ดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลกับหุ้นปันผลยังไง ?

How does rising interest rate affect dividend stocks?

ดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลกับหุ้นปันผลยังไง ?

ดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลกับหุ้นปันผลยังไง ?

วันนี้ผมมาเล่าเกี่ยวกับบทความอันนึงของ Morningstar ซึ่งผมรู้สึกว่าข้อมูลเค้าน่าสนใจมาก บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหุ้นปันผล ว่ามันได้รับผลกระทบจาก factor อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง

โดยไอเดียคือ หุ้นปันผลโดยเฉพาะพวกที่จ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ มักจะเป็นหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงทางการเงิน และคนส่วนใหญ่ที่ถือหุ้นกลุ่มนี้คือชอบตรงความเสถียรของมัน ชอบตรงที่มันมีการได้รับปันผลสม่ำเสมอ ในช่วงที่ตลาดหุ้นตก หุ้นปันผลส่วนใหญ่ก็จะตกน้อยกว่า เข้าใจว่าเพราะส่วนนึงคือมี yield support มีปันผลอยู่คนเลยไม่ค่อยอยากขาย กับส่วนนึงคิดว่าเพราะบริษัทพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ฐานะทางการเงินเข้มแข็ง

แต่ทีนี้ในสถานการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่ะ หุ้นปันผลจะเป็นยังไง

โดยหลักการหุ้นปันผลมันจะมี character คล้ายตราสารหนี้ตรงที่มันคาดหวังการจ่ายปันผลสม่าเสมอ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น มันก็จะทำให้ปันผลนั่นดูน่าสนใจน้อยลง และหุ้นปันผลก็ควรจะตกคล้ายกับตราสารหนี้ด้วยเหมือนกัน คำถามคือมันเป็นอย่างนั้นใช่มั้ยและเป็นเยอะขนาดไหน Morningstar เค้าก็ทำการศึกษาครับ

สิ่งที่เค้าทำคือดูย้อนไปถึงปี 1953 แล้วก็ไปดูรายเดือนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จัดลำดับเรียงว่าเดือนไหนขึ้นเยอะสุดไปถึงน้อยสุด กลุ่มเดือนที่ขึ้นเยอะสุด 25% แรกก็นับเป็นกลุ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น ต่ำสุด 25% ก็นับเป็นช่วงตก และพวกที่อยู่ตรงกลางก็เรียกว่านิ่งๆ แล้วหลังจากนั้นก็ดูผลตอบแทนในสถานการณ์ต่างๆของหุ้น โดยแบ่งเป็นหุ้นที่ไม่มีปันผลเลย และแบ่งหุ้นที่ปันผลเป็น 10 กลุ่มตามลำดับว่า yield สูงขนาดไหน

ผลที่ได้คือ ผลตอบแทนของหุ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างกันมาก เห็นชัดเจนเลย คือข่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นที่จ่ายปันผลยิ่งเยอะก็ดูเหมือนจะผลตอบแทนห่วย ซึ่งก็สอดคล้องกับสมมติฐานตอนแรกเลยที่บอกพออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นหุ้นพวกนี้ก็จะความน่าสนใจลด ส่วนช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลงก็ดูจะชัดพอสมควร โดยรวมคือหุ้นที่ปันผล yield สูงดูจะทำได้ดีกว่า แต่ความสัมพันธ์ไม่ชัดเจนเท่าดอกเบี้ยขาขึ้นนะ

แต่ทีนี้ถ้าดูช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนิ่งๆ หรือดูรวมทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันก็จะดูไม่ต่างกันเท่าไหร่นะ หุ้นปันผลต่ำหรือสูงก็ดูไม่ต่างกันมาก อันที่แย่สุดเป็นหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล ซึ่งก็อาจจะมาจากการที่หุ้นที่ไม่จ่ายปันผลอาจจะมีบริษัทที่ค่อนข้างใหม่ขนาดเล็กปนอยู่เยอะ แล้วในระยะยาวหุ้นพวกนั้นก็เสี่ยงเจ๊งมากกว่าหรือเปล่า

ต่อมา เค้าก็ลองหา sensitivity ของหุ้นไม่ปันผลกับปันผลในระดับต่างๆว่า sensitive กับ market movement หรือการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยขนาดไหน ตัวเลขที่ได้ขนาดจะเป็นตัวกำหนดว่า sensitive มากหรือน้อย ส่วนบวกหรือลบจะเป็นการบอกความสัมพันธ์ว่าวิ่งไปทางเดียวกันหรือตรงข้ามกัน

สิ่งที่เจอคือ หุ้นที่มีการจ่ายปันผลยิ่งเยอะก็ดูเหมือนจะยิ่ง sensitive กับการขึ้นลงของตลาดหุ้นโดยรวมน้อย หุ้นที่ไม่จ่ายปันผลเลยก็ดูจะ sensitive มาก ส่วน sensivity กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ก็สอดคล้องกับผลตอบแทน คือหุ้นที่ปันผลมากจะเป็นตัวเลขลบแปลว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยขึ้นผลตอบแทนจะลด

นอกจากนั้นเค้าก็ยังมีการพิจารณาปัจจัยเรื่องขนาดด้วยว่า บริษัทที่ขนาดใหญ่กับขนาดเล็กได้รับผลจากการปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยขนาดไหน

อันนี้ก็ไม่เพี้ยนจากที่คาด โดยรวมหุ้นใหญ่ก็จะเสถียรกว่าหุ้นกลุ่มเล็กอยู่ละ

และสุดท้ายเค้ามีดูรายอุตสาหกรรมด้วยว่าธุรกิจกลุ่มไหนมีความสัมพันธ์ยังไงบ้างกับตลาดหุ้นโดยรวมและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

พวกที่ดูมีความสัมพันธ์ negative กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ดูจะเป็นกลุ่ม defensive ที่มักจะเป็นพวกที่เข้มแข็งมากแล้ว มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เป็นพลังงานกับพวกสินค้า durable ที่ปกติตามสภาพเศรษฐกิจก็กลับกัน ช่วงที่ดอกเบี้ยมีการขึ้นก็มักจะเป็นช่วงเศรษฐกิจดี บริษัทพวกนี้ก็จะกำไรเติบโต ส่วนช่วงที่ต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นช่วงเศรษฐกิจไม่ดี พวกนี้ก็จะกำไรหด

สรุปแล้ว บทความนี้ก็สื่อให้เห็นว่าหุ้นที่จ่ายปันผลก็จะเสียเปรียบหน่อยช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นนะ แต่ทั้งนี้ถ้าดูโดยภาพรวมไม่ใช่ช่วงใดช่วงหนึ่งหุ้นที่มีปันผลก็จะทำได้ดีกว่าหุ้นที่ไม่มีปันผลอยู่ดี การถือบริษัทที่เข้มแข็งและมีการจ่ายปันผลก็ดูจะเป็นการลงทุนที่ดีกว่าอยู่ดีนะ

สำหรับคนที่อยากจะอ่านบทความนี้ของ Morningstar ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://www.morningstar.com/articles/1084060/dividend-investors-dont-sweat-rising-interest-rates
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าต้องขายหุ้น ขายหุ้นไหนก่อน ?

If we have to sell, sell which stock first?

ถ้าต้องขายหุ้น ขายหุ้นไหนก่อน ?

ถ้าต้องขายหุ้น ขายหุ้นไหนก่อน ?

มีคนถามความเห็นเรื่องการขายหุ้น สมมติว่าจำเป็นต้องขายหุ้น เรามีวิธีการตัดสินใจมั้ยว่าขายหุ้นไหนก่อนดี เช่นควรจะขายหุ้นที่กำไรเยอะสุดหรือขายหุ้นที่กำลังขาดทุน หรือไม่ต้องสนใจขายเป็นสัดส่วนเท่ากันหมด หรือยังไงดี

อันนี้ไม่แน่ใจว่าที่มีคำถามนี้คือเป็นเพราะช่วง YTD ที่ผ่านมาพอร์ตขาดทุนหรือเปล่า ซึ่งถ้าคำตอบคือใช่ผมย้ำอีกทีว่า ไม่ควรขายหุ้นในช่วงที่ตลาด pessimistic ถ้าไม่ได้จำเป็นจริงๆกรุณาไปขายหุ้นตอนตลาดสดใสคนดีใจครับ

แต่ทีนี้สมมติจำเป็นต้องขายหุ้นจริงๆ โดยส่วนตัวผมก็จะเรียงตามนี้

1. เอาพวกที่ลักษณะธุรกิจที่ความเข้มแข็งน้อยสุดไปก่อน
เรื่องนี้คือกำลังพูดถึงสิ่งที่บริษัททำ ว่ามันมีความแน่นอนขนาดไหน คือลูกค้าต้องง้อบริษัทเลยมั้ย เรามั่นใจขนาดไหนว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคต บริษัทที่เข้มแข็งก็คือพวกที่มีความแน่นอนสูงมากว่าจะทำได้ดีต่อไป อาจจะมีความได้เปรียบบางอย่าง ลูกค้าต้องง้อ

ประเด็นนี้สำคัญสุด จากประสบการณ์คือจะเจอว่าบริษัทที่เข้มแข็ง สุดท้ายมันจะ surprise เราไปในทางที่ดี กำไรมันมักจะดีกว่ามาก และดังนั้นสมควรเก็บไว้สุดละ

2. ปัจจัยถัดมาก็น่าจะเป็นเรื่องว่าราคามันดูถูกมากหรือดูแพงขึ้นมาแล้ว ขายพวกที่แพงขึ้นมาแล้วก่อน
ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยรอง สมมติเราต้องเทียบระหว่างบริษัทที่เราว่าความเข้มแข็งพอกัน เราค่อยดูว่ามันถูกหรือแพงยังไง
เข้าใจว่ามันไม่มีทางกะได้เป๊ะแหละ กะคร่าวๆเอา

แล้วก็มักจะมีคนถามว่า สมมติมีเคสแบบ บริษัทนึงเข้มแข็งกว่าแต่ราคาขึ้นมาแล้ว ส่วนอีกบริษัทนึงเข้มแข็งน้อยกว่าแล้วราคายังต่ำหรือเราขาดทุนอยู่ เราขายอันไหนก่อน ผมก็ย้ำว่าให้เก็บบริษัทที่เข้มแข็งมากกว่าครับ โดยปกติพวกบริษัทที่เข้มแข็งมันจะทำได้ดีกว่าที่เราคาดนะ ดังนั้นหลีกเลี่ยงการขายบริษัทที่มีความเข้มแข็งมากๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ปกติผมตามสถานการณ์เศรษฐกิจยังไง ?

How do I normally follow the economic news?

ปกติผมตามสถานการณ์เศรษฐกิจยังไง ?

ปกติผมตามสถานการณ์เศรษฐกิจยังไง ?

แน่นอนผมก็ตามพวกตัวเลขสำคัญเหมือนคนอื่นแหละ เช่นอัตราการว่างงาน, การจ้างงาน, การบริโภคของผู้บริโภค, ความเชื่อมั่นผู้บริโภค, การลงทุนของภาคธุรกิจ, ฯลฯ

แต่ที่ผมจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือรายงานผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งพอดีช่วงนี้ของไตรมาส 2 ทยอยออกพอดี ปกติผมก็จะตามฟังบ้างอยู่แล้วโดยเฉพาะบริษัทที่ถือหุ้นอยู่หรือมีความสนใจ แต่เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจมันมีความพิเศษ ผมก็เลยให้ความสนใจในการติดตามเยอะกว่าปกติเพราะบริษัทพวกนี้คือคนที่อยู่หน้างานจริง สัมผัสกับผู้บริโภคหรือลูกค้าในธุรกิจนั้นๆโดยตรง เค้าก็จะให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นกับเราได้ว่าในเวลานี้เกิดอะไรขึ้นอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ สภาพเศรษฐกิจตอนนี้เป็นยังไง วีดิโอนี้ผมมาเล่าสรุปความเท่าที่ฟังมาให้ฟังครับ

ไทย
เริ่มจากบริษัทในไทยก่อน เท่าที่ดูคือยังออกมาน้อยอยู่
– Homepro อันนี้เค้าก็มีพูดถึงต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้นนะ แต่เท่าที่เห็นบริษ้ทก็ยังทำได้ดีมากทีเดียว รายได้โตเล็กน้อย กำไรเติบโตอยู่
– พวกกลุ่มธนาคารดูเหมือนจะพูดไปทางเดียวกัน Bangkok Bank, Krungthai Bank, Siam Commercial Bank ก็มีการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น รายได้สินเชื่อเติบโต สำรองหนี้เสียลดลง และก็พูดตรงกันว่าเศรษฐกิจประเทศไทยน่าจะยังเติบโต การส่งออกเติบโต
– KTC กับ AEONTS ที่ทำบัตรเครดิตก็บอกว่ามียอดการใช้บัตรเยอะขึ้น รายได้เติบโต น่าจะแสดงว่าผู้บริโภคยังพร้อมที่จะใช้จ่ายอยู่ พวกสินเชื่อบุคคลก็เยอะขึ้น พวกนี้กำไรดีขึ้น
– SCC ที่ทำปูนอันนี้ผมก็มองว่าสะท้อนพวกการก่อสร้างและเศรษฐกิจโดยรวมได้ เค้าบอกว่าต้นทุนสูงขึ้นและความต้องการหดตัวลง สินค้าที่เป็นเคมีตัว volume น้อยลง ปูนซีเมนต์ก็ขาย volume น้อยลง น่าจะแปลว่าพวกกลุ่มก่อสร้างยังไม่ฟื้นนะ ความต้องการอาจจะยังไม่มา กำไรหดตัวลง

โดยรวมก็ไม่ได้ดูเลวร้ายเท่าไหร่นะ หวังว่าการที่เปิดให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจและการใช้จ่ายทำได้ดีต่อไป

US
ของ US ก็เช่นกันยังออกมาไม่ครบ แต่มีหลายอุตสาหกรรมอยู่
– Synchrony Financial, Discovery Financial, Visa, Mastercard พวกที่ออกบัตรเครดิตกับเป็นคนทำธุรกรรมบัตรเครดิตพูดไปในทิศทางเดียวกันว่าผู้บริโภคยังซื้อกันอยู่ ยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตสูงขึ้น จำนวนธุรกรรมสูงขึ้น

– พวกกลุ่มค้าปลีกนี่พูดไปในทางเดียวกันเลย คือเห็นต้นทุนแพงขึ้นทั้งสินค้า, ค่าขนส่งและค่าจ้างพนักงาน ผู้ประกอบการยังทยอยส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังสินค้าอยู่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นก็คาดหมายได้ว่าเงินเฟ้อน่าจะยังสูงขึ้นอยู่ Walmart นี่กำไรลดลงเลยด้วย ส่วน Tractor Supply กำไรเพิ่มขึ้นแต่ก็บอกอยู่ว่า Volume ที่ขายลดลง
– กลุ่มขนส่งสินค้าผมดูไปแค่ CSX กับ Union Pacific ทั้งสองเจ้าพูดไปทางเดียวกันว่ามีความพยายามจ้างคนอยู่ ยังได้คนไม่พอและยังไม่กลับไปอยู่ในระดับปกติ ส่วนด้านต้นทุนแพงขึ้นบริษัทก็ผลักภาระต่อไปยังการขึ้นราคาค่าขนส่ง อันนี้ก็ภาพสอดคล้องกับที่กลุ่มค้าปลีกบอก
– ธุรกิจพวกการท่องเที่ยว ผมเห็น traffic ของ Mexico ฟื้นตัวสมบูรณ์ละ จำนวนผู้โดยสารเยอะกว่าปี 2019 แล้วด้วย อันนี้อ้างอิงจากบริษัทที่ทำสนามบินใน Mexico 2 เจ้าคือ Sureste กับ Pacifico ส่วนท่องเที่ยวทั่วโลกภาพยังไม่ชัดมาก ผมเห็นจาก Hilton Worldwide เค้าก็ดูฟื้นมาเยอะอยู่ RevPAR น้อยกว่าปี 2019 อยู่แค่ -2.1% เท่านั้น ก็คือเกือบเท่าไป 2019 มากละ รายได้ดีขึ้นกำไรดีขึ้น
– ร้านอาหาร BJ’s restaurants กับ Texas Roadhouse ก็มีปัญหาเหมือนกันคือรายได้โตขึ้น แต่ต้นทุนโตขึ้นเยอะกว่าที่คาด กำไรหดตัวลง แต่อย่างน้อยประเด็นเรื่องขาดคนดูเหมือนจะดีขึ้นละ
– ธุรกิจเครื่องมือ hand tools Makita กับ Stanley Black & Decker volume ขายตกลง และทั้งคู่มีต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้กำไรหดตัวลง
จากที่ดูก็เห็นว่ามีธุรกิจบางกลุ่มที่โดนผลกระทบนะ แต่ภาพโดยรวมก็ไม่ได้แย่อะไร ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะไปถึงแบบคนตกงานหรือเศรษฐกิจถดถอยอะไรอย่างรุนแรง

ยุโรป
ยุโรปนี่ผมตามน้อยกว่า แต่ที่ดูคือยังไม่ถึงกับเลวร้ายในตอนนี้
– Klepierre อันนี้ทำห้างในยุโรป เป็นกลุ่มใหญ่สุดละ เค้าก็บอกว่าตัวเลขยอดขายร้านค้าในห้างเค้าก็กลับมาใกล้เคียงปี 2019 มากละ แต่ตัวเลข footfall เป็นประมาณ 90% นี่น่าจะคือผลของเงินเฟ้อแหละ ถ้าตัดผลของเงินเฟ้อไปก็ควรจะคาดหมายได้ว่ายอดขายลดลง

ทั้งนี้ถ้าตามข่าวว่ามีการตัดก๊าซที่ส่งเข้าไปในยุโรปให้เหลือน้อยลงอีก สุดท้ายก็น่าจะต้องมีผลให้ธุรกิจเค้าชะลอตัวแน่ๆ ก็ถือว่าน่าติดตาม

ประมาณนั้นครับ หวังว่าจะเห็นภาพว่าปกติผมทำอะไร
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เงินเฟ้อ ทำไมยังสูงไม่เลิกซะที ? แล้วมันจะยังไงต่อ ?

Why is the inflation still high? What is going to happen next?

เงินเฟ้อ ทำไมยังสูงไม่เลิกซะที ? แล้วมันจะยังไงต่อ ?

เงินเฟ้อจะเป็นไงต่อ

พอข่าวเรื่องเงินเฟ้อของ US ล่าสุดออกมาว่าเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคิดเป็นต่อปีแล้วอยู่ที่ 9.1% สูงขึ้นไปกว่าเดือนก่อนหน้าอีก และสูงกว่าที่คนคาดการณ์กันไว้ด้วย ก็มีคนถามหลายคนอยู่ ส่วนใหญ่คือถามว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมเป็นแบบนี้ แล้วมันจะสูงต่อไปอีกมั้ย มีผลอะไรกับเรามั้ย แล้วลงทุนยังไงดี

ทำไมเป็นแบบนี้
ทำไมเงินเฟ้อถึงยังสูงมากอยู่ ทั้งที่ Fed ก็เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปบ้างแล้ว และช่วงที่ผ่านมาก็ได้ยินว่าราคา commodity ไม่ได้เพิ่มขึ้นต่อแล้วนี่

อันนี้ก็เป็นคำถามที่ดีนะ ผมสันนิษฐานว่ามันเป็น lag ระหว่างราคาที่เพิ่มขึ้นของต้นทุนกับสินค้าปลายทางครับ เข้าใจว่าราคาสินค้าที่เพิ่มอยู่ตอนนี้มันทยอยปรับตามจากราคาของต้นทุนตัววัตถุดิบที่เป็นพลังงาน, อาหาร, ค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นก่อนหน้านี้ ดังนั้นแปลว่าถึงเราจะเห็นราคาน้ำมันดิบ peak ไปแล้วหรือราคาวัตถุดิบด้านอาหาร peak ไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว ราคาสินค้าปลายทางอาจจะยังเพราะทยอยปรับตามกันอยู่

สาเหตุที่ผมสันนิษฐานแบบนี้คือมาจากที่ฟังพวก earnings call หลายบริษัท เค้าก็พูดอยู่ว่าต้นทุนแพงขึ้นกัน และหลายเจ้า margin บีบลง เค้าบอกว่ายังปรับราคาขึ้นตามไม่ทันและมองว่าจะทยอยปรับขึ้นตาม

แล้วเงินเฟ้อจะเป็นไงต่อ
คือผมก็ไม่ได้รู้มากไปกว่าคนอื่นนะ ถ้าให้เดาเป็นเลขหรือเดาเดือนหน้าผมก็ตอบตามตรงคือ No idea ครับ แต่ถ้าเดาไปข้างหน้ายังไงผมก็คิดว่าเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวลงแน่ ด้วยเหตุผลว่า Fed เอาจริงและเราเริ่มเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจน่าจะร้อนแรงน้อยลงนะ

สัญญาณที่ว่าคืออะไร อย่างแรกเลยก็คือพวกราคาต้นทุนที่เป็นเหตุให้ของปลายทางแพงขึ้นนั่นมันเริ่มลดลงละ ก่อนหน้านี้ให้ดูราคาน้ำมันดิบกับอาหารไปก็จะเห็นว่าเริ่มลดนะ และอันนี้คือ Bloomberg Commodity Index ที่รวมพวก commodity หลายอย่างรวมกันก็เห็นว่าเริ่มลดลงเช่นกัน ดังนั้นสุดท้ายจะช้าหรือเร็วมันก็ต้องส่งผลต่อราคาสินค้าปลายทางในที่สุดแน่

ส่วนกิจกรรมอื่นทางเศรษฐกิจเราก็เริ่มเห็นว่ามันชะลอตัวเช่น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายนที่ผ่านมายังดยู่ในโซนดีอยู่แต่ก็ลดลง PMI ที่เป็นการสอบถามฝั่งผู้ผลิตก็ยังเป็นภาพขยายตัวอยู่แต่ก็ลดลงชัดเจนเช่นกัน ถ้าดูเป็น breakdown ก็ลดลงทั้งการผลิตและบริการ และตัวค่าแรงก็ยังโตอยู่แต่ก็โตช้าลงนะ

หลักๆแล้วคือผมเห็นหลักฐานว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัวลงแล้วจริง ดังนั้นมันก็เป็นไปไม่ได้ที่เงินเฟ้อจะสูงไปเรื่อยๆได้นะ เพียงแต่ว่าผมคิดว่ามันมี lag time ระหว่างที่ต้นทุนกับการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะส่งผ่านไปถึงราคาสินค้าปลายทางเท่านั้นเองครับ

แล้วมันมีผลอะไรกับเงินลงทุนเรามั้ย
ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ตลาดตอนนี้ก็ยังดูสับสนกันอยู่ ตราบใดที่เราเลือกหุ้นบริษัทที่มีความเข้มแข็ง สินค้าบริการเป็นที่ต้องการสามารถปรับราคาตามได้ก็ไม่มีปัญหา แล้วยิ่งถ้าเรามองถูกว่าเงินเฟ้อมันจะชะลอตัวลงในที่สุดก็ยิ่งไม่ต้องกังวลไปใหญ่

ถ้าจะอันที่อาจจะซวยหน่อยก็จะเป็นตราสารหนี้มากกว่าครับ เพราะดูเหมือน Fed จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาด ดังนั้นตราสารหนี้ก็จะราคาตกเท่านั้นเอง

ลงทุนต่อยังไงดี
ผมแนะนำเหมือนเดิม ในเวลาที่ตลาดกำลัง panic หรือคนอยู่ในโหมดกลัว เป็นเวลาที่ดีมากที่จะซื้อหุ้น โอกาสที่ดีหาได้ แล้วยิ่งถ้าเรามองว่านี่มันเหตุการณ์ชั่วคราวก็ยิ่งไม่ควรแตกตื่นไปใหญ่ การขายหุ้นนี่คืออย่าทำถ้าจะขายไปขายตอนคนหายกลัวค่อยทำ

รวมๆก็ไม่มีอะไรนะ หาบริษัทที่เข้มแข็ง แล้วก็ฉวยโอกาสเอาจากคนอื่นตกใจต่อไปครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

US jobs data เดือนมิถุนายนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวบ้างละ

US jobs data in June actually shows some sign of slowdown

US jobs data เดือนมิถุนายนเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวบ้างละ

US jobs data

ช่วงที่ผ่านมาเค้ามีประกาศตัวเลขการจ้างงานของ US เดือนมิถุนายน ตอนแรกผมเข้าใจว่าการจ้างงานมันน่าจะชะลอได้แล้วเพราะ Fed เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว บวกกับเราเห็นข่าวตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ต่ำลงจากข้าวของที่แพงขึ้น ก็นึกว่าการบริโภคจะลดและดังนั้นการจ้างงานภาคธุรกิจก็ควรจะลดได้ละ แต่ปรากฎว่าตัวเลขการจ้างงานออกมาดีกว่าที่คาดมาก ผมก็เลยแปลกใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นเลยพยายามหาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ก็พอดีเจอบทความของ Morningstar มีรายละเอียดเรื่องนี้พอดีผมเลยเอามาพูดถึงให้ฟังครับ
https://www.morningstar.com/articles/1101570/jobs-data-shows-a-strong-economy-amid-recession-fears

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาการจ้างงานในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตรเพิมขึ้น 372,000 ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงอยู่ใกล้เคียงกับช่วงเดือนที่ผ่านๆมา

ส่วนอัตราการว่างงานยังอยู่แถวที่เดิมคือ 3.6%

แต่ที่น่าแปลกคือ Labor Department มีการทำการสำรวจสอบถามประชาชนพบว่าตัวเลขคนที่ทำงานอยู่กับคนที่กำลังมองหางานลดลงทั้งคู่ ลดลงถึง 300,000 คน ขัดกันกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่บอกว่ามีการจ้างงานเพิ่ม การสำรวจสองวิธีการนี้ต่างกันตรงที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเป็นการสอบถามบริษัท ในขณะที่การสอบถามประชาชนคือถามที่ตัวคน

โดยปกติแล้วถ้าตัวเลขขัดกันเรามักจะให้น้ำหนักกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ถามตัวธุรกิจมากกว่า แต่ตอนนี้ตัวเลขสองอันนี้ไปในทางตรงกันข้ามกันต่อกันมา 3 เดือนละ ดังนั้นเราอาจจะต้องประเมินนิดนึงว่าตัวเลขของการจ้างงานจริงๆอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นขนาดนั้น

ส่วนรายละเอียดว่าการจ้างงานเกิดขึ้นในกลุ่มธูรกิจอะไร สิ่งที่เจอคือเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดธุรกิจไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ, การท่องเที่ยว, สุขภาพ, ฯลฯ ยกเว้นค้าปลีกที่ดูเหมือนจะลดลง อันนี้ก็สอดคล้องกับเทรนด์ที่เราเห็นว่าการค้าปลีกเริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติมากขึั้นหลังจากที่มีความต้องการพุ่งผิดปกติช่วงหลังเปิดจากโควิด และความต้องการของผู้บริโภคเริ่มขยับไปทางภาคบริการมากขึ้น

ส่วนเรื่องอัตราค่าจ้าง เดือนที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ $0.1 เป็น $32.08 ต่อชั่วโมง คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 0.3% ถ้านับช่วงยาว 12 เดือนที่ผ่านมาอัตราค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.1%

ถ้าเทียบการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาปรับหน่วยเป็นปีจะได้อัตราการเติบโต 4.2% ซึ่งถือว่าะลอตัวลงแล้วเมื่อเมียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2021 ที่ถ้าปรับหน่วยเป็นปีจะเกือบ 6%

อันนี้เป็นสัญญาณที่ดี เพราะการที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นแล้วอัตราค่าจ้างไม่ได้สูงขึ้นพรวดพราด น่าจะเป็นสัญญาณบอกว่ามีปริมาณคนเข้ามาเป็นแรงงานเยอะขึ้นอยู่ และบริษัทที่จ้างงานก็ไม่ได้ขาดแคลนคนขนาดว่าราคาเท่าไหร่ก็จ้างเหมือนช่วงก่อน

ส่วนตัวอัตราส่วนตำแหน่งงานว่าง ตอนนี้ก็อยู่ในระดับสูงแต่ดูเหมือนจะเริ่มลดลงแล้ว

ดังนั้นสิ่งที่ผมสรุปได้จากบทความนี้คือ ภาพรวมก็เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับเงินเฟ้อสูงว่าอย่างน้อยปัจจัยเรื่องอัตราค่าแรงก็น่าจะผ่อนคลายลง ไม่เหมือนตอนแรกที่ก็ตกใจว่าทำไมเศรษฐกิจยังไม่ชะลอตัวลงซะที
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่สูงมีผลกับตราสารหนี้อย่างไร ?

How is the Fed raising interest rate and high inflation affect bonds?

การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่สูงมีผลกับตราสารหนี้อย่างไร ?

การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่สูงมีผลกับตราสารหนี้อย่างไร ?

อันนี้มีคนถามเข้ามา แล้วก็พบว่ายังไม่เคยทำวีดิโอตอบเรื่องนี้ เราตอบไปทีละเรื่อง

เริ่มจากดอกเบี้ยนโยบายมีผลยังไงกับตราสารหนี้ก่อน

การทำงานของการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เคยอธิบายไปแล้วในวีดิโอก่อนหน้านี้ https://youtu.be/ucZ13xGl8BU

อย่างที่เข้าใจ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ต้นทุนระยะสั้นของเงินของธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น และดังนั้นสถาบันการเงินก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้สูงขึ้นตาม

ทีนี้ต้องนึกภาพว่า การปล่อยกู้และการยืมเงินมันก็เป็นกลไกตลาดมันมีการแข่งขัน มันส่งผลถึงกันหมด

ถ้าตอนนี้อัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้สูงขึ้น ซักพักอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะสูงขึ้นด้วยเพราะธนาคารจะยินดีให้ดอกเบี้ยเยอะขึ้นจากการที่เค้ารู้ว่าเค้าปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

พอพวกผลตอบแทนจากเงินฝากสูงขึ้น ตราสารหนี้ที่กำลังจะออกใหม่ก็ต้องอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย ไม่งั้นก็ไม่มีคนซื้อ

แล้วพอตราสารหนี้ออกใหม่มันให้ผลตอบแทนสูงขึ้น มันก็ไปแข่งกับตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมมะ ตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมมันกำหนดไว้อยู่เดิมว่าจ่ายดอกเบี้ยอะไรเท่าไหร่นี่เปลี่ยนไม่ได้ ความน่าสนใจมันก็จะลดลงโดยเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ที่ออกใหม่ใช่มะ ก็เลยทำให้คนอยากได้น้อยลงราคาก็ตกครับ ตกมาจนกว่าผลตอบแทนของการถือตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมกับที่ออกใหม่มันไม่ต่างกันน่ะ

ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ส่งผลกลับกัน มันก็ทำให้ต้นทุนของเงินระยะสั้นธนาคารพาณิชย์ต่ำลง แล้วก็เลยปล่อยกู้ระยะสั้นได้ต่ำลงด้วย แล้วสุดท้ายก็ส่งผลไปถึงผลตอบแทนพวกตราสารหนี้ออกใหม่ต่ำลง ราคาตราสารหนี้ที่อยู่เดิมก็เลยสูงขึ้นครับ

ส่วนเงินเฟ้อสูงล่ะ มีผลยังไงกับตราสารหนี้

จริงๆเงินเฟ้อเนี่ย โดยตัวมันเองโดดๆ ไม่ได้มองว่ามันทำให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยหรือมองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดีหรืออะไรนะ ผลโดยตรงคือมันทำให้ทุกสินทรัพย์ผลตอบแทนลดลงหมด ไม่ใช่แค่เฉพาะตราสารหนี้ ต่อให้เราบอกไม่ลงทุนเลยฝังเงินในไหอยู่หลังบ้าน เงินของเราก็ซื้อของได้น้อยลงและลดค่าอยู่ดี

ส่วนผลในทางอ้อมของเงินเฟ้อสูง มันจะเริ่มไม่ชัดละ

อาจมีผลกับตราสารหนี้ในแง่ว่ามันก็จะมีสินทรัพย์บางอย่างที่ต้านผลกระทบของเงินเฟ้อได้ดีกว่าอย่างอื่น เช่น ตราสารหนี้พวกที่ระบุไว้ว่าผลตอบแทนปรับขึ้นหรือลงตามเงินเฟ้อ อันนี้ก็ชัดเจนว่าต้านผลเงินเฟ้อได้ดี หรืออาจจะเป็นหุ้นบริษัทที่ผลประกอบการดีขึ้นในช่วงเงินเฟ้อเพราะสามารถปรับราคาได้ หรืออาจจะเป็นการลงทุนในบริษัทที่ขายสินค้าที่เป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อนั่นแต่แรก เช่นบริษัทน้ำมัน หรืออาจจะเป็นการลงทุนในตัว commodity เลย เมื่อเปรียบเทียบสินทรัพย์ที่ต้านเงินเฟ้อได้ดีกว่ากับตราสารหนี้ซึ่งปกติผลตอบแทนมันคงที่ล็อคเอาไว้ สินทรัพย์ที่ต้านเงินเฟ้อได้ก็จะได้รับความสนใจมากกว่าในช่วงเงินเฟ้อสูงโดยเปรียบเทียบ ดังนั้นเงินลงทุนของคนบางส่วนก็จะขายตราสารหนี้แล้วไปซื้อสินทรัพย์พวกนั้นแทน ก็จะมีผลกับราคาตราสารหนี้บ้าง

หรือบางทีมันอาจจะทำให้คนกลัวว่าจะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ แล้วก็เลยหนีจากสินทรัพย์เสี่ยงมาตราสารหนี้มากขึ้นก็เป็นไปได้

หรือบางทีมันอาจจะทำให้ Fed มีนโยบายขึ้นดอกเบี้ยแล้วทำให้ตราสารหนี้ราคาตกก็เป็นไปได้
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมไม่รอจนกว่าหุ้นจะขึ้น กำไรแล้วค่อยขาย ?

Why not wait until it's profitable to sell a stock?

ทำไมไม่รอจนกว่าหุ้นจะขึ้น กำไรแล้วค่อยขาย ?

ทำไมไม่รอจนกว่าหุ้นจะขึ้น กำไรแล้วค่อยขาย ?

มีคนที่เป็นมือใหม่มากสงสัย ในเมื่อเราจะขายหุ้นเมื่อไหร่ก็ได้เป็นเรื่องของเรา ทำไมไม่รอจนกว่าจะกำไรแล้วค่อยขาย ทำไมถึงมีการขายขาดทุนได้

หลักๆเพราะไอเดียนั่นทำจริงไม่ได้ครับ เพราะบางครั้งเราจะรอจนวันสิ้นโลกมันก็ไม่ฟื้นกลับขึ้นมากำไรครับ เช่นในกรณีที่บริษัทที่เราซื้อมามันผลประกอบการแย่ลงเรื่อยๆจนถึงกับเลิกกิจการ หุ้นซึ่งคือความเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นมูลค่าก็กลายเป็นศูนย์อย่างถาวร

หรือบางทีมันก็รอได้นะ แต่ทำแล้วไม่คุ้ม เช่นเป็นกรณีดีขึ้นมาหน่อย บริษัทผลประกอบการแย่แหละแต่ไม่ถึงกับเลิกกิจการ ราคาหุ้นมันก็อาจจะมีความฟลุคพุ่งขึ้นมาได้จะด้วยข่าวลือหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็อาจจะรอถึงวันที่มันฟลุคนั้นได้ แต่ปัญหาคือมันอาจจะรอนานมาก ไม่รู้เกิดขึ้นเมื่อไหร่เพราะมันคือความฟลุค สิ่งที่เราเสียไปคือเสียโอกาสเพราะเงินเราจมรอปาฏิหารย์อยู่นั่น แทนที่จริงๆถ้าเรายอมขาดทุนขายออกมา เราเอาไปลงทุนในบริษัทอื่นซื้อบริษัทที่มีคุณภาพ ผลตอบแทนสุดท้ายส่วนใหญ่ดีกว่าเยอะครับ เพราะรอที่ว่ามันมักจะนานมาก

ดังนั้นสรุปคือ ไอเดียที่บอกถือหุ้นรอไปเรื่อยๆจนกว่าจะกำไร มันไม่เวิร์คเพราะหนึ่งบางทีมันก็ทำไม่ได้ และสองคือหลายครั้งมันก็ไม่คุ้มที่จะรอครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ชอบหุ้น Growth หรือ Value มากกว่ากัน ?

Which do we prefer, Growth or Value stocks?

ชอบหุ้น Growth หรือ Value มากกว่ากัน ?

ชอบหุ้น Growth หรือ Value มากกว่ากัน ?

หัวข้อนี้มาตอบสั้นๆ จากที่เคยทำวีดิโอว่าหุ้น Growth กับ Value คืออะไรต่างกันยังไงไปรอบที่แล้ว มีคนถามความเห็นส่วนตัวเข้ามา อยากรู้ว่าปกติผมชอบหุ้น Growth หรือหุ้น Value มากกว่ากัน

อธิบายให้เข้าใจก่อน จริงๆผมไม่ได้สนใจนะว่ามันเป็นหุ้น Growth หรือ Value หลักการที่ผมทำคือผมเล็งซื้อหุ้นที่ผมรู้สึกว่ามันมีอำนาจบังคับผู้บริโภคแล้วก็ซื้อช่วงมันราคาตกเท่านั้นเอง

แต่ทีนี้ถ้าต้องเลือก ผมว่าผมเทไปทางหุ้น Growth มากกว่า Value นะ เพราะอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวผมว่ามันกำไรดีกว่าในระยะยาวนะ ไม่ได้อิงวิทยาศาสตร์อะไร bias ส่วนตัวล้วนๆ

หุ้น Growth สำหรับผมจะไม่นับพวกที่อยู่ใน early stage มากๆประเภทว่ารายได้เติบโตพรวดแต่ยังไม่เคยมีกำไรเลย กลุ่มพวกนั้นคือผมไม่ได้ดูเลย ไม่นับ หุ้น Growth สำหรับผมคือพวกบริษัทที่เข้มแข็งอยู่แล้วกำไรสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ยังมีการเติบโตสูงพอควรอยู่ รายได้กับกำไรอาจจะโตซักปีละ 10% อะไรประมาณนั้น พวกนี้โดยปกติเวลาตลาดหุ้นตกก็จะตกลงมาไม่ถึงกับดูราคาถูกมาก ส่วนใหญ่ตกมาแล้วก็ยังอาจจะ P/E สูงอยู่แต่ไม่สูงเว่อร์เช่น 20-30 เท่า

หุ้น Value สำหรับผมก็จะไม่ใช่สักแต่ P/E หรือ P/BV ต่ำเช่นกัน ยังไงตัวธุรกิจก็ต้องมีความเข้มแข็งไว้ก่อน แต่ที่ต่างไปคือกลุ่มนี้ปกติมันจะ mature มากแล้ว การเติบโตจะน้อยมาก รายได้กับกำไรอาจจะโตซักปีละ 4-6% อะไรประมาณนั้น โดยปกติในช่วงตลาดหุ้นตกพวกนี้จาก P/E ไม่สูงอยู่แล้วก็จะตกมาอีก P/E อาจจะอยู่ซัก 10-15 เท่า

เท่าที่สังเกตคือซื้อหุ้นสองกลุ่มนี้ช่วงตลาดหุ้นตก มันก็กำไรทั้งคู่แหละ แต่โดยปกติหุ้น Value มันมักจะฟื้นตัวเร็วกว่าแล้วก็กำไรดีกว่าในช่วงสั้นๆ เรียกว่าฟื้นทันทีที่ปัญหาที่ทำให้หุ้นมันตกแต่แรกหายไป แต่ข้อเสียคือหลังจากนั้นไปแล้วด้วยความที่มันเติบโตช้า ผลตอบแทนจากการถือต่อไปยาวๆก็จะไม่ค่อยสูงเท่าไหร่ ส่วนหุ้น Growth นี่ปกติจะใช้เวลาฟื้นนานกว่าไม่รู้เพราะอะไร อาจเพราะหุ้นพวกนี้ก่อนที่หุ้นมันจะตกราคามันสูงจาก Optimism ของคนอยู่แต่เดิม แต่ข้อดีคือพวกนี้ถือไปยาวๆได้เพราะมันมีการเติบโตที่ดีอยู่แล้วตั้งแต่แรก โดยรวมคือหุ้นที่มี Growth จะทำได้ดีกว่าอยู่ดีในระยะยาว

สำหรับผมก็ประมาณนั้น แต่สำหรับคนอื่นอาจจะชอบหุ้น Value มากกว่าก็ได้นะ อย่างนึงคือผมเห็นว่าหุ้น Value มักจะเด่นคือเรื่อง Dividend yield ปกติหุ้นบริษัทที่เข้มแข็งที่ mature แล้วมักจะปันผลดีระดับนึงอยู่แล้วแต่แรก ยิ่งซื้อตอนหุ้นตกด้วยก็ยิ่ง yield ดีไปใหญ่ ดีกว่ากลุ่มที่มี Growth แน่นอน ถึงแม้ว่าผลตอบแทนโดยรวมระยะยาวจะแพ้ แต่ก็อาจจะเหมาะกับคนบางกลุ่มก็ได้ครับ

สรุปคือถ้าต้องเลือกผมว่ากลุ่ม Growth ดีกว่า แต่เอาจริงก็ไม่ได้ถึงกับซีเรียสนะ เอาเป็นว่าได้หุ้นบริษัทเข้มแข็งในราคาถูกก็คือใช้ได้ครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

QT (Quantitative Tightening) นี่มันคืออะไรนะ ?

What is QT?

QT (Quantitative Tightening) นี่มันคืออะไรนะ ?

Quantitative Tightening
มีคนถามเข้ามาเรื่องที่ Fed จะทำ QT อยากให้อธิบายว่ามันคืออะไรแล้วมันจะมีผลยังไงบ้าง

คืออะไร
QT มันมาคู่กับ QE ก่อนหน้านี้ครับ สองอันนี้ย่อจาก Quantitative Easing กับ Quantitative Tightening ซึ่งฟังชื่อแบบนี้ก็อาจจะไม่ค่อยสื่อเท่าไหร่ แต่ขอให้เข้าใจว่ามันเครื่องมือหนึ่งของธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายการเงิน ที่โผล่มาช่วงหลังๆตั้งแต่ตอนปี 2008 ในช่วงที่เค้ามองว่ากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแค่ลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะยังไม่พอ

วัตถุประสงค์มันก็เหมือนกับนโยบายการเงินอื่นคือ ต้องการจะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งจะเป็นตัวที่ไปส่งผลกับการบริโภคการลงทุนอีกที

สิ่งที่ QE กับ QT ทำคือเพิ่มหรือลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจโดยการซื้อหรือขายพวกหลักทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้

QE นี่คือเพิ่มเงินในระบบโดยการซื้อหลักทรัพย์ พอเงินเพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจเยอะ ก็ขอให้นึกภาพว่าธนาคารพาณิชย์ก็จะมีเงินสดอยู่เยอะพร้อมจะปล่อยสินเชื่อ พอเป็นแบบนั้นเยอะๆธนาคารก็จะแย่งกันปล่อยสินเชื่อและดังนั้นก็จะลดอัตราดอกเบี้ยลงมา ประชาชนทั่วไปหรือธุรกิจก็มีแนวโน้มจะกู้ยืมเงินเพื่อบริโภคหรือลงทุนเพิ่มขึ้น

QT ก็คือกลับกันคือเป็นการลดปริมาณเงินที่อยู่ในระบบ โดยวิธีการเช่นไม่เอาเงินที่ได้มาจากหลักทรัพย์ที่ซื้อกลับไปซื้อหลักทรัพย์อื่นต่อ หรืออาจจะถึงขั้นขายหลักทรัพย์ออกมา พอเงินออกจากระบบเศรษฐกิจไปเยอะๆ ธนาคารพาณิชย์ก็จะมีเงินสดอยู่น้อยลงพร้อมจะปล่อยสินเชื่อน้อยลง พอเป็นแบบนั้นอัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น คนก็มีแนวโน้มจะกู้ยืมเงินเพื่อบริโภคหรือลงทุนน้อยลง

อย่างตอนนี้ให้ดูเล่นๆว่า QE ที่ทำไปช่วงก่อนมันเยอะขนาดไหน

แล้วจะมีผลยังไง
ก็อย่างที่เพิ่งพูดไป มันก็จะทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจลดลง ธนาคารปล่อยกู้ด้วยดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การบริโภคกับการลงทุนก็ควรจะลดลง

หลักทรัพย์ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงก็จะเป็นพวกตราสารหนี้แหละ ผลเหมือนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เลยครับ bond yield สูงขึ้น ราคาของตราสารหนี้ตก

มุมมองผมที่มีต่อ QT ก็เหมือนกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเลยครับ ผมไม่คิดว่ามันเลวร้ายนะ เพราะที่ผ่านมาตอนมีวิกฤติช่วงโควิดเค้าทำ QE เพิ่มเงินเข้ามาในระบบเยอะมาก ตอนนี้ทำ QT เพื่อลดให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติก็น่าจะถูกต้องแล้ว บวกกับเค้าก็พยายามจะจัดการกับเงินเฟ้อที่สูงอยู่ดังนั้นก็ยิ่งเหมาะสมเข้าไปใหญ่
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Stagflation คืออะไร ? เกิดแล้วจะมีผลอะไรกับเรา ?

What is stagflation? How will it affect us?

Stagflation คืออะไร ? เกิดแล้วจะมีผลอะไรกับเรา ?

ช่วงที่ผ่านมาในข่าวเราเริ่มได้ยินคนพูดถึง Stagflation บ่อย วีดิโอนี้เราคุยเรื่องนี้กันครับ ว่ามันคืออะไร แล้วมันมีความหมายยังไงกับการลงทุนของเรา

คืออะไร
คำว่า stagflation นี่ผมได้ยินครั้งแรกจริงๆตอนสมัยเรียนเศรษฐศาสตร์แหละ มันมาจากคำว่า stagnation ที่แปลว่าหยุดพัฒนาอยู่กับที่ กับ inflation คือเงินเฟ้อ ดังนั้น stagflation ก็คือสภาพเศรษฐกิจที่มีทั้งเศรษฐกิจไม่ค่อยโตหรือถดถอยรวมกับเงินเฟ้อที่สูง โดยรวมเป็นสภาพเศรษฐกิจที่ถือว่าไม่ดี ประชาชนมีความลำบาก เพราะเศรษฐกิจไม่โตรายได้ไม่โตในขณะที่ข้าวของแพงขึ้น

จากมุมมองของคนที่ดำเนินนโยบายทางการเงิน stagflation เป็นอะไรที่จัดการยากเพราะถ้าพยายามจะลดอัตราดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะกลายเป็นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก แต่ถ้าพยายามจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ก็จะไปทำให้เศรษฐกิจที่ไม่โตอยู่แล้วยิ่งแย่ไปอีก

เท่าที่ดู stagflation เคยเกิดอยู่แค่ช่วงเดียวคือแถวช่วงปี 1970s ในช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่มีราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหมือนกันเลย ผมมีไปดูเค้าบอกว่า US stagflation เกิดช่วง 1974-1982 ในเวลานั้น inflation เค้าหน้าตาแบบนี้ครับ ดูสูงกว่า 4% ตลอด และมีช่วงที่สูงเกิน 10% ด้วย

แล้วก็เลยทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ จะเห็นว่ามีปรับสูงขึ้นช่วง 1974 นะ แล้วก็ลดลงไปน่าจะเพราะเศรษฐกิจหดตัว แล้วก็มาปรับสูงขึ้นมากอีกทีตอนท้ายๆช่วง 1980-1982 คงเพราะตัดสินใจแล้วว่ายังไงต้องเอาให้อยู่ให้ได้

ส่วนการเติบโตของ GDP ก็สอดคล้องกัน ช่วงปีที่ติดลบก็คือปีที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงๆนั่นแหละ 1974 กับอีกทีตอนแถว 1980-1982

ส่วนอันนี้คือการจ้างงานครับ Unemployment rate ก็ดูสูงขึ้นนะ จริงๆถ้าดูกราฟกว้างกว่านี้ก็จะเห็นว่าช่วงนั้นอัตราการว่างงานสูงกว่าช่วงก่อนหรือหลังเวลานั้น

ในเวลานั้นการหลุดจาก stagflation ได้เค้าใช้วิธีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปสูงจนหยุดเงินเฟ้อได้ แต่ก็สงสัยว่าทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนาตามมาในช่วงเวลานั้น

โดยปกติสถานการณ์แบบ stagflation นี่มันไม่ใช่อะไรทั่วไปที่เกิดบ่อย เวลาที่เศรษฐกิจไม่โตหรือถดถอย (recession) มันมักจะเป็นสภาพของการที่คนไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ แล้วก็เลยไม่มีการบริโภคกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่ำลง แล้วก็เลยทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้า เงินเฟ้อต่ำหรือติดลบ ไม่ใช่เงินเฟ้อสูง

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมมันถึงเกิด stagflation ขึ้นมาได้ ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่ หลักๆแล้วความเห็นแบ่งออกเป็นสองความเชื่อคือ หนึ่งอาจจะมาจาก supply shock อย่างเช่นแบบอยู่ๆก็มีเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากๆอย่างเช่นตอนนี้ มันก็เลยทำให้ราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้น แล้วก็เลยทำให้เศรษฐกิจหดตัว หรือไอเดียอันที่สองคือมาจากนโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจเยอะไปในขณะที่เศรษฐกิจอาจจะผลิตอยู่เต็ม capacity แล้ว เลยทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สูง หรืออาจจะเป็นเพราะทั้งสองอย่างนี้รวมกันก็ได้

แล้วตอนนี้จะเกิดมั้ย
ผมพยายามหานิยามที่ชัดเจนของ stagflation ว่าเกณฑ์มันคืออะไรอย่างชัดเจน ปรากฎว่ามันไม่มีครับ

มันก็มีความเห็นของบางคนบอกว่า stagflation เกิดขึ้นแล้ว เพราะ Real GDP ไตรมาสล่าสุดของ US ก็เติบโตติดลบละ จากการที่เงินเฟ้อสูงกว่าการเติบโตของ GDP

ในความเข้าใจของผมคือยังไม่นะ เพียงแค่ว่าความเสี่ยงสูงขึ้นละ เพราะเราก็เห็นว่าเงินเฟ้อตอนนี้ก็ยังสูงมากอยู่ เดือนพฤษภาคมนี่สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าด้วยนะ ณ เวลาที่ทำวีดิโอนี้เราทราบแล้วว่าเงินเฟ้อของ US, ไทย และ Eurozone สูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามากกว่าเดือนก่อนหน้า และเราเริ่มเห็นความมั่นใจผู้บริโภคเริ่มตก อย่างใน US ผมเข้าใจว่าคนยังพร้อมจะใช้จ่ายอยู่นะ การบริโภคยังสูง แต่ถ้าเงินเฟ้อสูงไปเรื่อยๆแบบนี้สุดท้ายยังไงการบริโภคที่อั้นมาจากช่วงโควิดยังไงก็ต้องซาไป โดยกลุ่มคนที่โดนก่อนก็จะเป็นพวกกลุ่มรายได้น้อย แล้วก็ตามมาด้วยกลุ่มคนชั้นกลาง แล้วก็จะไปถึงเศรษฐกิจหดตัวได้ หรืออีกแบบนึงคือเงินเฟ้อควบคุมได้ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเยอะๆ แล้วก็ทำให้ความต้องการหดตัวเศรษฐกิจก็หดตัวอยู่ดี

มันมีบทความของ World Bank ที่ออกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา พูดถึงว่าโอกาสที่จะเกิด stagflation ว่าสูงขึ้น เค้าคาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2022 นี้จะเหลือแค่ 2.9% เทียบกับที่คาดไว้ตอนต้นปีที่ 4.1% และเค้าเทียบว่าสถานการณ์ในเวลานี้กับตอนเกิด stagflation ในช่วงปี 1970s มีความเหมือนกันในสามเรื่องหลักๆ
1. ปัญหาในฝั่ง supply ที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
2. นโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมากเป็นเวลานานในหลายประเทศ
3. เศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่ ที่ทำให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อทำได้ยาก

แต่ก็มีสิ่งที่สถานการณ์ตอนนี้ต่างออกไปจาก stagflation ในเวลานั้นเช่นกันนั่นคือ
1. ราคา commodity ที่สูงขึ้น สูงขึ้นเป็น % ที่น้อยกว่าช่วงนั้น
2. สถานะทางการเงินของพวกธนาคารและสถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง
3. ธนาคารกลางในหลายประเทศ มีนโยบายชัดเจนว่าเป้าหมายคือจัดการเงินเฟ้อ และที่ผ่านมาธนาคารกลางหลายประเทศได้รับความเชื่อถือ

โดยรวมเค้าก็พูดเหมือนกันคือ ถ้าเงินเฟ้อยังสูงต่อเนื่องไปเรื่อย ก็อาจจะทำให้มีเศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา สำหรับคนที่สนใจอ่านรายงานตัวเต็มของ World Bank ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/37224/9781464818431.pdf

แล้วเราควรจะต้องลงทุนยังไง
จริงๆคนที่รู้จักผมดีก็น่าจะรู้อยู่แล้วนะ ผมแนะนำให้มองระยะยาวเสมอครับ ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่จะหาบริษัทที่เข้มแข็งแล้วฉวยโอกาสซื้อเลยครับ ด้วยเหตุผลว่า
โอกาสจะเกิด stagflation ไม่น่าจะเยอะหรือเกิดก็ไม่ยาวนาน เพราะธนาคารกลางประเทศต่างๆมีบทเรียนมาจากตอนเกิดครั้งที่แล้ว ยังไงก็ไม่ปล่อยให้เงินเฟ้ออยู่นานแน่นอน สุดท้ายเค้าก็จะจัดการด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นผมว่าอาจจะเกิด recession ซะมากกว่า
Recession อาจจะเกิดจริงนะ แต่ยังไงก็ไม่มีทางเลวร้ายเท่า 2008 แน่ เวลานี้คนยังมีงานทำ ไม่ได้มีธนาคารเจ๊ง หนี้สินภาคครัวเรือนก็ไม่ได้สูงเว่อร์เท่าช่วงนั้น

Worst case สมมติเกิด stagflation หลายปี ในช่วงเวลาที่เกิด stagflation ในอดีตนั่น ผลตอบแทนของหุ้นก็ไม่ได้แย่ NYSE Composite ในช่วงนั้นโตปีละ 3.95% รวมปันผลด้วยสมมติซัก 2-3% ก็เป็นผลตอบแทนรวมปีละประมาณ 5.95-6.95%

ดังนั้นแล้ว ถ้าเราซื้อบริษัทที่เข้มแข็งได้ในเวลาที่ราคาถูกผิดปกติ ไม่ต้องราคาต่ำสุดนะ เราจะเป็นคนหัวเราะคนสุดท้าย

สรุปคืออย่าตกใจกลัวมากเกินไปครับ ระวังเป็นสิ่งที่ดีนะ แต่อย่า panic เริ่มมองหาโอกาสได้ละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี