ไอเดียหุ้นต่างประเทศน่าสนใจ – รายชื่อ Morningstar Wide Moat

Morningstar Wide Moat list

ไอเดียหุ้นต่างประเทศน่าสนใจ – รายชื่อ Morningstar Wide Moat

ประเด็นหนึ่งที่มีคนถามผมบ่อยเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือไม่รู้จักหุ้น  ไม่รู้จะเอาไอเดียมาจากไหน  วันนี้เรามาพูดถึงไอเดียหุ้นจาก Morningstar กันครับ

ก่อนอื่นเลย  หัวข้อนี้ต้องขอบคุณหนึ่งในผู้ฟัง channel เราที่เอื้อเฟื้อครับ  คุณแมน username “เม่าคิดเยอะ”  เค้าเป็นคนไปเจอเวปที่มีฐานข้อมูลของหุ้นที่น่าสนใจที่เราจะพูดถึงในวีดิโอนี้  และจริงๆเค้าไม่จำเป็นต้องแบ่งปันก็ได้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับเค้าเลย  แต่เค้าแบ่งปันเพราะเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อคนหมู่มาก 

อันนี้ต้องชื่นชมเค้าจริงๆครับ

รายชื่อบริษัท Wide Moat ทั้งหมดของ Morningstar อยู่ในลิ้งค์ที่ทิ้งไว้ให้นี้

https://www.dividendgrowthinvestingandretirement.com/2020/10/international-wide-moat-stocks-every-single-one-listed/

ผมเล่าให้ฟังนิดนึงว่า Wide Moat ของ Morningstar นี่คืออะไร

Morningstar เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษในเรื่องการจัดอันดับกองทุนรวม  ถ้าพูดถึงกองทุนรวม rating ที่น่าเชื่อถือที่สุดทั่วโลกนี่คือต้อง Morningstar เลย  ในประเทศไทยกองทุนที่มี rating จาก Morningstar นี่เค้าพูดถึงเวลาโฆษณาเลยด้วยซ้ำ  ทีนี้ Morningstar นอกจากกองทุนเค้าก็มีขายบริการที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นด้วย

Concept หลักของการวิเคราะห์หุ้นของ Morningstar คือเค้าจะมีสิ่งที่เรียกว่า Moat rating  ตัว Moat นี่แปลตรงๆจะแปลว่าคูเมืองหรือคูปราสาทที่มีน้ำไว้ป้องกันการบุกของข้าศึก  Moat rating ในทางธุรกิจก็คือบริษัทที่ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่างคู่แข่งเข้ามาบุกหรือแข่งได้ยาก

Morningstar มีให้ Moat rating คือ Wide, Narrow กับ No Moat  บริษัทที่มี Wide Moat นี่คือบริษัทที่เค้าเชื่อว่าจะสามารถกันคู่แข่ง, รักษาระดับการแข่งขันและมีกำไรสูงกว่าปกติได้อยู่อีกนานอย่างน้อย 20 ปี  Narrow Moat คือได้อยู่ซัก 10 ปี  ส่วน No Moat นี่คือไม่ได้มีความได้เปรียบอะไรหรือความได้เปรียบอยู่แค่แปปเดียว

ปกติแล้วการจะดู Moat rating ของ Morningstar เสียตังค์  แต่วันนี้ลิ้งค์ที่คุณ “เม่าคิดเยอะ” ให้มานี่ฟรี  มีรายชื่อ Wide Moat ทั้งหมดของ Morningstar  ดังนั้นผมถึงบอกว่านี่คือเอื้อเฟื้อ  สุดยอดมาก

นอกเหนือจากรายชื่อหุ้น Wide Moat ของ Morningstar แล้ว  ในเวปยังมีรายชื่อหุ้นที่จ่ายปันผลต่อเนื่องของบริษัทในอเมริกากับยุโรปด้วย  ซึ่งก็เป็นแหล่งไอเดียที่ดีเช่นกัน  บริษัทที่จ่ายปันผลได้สม่ำเสมอและเพิ่มขึ้นตลอดส่วนใหญ่ก็ไม่ธรรมดา  ผมเปิดให้ดูอย่างรวดเร็ว

สุดท้ายนี้  นี่เป็นแหล่งไอเดียที่ดี  แต่ไม่ได้หมายความว่าควรซื้อทั้งหมดหรือดีทั้งหมดนะ  Morningstar ก็พลาดได้นึกออกมะ  เราดูในฐานะที่เป็นแหล่งไอเดียแล้วก็ไปศึกษาต่ออย่างจริงจังกับหุ้นที่เราชอบนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

What are these different earnings: reported, operating, core, pro forma?

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

มีคนอ่านงบการเงินภาษาอังกฤษแล้วไปเจอคำพวกนี้  เค้าถามว่ามันต่างกันอย่างไร

Reported earnings กับ Basic earnings เป็นอันเดียวกัน  เค้าหมายถึงกำไรสุทธิที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  มาจากรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  ซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่ถือว่าแฟร์เพราะทุกบริษัทต้องบันทึกภายใต้กฎเดียวกันหมด

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation – Interest – Tax

แต่ Reported earnings มันก็จะมีผลของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว  ซึ่งตรงนี้มันมาจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทว่าใช้หนี้เยอะมั้ย  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการบริหารตัวธุรกิจเท่าไหร่  ดังนั้นมันก็เลยมีบางคนที่นิยมดูตัว Operating earnings แทน  ถ้าเป็นภาษาไทยอันนี้คือกำไรจากการดำเนินงานหรือคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้  ตัว EBIT น่ะครับ

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation

ส่วน Core earnings นี่เป็นตัวที่โดยหลักการคือต้องการจะดูกำไรที่เกิดจากธุรกิจหลักของบริษัท  ดังนั้นเค้าก็พิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท  แล้วก็ตัดพวกรายการพิเศษออกเช่น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการฟ้องร้อง, กำไรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เผื่อขาย, ฯลฯ

Pro Forma earnings หรือก็คือ Adjusted earnings  พวกนี้คือปรับยังไงก็ได้เลยแล้วแต่ผู้บริหาร  เค้าก็จะอ้างว่าเป็นการปรับตัวเลขตัดนู่นนี่ออกหรือไม่นับรายการบางอย่างเพื่อให้สะท้อนผลประกอบการของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น  อารมณ์มันจะคล้ายๆกับ Core earnings นะแต่ยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก

Reported earnings กับ Operating earnings ถือเป็นตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชี

แต่ Core earnings กับ Pro Forma นี่ถือว่าไม่ใช่ตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชีละ  เวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้ในการเปรียบเทียบข้ามบริษัทได้  และต่อให้เป็นการเปรียบเทียบแต่ละปีของบริษัทเดียวกันก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง  ปกติมันจะมีหน้า reconciliation ที่แจกแจงว่าเลขพวกนี้ปรับมาจากกำไรสุทธิปกติยังไงบ้าง  ถ้าจะดู earnings สองอันนี้ต้องดูรายละเอียดที่มาทุกครั้ง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ตลาดหุ้นจีนดูจะน่าสนใจนะ !

Chinese stocks look interesting now

ตลาดหุ้นจีนดูจะน่าสนใจนะ !

ผมโดยส่วนตัวที่ผ่านมาจะไม่ค่อยชอบหุ้นจีนเพราะรู้สึกว่าหาข้อมูลยากอ่านไมออก  แต่หลังๆเริ่มรู้สึกว่าอาจจะสมควรมาสนใจหุ้นจีนละครับ

  1. ประเทศจีนเศรษฐกิจเติบโตดีกว่า
  2. โดยรวมแล้วเศรษฐกิจเติบโตดีเป็น background ก็ทำให้บริษัทผลประกอบการดีไปด้วย  ถึงแม้ว่าช่วงหลังๆเราได้ยินว่าเศรษฐกิจจีนโตช้าลง  แต่ถ้าไปดูจริงๆก็ยังโตเยอะอยู่นะ  ปี 2019 ก็ยังเห็นว่าโต 6.1%

  3. ผลประกอบการบริษัทจีนทำได้ดีขึ้น
  4. ผมไปอ่านเจอในบทความของ Blackrock  เค้าทำการรวบรวมบริษัททั่วโลกแล้วจัดอันดับตามความสามารถในการทำกำไร (วัดด้วย ROIC – WACC) ผลปรากฎว่าในกลุ่ม 25% ที่คะแนนสูงที่สุดจากทั้งหมดมีที่เป็นบริษัทในจีนเยอะขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วเยอะมาก

    ซึ่งก็สอดคล้องกับภาพที่เราเห็นว่าประเทศจีนมีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีขึ้นมาเยอะมาก  ไม่ได้เป็นประเทศที่เป็นแค่ฐานการผลิตค่าแรงถูกอีกต่อไป  ปัจจุบันบริษัทที่ทำโดรนอันดับหนึ่งของโลกก็อยู่ในจีน

  5. ตลาดหุ้นโดยรวมราคาถูก
  6. ถ้าดู P/E ของตลาดโดยรวม  

    • SET อยู่ 18.35 เท่า
    • S&P 500 อยู่ 20.53 เท่า
    • Shanghai Stock Exchange อยู่ 12.91 เท่า
    • Hang Seng Index อยู่ 9.54 เท่า
  7. เหตุการณ์โดยรวม
    • โดนโรคระบาดก่อนเพื่อน  น่าจะจบและฟื้นตัวเร็วกว่า
    • เพิ่งมีเรื่องกฎหมายในฮ่องกงอาจจะมีความวุ่นวายเพิ่มขึ้น

ดังนั้นด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ผมว่าถ้าเราอ่านภาษาจีนได้ก็สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องเริ่มศึกษาหุ้นจีน  และต่อให้อ่านจีนไม่ได้ผมว่าก็ยังสมควรที่จะพยายามครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

Should You Worry About Exchange Rate When Investing in Foreign Stocks?

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

อีกเรื่องที่คนถามประจำเวลาผมพูดถึงการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือหัวข้อที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน  ว่าปกติเค้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไรเวลาเราแลกเงินไปกลับสกุลเงินอื่น แล้วก็เวลาไปลงทุนในต่างประเทศนี่คือเราต้องป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ยยังไง  วันนี้เรามาคุยหัวข้อนี้กันครับ

 

ใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไร ?

แต่เดิม SCBS บอกว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบเวลาเราไปแลกเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคาร  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนดีสุดของรายย่อย ซึงเราก็รู้กันอยู่แล้วว่ามันจะแพงกว่าเวลาเราไปแลกเงินที่ร้านแลกเงินอย่าง Superrich

แต่หลังจาก KSecurities เข้ามาแข่งแล้วโฆษณาบอกว่าใช้อัตราแลกเปลี่ยน interbank rate  ทาง SCBS ปัจจุบันบอกว่าของเค้าเป็น spot rate + 0.5% ซึ่งบอกตามตรงผมก็ไม่ทราบว่ามันคือดีหรือไม่ดีเท่าไหร่ยังไง

Kim Eng ไม่รู้เลย

 

แล้วต้องกังวลมั้ย  มีวิธีป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร ?

ส่วนตัวผมตอนนี้ไม่ได้กังวลอะไรมาก  ใช้วิธีว่าลงทุนในหลายประเทศแล้วหวังว่ามันจะถ่วงกันบางสกุลเงินอ่อนค่าบางสกุลเงินแข็งค่าในระยะยาวหักล้างกันไป  ส่วนเกินหรือขาดเหลือยังไงก็เอาว่าเราเลือกลงทุนได้ดีแล้วกำไรเยอะๆ เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเป็นแค่นิดๆหน่อยๆไม่น่าจะมีผลอะไรเยอะ

แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาปรากฎว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกับทุกสกุลเงินหลักเลยครับ  แล้วดังนั้นก็เลยมีผลต่อภาพรวมกำไรของพอร์ตเยอะเหมือนกันนะถ้าสมมติคิดมูลค่าพอร์ตเป็นหน่วยเงินบาท  ตัวอย่างสกุลเงินที่ผมมีเยอะๆเช่น USD คอนประมาณ 2015 ที่เริ่มลงทุน USD แลก THB ได้แถว 36 บาท มาตอนนี้ได้ประมาณ 30.5%  แปลว่าขาดทุนไปทั้งหมด -15.28% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็น -3.62% ต่อปีเลยนะ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่โอเคแหละผมก็ยังไม่ได้คิดจะแปลงกลับมาเป็นเงินบาทตอนนี้ก็ยังไม่เป็นไร  แต่นี่ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆนี่ก็เป็นปัจจัยถ่วงผลกำไรของพอร์ตพอควรเหมือนกันครับ

ถ้าสมมติฟังแล้วรู้สึกกังวลมาก  อยากจะทำการปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินให้ได้  ผมนึกออกอยู่วิธีนึงคือทำการซื้อสัญญา Forex เอาไว้ต่างหาก  ให้ขนาดมันประมาณพอดีแล้วก็กลับทิศกับเงินที่เราแปลงไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศเอาครับ  แต่ต้องบอกว่าผมไม่เคยทำนะ ดังนั้นในรายละเอียดคงต้องไปดูเอาเอง เวปนึงที่น่าจะใช้ได้คือของ OANDA เพราะตอนสมัยเรียนป.ตรีมีวิชานึงอจ.สั่งให้ไปลองทำ  ล่าสุดเปิดดูมันยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะแปลว่าไว้ใจได้มั้งครับ ผมทิ้งลิ้งค์ไว้เผื่อใครสนใจแต่ผมบอกเลยผมไม่เคยทำนะและสบายใจได้ว่าไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมอะไรกับเวปนี้

https://www.oanda.com/au-en/

วิธีนี้ที่ผมไม่คิดจะทำคือเพราะมันต้องมีใช้เงินวางไว้เป็นหลักประกันตัวสัญญา Forex  แปลว่าถ้าจะทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ต้องมีเงินบางส่วนไปจมอยู่เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ (initial margin) แล้วถ้าสมมติตัวสัญญา Forex เราขาดทุนเยอะๆก็จะต้องมีเอาเงินไปใส่ในบัญชีเพิ่ม (margin call) ซึ่งผมก็รู้สึกว่ามันวุ่นวายเลยไม่ได้ทำครับ

ส่วนวิธีอื่นๆตอนนี้ผมนึกไม่ออกจริง  ใครรู้ก็บอกทีนะ ปัจจุบันผมก็เลยใช้วิธีไม่สนใจและรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

Why We Want You to Invest Abroad

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

ตอนแรกๆที่เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะเวิร์คหรือเปล่า  แต่มาตอนนี้อยากแนะนำให้ทุกคนที่อ่านภาษาอังกฤษออกและมีเงินลงทุนพอสมควรพิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. เป็นการขยายโอกาสทำกำไร
  2. การขยายขอบเขตการลงทุนไปดูหุ้นต่างประเทศด้วย  ทำให้มีโอกาสซื้อหุ้นดีได้ในราคาถูกบ่อยขึ้น แทนที่จะรอแต่หุ้นไทยตกอย่างเดียว

  3. ลดความเสี่ยงที่บางครั้งเกิดกับเฉพาะประเทศไทย
  4. การลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี  เพราะบางครั้งมันก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้นตกเฉพาะตลาดหุ้นไทย  นึกถึงพวกเหตุการณ์หุ้นไทยตกอย่างตอนปี 2540 ถ้าเรามีเงินบางส่วนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศเราก็จะไม่โดนเต็มๆ

  5. สามารถซื้อธุรกิจบางประเภทที่หาไม่ได้ในไทย
  6. ธุรกิจบางประเภทไม่มีให้ซื้อในตลาดหุ้นไทย  อย่างสมมติถ้าเราอยากถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alphabet (Google), Tesla เราก็ต้องไปตลาดหุ้นอเมริกา

 

ส่วนเหตุผลที่ทำให้บางคนไม่ได้เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็ไม่เป็นจริงเสมอไปเช่น

  1. หุ้นต่างประเทศความเสี่ยงสูง
  2. หุ้นในต่างประเทศก็เป็นบริษัทที่มีอยู่จริงเหมือนหุ้นในไทยนี่แหละครับ  ตราบใดที่เรารู้จักบริษัทรู้จักสินค้ามันก็ไม่ได้เสี่ยงกว่าการซื้อหุ้นไทยตรงไหน  นึกถึงอย่าง Starbucks, McDonald’s หรือ Coca-Cola ที่เราคุ้นเคยกับสินค้า การลงทุนในบริษัทพวกนี้ซึ่งอยู่ในต่างประเทศเผลอๆจะปลอดภัยกว่าซื้อหุ้นไทยหลายๆบริษัทที่เราจริงๆก็ไม่ได้เข้าใจ

  3. ลงทุนหุ้นต่างประเทศมันยาก
  4. มันไม่มีอะไรยากเลยครับ  เปิดบัญชีเหมือนหุ้นไทยและเวลาซื้อก็เหมือนหุ้นไทย

  5. เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  6. อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ผลตอบแทนไม่แน่นอนก็จริงและที่ผ่านมาเนื่องจากเงินบาทแข็งมันก็ทำให้ไปลงทุนต่างประเทศผลตอบแทนลดลง  แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้จำเป็นต้องแย่เสมอไป อัตราแลกเปลี่ยนมันก็มีทั้งทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่ใช่ว่ามันจะต้องไม่ดีเสมอไป

 

ข้อเสียอย่างเดียวของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นเท่านั้นเอง  แต่โดยรวมแล้วผมว่าข้อดีมีมากกว่าข้อเสียและอยากจะแนะนำให้พิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติมจากหุ้นไทยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ทำไมหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอ บนแพลตฟอร์มของ SCB ??

Can't find Japanese Stocks on SCB's platform ??

ทำไมหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอ บนแพลตฟอร์มของ SCB ??

อธิบายเรื่อง Online กับ Offline platform

หัวข้อเรื่องนี้จริงๆมาจากคนที่ไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศละ  แล้วพอเข้าไปบนหน้าจอสั่งคำสั่งซื้อขายบนเวปแล้วปรากฎว่าหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอเค้าเลย message มาถามเรา

จะอธิบายว่าอย่างสมมติเปิดพอร์ตกับ SCBS หรือ KSecurities หรือ Kim Eng ก็แล้วแต่  เค้าจะมีบางตลาดที่ไม่อยู่บน Online platform แต่ซื้อขายได้นะแค่ต้องโทรไปสั่งกับทางมาร์เก็ตติ้งเท่านั้นเอง

ตลาดหลักๆส่วนใหญ่ซื้อขายได้บนออนไลน์แหละ เช่น

  • อเมริกา
  • ยุโรป (เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ฯลฯ)  ยกเว้นตุรกี
  • ฮ่องกง

จะมี Kim Eng ที่ต่างกว่าคนอื่นคือหุ้นยุโรปซื้อออนไลน์ ไม่ได้ต้องโทรสั่ง  ส่วนหุ้น Malaysia ที่คนอื่นต้องโทรสั่ง ของ Kim Eng สั่งออนไลน์ได้

ส่วนตลาดที่ต้องโทรสั่งเช่น

  • จีน
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลี
  • ออสเตรเลีย
  • อินโดนีเซีย
  • เวียดนาม

ถ้าต้องการซื้อหุ้นในตลาดเหล่านี้ก็ไม่ได้ยากนะ  แค่โทรไปสั่งกับมาร์เก็ตติ้งเท่านั้นเอง เวลาดูราคาก็ดูไปบนเวปอื่นอย่าง Bloomberg เอาครับ

 

โดยปกติแล้วถ้าตลาดไหนซื้อขายด้วยตัวเองบนออนไลน์ได้  ผมก็จะทำด้วยตัวเองแหละครับเพราะว่า

  1. ค่าธรรมเนียมถูกกว่า
  2. ไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งเองได้  บางตลาดเปิดดึก เวลาจะสั่งซื้อต้องโทรสั่งตั้งแต่กลางวัน  แล้วเกิดอยากแก้ไขคำสั่งก็ไม่ได้มาร์เก็ตติ้งไม่อยู่แล้ว

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

How does your global stock tax work ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

เวลาไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ  เราจะต้องเสียภาษีอย่างไร ?

ตอนเริ่มลงทุนหุ้นต่างประเทศผมก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน  อย่างหุ้นไทยเรารู้ว่า Capital Gain เราไม่ต้องเสียภาษี แต่ในอเมริกา Capital Gain เสียภาษีนะครับ  แล้วถ้าเราไปลงทุนในหุ้นอเมริกาล่ะเราต้องเสียภาษีตามเค้าหรือเปล่า

ผมเคยถามทาง SCBS คำตอบคือ

 

ถ้าเป็นปันผล

ประเทศส่วนใหญ่ก็จะเหมือนเราคือมีภาษีปันผลที่หัก ณ ที่จ่ายเลย  และดังนั้นถ้าเราไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็จะโดนหักภาษีแบบนี้เช่นกัน  แต่ละประเทศภาษีแพงถูกไม่เท่ากัน ที่แพงกว่าเราก็มีแบบเกือบ 30% เลย หรือที่ถูกกว่าเรา 0% เลยก็มี

ใครอยากดูรายละเอียดดูได้บนเวป SCB Securities เค้ามีอยู่ครับ  ตามลิ้งค์นีี้เลย http://www.scbs.com/medias/pdf/Corporation_Actions_Charges.pdf

ของหุ้นอเมริกา  ปกติถ้าเป็นพวกเราปันผลจะโดนภาษี 30%  แต่ SCB เค้าจะมีบริการทำอะไรซักอย่างซึ่งผมก็ไม่เข้าใจทั้งหมด  แต่เหมือนเค้าทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานะทำให้โดนภาษีแค่ 15% แทนโดยมีค่าดำเนินการนิดหน่อยแค่ 2,000 บาททุกๆ 3 ปี  ซึ่งถ้าเราลงทุนในหุ้นอเมริกาเยอะยังไงก็คุ้มอยู่แล้วแนะนำให้ทำซะครับ ของ KSecurities ก็มีเช่นกัน ส่วน Kim Eng ก็น่าจะมีนะ  ลองถามเค้าดูครับ

 

ส่วนเรื่อง Capital Gain

ไม่ว่าจะลงทุนประเทศไหนก็แล้วแต่  เราเสียภาษี Capital Gain ตามกฎหมายประเทศไทย  ซึ่งคือ 0% หรือไม่ต้องเสีย โคตรได้เปรียบคนอื่นเค้าเลยครับ

จะมีข้อกำหนดพิเศษที่อาจโดนภาษีนิดนึงคือกรณีที่ลงทุนระยะสั้นๆไ่ม่ถึงหนึ่งปี  กติกาคือนับตามปีปฏิทิน ถ้าเรามีการโอนเงินออกไปนอกประเทศปีที่ 1 แล้วลงทุนทำกำไรแล้วดึงเงินกลับมาประเทศไทยภายในปีที่ 1  แบบนี้ส่วนกำไร Capital Gain จะโดนนับรวมกับรายได้แล้วเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่สมมติขายหุ้นได้กำไร Capital Gain ตั้งแต่ปีที่ 1 แหละ  แต่ไม่ได้ดึงเงินกลับมาประเทศไทย ปล่อยทิ้งไว้จนปีต่อมา แล้วค่อยดึงเงินกลับมาตอนปีที่ 2 เป็นต้นไปแบบนี้ก็ไม่นับละ  ไม่โดนนับเป็นภาษีเงินได้

 

ดังนั้นลงทุนได้อย่างสบายใจละครับ  จะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นต่างประเทศนี่เราได้เปรียบคนประเทศเค้าลงทุนในประเทศตัวเองมากเลยนะ

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ไปลงทุนต่างประเทศ โบรกเกอร์ไหนดี ?

Best Brokerage for Your Foreign Investment

ไปลงทุนต่างประเทศ โบรกเกอร์ไหนดี ?

มีคนถามผมว่าเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ไหนดี ? มันมีความแตกต่างกันมั้ย ?  ปกติผมก็จะตอบว่าแต่ละโบรกเกอร์ก็มีความต่างกันบ้างเหมือนกัน แต่เปิดกับโบรกเกอร์ที่เราสะดวกน่ะแหละ  เรามีบัญชีอยู่แล้วกับ SCB หรือ KBANK ก็เปิดกับเจ้านั้น แต่วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบกันอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่ผมรู้ละกันนะครับ

 

ค่าธรรมเนียมซื้อขาย

โดยภาพรวม KBANK จะชนะครับ  ประเทศส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียม SCB กับ KBANK จะเท่ากัน  แต่ KBANK จะดีกว่าตรงค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่ำกว่า ดังนั้นถ้าสมมติเรากะจะซื้อประมาณหลักหลายแสนซื้อผ่าน KBANK ก็จะได้เปรียบ  แต่ถ้าเราเป็นพวกซื้อครั้งนึงเป็นล้านอยู่แล้ว SCB กับ KBANK ก็จะไม่ต่างกัน ส่วน Kim Eng โดยรวมจะแพงกว่าคนอื่นเกือบทุกตลาด

แต่ไม่ใช่ว่า KBANK จะดีสุดตลอดนะครับ  SCB จะค่าธรรมเนียมต่ำสุดตลาดหุ้นเวียดนาม  KBANK ผมเห็นเด่นแคนาดา ส่วน Kim Eng จะเด่นเกาหลี

 

ค่าใช้จ่ายตอนโอนเงินออกจากหรือกลับเข้ามาไทย

เรื่องนี้ SCB จะดีกว่า KBANK

ของ SCB มีเฉพาะตอนเอาเงินกลับไทย  ครั้งละ 500 บาท

KBANK มีทั้งตอนโอนเงินออกและกลับเข้ามา  ครั้งละ 1,300

ส่วน Kim Eng เห็นว่าจะมีทั้งตอนโอนเงินออกและเอากลับมา  ครั้งละ 500 หรือ 1,000 บาทแล้วแต่สกุลเงินที่เราแปลงไปหรือกลับมา

ดูแล้วเรื่องนี้ SCB ดีสุดชัดเจน

 

ตลาดที่ไปได้

หัวข้อนี้ต่างอยู่  เป็นเหตุผลที่ทำไมผมมีบัญชี SCB อยู่แล้วแต่ยังจะไปเปิดบัญชีกับ KBANK เพราะมันมีบางประเทศที่ไปได้ต่างกันนี่แหละ  ตลาดหุ้นหลักๆทั่วประเทศนี่ไปได้อยู่แล้ว แต่มันจะมีบางประเทศที่ต่างกัน ผมไปเช็คบนเวปเค้าผลปรากฎว่า SCB ไปได้น้อยสุดละ

SCB ครอบคลุมตลาดหลักๆทั้งหมด

KBANK จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Poland, Ireland, Austria, Turkey

Kim Eng จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Ireland, Greece, Luxembourg

แต่แปลกมากที่ตลาดใหญ่ๆบางประเทศไม่มีโบรกเกอร์ไหนไปได้เลยเช่น South Africa, India

 

ข้อมูลพวก research

ของ SCB และ KBANK ก็ค่อนข้างน้อยทั้งคู่ครับ  แต่เข้าใจว่าในอนาคตถ้ามีการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้รับความนิยมเยอะขึ้นลูกค้าเยอะขึ้นเค้าจะมีเพิ่มขึ้นมาเอง  ส่วน Kim Eng ยังไม่เคยใช้บริการผมไม่ทราบจริงๆ

โดยรวมก็ไม่ต้องคิดมาก  คิดซะว่าต้องทำการหาข้อมูลเองแน่ๆไว้ก่อน

 

สรุปว่า  ถ้าเป็นผมก็จะใช้ของ SCB เป็นหลักเพราะผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของค่าธรรมเนียมมากกว่าเรื่องอื่น  ถ้าสังเกตเรื่องค่าธรรมเนียมซื้อขายกับค่าธรรมเนียมโอนเงินเข้าออก SCB จะดีสุด แล้วก็น่าจะเป็น KBANK ตามมาในบางกรณีที่ไปซื้อหุ้นในตลาดที่ SCB ไปไม่ได้  อย่าง Norway, Poland, Turkey ก็น่าสนใจอยู่ครับ ส่วนถ้าเป็นคุณก็เอาตามที่สะดวกเลยครับผมมาให้ข้อมูลเฉยๆไม่ได้มีใครจ้างมาอยู่แล้วครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมแพงมั้ย ??

How Much is Global Trading Fee?

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมแพงมั้ย ??

โดยรวมก็แพงกว่านะครับ  เท่าที่ดูตลาดส่วนใหญ่มันก็จะแพงกว่าตลาดหุ้นไทยแหละ  ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเท่าที่ดูเหมือนว่าแต่ละโบรกเกอร์จะมีความแตกต่างกันบ้างเหมือนกันนะครับ  คร่าวๆมันเป็นประมาณนี้

 

อเมริกา

SCB 8 Cent/share ขั้นต่ำ 30 USD

KS 8 Cent/share ขั้นต่ำ 20 USD

Kim Eng 0.32% ขั้นต่ำ 600 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีกนิดหน่อย  ประมาณ 0.002% แต่ก็งงว่าทำไมแต่ละเจ้าต่างกันนิดหน่อย

ลองคิดคร่าวๆว่าสมมติซื้อ 500,000 บาทซึ่งคือประมาณ 16,436 USD  

ถ้าหุ้นละ 50 USD ก็จะเป็น 328 หุ้น  เราก็จะโดนขั้นต่ำ 30 USD หรือคิดเป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 0.1825%  แต่ถ้าเป็นของ KSecurities จะเป็น 26.24 USD หรือคิดเป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 0.1596%

จะเห็นว่าไม่ได้แพงต่างกับหุ้นไทยเท่าไหร่

 

โซนยุโรป (ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เดนมาร์ก, ฯลฯ)

SCB 0.25% ขั้นต่ำ 35 EUR

KS 0.25% ขั้นต่ำ 20 EUR

Kim Eng 0.55% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** บางประเทศมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่น  อังกฤษมีตอนซื้อ 0.5% ฝรั่งเศสมีตอนซื้อ 0.3%

 

จีน

SCB 0.3% ขั้นต่ำ 200 RMB

KS 0.3% ขั้นต่ำ 150 RMB

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีกนิดหน่อย  ประมาณ 0.1%

 

ฮ่องกง

SCB 0.2% ขั้นต่ำ 200 HKD

KS 0.2% ขั้นต่ำ 150 HKD

Kim Eng 0.32% ขั้นต่ำ 600 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมอีก  ประมาณ 0.11%

 

ญี่ปุ่น

SCB 0.3% ขั้นต่ำ 2,000 Yen

KS 0.3% ขั้นต่ำ 3,000 Yen

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

 

ตลาดหุ้นที่แพงมากเป็นพิเศษก็จะมีเช่น

เกาหลีใต้ 

SCB 0.6% ขั้นต่ำ 60,000 KRW

KS 0.65% ขั้นต่ำ 60,000 KRW

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีก  ประมาณ 0.3%

 

จากที่ผมสังเกต SCB จะเด่นเวียดนาม  KS จะเด่นแคนาดา Kim Eng เด่นเกาหลีครับ

สรุปคือถ้าจะไปซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นอาจจะไม่ค่อยเวิร์คยกเว้นตลาดหุ้นอเมริกาที่ดูค่าธรรมเนียมเท่าๆกับไทย  แต่ถ้ามองว่าจะลงทุนระยะยาวไม่ได้ซื้อขายบ่อยๆก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร ถ้าใครต้องการรายละเอียดสามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้บนเวป

SCB  http://www.scbs.com/en/product/product-offshore/

KS  https://www.kasikornsecurities.com/ksec/upload/ContentEditor/09_30_2019_163056028.pdf

Kim Eng  https://www.maybank-ke.co.th/en/products-services/products-services/offshore-trading/

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

How to Register for an International Stock Account ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

ขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศทำยังไง ?

ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทำวีดิโอหัวข้ออะไรประมาณนี้แล้วนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายคนก็เลยจะทำวีดิโออธิบายไว้ให้สมบูรณ์ไปเลยทีเดียวครับ

เท่าที่ผมทราบตอนนี้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีบริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศจะมี SCB Securities, KSecurities  แล้วก็ Kim Eng แต่ละโบรกเกอร์จะมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อยเช่นเรื่องค่าธรรมเนียมกับไปได้บางประเทศไม่เหมือนกัน  แต่ตลาดต่างประเทศหลักๆอย่างอเมริกา, ยุโรป, จีน, ญี่ปุ่น, ฯลฯ ไปได้เหมือนกันหมด

เปิดบัญชีของ SCB Securities

ปัจจุบันผมใช้ของที่นี่เป็นหลักเพราะตอนนั้นเจอเป็นเจ้าแรกที่ทำได้

วิธีการเปิดบัญชีปัจจุบันของ SCB Securities เค้ามี 2 ทางคือ

1. เปิดผ่านแอพ SCB Easy

ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมากครับ  แต่ก่อนไม่มี สะดวกมากและเราแนะนำให้ทำผ่านทาง SCB Easy นี่แหละครับ

ขั้นตอนคือ

  • เปิด SCB Easy
  • เลือก “การลงทุน”
  • เลือก “ลงทุนกับ  SCBS”
  • ใส่ PIN
  • เลือก “เปิดบัญชี”
  • เลือก “อนุญาต”
  • ตรงนี้เค้าจะบอกว่าทำการเปิดบัญชีครั้งนี้ครั้งเดียว  ได้หมดเลยทั้งหุ้นไทย, ต่างประเทศ, กองทุน
  • ดูว่าคุณสมบัติเราผ่าน
  • ใส่หมายเลขที่อยู่ด้านหลังบัตรประชาชน
  • เช็คข้อมูลส่วนตัวว่าถูกต้องมั้ย
  • ที่อยู่ดูให้เรียบร้อย
  • สถานภาพสมรส
  • ใส่ข้อมูลอาชีพ
  • ใส่ข้อมูลเรื่องวัตถุประสงค์การลงทุน
  • กำหนดวงเงิน  เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • เลือกลักษณะที่เราลงทุน  โดยปกติหุ้นต่างประเทศก็อาจจะต้องรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
  • ทำประเมินการรับความเสี่ยงซะ
  • ตรงที่ถาม  รับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้มั้ย  ต้องตอบว่า “ได้” ไม่งั้นน่าจะเปิดบัญชีหุ้นต่างประเทศไม่ได้
  • เลือกบัญชี SCB ที่ผูกกับบัญชีหุ้น
  • ตรวจสอบข้อมูลอีกที
  • เลือก “ยอมรับ”
  • ยืนยันเบอร์โทร
  • จบละ

ง่ายมากและเร็วมากจริงๆครับ  หลังจากทำเสร็จปุ๊บผมยังนึกว่าต้องใช้เวลาซัก 1 วัน  แต่ปรากฎว่าอนุมัติทันทีและเค้าส่ง Username และ Password มาทันที  ที่เหลือคือไปตั้งรหัสของตัวเองแล้วก็ก่อนซื้อขายต้องโอนเงินเข้าไปในบัญชีก่อนครับ

Login ของบัญชีหุ้นต่างประเทศมันจะอยู่ล่างๅ

2. เปิดโดยการกรอกเอกสาร

โทรไปหาเค้าแล้วแจ้งว่าจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ  แจ้งที่อยู่ให้เค้าส่งมาให้

SCB Securities เค้าจะมีเอกสารอธิบายว่าต้องทำอะไรเตรียมอะไรอยู่แล้ว

ส่วนตรงข้อมูลส่วนตัวพวกเรื่องรายได้, รายได้อื่นกับข้อมูลการติดต่อกับสถาบันการเงินต่างๆ  ตรงนี้ปกติไว้ใช้พิจารณาวงเงิน ซึ่งบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศเป็น Cash Balance อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความสำคัญอะไรไม่ได้ต้องซีเรียส

พวกประวัติฟอกเงินหรือเคยถูกปฏิเสธการรับทำธุรกรรมทางการเงิน  พวกนี้เราก็ตอบไปตามจริงซึ่งโดยปกติผมว่าไม่น่าจะมีใครมีปัญหาอยู่แล้ว

เรื่องการรับความเสี่ยง  ตรงคำถามว่าท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ระดับใด  ถ้าตอบว่าน้อยที่สุดก็อาจจะเปิดไม่ได้ ส่วนสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ  ถ้าตอบว่าไม่ได้นี่คือเปิดบัญชีไม่ได้แน่ๆ ตอบว่าได้นี่คือชัวร์สุด ผลรวมถ้าคะแนน 30 คะแนนขึ้นไปก็คือเปิดได้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

เรื่องข้อมูลธนาคารในการรับเงิน  E-Dividend หรือการหักเงินบัญชีธนาคารโดยตรง  จะไม่มีถ้าเป็นหุ้นต่างประเทศเพราะเป็นระบบ Cash Balance อย่างเดียว

เลือกเปิดบัญชี  เลือกทั้งสั่งคำสั่งผ่านระบบ Internet และผ่านผู้แนะนำการลงทุน  

ที่เหลือคือกรอกเอกสารตามความเป็นจริงและเซ็นให้เรียบร้อย

FATCA ตอบตามความเป็นจริง  ถ้าไม่ใช่ชาวอเมริกันก็คือตอบ No ทุกข้ออยู่แล้ว

W-8BEN อันนี้เรื่องภาษีของ US เพื่อกลับมาเสียภาษีที่ไทย

Globe Tax ประหยัดภาษีปันผลจาก 30% เหลือ 15% มีค่าบริการ

ของ SCB เค้าจะไม่มีกำหนดว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ในบัญชี

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมเวลาเอาเงินออกหรือกลับประเทศไทย  ล่าสุดเค้าบอกว่าโอนออกไม่เสียเงินแล้ว แต่ตอนโอนเข้ากลับมาจะมีเสีย 500 บาทต่อครั้ง

เปิดบัญชีของ KSecurities

ของเจ้านี้ผมสนใจขึ้นมาเพราะเกิดสนใจอยากจะลงทุนในหุ้นตุรกี  การเปิดบัญชีของ KSecurities ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสารเท่านั้น  ดังนั้นก็โทรไปขอเค้าเลยครับ

เอกสารไม่ได้มาเป็นเล่มเหมือนของ SCB Securities แต่การกรอกก็คล้ายๆกันครับ

ของที่นี่ผมตอนผมโทรไปเค้าให้ข้อมูลพยายามช่วยเหลือดีมากเลยครับ  เค้าแจ้งว่าของ KSecurities จะมีบทวิเคราะห์ของ S&P Capital IQ แล้วก็สามารถช่วยหาข้อมููลทาง Bloomberg ได้

แต่ที่ผมแปลกใจคือเค้าบอกว่าเรื่องการโอนเงินออกหรือเข้าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทั้งตอนออกและเข้าครั้งละ 1,300 บาท  ซึ่งก็แปลกว่าทำไมไม่เหมือนของ SCB

และอีกอย่างที่ต่างคือต้องมีการโอนเงินเข้าไปในบัญชี 500,000 บาทก่อน  ถึงจะส่งรหัสมาให้เราเริ่มใช้งานได้ 

เปิดบัญชีของ Kim Eng

ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสาร

ข้อมูลที่กรอกก็เหมือนๆเจ้าอื่น  แต่ต้องมีเปิดบัญชีหุ้นไทยด้วยถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้  ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเปิดไปทั้งคู่แหละครับ

ไม่มีขั้นต่ำ

ที่เค้าบอกว่าต้องมี Statement ย้อนหลัง 3 เดือนเข้าใจว่าไว้กำหนดวงเงิน  แต่ถ้าเราเปิดบัญชี Cash Balance อย่างเดียวเลยก็ไม่น่าจะต้องใช้

ของที่นี่มีค่าเปิด 90 บาท  อันนี้น่าจะแล้วแต่มาร์เก็ตติ้ง  จริงๆของหลักทรัพย์อื่นก็มีแหละ แต่แค่ว่าตัวมาร์เก็ตติ้งบางคนหรือตัวโบรกเกอร์เค้าออกให้เท่านั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี