เสริมสร้างฐานะทางการเงิน 3 – วางเป้าหมายทางการเงิน

Improve your financial life 3 – Quantify and set financial goals

set-your-financial-goals

เรื่องนี้ผมว่าพวกเราหลายคนถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆแล้วล่ะ  มันอาจจะเริ่มจากเราอยากซื้อหนังสือการ์ตูน  และการ์ตูนมันเล่นละ 35 บาท  สมัยนั้นผมได้ค่าขนมวันละ 20 บาท  รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแน่นอนอย่างอาหารกลางวันกับรถเมล์กลับบ้านมัน 15 บาท  แปลว่าถ้าตัดสินใจเก็บวันละ 5 บาทไม่กินขนมพร่ำเพรื่อ  ก็จะใช้เวลาสัปดาห์นิดๆซื้อการ์ตูนได้  และนั่นคือพื้นฐานสำคัญของการออมเลยนะ  มันคือการที่เรายอมเสียสละความสุขเฉพาะหน้าเพื่อให้ได้ความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่าในอนาคต

โตขึ้นมันก็คล้ายๆกันแหละครับ  เพียงแต่ชีวิตเราซับซ้อนขึ้นเท่านั้นเอง  พอเรียนจบมาเริ่มทำงานเราก็ต้องเริ่มออมเงินซื้อบ้าน, รถ, เตรียมแต่งงาน  พอเริ่มมีครอบครัวมีลูกก็ต้องใช้เงินนู่นนี่ต้องเตรียมส่งลูกเรียนแล้วยังต้องเตรียมเกษียณอีก  ชีวิตเราก็ต้องคอยหาสมดุลระหว่างไลฟ์สไตล์ช่วงทำงานกับการเตรียมเกษียณ  ซึ่งคนจะพบว่าเวลาผ่านไปเร็วมากแปปเดียวก็จะเกษียณแล้ว

บทความก่อนหน้านี้สองอันทำให้เรารู้สถานะการเงินปัจจุบันเราอยู่ตรงไหน  ต่อไปคือวางจุดที่เรากำลังะมุ่งหน้าไป  โดยเราจะเขียนเป้าหมายของเราออกมาแบ่งตามช่วงเวลาเป็นระยะสั้น, กลาง, ยาว  เพื่อความง่ายจะใช้ worksheet ของ Morningstar ก็ได้โหลดได้ที่นี่

https://drive.google.com/open?id=0B4XyqG1tPEfiVEx6RGR0ZDI3eTQ

ขั้นตอนการวางเป้าหมายคือ

  1. บันทึกรายละเอียด

พยายามใส่วันที่เราอยากให้เป้าหมายเราบรรลุ  และสมมติว่าเป้าหมายเป็นอะไรที่ใช้เวลานานก็ระบุเวลาที่ตั้งใจจะทำให้เสร็จ  เช่นเรียนป.โทจบใน 2 ปีอะไรแบบนี้  บางอย่างก็อาจจะต้องเดา  อย่างเช่นเมื่อเราเกษียณแล้วเราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่กี่ปี  คงไม่มีทางรู้แน่ชัดเอาเป็นว่าเดาละกัน  หรือใช้ค่าเฉลี่ยขององค์การอนามัยโลกก็ได้  http://www.who.int/countries/tha/en/

  1. ประมาณจำนวนเงินที่ต้องใช้

ถ้าเป้าหมายระยะสั้นปกติก็ไม่มีปัญหา  แต่พอเป็นเป้าหมายระยะยาวหลายปีบางทีมันมีเรื่องเงินเฟ้อทำให้เราไม่รู้ว่าราคาของเป้าหมายเราคือกี่บาท  แนะนำให้ใช้เวปนี้  http://www.calculatorweb.com/calculators/inflationcalc.shtml

บนเวปนี้เราก็ใส่ราคาปัจจุบันของเป้าหมายเราก่อน  บรรทัดต่อมาเค้าจะให้เลือกว่าอัตราเงินเฟ้อกี่ %  ทั่วไปก็ใช้ 3% ก็ได้ครับ  แล้วบรรทัดต่อมาก็เลือกว่าเป้าหมายเรานี่คือห่างออกไปกี่ปี  แล้วก็กดปุ่ม Calculate  มันจะได้ตัวเลขออกมาข้างล่าง  เลขนั้นคือมูลค่าในอนาคตที่น่าจะเป็นของเป้าหมายเราหลังปรับเผื่อเงินเฟ้อแล้ว

  1. เรียงลำดับความสำคัญ

แน่นอนว่าถ้าเป็นไปได้เราอยากจะให้ถึงเป้าหมายทุกเรื่องแหละ  แต่ไม่เสียหายตรงไหนที่เราจะเรียงลำดับความสำคัญไว้ก่อน  เผื่อว่าถ้าเกิดเราจะต้องเลือกอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเราก็จะไม่งง  โดยส่วนตัวผมจะเรียงลำดับความสำคัญตามนี้

  • จ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุดก่อน
  • กันเงินก้อนนึงไว้เผื่อฉุกเฉิน
  • การเกษียณ
  • การศึกษา
  • เป้าหมายระยะสั้นหรือกลางอื่นๆ

จากบทที่ 2 เราเห็นแล้วว่าเราเหลือออมได้เท่าไหร่

มาบทที่ 3 นี้  เราเริ่มวางแผนแล้วว่าเป้าหมายเรามีอะไรบ้าง

หัวข้อต่อไปเดี๋ยวเราจะมาจูนเรื่องการออมกันครับ  เพราะเราต้องการจะให้แน่ใจว่าที่เราออมอยู่นั้นเพียงพอหรือเปล่ากับเป้าหมายที่เราตั้ง  หรือบางทีอาจจะออมเกินอยู่ก็ได้