ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

Why target 2% inflation?

ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับเป้าเงินเฟ้อของ Fed ทำไมต้อง 2% ด้วย แล้วมันเป็นเลขอื่นไม่ได้หรือไง 4% อะไรงี้ได้มั้ย

อันนี้ก็เป็นคำถามที่ดีมาก ผมก็ไม่เคยรู้เหมือนกันว่าทำไมมันต้อง 2% ด้วย ก็เลยลองไปหาคำตอบครับ

ก่อนอื่นทำไมต้อง 2% ?

ในอดีตนู้นเลย ธนาคารกลางของประเทศต่างๆก็มีเป้าหมายเรื่องเสถียรภาพของราคาแหละ แต่ไม่ได้มีเป้าที่ระบุชัดเจน

ทีนี้เป้าที่ชัดเจนมันมาแบบบังเอิญ ปรากฎว่าที่มามันคือมาจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์เป็นคนเริ่มในปี 1989 ในเวลานั้นเงินเฟ้อในนิวซีแลนด์สูง และธนาคารกลางก็เพิ่งเริ่มเป็นอิสระจากรัฐบาล คุณ Arthur Grimes Chairman ของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ในเวลานั้นก็เลยกำหนดเป้าหมายว่าเราจะคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วง 0-2% ละกัน แล้วปรากฎว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ทำให้เงินเฟ้อลดลงมาตามเป้าได้สำเร็จ

แค่นั้นเองครับ ธนาคารกลางในประเทศอื่นก็เริ่มทำตาม เริ่มจากยุโรปก่อน แล้วก็มาอเมริกาในปี 2012

ประโยชน์ของการมีเป้าที่ชัดเจน

ข้อดีของการมีเป้าที่ชัดเจนคือมันทำให้การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ง่ายขึ้น

ไอเดียคือถ้าคนมีความเชื่อว่าเดี๋ยวธนาคารกลางจะคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้า คนก็จะมีพฤติกรรมสอดคล้องกับเป้านั้น แล้วก็เลยทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นตามเป้าได้ง่ายขึ้น

แล้วทำไมไม่ตั้งเป้าให้มัน 0% หรือต่ำกว่านั้นไปเลย จะดีกว่ามั้ยของถูกลง ?

ไม่คิดว่าดี ในทางทฤษฎีมันดูเหมือนก็ไม่น่ามีอะไร ราคาของก็ลดลง เงินเดือนคนก็ลดลง คนก็ควรมีคุณภาพชีวิตเท่าเดิม แต่จริงๆเหมือนจะไม่เป็นแบบนั้น ปัญหาของเงินเฟ้อที่ 0% หรือติดลบไปเลยคือ
คนรู้สึกจนลง ใช้จ่ายน้อยลง
การที่ของราคาลดลงเรื่อยๆ ทำให้คนยิ่งอยากรอไม่อยากซื้อ
โดยรวมก็ทำให้เศรษฐกิจทรุด อาการแบบนี้ก็เหมือนในญี่ปุ่น

แล้วถ้างั้นตั้งเป้าให้สูงกว่า 2% ได้มั้ย 4% อะไรงี้ดีกว่าหรือเปล่า ?

อันนี้ก็ฟังดูเป็นไปได้ ตราบใดที่ไม่สูงมาก มีคนเสนออยู่เหมือนกัน โดยเค้าให้เหตุผลว่า
ไม่มีหลักฐานว่าเงินเฟ้อที่ประมาณ 4% มีผลเสียอะไรกับคุณภาพชีวิต
การอนุญาตให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอีกนิด ในแง่นึงก็คืออนุญาตให้ตลาดแรงงาน tight กว่านี้ ควรจะทำให้การว่างงานน้อยลงและเป็นเรื่องดีต่อคุณภาพชีวิตของคน

แต่ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าเค้าไม่น่าจะเปลี่ยนเป้าในเวลานี้ เพราะกำลังอยู่ในช่วงควบคุมเงินเฟ้อสูงอยู่ การเปลี่ยนเป้าในเวลานี้มันอาจจะทำให้คนเสียความเชื่อมั่นในธนาคารกลาง อาจจะทำให้การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ยากขึ้น ถ้าจะเปลี่ยนเป้าผมว่าไปเปลี่ยนตอนเหตุการณ์ปกติจะดีกว่า

สรุปตอบคำถามทำไมต้อง 2% คำตอบคือเค้าก็ตั้งเป้าอะไรซักอย่างที่ต่ำระดับหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนเลข 2% นี่ก็คือบังเอิญครับ ไม่ได้มีวิทยาศาสตร์อะไร มาจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์เค้าเริ่มละคนอื่นตามแค่นั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

How do I know if I did the valuation correctly?

จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

มีคนถามว่าประเมินมูลค่ามูลค่าหุ้นออกมา จะรู้ได้ไงว่าถูกต้อง

อันนี้ผมว่ามันขึ้นอยู่กับคำว่าถูกต้องที่ว่านี่คือเราหมายถึงอะไร

ถ้าถูกต้องในที่นี้คือหมายความว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าได้แม่นยำ อนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นเกิดตามที่เราเดาไว้ เอาจริงๆมีวิธีเดียวก็คือรอให้อนาคตมาถึง แล้วก็เทียบกับสิ่งที่เราประมาณการเอาไว้ว่าตรงกันมั้ยครับ ทำได้แค่นั้นจริงๆ

เพราะไม่มีสมการหรือสูตรคำนวณอะไรจะทำนายอนาคตได้ ปีหน้ายอดขายจะเป็นเท่าไหร่เป๊ะๆเจ้าของบริษัทยังไม่รู้เลย ดังนั้นการประเมินมูลค่าซึ่งอาศัยการคิดลดตัวเลขในอนาคตกลับมาปัจจุบัน ก็ไม่มีคำว่าแม่นยำอยู่แล้ว

แต่ทีนี้ถ้าสมมติคำว่าถูกต้อง หมายถึงแค่ว่าทำตามสูตรถูกต้อง อันนี้ก็ง่ายหน่อย

สูตรคำนวณจะ Discounted Dividend หรือ Discounted Free Cash Flow มันก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่ ผมแนะนำว่าถ้าใครไม่เข้าใจที่มาของสูตรในการคำนวณ หรือไม่เข้าใจว่าทำไม free cash flow มันคิดเลขมาแบบนี้ ก็ไปทำความเข้าใจซะหน่อย พอเราเข้าใจว่ามันคืออะไรก็ไม่มีปัญหาละ

ส่วนที่ยากของเรื่องคือการประมาณ growth ที่ใช้มากกว่า อันนี้เป็นส่วนที่ไม่มีอะไรตายตัว ไม่มีคำว่าถูกต้องอยู่แล้ว อย่าไปกังวลมาก เอาให้มันไม่เว่อร์เยอะไปหรือน้อยไปก็ใช้ได้ ผมแนะนำว่าใช้วิธีการดู growth ในอดีตแล้วก็พิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันประกอบเอา และนึกไว้ในใจว่าบริษัทไม่มีทางโตอย่างเร็วไปได้เรื่อยๆ ยังไงก็ต้องโตช้าลงเรื่อยๆ

สรุปคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว คำตอบคือเอาจริงๆก็ไม่มีทางรู้หรอก เวลาทำก็ทำโดยใส่สมมติฐานตัวแปรต่างๆอย่าให้มันเว่อร์ไปก็ใช้ได้ สุดท้ายผลลัพธ์ออกมาก็เอาไว้ใช้กะคร่าวๆเท่านั้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะลงทุนเอา cash flow ระหว่างตราสารหนี้, หุ้นกับ REIT ลงทุนในอันไหนดีกว่ากัน ?

What to invest in if we're aiming for cash flow?

จะลงทุนเอา cash flow ระหว่างตราสารหนี้, หุ้นกับ REIT ลงทุนในอันไหนดีกว่ากัน ?

มีคนถามความเห็น ประเด็นคือต้องการจะลงทุนเพื่อเอา cash flow เพื่อมาใช้จ่าย คำถามคือระหว่างลงทุนในตราสารหนี้, หุ้นปันผลหรือ REIT/IF อันไหนดีกว่ากัน

อันนี้ผมว่าขึ้นกับหลักๆเลยคือต้องการความปลอดภัยระดับไหน สมมติบอกเน้นไม่เสี่ยงเป็นหลัก เอาให้มี income ต่อเนื่อง income ที่ว่าไม่ได้ต้องโตหรืออะไร เน้นว่าเงินต้นไม่หายเป็นหลัก ก็ตราสารหนี้เลย อันนี้ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว

ผมเสนอว่าเพื่อความง่ายและที่สำคัญความเสี่ยงไม่กระจุกตัว ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไปเลย เลือกชนิดที่มีปันผล ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย เช่น High yield มั้ย, พันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน, ระยะสั้นหรือยาว ถ้าคิดไม่ออกก็อย่าไปสนใจอะไรเยอะ เอากลางๆให้หมด

ที่เหลือคือกรณีที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น ต้องการ income แหละ แต่คาดหวังการเติบโตของ income มีความเสี่ยงเงินต้นผันผวนได้บ้าง ระหว่าง REIT กับหุ้นปันผล ผมว่า REIT เถอะ ตัดหุ้นปันผลออกไป

หุ้นปันผลนี่ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่โดยรวมผมว่าสู้ไม่ได้ REIT โดยภาพรวมให้ % yield ที่สูงกว่า และการเติบโตก็ไม่ได้จำเป็นว่า REIT จะต้องแพ้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพอันนี้เทียบ S&P Global REIT กับ S&P Global Dividend Aristocrats เทียบ Total Return นะ


ในเคสทั่วโลกนี้จะเห็นว่า REIT ผลตอบแทนรวมดีกว่าหุ้นปันผล แต่สมมติดูเฉพาะใน US เทียบ REIT ใน US กับหุ้นปันผลใน S&P 500 หุ้นปันผลจะชนะ


ดังนั้นที่จะสื่อคือระหว่างสองอันนี้มันไม่ได้จำเป็นว่าหุ้นปันผลจะชนะ REIT เสมอไป และเท่าที่เจอมาคือ % yield ของ REIT สูงกว่าที่หาได้จากหุ้นปันผล ดังนั้นถ้าประเด็นคือเราต้องการ income ผมก็เลยเสนอให้ลงทุนใน REIT ซะ

ส่วนจะลงทุนแบบเลือกรายตัวหรือลงทุนด้วยกองทุนอันนี้ก็แล้วแต่เรา แค่จะบอกว่าถ้าจะเลือกรายตัวก็เลือกไว้จำนวนหนึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงหน่อย เผื่อพลาด

สรุปคือ ลงทุนเอา income ต้องการเสี่ยงน้อยก็ตราสารหนี้ ถ้ารับความเสี่ยงได้ขึ้นมาหน่อยก็ REIT ครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ดูหุ้นบริษัทนึงใช้เวลานานมั้ย ?

How long does it take to look at a company?

ดูหุ้นบริษัทนึงใช้เวลานานมั้ย ?

มีคนถามว่าปกติดูหุ้นบริษัทนึงนานมั้ยกว่าจะตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุน

โดยส่วนตัวของผมก็น่าจะซักอาทิตย์นึงบวกลบ ส่วนใหญ่จะเริ่มทำการดูจริงจังก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าเป็นบริษัทที่น่าสนใจ ไม่รู้สึกว่าจะเข้าใจยากจนเกินไป แล้วก็ราคาตกลงมาเยอะระดับนึงแตะ Alert ที่ตั้งไว้ ไอเดียหลักๆที่บอกดูประมาณอาทิตย์นึงก็จะประมาณนี้

วันสองวันแรก เอาเรื่องว่าบริษัททำอะไร, ที่ผ่านมาเป็นยังไงกับราคามันตกเพราะอะไรให้เรียบร้อย อ่านเอกสารล่าสุดอย่าง 56-2, Annual report, Quarterly report, ข่าวสารว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามให้เห็นภาพความเป็นไปของบริษัทให้มากที่สุด เค้ากำลังทำอะไรอยู่และกำลังพยายามไปทางไหน สินค้าเค้าถ้ามีรูปมีวีดิโออธิบายสินค้าอะไรพวกนี้ยิ่งดี

วันสองวันถัดมา ก็จะเป็นเรื่องว่าสรุปบริษัทนี้มันทำได้ดีเพราะอะไรนะ รีวิวลูกค้า, รีวิวพนักงาน, บทความมีใครพูดถึงบริษัทนี้มั้ย, YouTube อะไรเอาให้หมด พยายามเก็ทไอเดียว่ามันมีคนพูดถึงเยอะหรือน้อย ถูกเอาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งมั้ย เป็นผู้นำในเรื่องไหนบ้าง ทำไมขายดี

วันสองวันถัดมาอีก โฟกัสไปยังเรื่องอุตสาหกรรมกับเรื่องแวดล้อมของบริษัทมากขึ้น ถ้ามีคู่แข่งโดยตรงอยู่ในตลาดหุ้นคือต้องไปอ่านเลย พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุดที่เป็นไปได้ แข่งกันยังไง มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง

สุดท้ายเลยก็พิจารณาดูว่าเรารู้สึกว่าเรามีความมั่นใจขนาดไหนว่าบริษัทจะทำได้ดีต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทำให้หุ้นตกแต่แรกนีมันจะทำให้บริษัทเละมั้ย ยังสนใจอยู่หรือเปล่า หรือยังมีอะไรติดค้างที่รู้สึกว่าต้องศึกษาเพิ่มเติมมั้ย ถ้าสนใจอยู่ก็ประเมินมูลค่าว่าราคาถูกพอมั้ย ถ้ายังติดค้างก็ไปทำความเข้าใจเรื่องนั้น หรือถ้าไม่สนใจละไม่ค่อยแน่ใจอนาคตก็ดรอปมันไป เท่านั้นเองครับ

สรุปคือ ประมาณ 1 สัปดาห์ และการทำแบบนี้ก็จะจำกัดขอบเขตสิ่งที่ผมลงทุนในระดับนึง อะไรยากจัดๆที่ดูว่าจะเข้าใจนี่คงต้องนานส่วนใหญ่ผมก็ปล่อยไป
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ควรจ่ายสมัคร membership เพื่ออ่านบทวิเคราะห์มั้ย ?

Should we pay to subscribe to these membership programs?

ควรจ่ายสมัคร membership เพื่ออ่านบทวิเคราะห์มั้ย ?

มีคนมีคำถามเวปอย่างพวก Morningstar, Value Line, Bloomberg, ฯลฯ มีบริการที่เป็นบทวิเคราะห์ที่เราต้องจ่ายเงิน subscribe ถึงจะอ่านได้ พวกนี้มีประโยชน์หรือเปล้่า ควรจ่ายมั้ย

เป็นคำถามที่ดี ผมตอบในมุมว่ามีประโยชน์หรือไม่ก่อนนะ

คำตอบคือมีประโยชน์ครับ ในแง่ว่า
– บางเจ้าก็จะเป็นแหล่งไอเดียได้
– เอาไว้อ่านประกอบเป็น second opinion หลังจากเราทำการศึกษาได้

ข้อจำกัดก็มีอยู่คือ
– ไอเดียบางบริษัทที่ผมลงทุนไป ก็ไม่มีใครพูดถึงหรือพูดถึงน้อยมาก
– Research ก็ไม่ได้มีทุกบริษัทเช่นกัน หลายครั้งบริษัทที่ผมสนใจไม่มีนักวิเคราะห์เขียนถึง

แต่ทีนี้คำถามคือควรจ่ายมั้ย อันนี้ผมว่าขึ้นอยู่กับขนาดเงินลงทุนเราละ แล้วรองลงมาก็เป็นว่าเราลงทุนอย่างไรจะได้ใช้ประโยชน์อะไรหรือเปล่า

ว่าง่ายๆ ตัวอย่างเช่น Morningstar นี่ 249 USD ต่อปี ตีเป็นบาทก็คูณ 34 ละกัน เท่ากับ 8,466 บาท หรืออย่าง Bloomberg คือ 299 USD ต่อปี เป็นบาทก็ 10,166 บาท

ถ้าเงินลงทุนเรา 100,000 บาท การสมัครก็เป็นอะไรที่เพี้ยนมาก เพราะ 8,000-10,000 บาทนี่มัน 8-10% ของเงินทั้งพอร์ตเลยถูกมะ

แต่ถ้าสมมติเรามีเงินลงทุน 1,000,000 บาท การสมัครก็ดูสมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะค่า membership มันแค่ 0.8-1% ของเงินทั้งพอร์ตเราเท่านั้น ดังนั้นก็อาจจะควรสมัครถ้าเราดูว่าเราจะได้ใช้ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ 1% ของพอร์ตก็ยังแพงอยู่ดี

แล้วถ้าเรามี 10,000,000 บาทล่ะ membership ก็จะเป็นอะไรขี้ประติ๋วมากทันที แต่ให้นานๆทีใช้งานจะสมัครไว้ขำๆก็ไม่เดือดร้อนอะไร

ที่เหลือคือต้องถามว่าเราลงทุนแบบไหน ดูจะได้ใช้ประโยชน์หรือเปล่า ถ้าสมมติเราลงทุนแบบกองทุนหรือ ETF ต่างประเทศ ก็ไม่ต้อง หรือเราลงทุนเน้นหุ้นไทย ก็ไม่ต้อง

คำถามสุดท้ายคือ จำเป็นมั้ยที่ต้องมี membership พวกนี้เพื่อให้ลงทุนได้ดี ?

ผมยืนยันว่าไม่ต้อง ที่ผ่านมาก็ใช้ข้อมูลฟรีมาโดยตลอด แล้วก็มาใช้ Bloomberg ของที่ทำงานเมื่อปีที่แล้วนี้เอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ต้องถือยาวให้ได้ !!

Must hold long term

ต้องถือยาวให้ได้ !!

ต้องถือยาวให้ได้ !!

ผมพบว่าอุปสรรค์สำคัญอันนึงที่ทำให้ลงทุนแล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งกับนักลงทุนที่รู้เรื่องแล้ว ก็คือไม่สามารถทำใจถือยาวได้ แล้วมันมีทั้งสองด้านด้วยนะ หุ้นขึ้นก็ขาย หุ้นลงก็ขาย

ปัญหาเรื่องนี้ก็ดูจะมาได้หลายรูปแบบ บางคนตอนซื้อก็ดูมีสติดีอยู่ แต่ซักพักอาจจะตกใจขายตอนตลาดหุ้นตก ทั้งที่บางทีบริษัทที่ตัวเองถืออยู่ได้รับผลกระทบน้อยมาก หรือบางคนก็เป็นลักษณะเปลี่ยนใจไปซื้ออย่างอื่นดีกว่า จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ผมพบว่ามีนักเรียนเราจำนวนมากที่ถือยาวไม่ค่อยได้

พอผม Google เรื่องนี้ ปรากฎว่าเป็นกันทั้งโลกนะเนี่ย ไม่ใช่เฉพาะนักเรียนพวกเราหรือคนไทยหรืออะไร

จากใน chart นี้จะเห็นว่า เฉลี่ยแล้วคน US เองก็ถือหุ้นสั้นลงเรื่อยๆ จากในอดีตนู้นถือหุ้นเฉลี่ยนาน 8 ปี ตอนนี้เหลือไม่ถึงปีละ

ส่วนของไทยก็ดูจะคล้ายกัน ผมไปดูข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์จากลิ้งค์นี้ https://www.set.or.th/th/market/statistics/market-statistics/main ข้อมูลสถิติสำคัญของ SET และ mai แบบรายปี แล้วเอามูลค่าหลักทรัพย์ทั้งตลาดตั้งแล้วหารด้วยตัวเลขมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในปี เราก็จะได้ turnover พบว่าของไทยจะอยู่ประมาณ 0.9-1.1 ปี สั้นพอกัน

ประเด็นสำคัญของการถือยาวไม่ได้คือผลตอบแทนมันแย่ลงเยอะมากครับ การที่เราอยู่ในหุ้นสั้นๆมันเหมือน handicap เยอะมาก เพราะในระยะยาวแล้วโดยเฉลี่ยหุ้นภาพรวมมันเป็นทิศทางขาขึ้นครับ

การที่ทิศทางมันเป็นขาขึ้นได้ แปลว่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่อวันระยะยาวแล้วมันเป็นบวกนึกภาพออกมะ ดังนั้นก็พูดได้ว่าโดยเฉลี่ยการที่เราไม่อยู่ในหุ้น เท่ากับเราเสียโอกาส ดังนั้นยิ่งใครอยู่นอกตลาดถือเงินสดเยอะหรือถือเงินสดนาน ก็ยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย

ตลาดหุ้นทั่วโลกก็หน้าตาเหมือนกัน

แล้วคนที่ถือสั้นๆ แต่ไม่ออกจากหุ้นนะ กระโดดไปหุ้นอื่นแทนล่ะ

ก็เสียเปรียบอยู่ดีครับ อันนี้พูดจากประสบการณ์ตรงส่วนตัวพบว่า
เสียค่าธรรมเนียมเยอะกว่า
ไม่มีอะไรบอกได้ว่าหุ้นที่กระโดดไปจะทำได้ดีกว่าหุ้นที่อยู่เดิม
ส่วนใหญ่แล้วถ้าเราซื้อหุ้นที่ดีได้มาในราคาถูก ถือไปยาวๆกำไรดีมาก แต่เราดันกระโดดออกกลางทาง

ส่วนใหญ่เป็นข้ออ้าง ลึกๆมาจากความใจร้อนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในระยะยาว หรือไม่ก็ไม่ได้ทำการบ้านมาดีเท่าไหร่เลยไม่ได้เชื่อมั่นหุ้นที่ถือขนาดนั้น ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นปัญหา ต้องระวัง

แล้วทำไงดี ? ทางแก้จริงๆก็ไม่ง่ายเพราะอันนี้มันเป็น impulse บางทีมันอารมณ์ด้วย ควบคุมยาก

ผมเสนอว่าเขียน commitment ลงไปครับ คนเราในทางจิตวิทยาถ้าเขียนออกมามันจะหนักแน่นกว่า ผมแนะนำว่าคุณเขียนออกมาเลยว่าตัดสินใจซื้อหุ้นอะไร ซื้อเพราะว่าอะไร ทำไมเราเชื่อว่าดี แล้วเราจะถือนานอย่างน้อยแค่ไหน แล้วเป็นไปได้ก็บอกคนใกล้ตัวไว้เลยด้วย มันจะทำให้เราหลุดยากขึ้นครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นกลุ่มไหนดูราคาถูกบ้าง ?

Which sectors are undervalued?

หุ้นกลุ่มไหนดูราคาถูกบ้าง ?

เร็วๆนี้มีหลายคนถามหลังจากผมบอกว่าควรจะมองหาโอกาส ถามว่าควรจะไปดูกลุ่มธุรกิจไหนเป็นพิเศษมั้ย

อย่างแรกก่อนเลยคือผมว่าดูหุ้นที่ไม่ใช่ไทยเถอะ เพราะตลาดหุ้นไทยนี่แข็งแกร่งมาก ไม่ตกเลย ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรกันกับเรา

ถ้าเราจะฉวยโอกาสในเวลานี้ ผมว่าหาใน US หรือยุโรปง่ายกว่า จีนก็ไม่ใช่ไม่ดีแต่อ่านไม่ค่อยออก

ระหว่าง US กับยุโรป ผมก็ว่า US น่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติเร็วกว่านะ เพราะยุโรปใกล้ปัญหามากกว่า และ US เองเงินเฟ้อลดลงติดต่อกันมาซักพัก ในขณะที่ยุโรปนี่เพิ่งไม่กี่เดือนมานี้


ทีนี้ที่ผ่านมาผมก็บอกว่าดูพวกที่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงกับเงินเฟ้อสูงเป็นหลัก แต่ก็เข้าใจว่าบางทีมันดูแบบไม่ค่อยครอบคลุมเท่าไหร่ วันก่อนผมพอดีไปเจอข้อมูลของ Morningstar ก็เลยเอามาพูดถึงให้ดูครับ

คือ Morningstar เค้ามี cover หุ้น US อยู่ 847 บริษัท และพวกนี้ปกติเค้าจะมีการให้ rating 1 ถึง 5 ดาว 3 ดาวแปลว่าเค้ามองว่าราคาหุ้นตอนนี้กลางๆ 1 ดาวคือแพง 5 ดาวคือถูก และอันนี้คือแบ่งตามกลุ่มธุรกิจ

ธุรกิจกลุ่มที่มีสีฟ้ากับน้ำเงินเยอะก็คือมีหุ้นถูกเยอะ แน่นอนว่า Morningstar ก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป แต่อย่างน้อยมันก็น่าจะใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าธุรกิจกลุ่มไหน Undervalued หรือพูดอีกแบบนึงคือน่าสนใจที่สุด

จะเห็นว่าธุรกิจกลุ่มที่ดูน่าสนใจเด่นๆก็จะมี Communication Services, Real Estate, Consumer Cyclical

ผมก็ไปหาดูมาคร่าวๆว่ากลุ่มพวกนี้มันคืออะไร
Communication Services ก็จะเป็นพวกการสื่อสารแบบทั้งมีสายและไร้สาย แล้วก็พวกบริการหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น Alphabet (Google, YouTube), Netflix, Match Group, ฯลฯ

Real Estate พวกนี้ก็จะมี REIT ทั้งหลายทั้ง Equity REIT และ Mortgage REIT รวมถึงบริษัทที่ทำธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์ เช่น CBRE, Digital Realty, ฯลฯ

Consumer Cyclical พวกนี้คือพวกที่เกี่ยวกับการบริโภคที่ไม่จำเป็นหรืออย่างน้อยไม่ได้ต้องซื้อบ่อยๆ พวกสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่น Domino’s Pizza, Expedia, Nike, ฯลฯ

ผมว่าอันนี้ก็น่าจะครอบคลุมละนะ ผมว่าคุณลองไปดูเอากลุ่มที่ตัวเองชอบน่ะครับ ทั้งนี้ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ว่าในแต่ละกลุ่มธุรกิจของ Morningstar มันมีหุ้นอะไรบ้าง ผมเผื่อกลุ่ม Technology, Basic Materials กับ Healthcare ไว้ด้วยเพราะพวกกลุ่มนี้ก็ดูจะน่าสนใจตามๆกันลงมา
https://www.morningstar.com/communication-services-stocks
https://www.morningstar.com/real-estate-stocks
https://glossary.morningstar.com/consumer-cyclical-stocks
https://www.morningstar.com/technology-stocks
https://www.morningstar.com/basic-materials-stocks
https://www.morningstar.com/healthcare-stocks

ทำไมฟองสบู่คริปโตแตกดูไม่ค่อยมีผลกับเศรษฐกิจ ?

Why the crypto crash doesn't seem to affect the economy?

ทำไมฟองสบู่คริปโตแตกดูไม่ค่อยมีผลกับเศรษฐกิจ

มีคนถามว่าอย่างตลาดคริปโต crash รุนแรง มีบริษัทเจ๊งก็เยอะ FTX, BlockFi, etc. ความเสียหายก็เป็นหลักพันล้านเหรียญ ทำไมมันไม่เป็นวิกฤติเศรษฐกิจหรืออะไร ไม่เห็นเหมือนปี 2008

อันนี้ผมก็ไม่ได้ตามละเอียดนะพูดจริงๆ แต่เข้าใจว่าเป็นเพราะหลักๆเลยคือมันไม่ได้รับเงินกู้ยืมหรือ leverage อะไรจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินหลัก

ประเด็นที่ทำให้ subprime 2008 อลังการมากนอกเหนือจากว่าขนาดของมูลค่า subprime mortgage มันสูงแล้วก็คือการที่มันมีการกู้ยืมเงินมาลงทุนจำนวนมาก แล้วพอสินทรัพย์พวกนี้มูลค่าลดลงฮวบ ธนาคารอะไรก็เจ๊งไปด้วย แล้วก็เลยลามไปธุรกิจอื่นเพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ แต่พอเป็นคริปโตเข้าใจว่าเงินส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของ VC หรือกู้ยืมมากจากกลุ่มบริษัทที่อยู่คริปโตด้วยกันเป็นหลัก ธนาคารพาณิชย์เกือบทั้งหมดไม่มี exposure หรือมีน้อยมาก ดังนั้นถ้าคริปโตจะเจ๊งก็เจ๊งกันไป ไม่มีใครเดือดร้อนนอกวงพวกนี้

ผมเคยเห็นรายงานอันนึงของ Financial Stability Oversight Council ที่พูดถึงกรณี Three Arrows Capital เจ๊งหลังจากที่มูลค่าของ Terra/Luna หดไปตอนนั้น

จะเห็นว่ากลุ่มพวกนี้มันเกี่ยวกับหมด คนให้ยืมเงินกับ Three Arrows Capital อย่าง BlockFi, Voyager, Genesis, Celsius พวกนี้ก็เกี่ยวกับคริปโตหมด แล้วพอ Three Arrows Capital เจ๊งก็ลาก BlockFi, Voyager, Celsius, FTX, Alameda เจ๊งไปด้วย ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับใคร

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่มันไม่ spillover ไปยังธุรกิจอื่นครับ

ปี 2023 จะเป็นยังไง ?

Outlook 2023

ปี 2023 จะเป็นยังไง ?

Outlook 2023

สำหรับวีดิโอแรกของปี ผมตอบคำถามที่มีลูกค้ากับนักเรียนบางคนของเราถามเกี่ยวกับมุมมองการลงทุนของปีนี้

เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปสรุปได้ง่ายๆดังนี้
1. Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2. เงินเฟ้อจะลดลง
3. Fed ลดอัตราดอกเบี้ย

ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆเช่น Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปถึงเมื่อไหร่ เงินเฟ้อจะลงเร็วมั้ย แล้ว Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อไหร่ เรื่องพวกนี้อย่างแรกเลยคือไม่มีทางเดาถูก และที่สำคัญไม่มีสาระสำคัญอะไรสำหรับคนที่ลงทุนระยะยาว

แล้วตลาดหุ้นจะเป็นยังไง ?

ตลาดหุ้นก็จะผันผวนครับ เดี๋ยวคนก็จะดีใจที่เงินเฟ้อต่ำลง แล้วก็จะตกใจกลัวอาจจะเกิดเศรษฐกิจหดตัว

ดังนั้นแล้วเราควรจะลงทุนยังไงดี ?

เรามองการณ์ไกล ลงทุนดักไปตอนที่สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ ตอนนี้เราซื้อพวกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง แล้วจะฟื้นตัวตอนที่ลดอัตราดอกเบี้ยกลับลงมา ผมแนะนำให้มองหาบริษัทที่เข้มแข็งที่อยู่ในกลุ่มพวกนี้

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ข้อมูลยิ่งเยอะก็ยิ่งดีไม่ใช่เหรอ ?

Why too much info is bad?

ข้อมูลยิ่งเยอะก็ยิ่งดีไม่ใช่เหรอ ?

ก่อนหน้านี้เคยมีหลายครั้งที่ผมบอกว่าพยายามอย่าฟังข่าวสารข้อมูลอะไรเยอะไป ก็มีคนมีคำถามว่าทำไม การรับข้อมูลยิ่งเยอะยิ่งดีไม่ใช่หรือ มันควรจะเป็นว่าเราควรจะรับข้อมูลให้เยอะที่สุดที่เป็นไปได้แล้วก็พิจารณาข้อมูลพวกนั้นไม่ใช่หรือ

คำตอบคือมันก็ใช่ ถ้าเราเป็น perfectly rational human อ่ะนะ ภายใต้สมมติฐานว่าเราตัดสินใจแบบมีสติตลอด ไม่มีอารมณ์เลย ฉลาดสุดๆ ไม่มี bias ใด การรับข้อมูลจำนวนมากตลอดเวลาก็ไม่มีปัญหาอะไร

แต่เอาเข้าจริงเราก็รู้อยู่แล้วนี่ ว่าตัวเราเองก็ไม่เป็นแบบนั้น การรับข้อมูลอะไรที่มันไม่สำคัญเยอะเกินมันทำให้เราสับสน

งานวิจัยที่ศึกษา human bias มีเยอะแยะ สองอันหลักๆที่ผมอ่านเจอเร็วๆนี้แล้วเกี่ยวข้องกับคำถามนี้ก็จะมี confirmation bias กับ anchoring bias

Confirmation bias คือ bias ประเภทเลือกรับข้อมูลที่ไปทางเดียวกับความเชื่อเดิมเรา ในขณะที่ไม่รับข้อมูลพวกที่ขัดแย้งกับความเชื่อเรา ก็เลยทำให้การมีข้อมูลเยอะๆก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ซ้ำร้ายคือเอาข้อมูลที่จริงๆไม่เกี่ยวเป็น noise แต่ไปในทางสนับสนุนก็ยิ่งทำให้เรามั่นใจมากขึ้นไปอีก

การทดลองที่ยืนยัน confirmation bias ก็มีเยอะแยะ ยกตัวอย่างอันที่อ่านเจอล่าสุดอยู่ในหนังสือ The Black Swan ของ Nassim Nicholas Taleb เค้าพูดถึงการทดลองอันนึง เอาภาพเบลอของหัวดับเพลิงมาให้คนทาย แบ่งคนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกแบ่งความเบลอจากเบลอสุดไปชัดมี 10 ระดับ กับอีกกลุ่มมี 5 ระดับ ปรากฎว่ากลุ่มที่มีแค่ 5 ระดับเดาถูกได้เร็วกว่า เค้าพบว่าคนที่อยู่กลุ่มที่มี 10 ระดับเริ่มเดาในหัวก่อน ณ ตอนที่รูปยังเบลอกว่า แล้วหลังจากนั้นความที่เดาไปแล้วทำให้รู้ตัวช้ากว่าเพราะเชื่อสิ่งที่เดาตอนแรก

หรืออีกอันนึงคือเค้ามีทดสอบคนเดาผลการแข่งม้า โดยตอนแรกให้เดาโดยให้ข้อมูลสำคัญ 10 เรื่อง เสร็จปุ๊บก็ให้ข้อมูลเพิ่มอีก 10 เรื่อง ผลคือข้อมูล 10 เรื่องที่เพิ่มทีหลังไม่ได้ทำให้การเดาแม่นขึ้น มันทำให้คนเดามีความมั่นใจมากขึ้นแค่นั้น

ส่วน anchoring bias นี่คือการที่บางทีหัวเรายึดติดกับข้อมูลหรือเลขอะไรซักอย่างที่เราเห็นก่อนหน้า

มันเคยมีการทดลองที่เค้าให้คนหมุนวงล้อสุ่มเลข แล้วให้คนดูตัวเลขที่ได้ซึ่งคนก็รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นอะไรที่ random แล้วหลังจากนั้นก็ให้คนเดาว่าในสหประชาชาติมีประเทศแอฟริกันอยู่กี่ประเทศ ผลคือคนที่สุ่มเลขได้เลขที่น้อยมีแนวโน้มที่จะเดาตัวเลขที่ต่ำ ในขณะที่คนที่สุ่มเลขได้เลขที่สูงก็มีแนวโน้มที่จะเดาเลขที่สูงกว่า

ดังนั้นการที่บางทีใครก็ไม่รู้พูดเลขอะไรซ้กอย่างเช่น SET จะปิด x,xxx จุด หรือหุ้นนี้น่าจะไปถึงราคา xx บาท มันก็จะทำให้เราเกิดการ anchoring กับเรื่องนั้น ฝังหัวเราไปทั้งที่จริงๆเลขพวกนั้นมีเหตุผลหรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นอะไรที่อันตรายมาก

สรุปแล้วคือ การรับข้อมูลเยอะๆ ไม่ได้เป็นประโยชน์เสมอไปเพราะคนเรามี bias การรับข้อมูลจำนวนมากโดยเฉพาะพวกที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ หรือพวกความเห็นคนนู้นคนนี้ ทำให้เราเขวได้ เป็นปัญหามากกว่าดี

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี