บัญชีพื้นฐาน 4:  งบแสดงสถานะ

Basics in Accounting 4: Balance Sheet

หลังจากที่บทก่อนหน้า เราพูดถึงงบกำไรขาดทุนไปแล้ว งบกำไรขาดทุนคือบอกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลประกอบการบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง มีรายได้รายจ่ายเท่าไหร่และเหลือเป็นกำไรขาดทุนเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ ทีนี้เราจะมาพูดถึงอีกงบบัญชีที่มีความสำคัญบ้าง งบแสดงสถานะทางการเงินมันมีไว้ทำอะไร แล้วหน้าตาเป็นแบบไหน

งบแสดงสถานะทางการเงิน เป็นงบบัญชีที่เอาไว้บอกว่าบริษัทมีทรัพย์สินอะไรบ้างเท่าไหร่ (Assets) และทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของเจ้าหนี้เท่าไหร่เป็นของเจ้าของเท่าไหร่ (Liabilities and equities)  ดังนั้นงบบัญชีนี้  Assets ต้องมีค่าเท่ากับ Liabilities + Equities เสมอ  เพราะว่าบริษัทเป็นนิติบุคคลไม่ได้มีตัวตนจริงๆ ทรัพย์สินที่มีทั้งหมดถ้าบริษัทเลิกกิจการขายทิ้ง ก็ต้องขายทรัพย์สินแล้วจ่ายคืนเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้นจนหมดไม่มีอะไรเหลือ ทีนี้มันสำคัญเพราะบอกสภาพของบริษัทว่ามีหนนี้สินอะไรเท่าไหร่นี่แหละ เวลาที่คุณได้ยินทีวีเค้าบอกกว่ามาดูว่าบริษัทหนี้เยอะมั้ย มีความเสี่ยงจะล้มละลายหรือไม่ เค้าก็กำลังบอกให้คุณมาดูรายละเอียดในงบแสดงสภานะทางการเงินเนี่ยแหละ

งบนี้โดยภาพรวมคือบอกว่าบริษัทมีมูลค่าเท่าไหร่ในเวลานั้น ที่หัวของงบแสดงสถานะทางการเงินจะมีวันที่บอกอยู่ เช่นถ้าเป็น 31 ธันวาคม 2557 ก็แปลว่างบสถานะทางการเงินนี้เป็นของเมื่อสิ้นสุดวันนั้นครับ

ทีนี้โดยหน้าตามันจะเรียงประมาณนี้เลยครับ

เริ่มจากส่วนที่เป็นทรัพย์สิน Assets ว่าบริษัทมีอะไรอยู่บ้าง โดยหลักการจะเรียงอันที่ใกล้เคียงเงินสดที่สุดก่อน แบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งคือพวกคล้ายเงินสดหรือแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนซึ่งคือพวกแปลงเป็นเงินสดได้ยาก แล้วบรรทัดสุดท้ายก็จะเป็นตัวรวมทรัพย์สินทั้งหมด Total Assets

สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) เช่น

  • เงินสด
  • ลูกหนี้การค้า
  • เงินลงทุนสินทรัพย์เผื่อขาย
  • สินค้าคงเหลือ

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-current assets) เช่น

  • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  • เงินลงทุนระยะยาว

รวมสินทรัพย์

จากนั้นก็จะเป็นส่วนที่บอกว่าทรัพย์สินเนี่ยเป็นของใครบ้าง โดยเริ่มจากเจ้าหนี้ก่อนแล้วถึงจะเป็นส่วนของเจ้าของ เพราะถ้าบริษัทต้องปิดขึ้นมาจริงๆต้องจ่ายเจ้าหนี้ก่อนตามกฎหมาย โดยหนี้ก็จะแบ่งเป็นหนี้ที่กำลังจะต้องจ่ายในระยะเวลาหนึ่งปี (Current liabilities) และหนี้ที่ระยะเวลาต้องจ่ายนานกว่าหนึ่งปี (Non-current liabilities)

หนิ้สินหมุนเวียน (Current liabilities) เช่น

  • เงินกู้ระยะสั้นสถาบันการเงิน
  • เจ้าหนี้การค้า
  • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
  • ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในปีหน้า
  • หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-current liabilities) เช่น

  • เงินกู้ระยะยาว
  • ภาระผูกพันพนักงาน
  • หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

รวมหนี้สิน

แล้วก็ต่อด้วยส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น หรือส่วนของเจ้าของ

ส่วนของเจ้าของ

  • ทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว
  • ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ
  • กำไรสะสม

รวมส่วนของเจ้าของ

รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ

ภาพรวมๆมันจะเป็นประมาณนี้ครับ ก็ไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจเราอีกเช่นเคย เพื่อให้คุ้นเคยมากขึ้นผมแนะนำให้คุณไปเปิดอ่านเล่นๆเอาครับ รายการข้างในอาจจะมีหลายรายการเยอะกว่านี้ แต่โดยรวมมันมีเท่านี้แหละครับ ยังไงขอให้สนุกกับการนั่งอ่านงบบัญชีนะครับ สวัสดีครับ