เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

Forecasting Free Cash Flow

เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

มีคนถามว่าเราจะทำการประมาณตัวเลข Free cash flow ไปในอนาคตได้ยังไง

เอาจริงๆเลยคือมันก็ต้องเดาแหละ  และคนที่จะเดาได้ดีสุดก็คือคนที่เข้าใจตัวบริษัทและมีความใกล้ชิดกับธุรกิจที่บริษัททำ

หลักๆมันก็มี 2 วิธี

  1. เดา growth rate ตรงๆ
  2. วิธีนี้ก็คือเดา growth rate แล้วก็ใช้กับ Free cash flow ปีล่าสุดที่ทำการปรับแล้วตรงๆเลย  ตัว growth rate ก็อาจจะเดามาจากการเติบโตในอดีตหรือไม่ก็คาดการณ์คร่าวๆของอนาคต

    วิธีการนี้มันก็จะเหมาะในกรณีที่เราคาดว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานต่างๆของบริษัทกับ Free cash flow จะไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงรุนแรง

    Growth rate ที่เดานี่ก็จะเป็นแบบโตอัตราเท่าเดิมไปเรื่อยๆหรือเป็น 2-stage, 3-stage ก็แล้วแต่เราพิจารณาความเหมาะสมเลย

  3. เดาองค์ประกอบย่อยแต่ละอย่างแยกกัน
  4. จะใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมื่อเราเชื่อว่าอัตราส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกับ Free cash flow มันจะมีการเปลี่ยนแปลง  วิธีการนี้เราก็กำหนดสมมติฐานเอาเองเลย

    ปกติเค้าก็จะประมาณตัวเลขโดยอ้างอิงกับตัวยอดขายเป็นหลัก  สิ่งที่ต้องกะก็จะมี

    • การเติบโตของยอดขาย
    • operating profit margin ไว้ประมาณตัว EBIT  
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Capital expenditure ที่ต้องลงทุนเพิ่ม (capital expenditure – depreciation)
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Net working capital ที่เพิ่มขึ้น
    • กรณีที่จะหา FCFE ก็ต้องมีสัดส่วนการใช้เงินกู้

    ส่วนใหญ่แล้วการเดาพวกนี้ก็เอามาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตนั่นแหละ  แล้วก็เพิ่มเติมมุมมองของเราเกี่ยวกับอนาคตเข้าไป

เพื่อให้เห็นภาพ  ผมลองทำตารางยกตัวอย่างการประมาณ FCFF ให้ดูกับบริษัทสมมติโดยมีสมมติฐานดังต่อไปนี้

  1. ยอดขายโตปีละ 10%
  2. Operating profit margin ค่อยๆลดลงจากปัจจุบันปีละ 15% ลงไปเรื่อยจนถึง 13%
  3. ภาษี 20%
  4. ไม่มี non-cash charge อื่นนอกจากค่าเสื่อม
  5. Capital expenditure ที่เพิ่มขึ้นเป็น 40% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
  6. Net working capital ที่เพิ่มขึ้นเป็น 10% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น

 

Year 0 1 2 3 4
Sales 100 110 121 133.1 146.41
EBIT margin 15% 14.50% 14% 13.50% 13%
EBIT 15.95 16.94 17.9685 19.0333
EBIT(1-tax) 12.76 13.552 14.3748 15.22664
Increase in sales 10 11 12.1 13.31
Incremental CAPEX 4 4.4 4.84 5.324
Incremental NWC 1 1.1 1.21 1.331
FCFF 7.76 8.052 8.3248 8.57164

 

ถ้าเป็น FCFE ก็จะคล้ายๆกันแต่เปลี่ยนตรงที่เริ่มจาก Net income ดังนั้นก็เอา net profit margin มาใช้แทน  และตอนสุดท้ายมีสมมติฐานเรื่องการกู้ยืมเงินซึ่งปกติก็คืออ้างอิงเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนที่ต้องใช้ (Incremental CAPEX + Incremental NWC)

จะสังเกตว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ต้องอาศ้ยการเดาเยอะมาก  แบบแรกก็คือเดาแบบเหมาภาพรวมส่วนแบบที่สองคือเดาตัวแปรต่างๆของบริษัท  ส่วนตัวผมมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ

  1. เลือกที่จะเดากับเฉพาะบริษัทที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภค
  2. ทำความเข้าใจภาพรวมอุตสาหกรรม  และจุดเด่นของบริษัท
  3. เดาไว้ทั้งแบบกรณีกลางๆกับแย่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ทำ DCF แล้ว Free Cash Flow ติดลบ ทำยังไงต่อ ?

What if FCFE is negative ?

ทำ DCF แล้ว Free Cash Flow ติดลบ ทำยังไงต่อ ?

มีคนถามว่าถ้าปีที่ 0 FCFE ติดลบจะต้องทำยังไง

FCFE ติดลบปกติก็หมายถึงว่าบริษัทนี้ไม่มีความสามารถในการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น  อาจจะเพราะบริษัททำแล้วไม่กำไรหรือมีกำไรแต่ต้องมีการลงทุนเยอะอยู่ตลอดเวลา

แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเราคือจะประมาณตัวเลขไปในอนาคต  ดังนั้นก่อนที่จะสรุปอะไรต่ออย่างแรกคือไปดูรายละเอียดนิดนึงว่าที่ FCFE ติดลบนี่มันมาจากรายการไหนเป็นพิเศษมั้ย  และเป็นเรื่องที่ถือว่าปกติแล้วของบริษัทหรือเปล่า  หรือมันติดลบเพราะเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดในปีนั้นพอดี

เริ่มจากตัว Net income ก่อน  ดูว่าในปีนั้นมีรายได้หรือรายจ่ายที่เป็นรายการพิเศษประเภทเกิดครั้งเดียวแล้วไม่น่าจะเกิดอีกหรือเปล่า  ตัดพวกนั้นออกให้หมด  ถ้าสมมติแค่ตรงนี้ตัวเลขที่ได้ก็เป็นลบละ  และยิ่งถ้าเราก็มองว่านี่คือสถานการณ์ปกติแล้วก็ไม่ต้องดูต่อแล้ว

ต่อมาก็ Net non-cash charge  ปกติอันนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรตัวหลักก็จะเป็นค่าเสื่อม (depreciation) กับค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Amortization)

Net working capital อันนี้ก็ตรงไปตรงมาไม่น่ามีอะไร  ดูว่าไม่มีตัวเลขลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นกับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเยอะเว่อร์ก็ถือว่าปกติ

Capital expenditure นี่เป็นไปได้ที่มันจะเป็นเลขที่ใหญ่มากในบางปี  ดูหลายๆปีหน่อยว่ามันเยอะมากตลอดหรือเปล่า

Net Borrowing ก็ดูว่าปีนี้เป็นปีที่จ่ายคืนเงินต้นก้อนใหญ่หรือเปล่า

ถ้าทุกอย่างดูปกติดีแล้ว  คาดได้ว่าปีต่อๆไปจะเป็นเหมือนปีนี้  งั้นก็สรุปได้เลยว่าห่วยแน่นอนครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ?

What is the best valuation method ?

วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ?

มีคนถามเกี่ยวกับวิธีประเมินมูลค่าหุ้นว่าวิธีไหนดีสุด  วันนี้เราเลยถือโอกาสอธิบายให้เห็นภาพว่าวิธีประเมินมูลค่าหุ้นมันมีอะไรบ้าง  แต่ละอันต่างกันอย่างไร และวิธีไหนดีที่สุดครับ  

หัวข้อนี้เป็นเนื้อหาที่ผมสอบ CFA Level 2 ผ่านไปแล้วพอดี  ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้มันเยอะเนื้อหามีเป็นเล่มเลยครับ แต่ผมจะพยายามอธิบายมันคร่าวๆละกันนะ

วิธีประเมินมูลค่าบริษัทมันจะแบ่งเป็น

  1. Income approach หรือ Present value models
  2. ไอเดียหลักคือมูลค่าของทรัพย์สินมันควรจะคิดจากผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้รับจากการที่เราเป็นเจ้าของมัน  ดังนั้นถ้าเราประมาณการผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วคิดลดผลประโยชน์เหล่านั้นทั้งหมดกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน  ตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณก็ควรจะเป็นมูลค่าของทรัพย์สินนั้น

    วิธีการกลุ่มนี้มันก็จะมีแยกย่อยออกไปอีกและแต่ละวิธีก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก  อันหลักๆที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น

    • คิดลดตัวปันผล (Discounted Dividend)  ตรงไปตรงมาสุด ข้อมูลมีอยู่แล้วด้วย แต่มันก็จะมีปัญหากับบริษัทที่ไม่จ่ายปันผล  หรือจ่ายปันผลห่างจากกำไรสุทธิที่ทำได้เยอะมาก
    • คิดลดความสามารถในการจ่ายปันผล (Discounted Free Cash Flow)  Free Cash Flow นี่หมายถึงกระแสเงินสดที่มาจากการดำเนินงานและหักส่วนที่ต้องใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนและลงทุนในสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจแล้ว  อันนี้ก็ออกมาแก้ความเสียเปรียบของการคิดลดตัวปันผล ในทางคอนเซปต์ก็เหมาะสมมากใช้ได้กับหุ้นที่จ่ายและไม่จ่ายปันผล แต่ข้อเสียคือข้อมูลมันไม่มีต้องทำการบ้านเยอะ  ปกติที่ต้องใช้การเดาอยู่แล้วยิ่งต้องเดาเยอะขึ้นไปอีก มีทำกัน 2 แบบหลักๆคือคิดลดตัว Free Cash Flow to Equity กับ Free Cash Flow to the Firm  

    สำหรับคนต้องการรายละเอียดวิธีทำเราเคยมีอธิบายไว้ในวีดิโออื่น

    https://youtu.be/vNQ7KMoAZDY

    https://youtu.be/GJwSPsFFdWg

    https://youtu.be/t5nIoL5-GiE

    โดยภาพรวมของวิธีการนี้ข้อดีคือหลักการมันถูกต้องสุดละ  แต่ข้อเสียคือมันมีตัวแปรที่ยากมากอยู่สองเรื่องคือการประมาณการผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้รับในอนาคต  และอัตราผลตอบแทนที่ใช้ในการคิดลดซึ่งโดยหลักการแล้วควรจะต้องเป็นผลตอบแทนที่สะท้อนความเสี่ยงของทรัพย์สินนั้นซึ่งก็มีหลายทฤษฎีอีกว่าควรจะคิดมายังไง

     

  3. Market approach หรือ Pricing multiples
  4. ไอเดียหลักมาจาก Law of one price ซึ่งบอกว่าของที่เหมือนๆกันในตลาดก็ควรจะมีราคาขายเท่าๆกัน

    หรือว่าง่ายๆคือวิธีการก็คือดูว่าโดยเฉลี่ยกลุ่มบริษัทหรือกลุ่มทรัพย์สินที่ลักษณะใกล้เคียงกับอันที่เราสนใจมันขายกันอยู่ในตลาดเท่าไหร่แล้วมาเทียบกันกับอันที่เราสนใจ  วิธีการกลุ่มนี้ก็มีหลากหลายเช่นกัน แต่ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ก็คือการเทียบราคาหุ้นกับปัจจัยพื้นฐานบางอย่างของบริษัทว่าเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่นราคาเทียบกับกำไร (P/E), ราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (P/B), ราคาเทียบกับยอดขาย (P/S), ราคาเทียบกับปันผล (Dividend yield)  หรือไม่ก็เทียบราคาของทั้งบริษัท (Enterprise Value) กับ EBITDA อันนี้คล้ายๆกับ P/E แหละแต่ต่างตรงที่มองจากมุมมองของทั้งบริษัทไม่ใช่เฉพาะจากมุมมองของผู้ถือหุ้น

    โดยภาพรวมวิธีการนี้ข้อดีคือมันใช้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงแล้วในตลาดไม่ต้องอาศัยการเดาตัวเลขในอนาคต  แต่ข้อเสียคือมันประเมินมูลค่าของบริษัทในเชิงเปรียบเทียบ ถ้าสมมติฐานที่บอกราคาตลาดเหมาะสมแล้วไม่เป็นจริงปุ๊บการประเมินมูลค่าก็อาจจะเพี้ยน  เช่นถ้าตลาดโดยเฉลี่ยแล้วแพงเกินไปทั้งตลาด ต่อให้หุ้นที่เราสนใจดูถูกเมื่อเทียบกับตลาดก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นมันราคาถูก มันอาจจะราคากลางๆเหมาะสมแล้วหรือจริงๆยังแพงไปก็ได้  ตัวอย่าง Dotcom bubble ในอเมริกางี้

     

  5. Asset-based approach
  6. ไอเดียหลักคือไปดูว่าบริษัทมีทรัพย์สินอะไรมูลค่าเท่าไหร่แล้วก็หักหนี้สินออกไปได้มาเป็นมูลค่าของบริษัท

    วิธีการนี้มีที่ใช้จำกัด  โดยปกติเค้าจะใช้กับบริษัทที่กำลังจะเลิกกิจการกำลังจะขายทรัพย์สินจ่ายหนี้แล้วคืนเงินให้กับผู้ถือหุ้น  หรือไม่ก็ใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติเช่นเหมือง, ทำป่าไม้, ฯลฯ เช่นดูว่าแร่ที่มีอยู่ในเหมืองมีจำนวนเท่าไหร่  คาดว่าราคาตลาดที่จะขายได้คือเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายในการขุดแร่พวกนี้ขึ้นมาเท่าไหร่

 

ทีนี้อันไหนดีสุด  ส่วนตัวแล้วผมก็จะบอกว่าวิธีการแบบที่ 1 ที่ทำการคิดลดผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตเนี่ยแหละครับคือดีสุดละ  ถึงแม้ว่ามันจะมีความยากและมีจุดบอดเรื่องตัวแปรที่ใช้ก็ตาม แบบที่ 3 มันชัดเจนอยู่แล้วว่าใช้ได้จำกัด ส่วนแบบที่ 2 ผมก็เห็นอยู่ว่ามันมีจุดบอดตรงสมมติฐานว่าตลาดถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

ปัจจุบันนี้คนในวงการส่วนใหญ่เห็นด้วยตรงกันว่าวิธีคิดลดความสามารถในการจ่ายปันผล (Discounted Free Cash Flow) ดีกว่าการคิดลดปันผล (Discounted Dividend)  แต่ปัจจุบันวิธีที่ผมใช้อยู่เป็นหลักคือ Discounted Dividend แต่เปลี่ยน terminal value แทนที่จะคิดแบบปันผลโตไป infinity ผมใช้ Price multiple แทน ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเพราะผมรู้สึกว่ามันง่ายกว่าที่จะไปประมาณ Free Cash Flow และสุดท้ายวิธีการไหนมันก็อาศัยการทำนายอนาคตซึ่งไม่มีทางแม่นยำอยู่ดี  ดังนั้นผมเห็นการประเมินมูลค่าหุ้นว่ามีไว้เพื่อให้เราพอจะบอกได้คร่าวๆเท่านั้นเองว่าตอนนี้ราคาหุ้นมันถูกหรือแพง ไม่ได้มีไว้เพื่อคำนวณให้ได้ตัวเลขเป๊ะๆ

สรุปคือมันไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้เราทำนายอนาคตได้  ผมถึงบอกเสมอว่าอย่าไปกังวลกับวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นมากนัก  คุณก็ใช้วิธีการที่รู้สึกว่ามันสมเหตุสมผลสำหรับคุณน่ะแหละ แล้วเอาเวลาไปศึกษาทำความเข้าใจตัวธุรกิจของบริษัทดีกว่า  มีประโยชน์กว่ากันเยอะครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

Discounted Cash Flow (DCF) : Part 3 Discounted FCFF

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

มีคนถามผมว่า “Free Cash Flow to the Firm คืออะไร? แตกต่างจาก Free Cash Flow to Equity และ Discounted Dividend อย่างไร?”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ อธิบายถึง Free Cash Flow to the Firm (FCFF) ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย และวิธีการคำนวณอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg