เสริมสร้างฐานะทางการเงิน 7 – วางแผนจ่ายหนี้

Improve your financial life 7 – Get a Plan for Debt Paydown

debt

นักลงทุนส่วนใหญ่จะชอบคิดไปเรื่องจัดสรรการลงทุนว่าลงทุนในอะไรดี  แต่สิ่งที่ควรคิดก่อนไปถึงเรื่องนั้นคือ  คิดก่อนว่าเงินที่มีเข้ามาควรจะเอาไปลงทุนแล้วหรือยัง  หรือจริงๆควรเอาไปจ่ายหนี้ก่อนดี

ยกตัวอย่างเช่น  เราอาจจะรู้สึกว่าเงินกู้บ้านอยู่ในหมวดหนี้ที่ดี  ก็เลยไม่รู้สึกว่าต้องรีบจ่ายให้หมด  เลยเอาเงินไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้หรือฝากธนาคาร  ทั้งที่จริงๆแล้วผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนพวกนี้ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเงินกู้เยอะมาก  สู้เอาเงินที่เหลือไปเร่งชำระเงินต้นจะเป็นการใช้เงินที่คุ้มค่ามากกว่า

เพื่อให้ง่ายต่อการเห็นภาพ  เราควรเอาหนี้ต่างๆที่มีและการลงทุนต่างๆที่เราทำอยู่มาเขียนรวมกันไว้บนกระดาษแผ่นเดียวกัน  เมื่อเราเห็นภาพรวมเราจะได้ตัดสินใจบริหารเงินของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพื่อให้ง่ายเริ่มจากไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มของ Morningstar มาก่อน

https://drive.google.com/open?id=1EjjkZx0Wd-pKQ4SfkJdtUsBDjFbaRFHw

จากนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เขียนอัตราดอกเบี้ยของหนี้ที่เรามี

ถ้าเป็นอันที่อัตราดอกบี้ยคงที่มันก็จะง่าย  เราก็ใส่อัตราดอกเบี้ยอันนั้นลงไปตรงๆ  แต่ถ้าสมมติเป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทไม่คงที่อันนี้ก็จะประมาณยากหน่อย  แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่แหละ

อย่าลืมว่าดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านสามารถหักลดหย่อนภาษีได้  ทำให้อัตราดอกเบี้ยแพงน้อยลงนิดหน่อย  แต่อย่างหนี้บัตรเครดิตหรืออย่างอื่นจะลดหย่อนภาษีไม่ได้

  1. เขียนอัตราผลตอบแทนคาดหวังของวิธีลงทุนต่างๆที่เราทำอยู่

ผลตอบแทนคาดหวังเราประมาณเอาจากสถิติย้อนหลังของกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ  โดยแนะนำให้ดูเฉลี่ยย้อนหลังหลายปี  และเลือกใช้กองทุนที่ทำได้กลางๆผลตอบแทนระดับเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 50th เป็นเกณฑ์  ไปดูได้จากเวปของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)  หรือไม่ก็ดาวน์โหลดสรุปของตุลาคม 2017 ได้ที่นี่

https://drive.google.com/open?id=1ylcPd-g90of-XX_oWrjcRKwR3rPSoZwK

การลงทุนบางอันอาจมีลักษณะพิเศษที่ต้องพิจารณาด้วย  เช่นรลงทุนอันไหนได้รับการลดหย่อนภาษีหรือไม่  และบางอันเราได้คนอื่นสมทบเพิ่มเติมด้วยอย่างเช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สมมติว่าการลงทุนบางอันเราเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนผสม  เราต้องไปอ่านนโยบายการลงทุนว่าสัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้กี่ %  หุ้นกี่ %  จากนั้นเอามาเฉลี่ยตามสัดส่วนเอาครับ เช่น  สมมติเป็นกองทุนผสมตราสารหนี้ 70% หุ้น 30%  ผลตอบแทนคาดหวังคือ

(70% × 2.51%)+(30% × 9.38%)   =   4.57%

2.51% เอามาจากเฉลี่ยผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังของกองทุนประเภท Mid Term General Bond

9.38% เอามาจากเฉลี่ยผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังของกองทุนประเภท Equity General

  1. เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนคาดหวังของการลงทุนกับดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่างๆที่เรามี

เอาเงินที่เรามีไปทำเรื่องต่างๆเรียงลำดับความสำคัญดังนี้

  1. ชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนมาก โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่สามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้  เช่นหนี้บัตรเครดิต

  2. สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน % ที่สูงที่สุดที่บริษัทที่ทำงานเราจะช่วยสมทบด้วย

  3. ชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนมาก แต่ลดหย่อนภาษีได้  หรือหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยไม่สูงมากและลดหย่อนภาษีไม่ได้

  4. ลงทุนในกองทุนที่ได้รับการลดหย่อนภาษีต่างๆ LTF, RMF  ถ้าเป็นไปได้เราไม่ได้กำลังใกล้จะเกษียณมาก  เลือกเอาที่ผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต่อปีขึ้นไป

  5. ชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยไม่สูงมากและลดหย่อนภาษีได้

  6. ลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยที่ผลตอบแทนต่ำและลดหย่อนภาษีไม่ได้

ในกรณีที่เจอว่าดอกเบี้ยของหนี้กับผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนดันเท่ากันพอดี  ให้เลือกจ่ายชำระหนี้ไว้ก่อน  เพราะอัตราดอกเบี้ยของหนี้มันเป็นอะไรที่แน่นอนมาก  ในขณะที่ผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนมันอาจจะแกว่งได้ครับ

และนี่คือหลักการคร่าวๆเรื่องการตัดสินใจชำระหนี้ก่อนหรือลงทุนก่อนครับ