วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศขอคุยเรื่องยากซักเรื่องนึง ผมได้รับการสอนในวิชาไฟแนนซ์สมัยเรียนมหาวิทยาลัยว่ามันเป็นตัวเลขที่ใช้ประเมินมูลค่ากิจการ ในสมัยนั้นก็ไม่ได้นึกอะไรจำไว้สอบเฉยๆ แต่ช่วงหลังมานึกดู สำหรับนักลงทุนอย่างพวกเราแล้ว ผมว่าการใช้ EBITDA ในการประเมินมูลค่ากิจการ เป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้เลย
ตัว EBITDA คือย่อมาจาก earnings before interest, tax, depreciation and amortization หรือเป็นไทยว่า กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย
หลักการที่บอกควรใช้ EBITDA คือ เค้ามองว่าการจะประเมินมูลค่าของบริษัท ควรจะประเมินจากมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย (คือทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของ) ว่าหลังจากการดำเนินงานในแต่ละปี มีเงินเหลือที่บริษัทจะเอาไปใช้ทำนู่นนี่นั่นได้กี่บาท ดังนั้นก็เลยเป็นที่มาของสูตรที่พิจารณากำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย เพราะเค้ามองว่า
- ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย คือจ่ายให้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในบริษัท ไอเดียคล้ายจ่ายปันผล
- ภาษี จ่ายเมื่อมีกำไรเหลือ ดังนั้นถ้าเอาไปลงทุนมีค่าใช้จ่าย หรือไปกู้ยืมเงินมีดอกเบี้ย ส่วนนี้ก็อาจไม่ต้องจ่าย
- ค่าเสื่อม เป็นค่าใช้จ่ายตัดความเสื่อมทรัพย์สิน ไม่ได้มีเงินออกจากกระเป๋าไปจริง
- ค่าตัดจำหน่าย เป็นค่าตัดความเสื่อมทรัพย์สินที่จำต้องไม่ได้ ไม่มีเงินออกจากกระเป๋าเช่นกัน
ส่วนสาเหตุที่ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้ EBITDA เลย เป็นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
-
ค่าเสื่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
การบวกค่าเสื่อมกลับมาแล้วทำเหมือนมันเป็นเงินไม่ได้ออกจากกระเป๋าเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะจริงๆเงินมันออกจากกระเป๋าไปตั้งแต่ตอนซื้อทรัพย์สินมาตอนแรกแล้ว แปลว่าค่าใช้จ่ายนี้มีจริงแน่นอน และเราเสียเงินสดไปแล้วด้วย เพียงแต่มาบันทึกตามหลังเท่านั้นเอง
ที่สำคัญอีกเรื่องคือการบวกกลับมาแล้วบอกว่า บริษัทมีเงินที่ส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาสามารถเอาไปใช้ได้อย่างอิสระก็ไม่จริงอีก เพราะวันหนึ่งทรัพย์สินที่เสื่อมไปถึงจุดหนึ่งบริษัทก็ต้องบำรุงรักษาหรือซื้อใหม่ถ้ายังอยากดำเนินกิจการต่อ แปลว่าการไปนับค่าเสื่อมเป็นเงินที่บริษัทใช้ได้อย่างอิสระนี่น่าจะเรียกว่าเพ้อฝันแล้วครับ หรือไม่ก็ต้องมีความเชื่อว่าโรงงาน, อาคาร, เครื่องจักร และอุปกรณ์จะอยู่คงทนถาวรตลอดไป
-
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ
EBITDA ใช้การไม่ได้เพราะอีกเรื่องคือการที่มันมองจากมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียเนี่ยแหละ (เจ้าหนี้รวมกับเจ้าของ) มุมมองที่เราควรจะมองคือมองจากมุมเจ้าของอย่างเดียวสิ เพราะการลงทุนในหุ้นที่เราเป็นเจ้าของครับ ไม่ใช่เจ้าหนี้
การใช้บวกกลับพวกค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ทำให้เราแยกไม่ออกระหว่างกิจการที่ดีกับไม่ดีเวลามองจากมุมของเจ้าของ เพราะมันดันเหมาไปว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเยอะๆไม่เป็นไร ดูตัวอย่าง
เปรียบเทียบบริษัท A กับ บริษัท B โดยสมมติว่าต่างกันแค่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย |
|||
A |
B |
||
รายได้ |
100 |
รายได้ |
100 |
รายจ่ายต่างๆ |
60 |
รายจ่ายต่างๆ |
60 |
กำไรก่อนดอกเบี้ยกับภาษี |
40 |
กำไรก่อนดอกเบี้ยกับภาษี |
40 |
ดอกเบี้ย |
40 |
ดอกเบี้ย |
0 |
กำไรก่อนภาษี |
0 |
กำไรก่อนภาษี |
40 |
ภาษี (สมมติ 25%) |
0 |
ภาษี (สมมติ 25%) |
10 |
กำไรสุทธิ |
0 |
กำไรสุทธิ |
30 |
อย่างตัวอย่างข้างบนนี้นี่บริษัท A กับบริษัท B ถ้าใช้ EBITDA ในการวัด มันจะได้ค่าเท่ากันเป๊ะเลยนะครับ ซึ่งจะเห็นว่าถ้าเราเป็นผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษัท มันจะไปเหมือนกันได้ยังไง
ดังนั้นโดยสรุปคือผมไม่เห็นภาพว่าสำหรับนักลงทุนอย่างเรา เราจะไปใช้ EBITDA ในการตัดสินใจได้ยังไง แต่อย่าลืมว่านี่เป็นความเห็นส่วนตัวผมนะ ไปศึกษาจริงจังแล้วไตร่ตรองเอาเองอีกทีครับ
Please note: I reserve the right to delete comments that are offensive or off-topic.