Goodwill หรือค่าความนิยมนี่มันคืออะไร ?

What is Goodwill on a financial statement ?

Goodwill หรือค่าความนิยมนี่มันคืออะไร ?

มีคนเจอค่าความนิยมอยู่บนงบการเงินแล้วถามว่ามันคืออะไร

ค่าความนิยมหรือถ้าเป็นงบการเงินภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Goodwill เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อกิจการ  แล้วบริษัทที่เป็นคนซื้อซื้อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดของทรัพย์สินสุทธิของบริษัทที่ถูกซื้อ

เพื่อให้เห็นภาพนึกภาพงี้  สมมติบริษัท A ถูกซื้อโดยบริษัท B  บริษัท A มีทรัพย์สินสุทธิซึ่งประเมินตามราคาตลาดแล้วมูลค่า 100 บาท  แต่บริษัท B ซื้อบริษัท A ด้วยเงิน 130 บาท  อาจจะด้วยเพราะมองเห็นศักยภาพของบริษัท A ที่มากไปกว่าว่าทรัพย์สินสุทธิมีเท่าไหร่  บางทีความเจ๋งของบริษัท A อาจจะเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้เช่นชื่อยี่ห้อที่ลูกค้าเชื่อถือ, ความสร้างสรรค์ของพนักงาน, ฯลฯ  แต่เวลาจะบันทึกบัญชีจะทำไงล่ะ  ในเมื่อบริษัท B จ่ายเงิน 130 บาท  แต่ได้ทรัพย์สินมูลค่า 100 บาทมา  ส่วนต่างนั่นจะบันทึกยังไงดี  บันทึกว่าเป็นขาดทุนมั้ย  ก็ไม่น่าจะใช่นะ  ส่วนต่าง 30 บาทนั่นเค้าบันทึกว่าเป็น Goodwill ครับ

Goodwill นี่มีอายุไม่จำกัดด้วยนะ  ไม่ใช่ว่าต้องตัดจำหน่ายให้หมดภายในกี่ปีๆ  ตาม IFRS ล่าสุดคือบริษัทต้องประเมินเองว่า Goodwill มันด้อยค่าหรือเปล่า  ถ้าพบว่ามันด้อยค่าลงกว่าที่คาดก็ต้องบันทึกการด้อยค่านั้นเป็นค่าใช้จ่าย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

Book recommend: book on financial statements

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

เรื่องนี้เอาจริงๆผมก็ไม่รู้เหมือนกัน  คือพอดีผมเรียนตรงสายก็เลยเรียนพื้นฐานบัญชีกับพวกงบการเงินมาตั้งแต่ป.ตรี  แล้วก็มาสอบ CFA ซึ่ง CFA 1, 2 ก็มีเรื่องบัญชี  มันเลยเหมือนอ่านและเรียนหลายครั้งจาหนังสือหลายเล่ม

หลักๆแล้วผมมองว่าความเข้าใจที่เราต้องมีก็คือเรื่องหลักการบันทึกบัญชีเบื้องต้น  เข้าใจงบหลักอย่างงบกำไรขาดทุน, งบแสดงสถานะทางการเงินแล้วก็งบกระแสเงินสด  เข้าใจว่ามันสื่ออะไร  โครงมันเป็นยังไง  รู้จักรายการหลักๆบนนั้น  เข้าใจว่างบการเงินแต่ละเรื่องมันสัมพันธ์กันยังไง  แล้วก็เข้าใจความหมายของอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ  ประมาณนี้ก็น่าจะใช้ได้ละ

หนังสือที่ผมเคยอ่านหรือคิดว่าเคยอ่านก็จะมี

  • ซีรี่ส์ For Dummies  จำไม่ได้ว่าเล่มไหน  น่าจะ Accounting for Dummies นะ  แต่อ่านเล่มที่ชื่อ Financial Accounting for Dummies น่าจะตรงประเด็นกว่า

  • Warren Buffett and the Interpretation of Financial Statements  เล่มนี้ก็เคยอ่านแน่นอน  แต่เล่มนี้ไม่ใช่พื้นฐานบัญชีนะ  ถ้าจำไม่ผิดมันสำหรับคนเข้าใจบ้างอยู่แล้ว  หนังสือเค้า Highlight รายการที่สำคัญแล้วพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินเพิ่มเติม

  • เล่มที่เป็นการ์ตูนที่จำได้จะมีของ Tactschool  คือเล่มนี้มาอ่านตอนหลังมากก็เลยรู้อยู่แล้วทั้งหมด  จำไม่ได้เลยว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง  แต่จำได้ว่าดีนะ  เคยซื้อเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่ๆที่ทำงาน  ดังนั้นก็เลยคิดว่าดี

  • นอกนั้นที่เหลือจะเป็นหนังสือเรียนตอนป.ตรีกับหนังสือของ CFA 1 ละ

ประมาณนี้แหละครับ  ส่วนใครที่ถามเกี่ยวกับหนังสือเล่มอื่นๆว่าดีมั้ยนู่นนี่  คือผมไม่เคยอ่านดังนั้นผมไม่รู้และไม่มีความเห็นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

Negative Equity

บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

มีคนไปเจอบริษัทที่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ  แต่เป็นบริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปี  เค้าเลยงงว่ามันเป็นไปได้ไงแล้วแบบนี้หมายถึงบริษัทมันมีปัญหาหรือเปล่า

โดยปกติถ้าเราเห็นส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็แปลว่าไม่ดีแหละ  ส่วนใหญ่ก็มาจากการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี  เอาซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

แต่มันก็มีกรณียกเว้นได้เหมือนกัน  บริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปีอาจจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบได้  ที่ผมนึกออกก็จะมีบริษัทซื้อหุ้นคืนซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

ตัวอย่างเช่น Autozone

ในกรณีแบบนี้  บริษัทที่เห็นมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็ไม่ได้แปลว่าไม่ดี  อย่างกรณีแรกถ้าบริษัทจะสามารถทำได้ดีต่อไปในอนาคตก็ไม่มีปัญหา  ถึงจุดหนึ่งขาดทุนสะสมก็หายไปและกลายเป็นกำไรสะสมแทน  ส่วนกรณีที่สองก็ไม่มีปัญหาอะไรเช่นกันถ้าบริษัทจะยังสามารถทำธุรกิจได้ดีต่อไปเรื่อยๆ  บริษัทมีกำไรจ่ายหนี้ได้ก็ใช้ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ห๊า งบการเงิน ? ทำไมต้องดูงบการเงิน / ผลประกอบการด้วย

Why bother looking at the company's financials ?

ห๊า งบการเงิน ? ทำไมต้องดูงบการเงิน / ผลประกอบการด้วย

มีคนสงสัยว่าจำเป็นต้องดูผลประกอบการของบริษัทด้วยเหรอ  เพราะเท่าที่เห็นคือบริษัทกำไรหรือขาดทุนก็ไม่ได้เกี่ยวกับเราเท่าไหร่  ราคาหุ้นมันก็ขึ้นหรือลงไปคนละทางกับผลประกอบการได้  และสุดท้ายประเด็นสำคัญคือเงินลงทุนเรากำไรหรือเปล่ามากกว่ามั้ย  วีดิโอนี้ผมจะพยายามโน้มน้าวว่าเราสมควรต้องดูผลประกอบการของบริษัทครับ

ก็จริงอยู่ครับ  สุดท้ายจริงๆที่เราสนใจคือผลตอบแทนในการลงทุนของเราแหละ  ถ้าสมมติผมจะซื้อหุ้นบริษัทอะไรซักบริษัทนึงแล้วขายได้กำไร 100% แน่นอนนะ  มันก็ยอดเยี่ยมเลยป้ะ  ผมก็ไม่สนใจหรอกว่าบริษัทผลประกอบการจะแย่มากขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆหรือเปล่าถูกมะ  แต่ปัญหาคือในชีวิตจริงมันไม่รู้แบบนั้นไง  

ในชีวิตจริงลองคิดดูนะ  การซื้อหุ้นของเรานี่กำไรที่เราจะได้มาจากอะไรได้บ้าง  มันก็มาได้อยู่ 2 แบบซึ่งคือเงินปันผลที่ได้ระหว่างที่ถือกับตอนขายหุ้นขายได้ราคาสูงกว่าที่ซื้อมาถูกมะ  ถ้าเราจะลงทุนแล้วได้กำไรเยอะเราก็ต้องคาดหวังอันใดอันหนึ่งหรือทั้งสองอย่างใช่มะ

ประเด็นก็คือผลประกอบการบริษัทมันมีผลกระทบต่อทั้งปันผลและราคาขายไง  เงินปันผลมันก็จ่ายออกมาจากกำไร  ดังนั้นถ้าเราคาดหวังเงินปันผลที่ดีเติบโตมันก็ต้องมาจากบริษัทผลประกอบการมีกำไรเติบโตน่ะครับไม่งั้นมันจะเอาเงินมาจากไหน  ส่วนราคาขาย  คุณว่าระหว่างบริษัทที่ผลประกอบการห่วยและแย่ลงๆกับบริษัทผลประกอบการดีและดีขึ้นเรื่อยๆ  อันไหนคนจะอยากได้มากกว่ากัน  มันก็แน่นอนอยู่แล้วป้ะ  คนก็จะอยากได้บริษัทที่ผลประกอบการดีขึ้นอยู่แล้ว  และในเมื่ออยากได้คนก็ถึงจะยินดีซื้อในราคาที่แพงขึ้นน่ะครับ  คือการที่เราจะคาดหวังว่าให้คนมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้นทั้งที่บริษัทผลประกอบการห่วยแตกมันก็เกิดขึ้นได้นะ  แต่นั่นมันคือฟลุค  นักลงทุนในตลาดคนอื่นเค้าก็ไม่ได้โง่หรือบ้านะ

ดังนั้นสรุปแล้วนะ  จริงๆเราสนใจแค่ผลตอบแทนในการลงทุนของเราแหละ  แต่พอดีว่าผลประกอบการของบริษัทมันดันมีผลกระทบโดยตรงต่อผลตอบแทนในการลงทุนของเรา  เราก็เลยพลอยต้องดูผลประกอบการของบริษัทไปด้วยก็เท่านั้นเองครับ
เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น  เราสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อ SET100 ย้อนดูเปรียบเทียบผลประกอบการบริษัทกับราคาหุ้นดูว่ามันไปในทางเดียวกันมั้ยนะ

1. ADVANC

2. BDMS

3. CPF

4. HMPRO

5.LH

6.IRPC

7. STA

อย่างที่เห็น  ผมก็ว่าโดยรวมมันไปในทิศทางเดียวกันชัดเจนนะ

ต่อให้เราบอกกะจะลงทุนระยะสั้นเลย  ผมว่ายังไงถ้าซื้อหุ้นที่เทรนด์ระยะยาวมันขึ้นยังไงก็มีโอกาสกำไรมากกว่าเทรนด์ระยะยาวมันลงอยู่ดีมั้ยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Cash Flow (กระแสเงินสด) กับ Free Cash Flow (กระแสเงินสดอิสระ) คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

What's cash flow and free cash flow ?

Cash Flow (กระแสเงินสด) กับ Free Cash Flow (กระแสเงินสดอิสระ) คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

มีคนถามเกี่ยวกับ cash flow (กระแสเงินสด) และ free cash flow (กระแสเงินสดอิสระ) ว่ามันคืออะไร  ต่างกันยังไงชื่อฟังคล้ายๆกัน

เริ่มจาก cash flow ก่อน  ความหมายมันก็ตามชื่อเลยคือเงินสดเข้าหรือออกจากบริษัท  ซึ่งมันเป็นอะไรที่สมควรให้ความสำคัญมากเพราะว่าสุดท้ายแล้วบริษัทจะรอดแล้วทำธุรกิจต่อไปได้ก็ต้องมีเงินสดเข้ามามากกว่าออกไปถูกมะ

ขอให้เข้าใจว่าในการบันทึกกำไรขาดทุนเค้าบันทึกแบบเกณฑ์คงค้าง (accrual basis)  ซึ่งก็คืออิงตามกิจกรรมทางธุรกรรมทางธุรกิจเป็นหลักไม่ได้อิงตามเงินสด  เวลาบริษัทขายของได้บริษัทจะบันทึกว่ามีรายได้เกิดขึ้นมีกำไรเกิดขึ้นทันทีไม่ว่าจะได้รับเงินจากลูกค้าหรือยังไม่ได้รับ  และดังนั้นสมมติเราดูงบกำไรขาดทุนอย่างเดียวแล้วไม่ได้ดูตัว cash flow เลยมันก็จะมีจุดบอดเพราะว่าต่อให้บริษัทบันทึกว่ามีกำไรเยอะแค่ไหนแต่ถ้าบริษัทไม่เคยเก็บได้เลยซักบาทมันก็เจ๊งอยู่ดีป้ะ

ทีนี้ตัว cash flow นี่มันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามเหตุคือ

  1. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (cash flow from operating activities)
  2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (cash flow from investing activities) 
  3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (cash flow from financing activities)

อันที่เค้าให้ความสำคัญมากสุดก็จะเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแหละ  หลักๆที่ควรจะต้องสังเกตก็คือที่บอกขายของได้มีกำไรนี่เก็บเงินได้หรือเปล่า  เงินสดไม่ได้ไปจมอยู่กับสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นพรวดใช่มั้ย  ส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนก็ไว้สังเกตว่าบริษัทมีการใช้เงินไปซื้อที่ดิน, อาคารอุปกรณ์, เครื่องจักร, ฯลฯ อะไรพวกนี้เยอะมั้ย  ถ้าเยอะโดดขึ้นมาก็ต้องถามว่านั่นคือทำอะไร  ส่วนกิจกรรมจัดหาเงินก็ดูว่ามีการกู้เงินหรืออะไรพรวดขึ้นมาหรือเปล่า  เช่นกันถ้าเยอะขึ้นมาก็ต้องถามว่านั่นมันเอาไปทำอะไรเหรอ

ทีนี้มาตัว free cash flow ละ  free cash flow นี่เค้าหมายถึงเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากบริษัทได้โดยที่บริษัทไม่กระทบและยังเติบโตต่อได้ตามปกติ  หรือพูดอีกแบบนึงก็คือเป็นเงินสดที่เหลือจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจได้มาแล้วหักส่วนที่ต้องใช้ในการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจไปแล้ว  มันเป็นเงินสดส่วนที่บริษัทมีอิสระที่จะเอาไปทำอะไรก็ได้  จะเก็บไว้สำรองก็ได้, จ่ายชำระคืนเงินกู้ที่ยืมมาก็ได้, จ่ายเป็นปันผลให้กับผู้ถือหุ้นก็ได้หรือจะเอาไปซื้อหุ้นคืนก็ได้  

Free cash flow มันก็เลยสำคัญมากเพราะการที่ตั้งบริษัทมาก็เพื่อสร้างให้เกิด free cash flow เยอะๆไง  และดังนั้นเวลาที่เราได้ยินคนพูดถึงวิธีประเมินมูลค่าบริษัท  เราก็จะเคยได้ยินคนพูดถึงการคิดลดตัว free cash flow ก็เพราะเหตุผลนี้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

Warning Signs to Look Out for in Financial Statements

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

มีคนถามเข้ามาว่ากำไรเพิ่มขึ้นขนาดไหนเรียกว่าผิดปกติ  หรือหนี้สินลดลงเยอะแค่ไหนคือผิดปกติมั้ย  และอีกหลากหลายคำถามที่เป็นแนวๆนี้  ดังนั้นวีดิโอนี้ผมจะมาพูดถึงสิ่งที่เราควรต้องสังเกตบนงบการเงินเท่าที่ผมนึกออกตอนนี้ครับ

โดยไอเดียภาพรวมก่อน  สิ่งที่บันทึกอยู่บนงบการเงินมันควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัท  เวลาเราเห็นอะไรที่เราสงสัยบนงบการเงิน  มันเป็นสัญญาณเตือนให้เราไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวธุรกิจ  แล้วมันก็จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของบริษํทมากขึ้น

ทีนี้สิ่งที่เราต้องเอะใจถ้าเห็นบนงบการเงินก็จะมี

  1. หนี้สินพวกเงินกู้ธนาคารหรือหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นเยอะๆ
  2. รายได้กับกำไรดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน
  3. รายได้น้อยลงต่อเนื่องหลายปี
  4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่ดูใหญ่
  5. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นลบต่อเนื่อง
  6. ลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นไม่เป็นสัดส่วนกับรายได้
  7. จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วเพิ่มขึ้น
  8. มี Capital expenditure ขนาดใหญ่หรือมีการซื้อกิจการด้วยเงินจำนวนเยอะ

เท่าที่นึกออกก็ประมาณนี้นะ  ถ้าเราเจอเรื่องพวกนี้สิ่งที่ควรทำก็คือไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแล้วค่อยตัดสิน  ถ้าดูแล้วเป็นเหตุทีเข้าใจได้มีที่มาที่ไปแล้วเราสบายใจก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้าหาเหตุผลไม่ได้หรือรู้สึกผิดปกติอยู่ดีก็คอยจับตาดูต่อหรือข้ามมันไปก็ได้ครับแล้วแต่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

Case study: NMC Health

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

เร็วนี้ไปอ่านเจอบทความของ Binod Shankar, CFA น่าสนใจมากเลยมาเล่าให้ฟัง

มันเป็น case study ของบริษัทชื่อ NMC Health  บริษัทนี้ทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  มีทำบริการสำหรับผู้มีบุตรยากด้วย  เป็นเจ้าใหญ่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เคยเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE 100 ด้วย

แต่ทีนี้ในปี 2019 บริษัทถูกสงสัยว่ารายงานหนี้สินน้อยกว่าที่เป็นจริงโดย Muddy Waters Research  และสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2020 บริษัทก็ยอมรับว่ารายงานหนี้สินน้อยไปประมาณ $2.7 billion  ตอนนี้ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้และกำลังอยู่ในกระบวนการที่มีคนเข้ามาจัดการ  ทีมผู้บริหารและกรรมการถูกเปลี่ยน

คำถามที่น่าสนใจของบทความนี้คือ  เราจะสามารถเห็นความผิดปกติของบริษัทนี้ได้ก่อนที่เรื่องมันจะแดงหรือไม่  มีรายการบนงบการเงินไหนที่ผิดสังเกตที่เป็นสัญญาณเตือนเราล่วงหน้าหรือเปล่า  คนเขียนเค้าก็พูดถึงจุดที่เค้าเจอดังนี้

  1. เรื่องการซื้อกิจการ
  2. บริษัท NMC มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปี  ตั้งแต่ปี 2015 – 2018 รวมเป็นเงินประมาณ $1.9 billion

    ตัวเลขการซื้อกิจการเยอะๆต่อเนื่องก็เป็นสัญญาณที่ไม่น่าไว้ใจ  หลายครั้งทำเพื่อให้รายได้และกำไรมีการเติบโตเพราะธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่สามารถเติบโตเองได้

  3. ซื้อกิจการเยอะไม่พอ  ซื้อแบบมี Goodwill มหาศาลด้วย
  4. Goodwill มันเป็นตัวเลขส่วนต่างที่เกิดขึ้นเวลาบริษัทซื้อกิจการมาด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมินได้ของกิจการนั้น  การที่มี Goodwill เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกตินะ  แต่ในกรณีของ NMC Health นี่คุณ Binod Shankar, CFA แสดงตัวเลขให้ดูว่ามันสูงกว่าปกติมาก

    โดยเฉลี่ยแล้ว Goodwill เป็น 350% เทียบกับทรัพย์สินสุทธิของกิจการที่ไปซื้อมา  และถ้าดูเทียบกับทรัพย์สินของบริษัทตัวเองในปี 2018  Goodwill คิดเป็น 37% ของทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งนี่มันเยอะมาก

    ผมลองเทียบกับบริษัท Hanesbrands ซึ่งรู้ว่าเป็นอีกบริษัทที่มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีเช่นกันแต่หลังจากนั้นผลประกอบการไม่ได้มีปัญหา Goodwill คิดเป็น 16.8% เท่านั้นเอง  แต่กับอีกตัวอย่างนึงคือ Stericycle ซึ่งมีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีแล้วภายหลังมีปัญหา Goodwill ในช่วงปี 2014 ก่อนที่จะเริ่มเห็นปัญหาก็สูงมาก  คิดเป็นสัดส่วน 54.95% ของทรัพย์สินทั้งหมด

    บางคนก็อาจจะบอกว่า Goodwill มันเป็นตัวเลขทางบัญชีดังนั้นมันอาจจะไม่เกี่ยวเพราะบริษัทที่ซื้อมาอาจจะเป็นพวก Asset light แต่มีกำไรดีก็ได้  แต่ถ้าดูบรรทัดสุดท้ายที่เทียบกำไรทั้งปีของกิจการที่ซื้อมากับราคาซื้อ  จะพบว่าเลขปีหลังๆต่ำลงเยอะมากเหลือแค่ 3-4% เท่านั้นเอง  ถ้าคิดว่าเป็น P/E ก็คือซื้อบริษัท P/E 25-33 เท่ามา  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะซื้อกิจการที่ห่วยมาหรือไม่งั้นก็อาจจะกิจการดีแต่ซื้อมาราคาสูงมาก  มันก็ไม่ดีทั้งคู่

  5. หนี้สินที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ
  6. ต่อให้ไม่นับตัวหนี้สินที่เค้าซ่อนแล้วมาเจอทีหลัง  ถ้านับตามงบการเงินอย่างเดียวอย่างน้อยสิ่งที่เราเห็นก็คือเงินกู้ที่ใหญ่ขึ้นหลายปีติด  เหตุผลที่หนี้สินเยอะขึ้นอย่างรวดเร็วก็เข้าใจได้ว่าเพื่อไปซื้อกิจการ

  7. มีแววว่าจะเผื่อหนี้สูญน้อยผิดปกติ
  8. ถ้าดูปริมาณรายได้ค้างรับที่เกินกำหนดชำระจะเห็นว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ  และที่สำคัญคือสูงขึ้นเมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับรายได้ค่างรับทั้งหมดด้วย  แต่ถึงอย่างนั้นบนงบกำไรขาดทุนไม่ได้มีการพูดถึงการสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอะไรเลย  แล้วยิ่งดูสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่แย่ลงในช่วงปีหลังๆด้วยก็ยิ่งไม่น่าจะถูกต้องเข้าไปใหญ่

ดังนั้นโดยสรุปคือ  ต่อให้เราไม่ได้สามารถที่จะทำการสืบค้นแบบ Muddy Waters ได้  เราก็พอจะเห็นสัญญาณผิดปกติหลายอย่างบนงบการเงินได้อยู่ดี  

ผู้เขียนมีลองเอาตัวเลขงบการเงินไปใส่ Beneish model ที่เป็นเครื่องมือทางสถิติเอาไว้ดูว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่ตัวเลขงบการเงินถูกตกแต่ง  เค้าก็พบว่าคะแนนที่ได้ก็บ่งชี้ว่าบริษัทน่าจะมีการตกแต่งงบบัญชีมาตั้งแต่ปี 2016 ทุกปีจนถึง 2018 เลยด้วยครับ

เผื่อคนสนใจอ่านบทความต้นฉบับด้วยตัวเองผมทิ้งลิ้งค์ไว้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2020/05/19/the-nmc-health-debacle-four-red-flags/

ทีนี้สำหรับคนต้องการอ่านเพิ่มเติม  ผมแนะนำให้อ่านรายงานของ Muddy Waters ก่อนเลย  Link อยู่ที่นี่  http://d.muddywatersresearch.com/tou/?redirect=/content/uploads/2019/12/MW_NMC_12172019-1.pdf

ในรายงานของ Muddy Waters นอกจากเรื่องสงสัยว่าโกง  มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารโรงพยาบาลสูงผิดปกติอะไรพวกนั้นแล้ว  เค้าจะมีพูดถึงการใช้ Reverse Factoring ที่ควรจะมีลักษณะเหมือนกู้ยืมเงินแต่กติกาในการบันทึกบัญชีตรงนี้ไม่ชัดเจนทำให้สามารถบันทึกเป็นเจ้าหนี้การค้าได้  ทำให้ตัวเลขเงินกู้ดูน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  รายละเอียดของ Reverse Factoring อธิบายไว้ดีมากบนเวปนี้ครับ  https://valuesque.com/2019/12/28/nmc-health-demystifying-reverse-factoring-the-three-is-a-crowd-financial-analysis-problem/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

What are these different earnings: reported, operating, core, pro forma?

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

มีคนอ่านงบการเงินภาษาอังกฤษแล้วไปเจอคำพวกนี้  เค้าถามว่ามันต่างกันอย่างไร

Reported earnings กับ Basic earnings เป็นอันเดียวกัน  เค้าหมายถึงกำไรสุทธิที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  มาจากรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  ซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่ถือว่าแฟร์เพราะทุกบริษัทต้องบันทึกภายใต้กฎเดียวกันหมด

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation – Interest – Tax

แต่ Reported earnings มันก็จะมีผลของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว  ซึ่งตรงนี้มันมาจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทว่าใช้หนี้เยอะมั้ย  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการบริหารตัวธุรกิจเท่าไหร่  ดังนั้นมันก็เลยมีบางคนที่นิยมดูตัว Operating earnings แทน  ถ้าเป็นภาษาไทยอันนี้คือกำไรจากการดำเนินงานหรือคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้  ตัว EBIT น่ะครับ

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation

ส่วน Core earnings นี่เป็นตัวที่โดยหลักการคือต้องการจะดูกำไรที่เกิดจากธุรกิจหลักของบริษัท  ดังนั้นเค้าก็พิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท  แล้วก็ตัดพวกรายการพิเศษออกเช่น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการฟ้องร้อง, กำไรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เผื่อขาย, ฯลฯ

Pro Forma earnings หรือก็คือ Adjusted earnings  พวกนี้คือปรับยังไงก็ได้เลยแล้วแต่ผู้บริหาร  เค้าก็จะอ้างว่าเป็นการปรับตัวเลขตัดนู่นนี่ออกหรือไม่นับรายการบางอย่างเพื่อให้สะท้อนผลประกอบการของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น  อารมณ์มันจะคล้ายๆกับ Core earnings นะแต่ยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก

Reported earnings กับ Operating earnings ถือเป็นตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชี

แต่ Core earnings กับ Pro Forma นี่ถือว่าไม่ใช่ตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชีละ  เวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้ในการเปรียบเทียบข้ามบริษัทได้  และต่อให้เป็นการเปรียบเทียบแต่ละปีของบริษัทเดียวกันก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง  ปกติมันจะมีหน้า reconciliation ที่แจกแจงว่าเลขพวกนี้ปรับมาจากกำไรสุทธิปกติยังไงบ้าง  ถ้าจะดู earnings สองอันนี้ต้องดูรายละเอียดที่มาทุกครั้ง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

เวลาเราเปิดงบการเงินขึ้นมา  เราจะเห็นว่ามันมี column ที่เป็นงบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการ  และบางบริษัทก็จะต่างกันไม่เยอะส่วนบางบริษัทก็ดูต่างกันเยอะ  เลยมีคนถามว่างบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการต่างกันยังไง

โดยสาระสำคัญความแตกต่างมันจะตามชื่อเลยครับ  

งบการเงินรวมคือแสดงงบการเงินที่รวมบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน  รวมตัวรายได้, รายจ่าย, กระแสเงินสด, ทรัพย์สิน, หนี้สิน  ทุกอย่างรวมกันเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แล้วก็รายงานตัว minority interest หรือส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทแยกต่างหากอีกที

ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจการคือตัวบริษัทใหญ่เป็นหลัก  แล้วบันทึกพวกบริษัทย่อยหรือร่วมแยกต่างหาก  ปัจจุบันรู้สึกว่าจะบันทึกแบบราคาทุน (cost method) หรือแบบส่วนได้เสีย (equity method) ก็ได้

ดังนั้นจุดหลักๆที่มันจะต่างก็มี

  1. เวลามีกำไรเกิดขึ้นกับบริษัทย่อยจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  2. สมมติบริษัทย่อยมีกำไรโผล่มา 1 บาท  ถ้าเป็นงบการเงินรวมมันก็จะแสดงกำไรที่โผล่มา 1 บาทนี้  แต่ถ้าเป็นงบเฉพาะกิจการก็จะไม่เพราะ 1 บาทนี่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย

  3. รายการระหว่างกันจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  4. พวกธุรกรรมระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยเช่น  บริษัทใหญ่ซื้อของจากบริษัทย่อยหรือบริษัทใหญ่ให้บริษัทย่อยยืมเงิน  พวกนี้ถ้าเป็นงบการเงินรวมก็จะถูกตัดออกไปไม่แสดงเพราะมันมองเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แต่จะแสดงบนงบการเงินเฉพาะกิจการ

แล้วเราควรดูอันไหนดี ?

ถ้าเป็นผมก็จะดูงบการเงินรวมเป็นหลักนะ  เพราะเวลาเราซื้อหุ้นเราก็เป็นเจ้าของบริษัทย่อยของมันไปด้วย  ดังนั้นมันก็ควรจะดูงบการเงินรวมเป็นหลัก  แล้วอาจจะดูงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่ากำไรที่เกิดขึ้นมาจากบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยมากกว่ากัน

ถ้าใครสนใจจะอ่านอย่างละเอียดสามารถไปอ่านเอกสารของสภาวิชาชีพบัญชีเลยครับ

http://www.tfac.or.th/Article/Detail/119612

และสมมติใครถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าหรือต้องการอ่านของ IFRS เลยก็ไปที่นี่ครับ

https://www.ifrs.org/issued-standards/list-of-standards/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

When doing averages, what kind of incident should we exclude ?

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อ valuation  คือมีคนถามว่าเวลาทำการเฉลี่ยตัวเลขเช่นแบบ ROE เฉลี่ยของหลายปีหรือ Net Profit Margin เฉลี่ยหลายปีเนี่ย  สมมติว่ามันมีบางปีที่ตัวเลขต่างจากปีอื่นเยอะเราควรที่จะตัดมันออกไปจากการคำนวณมั้ย

ถ้าเป็นความเห็นผมโดยคอนเซปต์ก่อน  เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเราคือคำนวณตัวเลขเฉลี่ยเพื่อคาดการณ์อนาคต  โจทย์ของเราคือต้องการจะรู้ว่าถ้าบริษัททำธุรกิจปกติไม่ได้มีเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นผลประกอบการน่าจะเป็นเท่าไหร่  ดังนั้นเราก็ควรที่จะต้องตัดปีที่ผิดปกติออก

ทีนี้ปัญหาคือแล้วยังไงมันถึงเรียกว่าผิดปกติ  โดยส่วนตัวก็คือผมจะเข้าไปดูในรายละเอียดของปีนั้นๆว่ามีรายการอะไรผิดปกติบนงบการเงินหรือเปล่า  หรือพยายามหารายละเอียดว่าในปีนั้นๆมีเหตุการณ์อะไรพิเศษที่สมควรถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกมั้ย  อย่างถ้าสมมติอ่านเจอว่าผลประกอบการเลวร้ายเพราะโรคระบาดแล้วรัฐบาลสั่งให้หยุดขายงี้  ปีนั้นก็ควรจะตัดไปเพราะเราไม่คิดว่ามันสะท้อนผลประกอบการปกติของบริษัทและไม่มีประโยชน์ในการประมาณอนาคต  แต่สมมติอ่านเจอว่าปีนั้นผลประกอบการไม่ดีเพราะราคาขายของสินค้าของบริษัทตกต่ำเพราะมีคู่แข่งขายตัดราคา  อย่างนี้ไม่เกี่ยวละเพราะมันก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกเป็นปกติของธุรกิจ  ดังนั้นผลประกอบการปีนี้ก็ควรจะรวมอยู่ในการทำการเฉลี่ย

คือสุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนทำแหละ  และผมก็เข้าใจที่บางคนไม่ happy เพราะอยากได้กติกาที่มันตายตัว  แต่มันช่วยไม่ได้จริงๆครับมันก็ต้องทำแบบนี้แหละ  การที่จะไปอยู่ๆตัดปีเยอะสุดน้อยสุดแล้วเฉลี่ยที่เหลือหรือวิธีอะไรแบบนั้นผมก็ว่าไม่เวิร์คนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses