งบการเงินบริษัทที่ดี หน้าตาเป็นยังไง ?

What does a good company's financial statement like ?

งบการเงินบริษัทที่ดี หน้าตาเป็นยังไง ?

มีคนเสนอให้ทำวีดิโอดูงบการเงินบริษัทที่ดีบ้าง ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทำละ แต่คิดดูก็ทำซะหน่อยก็ดีเพราะที่ผ่านมาก็ดูเหมือนจะไม่เคยทำหัวข้อนี้จริงๆ

บริษัทที่ดีมันก็มีเยอะไปหมด ในเมื่อไม่มีโจทย์อะไรเป็นพิเศษเราสุ่มมาเปิดให้ดูเป็นตัวอย่างซักอัน วันนี้เราเอา HMPRO และ T. Rowe Price มาเป็นตัวอย่างครับ โดยสรุปเรื่องหลักๆที่ผมจะพิจารณาก็เหมือนเดิมกับทุกครั้งคือผมดูดังนี้

โดยปกติส่วนตัวผมนิยมมองไปที่งบกำไรขาดทุนก่อน และเหมือนกับวีดิโอก่อนๆที่เคยอธิบายไว้สิ่งที่ผมพิจารณาคือดูว่าบริษัท
• ขายของได้เพิ่มมั้ย
• ขายเพิ่มแล้วกำไรเติบโตมั้ย
• Margin สม่ำเสมอมั้ย
• มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มพรวดพราดหรือเปล่า
บริษัทที่ดีมันก็จะแน่นอน ขายได้เพิ่ม กำไรโต Margin สม่ำเสมอ ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรโตพรวดผิดปกติ

แล้วสมมติเราเห็นว่าบริษัทมีกำไรดีนะ เราก็ถัดมาดูงบกระแสเงินสดต่อเลยว่า
• กำไรที่ว่านี่กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกด้วยป่าว
• บริษัทเอาเงินสดไปทำอะไรบ้าง ต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเยอะมั้ย
• มีกู้ยืมเงินจำนวนมากหรือเปล่า
บริษัทที่ดีก็แน่นอน กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวก อาจจะมีการลงทุนบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องกู้ยืมเงินอะไรตลอด

แล้วสุดท้ายก็มาดูงบดุล
• ดูว่าลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับรายได้มั้ย
• หนี้สินที่เป็นพวกเงินกู้ระยะยาวเยอะป่าว
• มีการเพิ่มทุนในช่วงนี้มั้ย
บริษัทที่ดีเราก็จะเห็นลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นตามรายได้ หนี้สินพวกเงินกู้ระยะยาวไม่เยอะ และไม่ต้องเพิ่มทุนอะไรกันบ่อยๆ

จบละครับ หน้าตางบการเงินบริษัทที่ทำได้ดีก็จะประมาณนี้แหละ

นอกเหนือจากนั้นก็คือพวกหมายเหตุประกอบงบการเงินในเรื่องต่างๆที่อยากทราบ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande – เราจะเห็นปัญหาได้ก่อนมันจะเป็นข่าวมั้ย ?

Analyzing Evergrande Financial Statement - Could we spot the issue before it became known ?

วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande – เราจะเห็นปัญหาได้ก่อนมันจะเป็นข่าวมั้ย ?

#อ่านงบการเงิน #วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande

ก็เป็นคำถามที่ดี  คือเนื่องจากตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันมีปัญหาแน่  ดังนั้นถ้าเราเปิดไปดูงบการเงินย้อนหลังเราก็คงมีความลำเอียงว่ามันดูมีปัญหาแหละ  แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ลองเปิดดูนะ

ปัญหามันดังขึ้นมากลางปีนี้ 2021 ถูกมะ  ดังนั้นเราก็จะเห็นงบสิ้นปี 2020 และงบการเงินใดๆที่มาก่อนหน้านั้น

สิ่งที่เราจะสังเกตได้จากการอ่านงบการเงินคือ

  • ยอดขาย  ดูหยุดโตไปตั้งแต่ปี 2019 นะ  ซึ่งในเวลานั้นไม่เกี่ยวกับโควิดแน่ๆ  จริงๆเราคงไม่ได้คาดหวังว่ามันจะโตเร็วแบบปีก่อนหน้าไปเรื่อยๆ  แต่การเติบโตมันดูเปลี่ยนแปลงเยอะอยู่  จากปี 2017 มา 2018 นี่รายได้เติบโต 49.89% นะ  ในขณะที่จาก 2018 มา 2019 นี่ 2.44% เอง  อันนี้ก็ผิดสังเกตนะ
  • ต้นทุนตรง  ดูเพิ่มขึ้นเยอะกว่ารายได้  อย่างปี 2019 ที่รายได้โตช้า 2.44%  ต้นทุนตรงโต 15.94%  เอาจนกำไรขั้นตั้นลดลงด้วยซ้ำ  ส่วนปี 2020 นี่แย่ลงไปอีก  
  • SG&A  เพิ่มขึ้นทุกปีนะ  และก็เช่นกันกับต้นทุนตรงคือในปีที่รายได้โตช้า  ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ยังเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เยอะกว่าอยู่  รวมถึงปีโควิดด้วย
  • กำไรจากการดำเนินงานตกลงเยอะตั้งแต่ปี 2019 ละ
  • เมื่อไปอ่านตัวรายงานปัญหาดูจะเป็นเรื่องขายไม่ได้  เค้าก็พูดชัดเจนอยู่ว่าปัญหาของยอดขายไม่โตและอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่ต่ำลงคือสินค้าขายไม่ออก  ต้องมีการลดราคาเพื่อพยายามขายให้ออก
  • Finance cost ปี 2020 มันดูลดลงเยอะมาก  แต่เมื่อไปดูหมายเหตุก็จะเจอว่าจริงๆค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมันเพิ่มขึ้นแหละ  มันเหมือนจะลดลงแค่เพราะมัน capitalised ไปกับว่ามีโชคดีจากอัตราแลกเปลี่ยน
  • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน  ดูน่ากลัวอยู่  ทั้งที่เหมือนจะกำไรทุกปีแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบบางปี  จาก 6 ปีที่เราดูอยู่มีบวกแค่ 2 ปีคือ 2018 กับ 2020  เท่าที่ดูคือเงินมันไปอยู่ใน properties under development กับที่ held for sale
  • ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบริษัทคืออยู่ในรูป properties under development กับที่ held for sale  เพิ่มขึ้นทุกปี
  • ธุรกิจอื่นๆของบริษัทที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ขาดทุน
  • Cost of borrowing ดูสูงขึ้น  โดยเฉพาะดอกเบี้ยธนาคารที่เป็นแหล่งเงินกู้หลัก  ทั้งที่อย่างปี 2020 เรารู้ว่าธนาคารกลางของจีนลดอัตราดอกเบี้ยนี่  อันนี้จริงๆบ่งชี้ว่าธนาคารจีนเค้าก็เห็นว่าบริษัทมีความเสี่ยงเยอะขึ้น

สรุปคือ  มันก็พอเห็นปัญหาได้อยู่นะ  ส่วนตัวแล้วเรื่องขายไม่ออกนี่เป็นประเด็นสำหรับผมมากสุด  ซึ่งเราเห็นแววมาตั้งแต่ 2019 ละ  ทั้งยอดขายไม่โตและบริษัทก็บอกเองว่าต้องลดราคาทำ clearance sale  ไม่เกี่ยวกับโควิดแน่เพราะปีนั้นยังไม่โควิดด้วย  กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบหลายปีนี่คือเงินมันไปกองอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังสร้างหรือสร้างแล้วยังขายไม่ได้  ซึ่งตราบใดที่มันขายได้ดีต่อไปเรื่อยก็คงไม่เป็นไร  แต่เราเห็นไงว่าทรงมันจะขายไม่ได้มันเตือนมาก่อนละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

What is Statement of Changes in Stockholders Equity

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

บางทีจะมีคนถามถึงงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นว่าสำคัญมั้ย  ทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน

ที่คนไม่ได้พูดถึงกันเยอะเป็นเพราะมันไม่ได้เป็นงบการเงินหลักน่ะครับ  อย่างบางบริษัทถ้าไม่ใช่งบปีเค้าไม่รายงานงบอันนี้ด้วยซ้ำ

วัตถุประสงค์หลักของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือตามชื่อมันน่ะครับ  คือมันแจกแจงรายการต่างๆในส่วนของผู้ถือหุ้น  รายการพวกที่เราเห็นบนงบดุลนั่นแหละ  แล้วก็บอกว่าที่ตัวเลขของแต่ละรายการมันเปลี่ยนแปลงไปมันเปลี่ยนเพราะเรื่องอะไร

ส่วนใหญ่ผมก็ไม่ได้สนใจดูเท่าไหร่  ที่เคยดูแล้วมีประโยชน์ก็จะมีตอนที่่ผมเห็นตัวเลขทุนเรือนหุ้นออกชำระแล้วมันเปลี่ยนไป  ผมก็จะอยากรู้ว่ามันเพราะอะไรเหรอ  ออกหุ้นใหม่หรือเปล่า  ถ้ามาดูตรงนี้ปกติมันก็จะบอกอยู่ว่าเปลี่ยนจากอะไรออกหุ้นใหม่หรือเป็นการปันผลเป็นหุ้นหรือเพราะอะไร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

Essentials of Cash Flow Statement

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

งบกระแสเงินสดวัตถุประสงค์หลักก็คืออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับเงินสดบ้าง  เพิ่มหรือลดลงเพราะอะไร  ซึ่งสำคัญแหละเพราะสุดท้ายบริษัทดำเนินธุรกิจไปก็ต้องมีกระแสเงินสดเป็นบวกนะไม่งั้นก็เจ๊ง

หน้าตาการรายงานงบกระแสเงินสดมันจะมีแบบ direct กับ indirect method ซึ่งมันจะนำเสนอต่างกันตรงกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน  เท่าที่เห็นมาเจอแต่ indirect method  เคยได้ยินว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมเตรียมแบบ indirect method เพราะทำได้ง่ายกว่า  แต่ไม่ได้ซีเรียสอะไรเพราะมันแค่การนำเสนอเฉยๆ  ยังไงตัวกระแสเงินสดก็ต้องออกมาเท่ากันอยู่ดี

งบกระแสเงินสดจะมีรายการหลักๆเรียงตามนี้

1. ส่วนแรกจะเป็นกระแสเงินสดที่เกี่ยวกับกิจกรรมดำเนินงาน

  • เริ่มต้นจากกำไรสุทธิ  บางทีก็จะเห็นเริ่มต้นจากกำไรจากการดำเนินงาน  อันนี้ก็เอามาจากงบกำไรขาดทุนตรงๆ
  •  

  • ปรับรายการด้วยรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด
  • รายการแถวนี้ก็จะเยอะไปหมด  ใหญ่ๆก็มักจะเป็นค่าเสื่อมกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในธุรกิจ  มันจะมีบางอันที่ทำการกลับรายการเพื่อจะไปบันทึกในหมวดอื่น  เช่นอย่างค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  เค้าจะไปบันทึกเงินสดที่จ่ายไปจริงอีกที

     

  • กระแสเงินสดสุทธิที่ได้จากกิจกรรมดำเนินงาน
  • รายการนี้ก็คือสรุปสุดท้ายว่าดำเนินธุรกิจไปนี่สรุปกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง  โดยปกติแล้วสิ่งที่เราต้องการคือมันควรจะไปในทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุน  ไม่ใช่เลขต้องเท่ากันนะ  แต่มันต้องไปทางเดียวกัน

2. ส่วนที่สองจะเป็นหมวดกิจกรรมการลงทุน

  • รายได้หรือเงินที่จ่ายไปสำหรับการลงทุน
  • บางทีก็เป็นเงินลงทุนระยะสั้น, ระยะยาวหรือลงทุนในธุรกิจร่วมอะไรก็แล้วแต่
     

  • ลงทุนในที่ดิน, อาคารและอุปกรณ์
  • อันนี้คือที่ปกติเค้าเรียกว่า CAPEX ซึ่งย่อจาก capital expenditure ครับ  มันคือเงินลงทุนที่บริษัทใช้ไปเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหญ่ๆเพื่อมาขยายธุรกิจ  ถ้าสมมติเป็นธุรกิจที่ต้องมีลงทุนในใบอนุญาตหรือซื้อสัมปทานรายการมันจะชื่อสอดคล้องกับธุรกิจครับ  และอันนั้นก็เรียกว่าเป็น CAPEX เหมือนกัน
     

  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

3. ส่วนที่สามคือหมวดกิจกรรมจัดหาเงิน

  • ดอกเบี้ยจ่าย
  • เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
  • เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ที่ยืมมา
  • จ่ายปันผล
  • เงินสดรับจากการออกหุ้นใหม่
  • เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหุ้นคืน
  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

Income Statement essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

ต่อจากวีดิโอที่แล้ว  เราุพูดถึงรายการหลักๆบนงบการเงิน  โดยอันนี้เราจะดูงบกำไรขาดทุน

วัตถุประสงค์หลักของงบกำไรขาดทุนคือบอกเราว่าสรุปบริษัททำธุรกิจมานี่กำไรมั้ยเท่าไหร่  หรือว่าขาดทุน

รายการหลักๆที่เราจะเห็นบ่อยเรียงไปเลยก็จะมี

  • รายได้…
  • รายการนี้ก็คือรายได้ที่บริษัททำได้น่ะแหละ  ในหมายเหตุประกอบงบการเงินมันจะมีเกณฑ์การรับรู้รายได้อยู่  สมควรอ่าน

  • ต้นทุน…
  • อันนี้อย่างที่เคยอธิบายในวีดิโออื่น  มันคือต้นทุนตรงที่ให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ

  • กำไรขั้นต้น
  • อันนี้คือรายได้ที่หักต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  โดยปกติสิ่งที่ผมจะมองคือมันสม่ำเสมอหรือเปล่า  บริษัททั่วไปก็จะค่อนข้างสม่ำเสมอนะ  ถ้าไม่นี่ก็จะเริ่มน่ากลัวละ  ในกรณีที่เป็นบริษัทในหมวดสินค้าเดียวกัน  การเปรียบเทียบอัตราส่วนกำไรขั้นต้นก็จะช่วยให้เราเห็นภาพว่าบริษัทไหนขายของได้แพงกว่ากันหรือน่าจะมีอำนาจในการตั้งราคามากกว่ากัน

  • ค่าใช้จ่าย…
  • พวกนี้ก็คือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่ต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  เช่นค่าโฆษณา  คำเรียกสามัญเค้าจะเรียกว่า SG&A (Selling, general and administrative expenses)

  • ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย
  • โดยทั่วไปมักจะรวมอยู่ในรายการอื่น  บางส่วนอยู่กับต้นทุนบางส่วนกับค่าใช้จ่าย  ถ้าสมมติต้องการตัวเลขค่าเสื่อมและตัดจำหน่ายก็ดูในงบกระแสเงินสดหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้

  • กำไรจากการดำเนินงาน
  • รายการนี้ปกติเราก็จะนิยมเอาตั้งหารด้วยรายได้  จะได้ operating profit margin ซึ่งปกติผมจะคอยดูว่าทำได้สม่ำเสมอหรือเปล่า  ส่วนเรื่องสูงหรือต่ำนี่มันแล้วแต่อุตสาหกรรมมากๆ

  • ต้นทุนการเงิน
  • รายการนี้ก็แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี  ส่วนใหญ่ก็ดูเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานหรือรายได้ก็ได้

  • ภาษี
  • กำไรสุทธิ
  • ตรงแถวนี้ก็คือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นละ  บางทีจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เค้าก็จะเขียนแยกออกมา

  • กำไรต่อหุ้น
  • มันจะมีแบบขั้นพื้นฐานกับปรับลด  ขั้นพื้นฐานก็คือกำไรหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกชำระแล้วอยู่ในปัจจุบัน  ส่วนปรับลดคือหารด้วยจำนวนหุ้นที่เผื่อสมมติว่ามีการใช้สิทธิพวกหลักทรัพย์ที่มีสิทธิแปลงเป็นหุ้นทั้งหลาย

  • กำไรเบ็ดเสร็จ
  • กำไรเบ็ดเสร็จนี่คือกำไรสุทธิที่รวมพวกรายการที่ยังไม่เกิดแต่อาจจะเกิดขึ้นเข้าไปด้วย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

Balance Sheet essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

มีคนขอให้ทำวีดิโออธิบายรายการหลักๆบนงบการเงิน  เราเริ่มจากงบดุลก่อนละกัน

งบดุลหรืองบแสดงสถานะทางการเงิน  วัตถุประสงค์หลักคือบอกว่าบริษัทมีสินทรัพย์อะไรอยู่และสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นของใครบ้าง

รายการหลักๆที่เป็นสาระสำคัญก็จะมีดังนี้

เริ่มจากฝั่งสินทรัพย์ก่อน

หมวดแรกที่จะโผล่มาก่อนเสมอก็จะเป็นพวกสินทรัพย์หมุนเวียน  คำว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคือหมายถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง  เป็นเงินสดหรืออะไรที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วโดยไม่เสียมูลค่าเยอะ  รายการที่จะเห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด  เงินลงทุนชั่วคราว  เงินลงทุนระยะสั้น
  • อันนี้ก็ได้แก่พวกเงินสดในบัญชีและรายการอื่นๆที่สภาพคล่องสูงมากจนใกล้เคียงเงินสด  โดยรวมแล้วรายการพวกนี้ดูไว้ให้รู้ว่าสมมติมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นบริษัทมีเงินไปจ่ายเท่าไหร่

  • ลูกหนี้การค้า
  • อันนี้คือลูกค้าที่ยังติดเงินเราอยู่  โดยปกติเราควรสังเกตว่าลูกหนี้การค้าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับยอดขาย

  • สินค้าคงเหลือ
  • อันนี้รวมทั้งพวกวัตถุดิบที่กำลังจะมาผลิตเป็นสินค้า, สินค้าที่ผลิตแล้วพร้อมขาย, ของอยู่ระหว่างการผลิตหรือของที่ซื้อมาแล้วพร้อมขาย  รายการนี้กับบางธุรกิจตัวเลขที่แสดงอยู่บนงบการเงินอาจจะไม่ตรงกับมูลค่าจริงๆของมันเท่าไหร่  ปกติเค้าจะบันทึกตามต้นทุนที่ซื้อมาแหละ  แต่บางธุรกิจเช่นสมมติแฟชั่นงี้  บางทีของที่เหลืออยู่มันอาจจะตกยุคไปแล้ว  มูลค่าขายจริงได้ต่ำกว่าที่บันทึกอยู่มากๆก็เป็นไปได้  ในทางกลับกันสมมติเป็นบริษัทก่อสร้าง  สินค้าคงเหลืออาจจะมูลค่าตรงมากก็ได้  รายการนี้เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้าคือเราคอยดูว่ามันขยับไปทางเดียวกันกับยอดขาย

     
    หมวดถัดมาก็จะเป็นพวกสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  พวกนี้ก็คือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้ยาก  รายการหลักๆก็จะมี

  • เงินลงทุนระยะยาว
  • ในกรณีที่มันเป็นจำนวนที่ใหญ่  เราก็สมควรไปอ่านหมายเหตุว่ามันคืออะไร

  • ที่ดินอาคารและอุปกรณ์
  • รายการอันนี้มีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจแหละ  ในบางปีถ้าเราเห็นมันกระโดดพรวดขึ้นมาเราสมควรไปดูว่าบริษัททำอะไร

  • สินทรัพย์สิทธิการเช่า
  • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
  • ค่าความนิยม
  • ถ้าเราเห็นค่าความนิยมเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มันต้องแปลว่าบริษัทซื้อกิจการขนาดใหญ๋มาหรือไม่ก็ซื้อกิจการเยอะแน่นอน  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้แต่ก็เป็นอะไรที่เสี่ยงอยู่  สมควรอ่านเพิ่มเติมว่ามีการซื้อบริษัทอะไรมาเพราะอะไร

 

ฝั่งหนี้สิน

กลุ่มแรกก็จะเป็นหนี้สินหมุนเวียน  ซึ่งหมายถึงหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี  โดยปกติก็จะมี

  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้ยืมระยะสั้น
  • ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ

โดยปกติตรงส่วนนี้ผมไม่ได้ซีเรียสเท่าไหร่  ยกเว้นในโหมดวิกฤติที่เราอาจจะต้องดูเงินกู้ระยะสั้นกับส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระหน่อยเพราะมันเป็นอะไรที่ใกล้ต้องจ่ายละ  ขนาดที่ใหญ่มากเทียบกับสภาพคล่องที่มีก็จะสยองนิดนึง

 

ส่วนถัดมาก็จะเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน  ซึ่งก็แน่นอนคือพวกที่ถึงกำหนดชำระเกิน 1 ปีขึ้นไป  ที่เห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินกู้ระยะยาว  หุ้นกู้

อันนี้ซีเรียสละ  อย่างแรกเลยคือดูว่าเยอะหรือน้อยเมื่อเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้  ถ้าเห็นเป็นตัวเลขที่เยอะและที่สำคัญถ้าเห็นว่ากำลังเพิ่มขึ้นก็ควรจะสงสัยว่ามีอะไรหรือเปล่า  เอาเงินไปทำอะไรเหรอ

 

ฝั่งส่วนของผู้ถือหุ้น

หลักๆจะมี

  • เงินของผู้ถือหุ้นตอนที่ระดมทุน
  • กำไรที่สะสมไว้ในบริษัท

ส่วนนี้ปกติไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

“ต้นทุนขาย” กับ “ค่าใช้จ่ายในการขาย” มันต่างกันยังไง ?

What are the differences between "Cost of Goods Sold" and "Selling Expenses" ?

“ต้นทุนขาย” กับ “ค่าใช้จ่ายในการขาย” มันต่างกันยังไง ?

มีคนอ่านงบการเงินแล้วมีคำถาม  เค้าเห็นว่าบนงบกำไรขาดทุนมันมีรายการอยู่สองอันชื่อคล้ายกันมาก  อันนึง “ต้นทุนขาย”  อีกอันนึง “ค่าใช้จ่ายในการขาย”  สองอันนี้มันต่างกันยังไง

เวลาเราเห็นคำว่า “ต้นทุน” นำหน้า  มันจะหมายถึงต้นทุนตรงที่ทำให้ได้มาของสินค้าหรือบริการนั้น  ถ้าสมมติเป็นบริษัทผลิตขนมปังขายอย่างฟาร์มเฮ้าส์  ต้นทุนตรงก็จะเป็นแป้ง, น้ำตาล, ของพวกที่ไปอยู่ในขนมปัง, รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติก, ค่าแรงคนงานที่ทำงานในโรงงานผลิต, ค่าเสื่อมของเครื่องจักรที่ผลิตขนมปัง, ฯลฯ  ถ้าเป็นธุรกิจค้าปลีกอย่าง CPALL, MAKRO ต้นทุนตรงหลักๆก็จะเป็นค่าสินค้าที่ซื้อจากผู้ผลิตมาขาย, รวมค่าขนส่งที่ขนมาจากผู้ผลิตมาถึงโกดัง, ติดบาร์โค้ดหรือฉลาก  ส่วนถ้าเป็นธุรกิจบริการต้นทุนตรงก็จะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับตัวคนที่ให้บริการ  เช่นสมมติเป็นธุรกิจที่ปรึกษาต้นทุนตรงก็จะเป็นเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆของที่ปรึกษา  ในทางบัญชีเค้าจะเรียกรายการนี้ว่า Cost of Goods Sold, COGS, Cost of Sales

ส่วนพวก “ค่าใช้จ่าย” ก็ตามชื่อแล้วแต่ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องอะไร  พวกนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายอะไรก็ได้ที่ไม่ได้เป็นต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการเช่นค่าเช่าออฟฟิศ, โฆษณา, การตลาด, คอมมิชชั่น, เงินเดือนพนกงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือให้บริการลูกค้า  รายการพวกนี้เรียกรวมๆว่า SG&A (Selling, general and administrative expenses)

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการที่เป็น GAAP กับ Non-GAAP คืออะไร ต่างกันยังไง ?

Difference between GAAP and Non-GAAP

รายการที่เป็น GAAP กับ Non-GAAP คืออะไร ต่างกันยังไง ?

มีนักเรียนเรามีคำถามนี้หลังจากไปอ่านพวกรายงานประจำปีกับงบการเงินของบริษัทต่างประเทศ

จริงๆเรื่องนี้ไม่มีอะไรมาก  GAAP คือมาตรฐานบัญชีของสหรัฐอเมริกาย่อมาจาก Generally Accepted Accounting Principles  รายการอะไรก็แล้วแต่ที่ตาม GAAP ก็คือเป็นรายการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  อย่างเช่น Net Income, Revenue, Gross Profit, Operating Profit, Reported EPS, ฯลฯ  พวกนี้จะมีกฎค่อนข้างตายตัวและโดยปกติคือสามารถใข้เปรียบเทียบข้ามบริษัทได้

ส่วน Non-GAAP ก็ตามชื่อคือรายการที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานบัญชีแต่บริษัทอยากรายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบ  อาจจะเพราะบริษัทเชื่อว่ามันจะทำให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจบริษัทได้ดีขึ้นหรือสะท้อนผลประกอบการได้ดีกว่า  ซึ่งมีทั้งที่เราเห็นทั่วไปจนบางทีนึกว่าเป็น GAAP อย่างเช่น EBIT, EBITDA  และพวกที่ชัดเจนว่าแล้วแต่บริษัทเช่น Restaurant Margin, Adjusted Net Income, Funds from Operation, ฯลฯ  โดยปกติพวกนี้มันจะแล้วแต่นิยามของแต่ละบริษัทให้ความหมาย  ถ้าเราจะเอาตัวเลขนี้ของบริษัทนึงเปรียบเทียบกับอีกบริษัทอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ต้องดูในรายละเอียดว่ามันอันเดียวกันหรือเปล่าสมควรเปรียบเทียบกับจริงมั้ย  เช่นอย่าง Adjusted Net Income  คำว่า Adjusted นี่คือเรารู้ว่ามันมีการตัดหรือเพิ่มบางอย่างแน่  ไม่ใช่ Net Income ปกติตาม GAAP  แต่คนละบริษัทก็อาจจะตัดหรือเพิ่มรายการที่ไม่เหมือนกันดังนั้น Adjusted Net Income ถึงแม้จะชื่อเหมือนกันแต่ก็อาจจะเทียบกันตรงๆไม่ได้

ตัวอย่าง Non-GAAP  ลอง Search คำว่า “Non-GAAP” ดูแล้วอ่านๆดูจะเห็นภาพ

https://investor.texasroadhouse.com/press-releases/press-release-details/2021/Texas-Roadhouse-Inc.-Announces-Second-Quarter-2021-Results/default.aspx

https://d18rn0p25nwr6d.cloudfront.net/CIK-0001538990/dd33d358-255d-42ec-b2d8-2f5e0d2d6fec.html

สรุปคือ GAAP กับ Non-GAAP ก็คือตามหรือไม่ตามมาตรฐานบัญชีเท่านั้นเอง  Non-GAAP ก็ไม่ได้แปลว่ามีปัญหาอะไรนะ  แค่ว่าเราต้องทำความเข้าใจว่ามันคืออะไรเวลาอ่านเท่านั้นเอง  หลายครั้งก็มีประโยชน์นะ  หลายธุรกิจมันก็อาจจะมีอัตราส่วนทางการเงินหรือตัวเลขบางตัวที่เฉพาะธุรกิจนั้นๆอยู่  สุดท้ายที่จะฝากคือถ้าไม่ใช่ US  มาตรฐานบัญชีส่วนใหญ่จะอิง IFRS  ดังนั้นถ้าบริษัทที่ไม่ใช่ US บางทีเราก็จะเห็น IFRS กับ Non-IFRS ซึ่งก็คือความหมายเดียวกันกับ GAAP กับ Non-GAAP ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หา EBITDA ยังไง ?

How to find EBITDA ?

หา EBITDA ยังไง ?

มีคนถามว่าเราจะหา EBITDA จากไหน

หลักๆก็มีอยู่สองแบบคือ

  1. บางบริษัทมีอยู่ในรายงานประจำปี
  2. ถ้าไม่มีก็คำนวณเอง

ถ้ามันมีบอกอยู่แล้วก็ง่ายสุด  รายการนี้ไม่ได้เป็นรายการทั่วไปที่จะอยู่บนงบการเงิน  แต่บางบริษัทอาจจะพูดถึง  ดังนั้นโอกาสสูงสุดที่จะเจอคือเจอในรายงานประจำปี  ตัวอย่างบริษัทที่มีก็เช่น Minor International, National Express, etc.  ตัวอย่างบริษัทที่ไม่มีก็เช่น TFMAMA, Costco, etc.

แต่ถ้าบางบริษัทไม่มีก็คำนวณเองเลย  EBITDA มันก็คือกำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินกับภาษีเงินได้ + ค่าเสื่อม + ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  ซึ่งเลขพวกนี้หาได้บนงบการเงินอยู่แล้ว  กำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินกับภาษีเงินได้อยู่บนงบกำไรขาดทุน  ส่วนค่าเสื่อมกับค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะอยู่ในงบกระแสเงินสดต้นๆเลยเป็นรายการบวกกลับมา  อยู่ในหมวดกิจกรรมดำเนินงานแน่นอน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

Does increase in retained earnings translate to increase in cash ?

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

มีคนมีความสงสัยเกี่ยวกับรายการบนงบการเงินตัว “กำไรสะสม”  เค้าถามว่ากำไรสะสมนี่คืออยู่ในรูปเงินสดใช่มั้ย

คำตอบคือไม่ใช่นะครับ  เพื่อความเข้าใจวีดิโอนี้ผมขยายความด้วยการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนบัญชีงบดุลให้ดูนะ

 

สมมติสถานการณ์ไล่ไปดังนี้

1. เริ่มต้นมาเราทำธุรกิจอะไรซักอย่างด้วยเงินทุน 100 บาท

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่ามีเงินสด 100 บาทโผล่ขึ้นมาเป็นทรัพย์สิน  และบันทึก 100 บาทในฝั่งส่วนของเจ้าของว่าเป็นเงินลงทุน 100 บาท

2. เราเอาเงิน 100 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 100 บาทหายไปละ  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 100 บาท

3. ขายสินค้าไปในราคา 120 บาท  สมมติว่าลูกค้าติดเงินเราไว้ก่อน

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าสินค้าคงเหลือ 100 บาทก็หายไปละ  แล้วมีลูกหนี้การค้า 120 บาทโผล่ขึ้นมา  ส่วนต่าง 20 บาทที่เพิ่มขึ้นมานับเป็นกำไรดังนั้นก็บันทึกตรงส่วนของเจ้าของว่ามีกำไรสะสมโผล่ขึ้นมา 20 บาท  จะเห็นว่าตรงนี้มีกำไรสะสมเกิดขึ้นละนะ  แต่มันก็ไม่ได้อยู่ในรูปเงินสดถูกมะ  ตอนนี้ยังอยู่ในรูปลูกหนี้การค้าอยู่เพราะคนยังไม่จ่ายเงินเรา

4. ลูกค้าเอาเงิน 120 บาทมาจ่าย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าลูกหนี้การค้า 120 บาทหายไปละ  แทนที่ด้วยเงินสด 120 บาท  ตอนนี้กำไรสะสม 20 บาทนั่นก็อยู่ในรูปเงินสดแล้วใช่มะ

5. เราเอาเงิน 110 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 110 บาทหายไป  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 110 บาท  กำไรสะสมก็ 20 บาทเหมือนเดิมถูกมะ  แต่เปลี่ยนรูปไปอีกละส่วนนึงยังเป็นเงินสดอยู่ 10 บาทกับอีกส่วนนึงอยู่ในรูปของสินค้าคงเหลือ 10 บาท

6.เราจ่ายเงิน 10 บาทออกมาเป็นปันผลให้ตัวเอง

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 10 บาทหายไป  และกำไรสะสมก็หายไป 10 บาท  เพราะในเมื่อจ่ายปันผลออกมาแล้วก็ไม่ใช่สะสมแล้ว

 

นึกภาพออกมั้ยครับ  ในบริษัทของจริงมันก็จะมีธุรกรรมเยอะแยะไปหมดดังนั้นกำไรสะสมนั่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ในรูปเงินสดเลยครับ  และเวลาเราเห็นบนงบการเงินว่าบริษัทมีกำไรสะสม X บาท  ไม่ได้แปลว่าบริษัทมีเงิน X บาทอยู่ในมือในเวลานั้น  อาจจะมี 0 บาทเลยก็ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี