินจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจแล้วเกิดฟองสบู่ ไม่เหมือนปี 2008 ไม่มีธนาคารล้ม และตัวอย่างในอดีตเศรษฐกิจก็ฟื้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

    แปลว่าตลาดหุ้นจะตกต่ำไปกว่าตอนนี้มั้ย ?

เป็นไปได้ แต่ผมก็ไม่มีทางรู้หรอกครับ

อันนี้เป็นคนละประเด็นกับคำถามก่อนหน้าเลย การเดาเศรษฐกิจ ต่อให้เราเดาถูก ไม่ได้แปลว่าเราจะเดาอารมณ์ตลาดถูก

ซักพักสมมติ เงินเฟ้อลดละ แล้วเศรษฐกิจก็หดตัวตามคาด คำถามคือตลาดหุ้นจะตกมั้ย

อาจจะตกก็ได้ครับ เพราะในเวลานั้นเศรษฐกิจก็จะหดตัว คนว่างงานเยอะขึ้น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็จะไม่ดี คนก็อาจจะตกใจว่าเฮ้ยมันจะเศรษฐกิจหดตัวยาวนานมั้ย หุ้นก็อาจจะตกก็ได้ จริงๆอย่างในเวลานี้พวกที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเช่นพวกที่เกี่ยวกับบ้านก็ออกมาบอกละว่าเห็นความต้องการหดตัวลง

หรืออาจจะหุ้นขึ้นก็ได้ครับ เพราะในเวลานั้นเงินเฟ้อลดลง คนก็อาจจะมองว่าปัญหาจะเริ่มจบละ เดี๋ยว Fed ก็น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยกลับลงมา ทุกอย่างก็จะกลับเข้าสู่สภาพปกติ ตลาดก็อาจจะดีใจมองข้ามเศรษฐกิจถดถอยชั่วคราวก็ได้

สิ่งที่ผมแนะนำคืออย่าไปกังวลเลยว่าหุ้นจะตกต่ำไปกว่าตอนนี้มั้ย เอาเป็นว่าคุณดูบริษัทที่คุณชอบ เชื่อมั่นว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคต และถ้าราคามันตกต่ำมามากพอแล้ว ซื้อได้ถูกเพียงพอก็คือใช้ได้ ไม่ได้ต้องมานั่งเพ่งพยายามเดาหาจุดต่ำสุด ยังไงก็ไม่มีทางรู้อยู่แล้ว

    ทำไมหุ้นไทยเข้มแข็งจัง ตกน้อยกว่าหุ้นโลก

ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ถ้าให้เดาเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยน่าจะยังดีอยู่นะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเริ่มเปิดการท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    เป็นไปได้มั้ยที่เงินเฟ้อจะสูงไปเรื่อยแบบควบคุมไม่ได้ ?

อันนี้ก็เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ คือต้องเข้าใจว่าเงินเฟ้อคือราคาสินค้าถูกมะ สมมติความต้องการสินค้าถูกกดจนเป็น 0 นะ ไม่มีใครซื้ออะไรทั้งสิ้น ซื้อสินค้าจำเป็นพอชีวิตรอดอย่างเดียว ราคาสินค้าทุกอย่างมันก็ต้องตกฮวบเพราะมันขายไม่ได้ครับ แค่นั้นเอง

แล้วจริงๆในเวลานี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็เริ่มมีผลนะ เพียงแต่มันจะมีผลกับกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มก่อนเช่นพวกที่เกี่ยวกับบ้าน เพราะพวกนี้ปกติคนซื้อไม่ได้ซื้อเงินสด การขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านสูงขึ้น

และแน่นอนทำให้ยอดขายบ้านลดลง


ส่วนการบริโภคในกลุ่มอื่นยังไม่ลง อ้างอิงจาก American Express กับ Bank of America ทั้งคู่พูดไปในทิศทางเดียวกันว่ายอดใช้บัตรเครดิตของผู้บริโภคสูงขึ้นมากกว่าที่คิดมาก โดยเฉพาะท่องเที่ยวนี่ American Express บอกเพิ่มสูงขึ้น +57% เลย

นอกจากนั้นในเวลานี้ ปัจจัยหลักอื่นที่เป็นตัวหนุนให้เงินเฟ้อสูงแต่แรกก็เริ่มลดลงบ้าง อย่างที่ทราบคือมันมีพลังงาน, อาหาร, ค่าขนส่งกับค่าแรงถูกมะ อาหารนี่ต้นทุนราคาลงละ การขนส่งเช่นกัน ค่าแรงยังเพิ่มขึ้นอยู่แต่อัตราการเพิ่มของค่าแรงก็เริ่มลดลง ส่วนราคาพลังงานยังสูงขึ้นอยู่

ส่วนที่ยังสูงอยู่คือราคาพลังงานโดยรวม

    ควรจะลงทุนหรือควรจะถือเงินสดรอ หรือควรจะขายหุ้นมั้ย ?

ตรรกะของเรื่องคือ มันขึ้นกับว่าเราสามารถถือยาวได้มั้ย time frame ในการวัดผลเราคือนานแค่ไหน

สมมติเราจะวัดผลกันสิ้นปีนี้ ก็ไม่น่าจะควรลงทุนนะ ผมไม่ได้บอกว่าตลาดจะลงแน่นอนหรืออะไร แต่ในเมื่อตอนนี้เงินเฟ้อยังสูง และผมเชื่อว่าเศรษฐกิจต้องมีหดตัว ตลาดก็อาจจะตกใจอีกก็ได้ไง หรือตลาดอาจจะคลายความกังวลแล้วขึ้นก็ได้

แต่สมมติเราลงทุนระยะยาว งั้นช่วงนี้ก็โอกาสหาหุ้นราคาถูกนี่ ไม่รู้แหละว่าปัญหาจะจบเมื่อไหร่ แต่ปลายทางบริษัทที่มีอำนาจก็จะรอดออกมาและกลับไปทำได้ดีเหมือนเดิม เรามีหน้าที่หาบริษัทแบบนั้นและฉวยโอกาสซื้อตอนที่มันราคาถูกผิดปกติครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

มองหาโอกาสในการลงทุนอย่างไร ?

How to look for opportunities?

มองหาโอกาสในการลงทุนอย่างไร ?

มีคนถามว่าปกติผมมองหาโอกาสในการลงทุนอย่างไร

ในฐานะที่เราลงทุนด้วยการเลือกหุ้นรายตัวแบบ Active เนี่ย จุดมุ่งหมายของเราคือทำไงให้ได้ผลตอบที่ดีกว่าสิ่งที่ทำได้จากการลงทุนกองทุน passive

คำถามต่อมาคืออะไรที่จะทำให้เรามีโอกาสตัดสินใจได้ผลลัพธ์ดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดล่ะ แน่นอนโชคมีผลครับ แต่ถ้าจะให้ทำได้ดีกว่าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโชคอย่างเดียวอาจจะไม่พอ

ถ้าเราอยากให้ผลลัพธ์ของเราแตกต่างจากค่าเฉลี่ยของตลาด (ไม่ว่าจะแย่กว่าหรือดีกว่า) เราก็ต้องมีการตัดสินใจที่แตกต่างจากคนอื่น และการที่เราจะตัดสินใจแตกต่างจากคนอื่นโดยปกติก็จะมาจากการที่เรามีมุมมองที่แตกต่างจากคนอื่น

สิ่งที่ผมพบก็คือว่าทุกคนสามารถไปลงคอร์สบัญชีหรือการเงิน สอบ CFA อ่านหนังสือเยอะๆ หรือสะสมความรู้เกี่ยวกับการลงทุนได้เหมือนกันหมด แต่จะมีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่สุดท้ายจะมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนอื่น แล้วทำให้การตัดสินใจได้แตกต่างจากคนอื่น และจึงจะมีผลลัพธ์ที่ดีกว่าคนอื่น สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นคือความสามารถในการคิดสองชั้น

Terms นี้ผมต้องให้เครดิตนิดนึงว่าผมเอาคำเรียกกระบวนการคิดแบบนี้มาจาก Howard Marks นะครับ

อะไรคือการคิดสองชั้น ?

การคิดสองชั้น พูดง่ายๆคือการคิดไปไกลกว่าตลาดอีกขั้นนึง เป็นการมองข้ามช็อต เช่น

Ex.1
คิดชั้นเดียวบอก “Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เศรษฐกิจต้องไม่ดีแน่ ขายหุ้นดีกว่า”
ความคิดสองชั้นบอก “ปีหน้าเศรษฐกิจอาจจะไม่ดี แต่มันไม่ใช่ว่าจะไม่ดีตลอดไปนี่ เพราะ Fed ก็ไม่ได้จะขึ้นดอกเบี้ยเรื่อยๆไม่มีเหตุผล ถ้าคนจะแห่ตกใจขายแบบนี้ได้เวลาซื้อของถูกละ ควรจะมองมันเป็นโอกาสนะ”

Ex.2
คิดชั้นเดียวบอก “หุ้น Semiconductor นี้ไม่ดี ผลิตเยอะเกินความจำเป็น กำไรต้องหดแน่นอน ขายๆ”
การคิดสองชั้นบอก “หุ้น Semiconductor ตอนนี้อาจจะไม่ดี ดูเหมือนตอนนี้ผลิตเยอะเกินจริง แต่ทุกคนรู้หมด มีแต่คนแห่กันขาย ในอนาคตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีแต่ความต้องการจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้อาจเป็นโอกาสดีที่จะซื้อธุรกิจที่แนวโน้มเติบโตดีในอนาคตในราคาถูก ควรจะเริ่มมองหาโอกาสซื้อนะ”

Ex.3
คิดชั้นเดียวบอก “ภาคอสังหาจีนดูมีปัญหา หุ้นจีนไม่ดีๆ เป็นปัญหา”
ความคิดสองชั้นบอก “ภาคอสังหาจีนมีปัญหาจริง แต่ไม่ใช่มันจะไม่ดีทั้งประเทศ ถ้าตลาดตกใจเกินเหตุอาจจะหาโอกาสที่ดีได้ เราก็มองไปหาธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบสิ”

จะสังเกตว่าการคิดชั้นเดียวมันตรงไปตรงมา ใครๆก็สามารถทำได้ ทุกคนพูดถึงเหมือนๆกันหมด ส่วนการคิดสองชั้นมันจะซับซ้อนมากขึ้น ต้องทำการบ้านเยอะขึ้น ถามคำถามเยอะขึ้น เช่น

แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจะออกมาหน้าตาแบบไหนได้บ้าง
ในความเห็นเรา เราเชื่อว่าบริษัทจะทำได้ดีหรือไม่ดี
ทำไมเราถึงเชื่อแบบนั้น มีหลักฐานอะไรสนับสนุนบ้าง
แล้วความเห็นส่วนใหญ่คิดว่ายังไง
ความคิดเห็นเราต่างจากของคนส่วนใหญ่มั้ย อย่างไร เพราะอะไร
สภาวะจิตของตลาดช่วงนั้นผิดปกติหรือเปล่า คนกำลังตื่นเต้นหรือตกใจมากเกินไปหรือไม่
แล้วถ้าเกิดเราคาดการณ์ถูก จะเกิดอะไรขึ้น เราทำกำไรอะไรได้มั้ยจากเรื่องนี้

จะเห็นว่า มันเหมือนเวลาเล่นหมากรุกแล้วมองหมากต่อไปข้างหน้าด้วยไม่ใช่แค่หมากตาที่เล่นอยู่เท่านั้น มันจะเป็นเหมือนการลงทุนที่เราคิดไปไกลกว่าสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญกันอยู่ แล้วลงทุนดักทางไว้ล่วงหน้าก่อนที่คนอื่นจะนึกทัน

และข่าวดีคือ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบทำอะไรยากๆ ดังนั้นส่วนใหญ่จะอยู่แค่คิดชั้นเดียว การที่มีคนคิดชั้นเดียวเยอะๆ ทำให้คนที่คิดสองชั้นทำกำไรได้เยอะขึ้นมีโอกาสมากขึ้น ดังนั้นสรุปง่ายๆ ถ้าเราจะมีผลลัพธ์ลงทุนกำไรเยอะๆ เราก็ต้องหัดเป็นพวกที่คิดสองชั้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะรู้ได้ยังไงว่าค่าใช้จ่ายพิเศษ มันจะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวจริงๆ ?

How do we know one-time charge is really one time?

จะรู้ได้ยังไงว่าค่าใช้จ่ายพิเศษ มันจะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวจริงๆ ?

จะรู้ได้ยังไงว่าค่าใช้zจ่ายพิเศษ มันจะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวจริงๆ ?
คำถามนี้ยาก ทุกบริษัทเวลาที่รายงานค่าใช้จ่ายพิเศษก็แน่นอนว่าต้องบอกว่ามันเป็นอะไรที่พิเศษไม่ได้มีบ่อยๆอยู่แล้ว

ผมไม่ได้มีวิธีการอะไรเป็นพิเศษ โดยปกติก็จะดูว่า

1. รายการที่ว่านั่นคืออะไร มีเหตุการณ์อะไรที่สอดคล้องและเราเห็นที่มาของรายการนั่นหรือเปล่า ถ้าเห็นที่มาชัดเจนก็ดูว่าเหตุการณ์ที่เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายพิเศษนี่มันเป็นเหตุการณ์ครั้งเดียวจริงมั้ย หรือถ้ารายการนั่นไม่มีรายละเอียดชัดเจนปกติผมก็จะระแวงไว้ก่อน
2. ปีก่อนๆมีรายการแบบเดียวกันมั้ย ถ้าเห็นมีแบบเดียวกันอยู่เป็นระยะงั้นผมก็จะตั้งสมมติฐานว่าค่าใช้จ่ายพวกนี้จะมีอยู่ตลอดไปก่อน
3. ผู้บริหารในอดีตมีการสื่อสารที่ดีมั้ย คือถ้าดูแล้วในอดีตเค้าพูดถึงปัญหาเล่าให้ฟังแบบเปิดเผยปกติ แบบนั้นผมก็จะเชื่อไว้ก่อน แต่ถ้าที่ผ่านมาปกติชอบเลี่ยงการพูดถึงปัญหาหรือดูแนวพูดแต่เรื่องดีผมก็จะระแวงไว้ก่อน

เหตุการณ์แบบไหนที่เราต้องแคร์ ?

What kind of events should we be worried about?

เหตุการณ์แบบไหนที่เราต้องแคร์ ?

วีดิโออันนี้ เราจะคุยเรื่อง เหตุการณ์แบบไหนที่เราควรจะต้องแคร์บ้าง

วีดิโอหัวข้อนี้เริ่มจากการที่มีคนถามเกี่ยวกับหุ้นจีน แล้วเค้าก็ยกสาเหตุที่ทำให้หุ้นจีนตกขึ้นมาชุดนึง และบอกว่ามันคงจะกระทบพื้นฐานบริษัทไปพอสมควร แบบนี้ควรจะลงทุนมั้ยหรือขายหรือยังไง ผมสังเกตว่าสาเหตุมันดูมั่วๆไงไม่รู้เกี่ยวบ้างไม่เกี่ยวบ้าง ก็เลยทำวีดิโออันนี้ขึ้นมาครับ

ปัจจัยหรือเรื่องอะไรซักเรื่อง มันจะมีผลกับบริษัทได้อยู่หลายแบบดังนี้
1. ไม่มีผล
2. มีผลกับราคาหุ้นเฉยๆ
3. มีผลกับผลประกอบการของบริษัท แต่ไม่ใช่อะไรถาวร
4. มีผลกับผลประกอบการของบริษัทแบบถาวร

เพื่อความเข้าใจตรงกัน จุดยืนเวลาผมลงทุนนี่มันง่ายมาก ย้ำอีกรอบนะ คือผมฉวยโอกาสซื้อหุ้นที่ดีในราคาที่ถูกผิดปกติโดยอาศัยตอนคนเค้าตกใจกัน โดยผมก็จะพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้นตกนั่นมันมีผลอะไรถาวรกับบริษัทหรือเปล่า ถ้าไม่มีหรือมีผลชั่วคราวก็ยอดเยี่ยมเลย เพราะผมลงทุนระยะยาวรอได้อยู่ละ เราลงทุนข้ามช็อตดักคนอื่นไปก่อนเลย

ดังนั้นจะสังเกตว่า คีย์เวิร์ดคือมีผลกับผลประกอบการของบริษัทแบบถาวรมั้ย แค่นั้น ที่เหลือนอกจากนั้นคือเรื่องไร้สาระที่ผมจะปล่อยให้พวกที่ถือยาวไม่ได้ความอดทนไม่ถึงเค้าคุยกันไปครับ

และเวลาเราพูดถึงว่าอะไรซักเรื่องกระทบกับพื้นฐานของบริษัท ทำให้หุ้นพื้นฐานเปลี่ยนนะ เรากำลังพูดถึงว่าเรื่องนั้นมีผลกับผลประกอบการของบริษัทแบบถาวรครับ แบบอื่นเค้าไม่เรียกว่ากระทบพื้นฐานของบริษัทครับ

ทีนี้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เดี๋ยวเราเอาตัวอย่างขึ้นมาพูดถึงซิ อย่างเคสที่มีคนถามที่เค้าถามถึงหุ้นจีนโดยรวม และพูดถึงเหตุการณ์ต่างๆดังนี้

รัฐบาลจีนกดดันบริษัทใหญ่
อันนี้ไม่มีรายละเอียดว่าพูดถึงอะไร แต่พอเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นนโยบายรัฐบาลที่เพ่งเล็งไปที่ธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างเคสนี้ถือเป็นปัญหาถาวรมั้ย

สมมติพูดถึงหุ้นจีนโดยรวม ซึ่งเป็นมุมมองระดับประเทศรวมทุกอุตสาหกรรมอยู่ในนั้น ก็ชัดเจนอยู่แล้วมั้ยว่าไม่เป็นสาระ ไม่ใช่เรื่องใหญ่แบบว่าเศรษฐกิจจีนจะเละหรืออะไร

แต่ถ้าดูในระดับบริษัท สำหรับธุรกิจที่โดนเพ่งเล็ง ถ้ารัฐบาลจีนปรับเงินเฉยๆ อันนี้ก็อาจจะไม่ใช่ถาวร แต่ถ้ารัฐบาลจีนออกนโยบายที่มันกระทบทำให้ลูกค้าไม่ซื้อของอันนี้จะเป็นถาวรละ เช่นบอกจำกัดไม่ให้เด็กเรียนพิเศษช่วงปิดเทอมหรือเสาร์อาทิตย์อะไรแบบนั้น บริษัทที่เป็นกวดวิชาก็คือเละ ห้ามเด็กเล่นเกม บริษัทที่ทำเกมก็เดือดร้อน

ส่วนบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกลุ่มที่โดนเพ่งเล็ง ก็ไม่นับว่าเป็นปัญหาถาวร เผลอๆไม่เกี่ยวกับผลประกอบการด้วยซ้ำ

Zero Covid
อันนี้มันก็ชั่วคราวตั้งแต่นโยบายละนี่ ก็ชัดอยู่แล้วว่าไม่ใช่อะไรถาวรแน่

บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ล้ม
ในระดับประเทศ เรื่องนี้มันทำให้ความสามารถในการแข่งขันของจีนลดลงหรืออะไรมะ ไม่อยู่แล้วนี่ ดังนั้นก็ไม่ใช่อะไรถาวร ระยะสั้นอาจจะมีก็ได้นะ ถ้ารัฐบาลไม่ระวังปล่อยให้มันลามไปกระทบกลุ่มธุรกิจอื่น แบบธนาคารเจ๊งตามหรืออะไร แต่ก็ไม่ใช่อะไรถาวรสำหรับระดับประเทศอยู่ดี
ส่วนระดับบริษัท อาจจะมีผลกระทบถาวรกับบางบริษัทได้ เช่นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัยพ์ที่เจ๊ง หรือบริษัทที่เเกี่ยวข้องเป็นเจ้าหนี้อยู่เลยเจ๊งตาม อะไรประมาณนั้น พวกเจ๊งเลยนี่ก็จะปัญหาถาวร

ส่วนพวกธุรกิจที่ไม่เกี่ยวก็แทบไม่มีผล อย่างมากมีผลก็ชั่วคราวอีกอยู่ดี

สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ก็ชัดเจนว่าชั่วคราวอยู่แล้วมั้ย หรือเชื่อว่าสงครามนี่มันคือจะเป็นปัญหาถาวรที่จะรบกันไปเรื่อยๆ แล้วจีนนี่เดือดร้อนยังไงนะ ซื้อพลังงานจากรัสเซียปกตินี่

ตึงเครียดไต้หวัน
แล้วมันยังไงรึ คือมีผลกับผลประกอบการของบริษัทไหนยังไงเหรอ อาจมีบางบริษัทที่นำเข้าสินค้าจากไต้หวันมั้ง แต่เค้าก็ไปนำเข้าจากที่อื่นครับ

แต่สมมติมันกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ขึ้นมางี้ โอเคอันนี้เริ่มดูจะถาวรละ คือเราไม่รู้เลยว่าจบสงครามบริษัทที่เราถือหุ้นนี่มันจะยังอยู่มั้ย แบบนี้ค่อยเกี่ยวหน่อย

Delist หุ้นออกจากตลาดหุ้นในอเมริกา
แล้วไงอีกเช่นกัน คือบริษัทพวกนั้นมันจะขายของได้น้อยลงหรืออะไร ถ้าไม่ได้ list อยู่ในตลาดหุ้น US น่ะนะ

ดังนั้นสรุปคือเราต้องมองไปที่ผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก สิ่งที่มันซีเรียสที่เราต้องแคร์คือเหตุการณ์ที่มีผลกระทบถาวรกับผลประกอบการของบริษัทครับ ที่เหลือคือไม่มีสาระอะไร และถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาวนี่ จริงๆเราต้องเฮที่มีเหตุการณ์ชั่วคราวพวกนี้ด้วยซ้ำครับ ไม่งั้นเราจะฉวยโอกาสจากอะไรเหรอ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จัดพอร์ตช่วงปีเกษียณ

Portfolio allocation during retirement

จัดพอร์ตช่วงปีเกษียณ

อย่างที่ทราบกันคือส่วนตัวผมลงทุนในหุ้น 100% เนอะ แล้วก็เคยพูดในวีดิโอเก่าๆอยู่ว่าถ้าสำหรับคนทั่วไปใช้แบบสัดส่วนหุ้นกับตราสารหนี้ หุ้นเท่ากับ 120-อายุ หรือ 100-อายุ ก็ฟังดูเข้าท่า สัดส่วนของหุ้นมันก็จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เท่านั้นไม่ได้มีไอเดียอะไรสำหรับคนที่กำลังเกษียณอายุเป็นพิเศษ

แต่เร็วๆนี้ ที่ทำงานผมออกโปรดักต์ที่สำหรับการจัดการพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณ มันก็เลยบังคับให้ผมต้องพิจารณาเรื่องนี้ละเอียดมากขึ้น

ความแตกต่างสำคัญเลยสำหรับคนที่เกษียณก็คือ มันจะมีความจำเป็นต้องใช้เงิน และโดยปกติก็จะต้องมีการดึงเงินออกจากพอร์ตค่อนข้างสม่ำเสมอ อาจจะไม่เท่ากันทุกปีแต่ใกล้เคียง

ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากการที่มีความจำเป็นต้องถอนเงินออกจากพอร์ตอย่างสม่ำเสมอคือ ในปีที่มูลค่าทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลบเยอะ การดึงเงินออกถึงแม้จะเป็นเงินจำนวนเท่าเดิมแต่จะเป็น % ที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับมูลค่าพอร์ต มันจะทำให้การที่พอร์ตจะฟื้นกลับมาทำได้ยากขึ้น ยิ่งถ้าสมมติเหตุการณ์ที่ว่านั่นเกิดขึ้นในปีแรกๆที่เกษียณ มันจะทำให้โอกาสในการเกษียณได้ปลอดภัยน้อยลงมาก เช่นสมมติพอร์ตตอนแรก 100 บาท แล้วเรากะจะถอน 10 บาททุกปี ไปตลอด 10 ปี ถ้าสมมติว่าตลอดช่วง 10 ปี ทุกปีผลตอบแทนมันจะเท่ากับ 5% ตลอดเลยนะ ยกเว้นปีเดียวที่จะ -20% ผลลัพธ์มันจะต่างกันมากเลยถ้าปีที่ติดลบนั่นเกิดขึ้นเร็วเทียบกับเคสกรณีที่ -20% นั่นเกิดหลัง

ดังนั้นมันก็เลยต้องมีการวางแผนมากกว่าพอร์ตปกติ เรื่องของเสถียรภาพและการมี buffer สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเผื่อถอนเลยกลายเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา

หลังจากที่ศึกษาอยู่ซักพัก รวมถึงการทดลองทำ simulation ด้วย ตอนนี้สิ่งที่เจอคือ
1. การจัดสัดส่วนแบบ fixed ตัว % อาจจะไม่ได้เหมาะซะทีเดียว เพราะบางทีมันขึ้นอยู่จำนวนเงินที่มีและการใช้จ่ายที่ต้องถอนออกไปด้วย
2. เริ่มเห็นด้วยกับคอนเซปต์ของการจัดแบ่งพอร์ตตามวัตถุประสงค์ (goal-based) แบบ 3 ตะกร้า ซึ่งคือบอกว่า
– ตะกร้าแรกลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำมาก ใช้สำหรับสำรองเป็นสภาพคล่องเผื่อถอน
– ตะกร้าที่สองเน้นความเสี่ยงปานกลางเช่นพวกหุ้นปันผลหรือกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ถ้าเป็นไปได้เอาแบบมีปันผลหรือดอกเบี้ยสม่ำเสมอด้วยจะดีมาก เอาไว้สมทบตะกร้า 1 ในปีปกติจะได้มีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์จากตะกร้า 2 หรือ 3 น้อยหน่อย หรือเอาไว้ซื้อตะกร้า 2 หรือ 3 เพิ่มเติมในปีที่สินทรัพย์ราคาตก
– ตะกร้าที่สามลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาหน่อยได้ เพื่อให้เงินมีเวลามีโอกาสในการเติบโตแล้วมาช่วยสมทบกับสองตะกร้าที่เหลือในอนาคต

3. การจัดระเบียบแบบนี้ก็ทำให้จัดการแบบเห็นภาพง่ายกว่า

การจัดพอร์ตควรจะอิงจากความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าที่จะเป็น % เช่น

ตะกร้า 1 ควรจะมีเงินอยู่ในตะกร้า 1 เป็นจำนวนมากพอที่จะดึงมาใช้สำหรับ 1-2 ปี ส่วนตัวมองว่าประมาณปีกว่าๆกำลังดี หรือในกรณีที่มีเงินเยอะอยู่แล้วก็ 2 ปีก็ได้ ความสำคัญของการที่จัดแบบนี้คือเผื่อในกรณีที่ตลาดหุ้นตกรุนแรงในปีนั้น ปลายปีก็จะสามารถถอนเงินมาใช้ได้จากตะกร้านี้ แล้วอาจจะพักไม่เติมตะกร้า 1 ไปซักปีนึง แบบนี้ก็จะไม่ต้องถูกบังคับขายสินทรัพย์ในตะกร้า 2 หรือ 3

ตะกร้า 2 ตะกร้านี้สำหรับคนทั่วไปควรจะมีสัดส่วนใหญ่ที่สุดเป็นตะกร้าหลัก ส่วนตัวมองว่าควรจะมีเงินอยู่ในตะกร้านี้ซะ 8-10 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องเอามาใช้ในแต่ละปี นึกภาพว่าส่วนนี้ถ้าตะกร้า 1 หมดก็จะทยอยขายออกจากตะกร้านี้ไปเติมตะกร้า 1 ตะกร้า 1 กับ 2 มูลค่ารวมกัน ณ วันที่เริ่มจัดพอร์ตก็ควรจะอยู่รอดได้เกิน 10 ปีละ เพราะมันจะมีรายได้ที่ได้จากปันผลหรือดอกเบี้ยของตะกร้า 2 นี่มาช่วยสนับสนุนด้วย

ตะกร้า 3 ก็ที่เหลือนั่นแหละ ถ้าสัดส่วนตะกร้า 1 กับ 2 ได้ประมาณที่กะ แปลว่าส่วนของตะกร้า 3 นี่ก็จะมีระยะเวลาให้เติบโตนานเป็น 10 ปีทีเดียว ควรจะช่วยได้ในระดับหนึ่งละ ระหว่างทางเราอาจจะมีการทยอยขายตะกร้า 3 บ้างตามความเหมาะสมถ้าเห็นว่าราคาสินทรัพย์ขึ้นมาสูงหรืออะไร

โดยรวมก็ประมาณนี้

ถ้าเป็นไปได้ การถอนมาใช้แต่ละปีถ้าสามารถทำแบบ flexible ได้ด้วยก็จะดีมาก เช่นปีไหนที่ราคาสินทรัพย์ตกรุนแรง ปลายปีอาจจะถอนมาใช้น้อยหน่อย เพื่อให้เหลือเงินเยอะหน่อยสามารถเอาไปลงทุนหรือให้ขายตะกร้า 2 กับ 3 ออกมาน้อย ส่วนปีไหนที่สินทรัพย์มันผลตอบแทนดีมากก็อาจจะถอนมาใช้เยอะหน่อย ความยืดหยุ่นก็จะทำให้โอกาสที่แผนเกษียณจะสำเร็จมีสูงขึ้น

ไอเดียตอนนี้คร่าวๆก็เป็นประมาณนี้นะ

บริษัทซื้อหุ้นคืน แล้วทำไมหุ้นนั้นหายไป ?

Why does stock buyback reduce the stock outstanding? Aren't they with the company?

บริษัทซื้อหุ้นคืน แล้วทำไมหุ้นนั้นหายไป ?

วีดิโอนี้ผมตอบคำถามที่เจาะจงมาก คือมีคนสงสัยเรื่องการซื้อหุ้นคืนว่าทำไมบริษัทซื้อหุ้นคืนแล้วหุ้นมันถึงหายไปจำนวนหุ้นน้อยลงล่ะ หุ้นมันก็คือไปอยู่กับบริษัทไม่ใช่รึ

โอเค ผมใช้ตัวอย่างอันเดิมกับที่ใช้ในวีดิโอที่แล้วที่พูดถึงการซื้อหุ้นคืน (stock buyback) นะ สมมติบริษัทมีกำไร 5 ล้าน มีหุ้นอยู่ทั้งหมด 5 หุ้น แต่ละหุ้นก็เป็นเจ้าของกำไรของบริษัทหุ้นละ 1 ล้าน

ทีนี้สมมติมีการซื้อหุ้นคืนไป 1 หุ้น ก็ทำให้หุ้นทั้งหมดที่เหลืออยู่คือ 4 หุ้น คำถามของคนที่เค้าสงสัยมันอยู่ตรงนี้แหละ ทำไมมันเหลือ 4 หุ้นล่ะ หุ้นที่ซื้อคืนไปก็อยู่กับบริษัทไง ควรจะ 5 หุ้นเหมือนเดิมมั้ย

คำตอบคืองี้ จะมองว่ามัน 5 หุ้นเหมือนเดิมก็ได้ แต่ผลลัพธ์มันเทียบเท่ากับหุ้นที่ซื้อคืนหายไปเหลืออยู่ทั้งหมด 4 หุ้นอยู่ดี

เพื่อให้เห็นภาพก่อนอื่นบริษัทนี่กำไรเหมือนเดิม 5 ล้าน แล้วก็แบ่งให้กับ 5 หุ้น ได้หุ้นละ 1 ล้านเหมือนเดิม

แต่ทีนี้คำถามคือ ใครเป็นเจ้าของหุ้นอันนี้ที่บริษัทซื้อมานี่ล่ะ ก็ A, B, C, D ไง เพราะ A, B, C, D เป็นเจ้าของบริษัทถูกมะ ดังนั้น A, B, C, D ก็เป็นเจ้าของหุ้น E นี่ด้วยไง และควรได้รับส่วนแบ่งจากกำไรของ E นี่ถูกมะ

กำไรของ E 1 ล้านบาท ก็ถูกแบ่งให้หุ้นละเท่าๆกัน ได้ไปหุ้นละ 0.25 ล้าน

สรุปรวมแล้วหุ้น A, B, C, D แต่ละหุ้นก็เลยมีสิทธืในกำไรรวมทั้งสิ้น 1.25 ล้าน

หรือมองอีกแบบนึงก็คือว่าหุ้น E นั่นหายไปละ บริษัทกำไร 5 ล้านบาท แบ่งให้กับ 4 หุ้นที่เหลือหุ้นละเท่าๆกันได้หุ้นละ 1.25 บาท

นี่ไง เท่ากันละ จะมองว่ามี 5 หุ้นก็ได้ แต่มันมีค่าเท่ากับมีหุ้นอยู่ 4 หุ้น เพราะหุ้นนึงมันกับอยู่กับบริษัทครับ เห็นภาพมะ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี