จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

How do I know if I did the valuation correctly?

จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว ?

มีคนถามว่าประเมินมูลค่ามูลค่าหุ้นออกมา จะรู้ได้ไงว่าถูกต้อง

อันนี้ผมว่ามันขึ้นอยู่กับคำว่าถูกต้องที่ว่านี่คือเราหมายถึงอะไร

ถ้าถูกต้องในที่นี้คือหมายความว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าได้แม่นยำ อนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้นเกิดตามที่เราเดาไว้ เอาจริงๆมีวิธีเดียวก็คือรอให้อนาคตมาถึง แล้วก็เทียบกับสิ่งที่เราประมาณการเอาไว้ว่าตรงกันมั้ยครับ ทำได้แค่นั้นจริงๆ

เพราะไม่มีสมการหรือสูตรคำนวณอะไรจะทำนายอนาคตได้ ปีหน้ายอดขายจะเป็นเท่าไหร่เป๊ะๆเจ้าของบริษัทยังไม่รู้เลย ดังนั้นการประเมินมูลค่าซึ่งอาศัยการคิดลดตัวเลขในอนาคตกลับมาปัจจุบัน ก็ไม่มีคำว่าแม่นยำอยู่แล้ว

แต่ทีนี้ถ้าสมมติคำว่าถูกต้อง หมายถึงแค่ว่าทำตามสูตรถูกต้อง อันนี้ก็ง่ายหน่อย

สูตรคำนวณจะ Discounted Dividend หรือ Discounted Free Cash Flow มันก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่ ผมแนะนำว่าถ้าใครไม่เข้าใจที่มาของสูตรในการคำนวณ หรือไม่เข้าใจว่าทำไม free cash flow มันคิดเลขมาแบบนี้ ก็ไปทำความเข้าใจซะหน่อย พอเราเข้าใจว่ามันคืออะไรก็ไม่มีปัญหาละ

ส่วนที่ยากของเรื่องคือการประมาณ growth ที่ใช้มากกว่า อันนี้เป็นส่วนที่ไม่มีอะไรตายตัว ไม่มีคำว่าถูกต้องอยู่แล้ว อย่าไปกังวลมาก เอาให้มันไม่เว่อร์เยอะไปหรือน้อยไปก็ใช้ได้ ผมแนะนำว่าใช้วิธีการดู growth ในอดีตแล้วก็พิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันประกอบเอา และนึกไว้ในใจว่าบริษัทไม่มีทางโตอย่างเร็วไปได้เรื่อยๆ ยังไงก็ต้องโตช้าลงเรื่อยๆ

สรุปคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าประเมินมูลค่าหุ้นถูกต้องแล้ว คำตอบคือเอาจริงๆก็ไม่มีทางรู้หรอก เวลาทำก็ทำโดยใส่สมมติฐานตัวแปรต่างๆอย่าให้มันเว่อร์ไปก็ใช้ได้ สุดท้ายผลลัพธ์ออกมาก็เอาไว้ใช้กะคร่าวๆเท่านั้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ความพยายามในการเดาจุดต่ำสุด

Predicting the lowest point in a stock drop

ความพยายามในการเดาจุดต่ำสุด

หัวข้อนี้ไม่แน่ใจว่าเคยพูดไปแล้วหรือยัง  แต่เร็วๆนี้ที่มีตลาดตกต่อกันหลายวันผมเริ่มคนถามคำถามประมาณว่า “ตลาดจะตกต่อมั้ย”, “ตอนนี้ตกสุดหรือยัง” บ่อยขึ้นเยอะ  แม้กระทั่งนักเรียนผมก็เป็น  ดังนั้นผมเลยรู้สึกว่าควรจะพูดเรื่องนี้อีกทีเพราะมันสำคัญครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าตลาดหุ้นในระยะสั้นนี่มันขึ้นกับอารมณ์เยอะมากและมันพลิกไปมาได้เร็วมาก  ถ้าเราสังเกตลองย้อนไปดูเราก็จะเห็นว่าบางทีตลาดก็ตก -1% กว่าและในวันต่อมาก็อาจจะกลับตัวทันทีเป็นบวก +1% กว่าก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้  ไม่มีใครเดาได้จริงๆหรอกว่าพรุ่งนี้ตลาดจะเป็นยังไง

ทีนี้แน่นอนว่าเราทุกคนก็จะมีความเห็นต่อตลาดหุ้นของตัวเองแหละ  บางคนก็ว่าตลาดน่าจะตกต่อนะ  บางคนก็บอกน่าจะขึ้นนะ  ซึ่งตรงนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร  เราแค่ต้องรู้ว่ามันเป็นแค่ความเห็นเรานะและมันไม่ได้จำเป็นต้องถูก  แต่ปัญหามันจะเริ่มเกิดถ้าเราเผลอไปคิดว่าความเห็นของเรามันจะแม่น  แล้วเริ่มใช้กลยุทธ์ในการลงทุนที่ต้องพึ่งพาความแม่นยำในการเดานั่น  อย่างเช่นเราจะซื้อตอนหุ้นตกต่ำที่สุดอะไรแบบนั้นเป็นต้น  พอกลยุทธ์ในการลงทุนมันไปอิงกับสิ่งที่อาศัยโชคปุ๊บก็แปลว่าผลลัพธ์ในการลงทุนเราก็กลายเป็นอาศัยโชคไปด้วย  และตรงนี้มันก็จะเริ่มอนาถละ

ถึงเวลาเหตุการณ์จริง  สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นคือประมาณนี้  สมมติหุ้นตกมา 10% ละจาก 100 เหลือ 90  คำถามคือแล้วควรจะซื้อหรือยัง  ถ้ากลยุทธ์เรามีเกณฑ์ตายตัวเช่นดูว่าราคาต่ำกว่ามูลค่าพอสมควรแล้วถึงซื้อมันก็ไม่ต้องเดาถูกมะ  ก็แค่ดูว่าราคา 90 นี่ต่ำกว่ามูลค่าพอสมควรยัง  ถ้าสมมติเราคิดว่ามูลค่าที่แท้จริงบริษัทนี้อยู่ 100 บาทนะแล้วเรากะซื้อต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสมซัก 15% ซึ่งคือที่ 85 บาทหรือต่ำกว่่า  เราก็ตัดสินใจได้ทันทีว่ายังไม่ซื้อ  แต่สมมติกลยุทธ์เราไม่มีเกณฑ์ตายตัวต้องอาศัยการเดาซื้อที่จุดต่ำสุด  งั้น 90 บาทนี่ต่ำสุดยังอ่ะ  ก็ไม่รู้และก็จะคอยสงสัยอยู่ว่ามันจะตกไปอีกหรือเปล่า  แล้วสมมติวันต่อมามันตกไปอีกเหลือ 87 บาทล่ะ  อันนี้คือควรซื้อหรือยัง  ก็ไม่รู้อีกมันก็อาจจะตกไปอีกพรุ่งนี้ก็ได้ถูกมะ  แล้วถ้าพรุ่งนี้เหลือ 85 บาทล่ะ  ก็จะมีคำถามเดิมอีกอยู่ดี  ไม่จบไม่สิ้น

สุดท้ายสิ่งที่ผมแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักเรียนเราก็คือ  เราจะมีความเห็นว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือจะลงก็ตามสบายไม่มีปัญหา  แต่การตัดสินใจในการซื้อยังไงก็ต้องมีระบบชัดเจน  จะใช้วิธีประมาณการผลตอบแทนแบบที่เรียนไปก็ได้  หรือจะใช้วิธีประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DCF อะไรก็ได้  หรือจะดู P/E, Dividend yield ก็ได้แล้วแต่  ที่สำคัญขอให้มันมีเกณฑ์ในการตัดสินใจให้ชัดเจนว่าจะซื้อเมื่อไหร่  ไม่เอาแบบใช้ความรู้สึกโอเคมะ  ใช้ความรู้สึกมันมั่วครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะประมาณการเติบโตของบริษัทยังไงดี ?

How to estimate future growth rate ?

จะประมาณการเติบโตของบริษัทยังไงดี ?

อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้น Discounted cash flow  มีคนถามว่าเราจะประมาณการเติบโตของบริษัทไปในอนาคตยังไงดี

เหมือนอย่างที่บอกในวีดิโออันก่อนๆว่าสมมติฐานเรื่อง growth กับ discount rate ที่ใช้มีผลต่อมูลค่าหุ้นที่ได้ออกมาเยอะมาก  และมันก็เป็นอะไรที่แล้วแต่คนทำมาก  คือมันก็มีทฤษฎีมีสูตรว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ดีนู่นนี่นะ  แต่สุดท้ายไม่มีใครรู้จริงๆหรอก  เพราะ growth มันเป็นเรื่องของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและมันไม่มีใครรู้อนาคตไงนึกออกมะ  ส่วน discount rate ตามคอนเซปต์ควรจะเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหุ้นนั้น  ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่รู้จะวัดยังไงว่าหุ้นนั้นเสี่ยงมากหรือน้อยอีก  ดังนั้นย้ำอีกทีว่า growth กับ discount rate นี่มันเป็นอะไรที่ไม่ค่อยตายตัว  ทำได้แค่กะๆเท่านั้น  ไม่มีคำว่าแม่นยำ

ทีนี้เข้าเรื่อง  โดยปกติวิธีที่เค้าทำกันก็จะมีประมาณนี้

  1. ใช้ตัวเลขของนักวิเคราะห์
  2. ซึ่งอาจจะเป็นของเจ้าใดเจ้าหนึ่งหรือจะเป็นการเฉลี่ยของหลายเจ้าก็แล้วแต่  ข้อดีคือเราคาดหวังว่านักวิเคราะห์จะศึกษาและติดตามบริษัทที่เค้าเขียนบทวิเคราะห์ดังนั้นอาจจะทำการคาดการณ์ได้ดีกว่าเรา  ข้อเสียคือบางทีเราไม่รู้ที่มาของสมมติฐานอะไรของเค้าเลย

  3. ใช้ historical growth rate ของกำไรตรงๆ
  4. จะใช้เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีหรือ 10 ปีอะไรก็แล้วแต่  โดยปกติจะใช้ช่วงเวลาที่มองว่าใกล้เคียงปัจจุบัน  จะมีประโยชน์ในกรณีที่เราคิดว่าสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก  เหตุใดที่ทำให้บริษัทโตในช่วงที่ผ่านมาจะยังดำเนินต่อไป

  5. ใช้ sustainable growth rate
  6. ROE*(1-dividend payout ratio)

    อันนี้จริงๆก็อาศัยอดีตในการเดา growth เหมือนกัน  สมมติฐานก็คือบริษัทเติบโตจากการที่ทำกำไรนะแล้วก็กำไรส่วนที่สะสมไว้ไม่ได้จ่ายเป็นปันผลออกมาไปลงทุนต่อนะ

  7. ใช้การเดาอนาคตอุตสาหกรรม, ส่วนแบ่งการตลาดและปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆของบริษัท
  8. อื่นๆ  คนก็มีไอเดียอะไรไม่รู้อีกเยอะแยะแหละ

ส่วนตัวแล้วสิ่งที่ผมทำคือศึกษาตัวบริษัทก่อน  แล้วก็สรุปออกมาว่าเท่าที่เห็นนี่บริษัทน่าจะทำได้ดีใกล้เคียงเดิมมั้ย  น่าจะโตเร็วขึ้นมั้ย  หรือน่าจะโตช้า  หลังจากนั้นก็ใช้ expectation อันนี้ไปปรับกับการเติบโตในอดีตอีกที  ซึ่งปกติก็ใช้ historical growth rate หรือ sustainable growth rate เป็นตัวตั้ง  เช่นสมมติเฉลี่ยที่ผ่านมาบริษัทโตปีละ 8%  ด้วยการศึกษาสถานการณ์ตอนนี้ผมว่ามันน่าจะโตช้าลงนะ  growth rate ที่ใช้ประมาณไปในอนาคตก็อาจจะเหลือ 6-7% ต่อปีแทนอะไรงี้  ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นการกะคร่าวๆเท่านั้น  ไม่มีคำว่าแม่นยำอยู่แล้ว  แต่คนที่จะเดาได้ใกล้เคียงกว่าก็คือคนที่เข้าใจธุรกิจและความเป็นไปของบริษัทน่ะครับ  ถึงได้พยายามย้ำว่าอย่ามัวแต่งมสูตรอะไรไร้สาระแล้วเอาเวลาไปทำความเข้าใจตัวบริษัทดีกว่า

สรุปคือไอเดียวิธีการมันก็มีประมาณนี้แหละ  คุณอยากใช้วิธีไหนก็ได้แล้วแต่เลย  เอาที่รู้สึกว่ามันสมเหตุสมผลสำหรับคุณก็คือใช้ได้  แค่อย่าเผลอไปคิดว่ามันจะแม่นหรือเผลอไปเสียเวลาเยอะแยะกับความพยายามเรียนสูตรนู่นนี่นั่นเท่านั้นเองครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ตัวอย่างการคำนวณ Free Cash Flow to Equity (FCFE)

Demonstrate how to calculate FCFE

ตัวอย่างการคำนวณ Free Cash Flow to Equity (FCFE)

อันนี้ก็ต่อเนื่องจากวีดิโอที่เราเคยอธิบายวิธีการ Discounted Cash Flow ไป  ปรากฎว่ามีคนมีปัญหาในการลงมือทำจริงแล้วถามเข้ามาเยอะมาก  เท่าที่ดูคือคนส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการคำนวณ Free cash flow ตั้งแต่แรก  ก็คือสูตรคำนวณน่ะรู้ละ  อ่านหนังสือเอาหรือไม่ก็ดูวีดิโอเราก็บอกสูตรอยู่  แต่ไม่รู้ว่าเอารายการไหนจากงบการเงินมาทำกันแน่  วีดิโอนี้ก็เดี๋ยวจะทำให้ดูเป็นตัวอย่างเอาเป็น Free cash flow to equity (FCFE) ละกัน

ทวนอย่างเร็ว  สูตร FCFE คือ

Net income + Net non-cash charges – Change in NWC – Capital expenditure + Net borrowing

ตัวอย่างที่ใช้คืองบการเงินบริษัท President Bakery ปี 2563

Net income  =  1,678,665,276

Net non-cash charges  =  492,803,775 – 1,990,697  =  490,813,078

Change in NWC  =   – 180,761,020 – 5,939,523 – 408,413 – 467,788 + 55,393,397 + 29,052,172 – 760 + 11,561,264  =  – 91,570,671

Capital expenditure  =  113,346,674 – 3,515,980 – 571,350 + 2,457,323  =  111,716,667

Net borrowing  =  0

สรุปคือ FCFE ปี 2563 ของ PB เท่ากับ 2,149,332,358

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นของ วอเรน บัฟเฟตต์ กับ ชาร์ลี มังเกอร์

Warren Buffett's valuation method

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นของ วอเรน บัฟเฟตต์ กับ ชาร์ลี มังเกอร์

เมื่อเร็วๆนี้ผมอ่านหนังสือชื่อ Charlie Munger the complete investor ของ Tren Griffin ครับ  ไอเดียของหนังสือคือคนเขียนเค้าพยายามเรียบเรียงสรุปแนวคิดของ Charlie Munger Vice Chairman ของ Berkshire Hathaway ซึ่งเป็นคนที่เค้าชื่นชมออกมาเป็นหมวดๆ  แล้วพอดีมันมีส่วนที่คนเขียนเค้าพูดถึงวิธีการลงทุนที่ Charlie Munger กับ Warren Buffett ใช้ด้วย  ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจทีเดียว  เพิ่งรู้เหมือนกันเพราะนึกว่าปกติเค้าก็ใช้ Discounted cash flow ธรรมดา

ในภาพรวมเค้าก็ใช้ Discounted cash flow นั่นแหละ  แต่สิ่งที่ดูมีความต่างออกไปจากปกติมีสองอย่างคือตัว cash flow ที่เอามาคิดลด  กับ discount rate ที่ใช้คิดลด

1. ตัว cash flow เค้าใช้คำว่า owner’s earnings  

หลักการของตัวเลขตัวนี้ก็คือพยายามจะคำนวณว่ากำไรที่บริษัททำได้แล้วไปถึงมือผู้ถือหุ้นคือเท่าไหร่  วิธีการคำนวณคล้ายๆ Free cash flow to equity เลยคือ

กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อม + ค่าตัดจำหน่าย – เงินสดที่ใช้ไปในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น

จะเห็นว่าคล้ายกับ Free cash flow to equity มาก  ต่างแค่ตรงที่ Free cash flow to equity ปกติเค้าจะมีเพิ่มอีกตัวคือ + เงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น  ที่บวกตัวนี้เพิ่มขึ้นมาเพราะเค้ามองว่าการที่กู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นมาก็ทำให้ใช้เงินลงทุนของผู้ถือหุ้นในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือพวกเงินทุนหมุนเวียนน้อยลง

เข้าใจว่าสาเหตุที่ Charlie Munger กับ Warren Buffett ไม่นับเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นเพราะพวกนี้ชอบบริษัทที่มีหนี้เงินกู้น้อยมากๆหรือถ้าเป็นไปได้ไม่มีกู้ยืมเงินเลย

2. ตัว Discount rate เค้าใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี

จริงๆตัวเลขเป๊ะๆไม่มีใครรู้ชัดเจน  แต่เค้าเคยพูดไว้ว่าใช้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปีเป็นตัวคิดลด  ซึ่งก็คือตัว risk free rate  หรือไม่ก็อาจจะมีบวก premium นิดหน่อย 1-2% ถ้าเค้ามองว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ณ ตอนนั้นมันไม่น่าจะอยู่ที่ระดับนั้นในระยะยาว

อันนี้เป็นอะไรที่แปลกออกไปจากทฤษฎีที่สอนกันมาก  เพราะเวลาผมเรียนเค้าจะให้ใช้อัตราผลตอบแทนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหุ้นหรือสินทรัพย์นั้นๆไม่ใช่ risk free rate  เพราะว่าหุ้นมันมีความเสี่ยงมากกว่าพันธบัตรที่รับรองโดยรัฐบาลแน่นอน  มันมีโอกาสเจ๊งหรือผลประกอบการแย่ลงหรืออะไรก็แล้วแต่และดังนั้นเพื่อให้การประเมินมูลค่าของหุ้นเค้าเลยสอนให้ใช้อัตราคิดลดที่สูงกว่า

เท่าที่ตีความจากสิ่งที่ Warren Buffett เขียนในจดหมายถึงผู้ถือหุ้น  เข้าใจว่าเป็นเพราะเค้ามองว่าการวัดความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลขว่าเท่ากับกี่ % นี่เป็นเรื่องไร้สาระ  สำหรับเค้าแล้วการที่จะไปพยายามประเมินมูลค่าของบริษัทให้ได้แม้ว่ามันจะเสี่ยงมากและเราไม่รู้เลยว่าอนาคตมันจะเป็นยังไงด้วยการซี้ซั้วใช้เลขอะไรก็ไม่รู้เป็นอัตราคิดลดมันดูมั่ว  มันควรจะเริ่มจากการมองว่าเรามั่นใจขนาดไหนว่าบริษัทนั้นจะทำได้ดี  ถ้าเรามั่นใจมากถึงขึ้นแทบชัวร์แล้วดังนั้นมันก็คือความเสี่ยงมันต่ำ  ก็เลยทำการคิดลด owner’s earnings ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นด้วยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเลย  แล้วเวลาซื้อก็ซื้อให้มันต่ำกว่ามูลค่านั้นลงมาให้มี margin of safety แทน

สรุป

แปลกดีมั้ยครับ  ส่วนตัวผมอ่านเจอตรงนี้ผมก็มีความเห็นด้วยนะ  ส่วนนึงอาจจะเพราะมีความเชื่อถือสองคนนี้อยู่แล้ว  แต่อีกส่วนนึงคือจากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมก็เห็นด้วยว่ามันควรจะเริ่มจากดูตัวบริษัทก่อน  ผมพบว่าขอให้เราดูตัวธุรกิจมันไม่พลาด  เรื่องการประเมินมูลค่าเอาแค่กะหยาบๆว่าซื้อได้ถูกระดับนึงผลลัพธ์มันก็จะออกมาดีตลอดนะ  ที่มันเละแล้วสุดท้ายขาดทุนคือครั้งที่พลาดเรื่องตัวธุรกิจซะมากกว่า

เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

Forecasting Free Cash Flow

เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

มีคนถามว่าเราจะทำการประมาณตัวเลข Free cash flow ไปในอนาคตได้ยังไง

เอาจริงๆเลยคือมันก็ต้องเดาแหละ  และคนที่จะเดาได้ดีสุดก็คือคนที่เข้าใจตัวบริษัทและมีความใกล้ชิดกับธุรกิจที่บริษัททำ

หลักๆมันก็มี 2 วิธี

  1. เดา growth rate ตรงๆ
  2. วิธีนี้ก็คือเดา growth rate แล้วก็ใช้กับ Free cash flow ปีล่าสุดที่ทำการปรับแล้วตรงๆเลย  ตัว growth rate ก็อาจจะเดามาจากการเติบโตในอดีตหรือไม่ก็คาดการณ์คร่าวๆของอนาคต

    วิธีการนี้มันก็จะเหมาะในกรณีที่เราคาดว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานต่างๆของบริษัทกับ Free cash flow จะไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงรุนแรง

    Growth rate ที่เดานี่ก็จะเป็นแบบโตอัตราเท่าเดิมไปเรื่อยๆหรือเป็น 2-stage, 3-stage ก็แล้วแต่เราพิจารณาความเหมาะสมเลย

  3. เดาองค์ประกอบย่อยแต่ละอย่างแยกกัน
  4. จะใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมื่อเราเชื่อว่าอัตราส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกับ Free cash flow มันจะมีการเปลี่ยนแปลง  วิธีการนี้เราก็กำหนดสมมติฐานเอาเองเลย

    ปกติเค้าก็จะประมาณตัวเลขโดยอ้างอิงกับตัวยอดขายเป็นหลัก  สิ่งที่ต้องกะก็จะมี

    • การเติบโตของยอดขาย
    • operating profit margin ไว้ประมาณตัว EBIT  
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Capital expenditure ที่ต้องลงทุนเพิ่ม (capital expenditure – depreciation)
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Net working capital ที่เพิ่มขึ้น
    • กรณีที่จะหา FCFE ก็ต้องมีสัดส่วนการใช้เงินกู้

    ส่วนใหญ่แล้วการเดาพวกนี้ก็เอามาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตนั่นแหละ  แล้วก็เพิ่มเติมมุมมองของเราเกี่ยวกับอนาคตเข้าไป

เพื่อให้เห็นภาพ  ผมลองทำตารางยกตัวอย่างการประมาณ FCFF ให้ดูกับบริษัทสมมติโดยมีสมมติฐานดังต่อไปนี้

  1. ยอดขายโตปีละ 10%
  2. Operating profit margin ค่อยๆลดลงจากปัจจุบันปีละ 15% ลงไปเรื่อยจนถึง 13%
  3. ภาษี 20%
  4. ไม่มี non-cash charge อื่นนอกจากค่าเสื่อม
  5. Capital expenditure ที่เพิ่มขึ้นเป็น 40% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
  6. Net working capital ที่เพิ่มขึ้นเป็น 10% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น

 

Year 0 1 2 3 4
Sales 100 110 121 133.1 146.41
EBIT margin 15% 14.50% 14% 13.50% 13%
EBIT 15.95 16.94 17.9685 19.0333
EBIT(1-tax) 12.76 13.552 14.3748 15.22664
Increase in sales 10 11 12.1 13.31
Incremental CAPEX 4 4.4 4.84 5.324
Incremental NWC 1 1.1 1.21 1.331
FCFF 7.76 8.052 8.3248 8.57164

 

ถ้าเป็น FCFE ก็จะคล้ายๆกันแต่เปลี่ยนตรงที่เริ่มจาก Net income ดังนั้นก็เอา net profit margin มาใช้แทน  และตอนสุดท้ายมีสมมติฐานเรื่องการกู้ยืมเงินซึ่งปกติก็คืออ้างอิงเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนที่ต้องใช้ (Incremental CAPEX + Incremental NWC)

จะสังเกตว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ต้องอาศ้ยการเดาเยอะมาก  แบบแรกก็คือเดาแบบเหมาภาพรวมส่วนแบบที่สองคือเดาตัวแปรต่างๆของบริษัท  ส่วนตัวผมมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ

  1. เลือกที่จะเดากับเฉพาะบริษัทที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภค
  2. ทำความเข้าใจภาพรวมอุตสาหกรรม  และจุดเด่นของบริษัท
  3. เดาไว้ทั้งแบบกรณีกลางๆกับแย่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

Discounted Cash Flow (DCF) : Part 3 Discounted FCFF

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

มีคนถามผมว่า “Free Cash Flow to the Firm คืออะไร? แตกต่างจาก Free Cash Flow to Equity และ Discounted Dividend อย่างไร?”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ อธิบายถึง Free Cash Flow to the Firm (FCFF) ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย และวิธีการคำนวณอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg