VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

Value investing and value stocks aren’t the same thing

VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

วีดิโอนี้ผมพูดถึง Value Investing กับ หุ้นกลุ่ม Value นิดนึงว่ามันไม่เหมือนกันครับ

ผมเจอหลายคนมีความสับสนสองอันนี้ คือคนมักเข้าใจว่า Value Investing นี่คือการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value หรือก็คือหุ้นที่ P/E ต่ำ ซึ่งก็เข้าใจได้นะเพราะชื่อมันคล้ายๆกัน แต่มันไม่ใช่นะ

หุ้นกลุ่ม Value นี่ปกติเค้าเรียกรวมๆถึงหุ้นที่มีอัตราส่วนอย่าง P/E, Forward P/E, P/B, EV/CFO, ฯลฯ อะไรพวกนี้ต่ำครับ เวลาได้ยินคนบอกว่าเค้าซื้อหุ้นกลุ่ม Value ไอเดียความเชื่อคือบอกว่าการซื้อหุ้นกลุ่มพวกนี้โดยรวมคือซื้อหุ้นถูก และควรจะผลตอบแทนดี ซึ่งโดยปกติคนจะลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value ด้วยการซื้อหุ้นที่มีลักษณะแบบนี้จำนวนมากและทำผ่านกองทุนเพราะมันสะดวกกว่า มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Top view

ส่วนถ้าคนพูดถึง Value Investing นี่คือเค้ากำลังสื่อว่าวิธีการตัดสินใจลงทุนเลือกหุ้นเนี่ย ตัดสินใจจากการวิเคราะห์บริษัท, ประเมินมูลค่าพื้นฐาน แล้วก็ซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้เป็นหลัก ซึ่งโดยปกติมันจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นรายตัวและซื้อแบบเฉพาะเจาะจง มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Bottom view

จุดที่มันต่างคือคนที่ลงทุนแบบ Value Investing อาจจะซื้อหุ้นที่ P/E, Forward P/E, P/B สูงก็ได้ครับ แบบ P/E 35-40 เลยก็ได้ ตราบใดที่เค้าเชื่อว่าการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั้นมันสูงมากพอจนทำให้ราคาระดับนั้นเหมาะสม การตัดสินใจจะไม่อยู่บนคำว่า P/E สูงหรือต่ำ การตัดสินใจจะอยู่บนการคาดการณ์หน้าตาในอนาคตของบริษัทและคิดลดกระแสเงินสดจะปันผลหรือ Free cash flow ก็ดีกลับมาเป็นปัจจุบัน หุ้นบางบริษัทที่คนที่ลงทุนแบบ Value Investing ซื้ออาจจะจัดว่าเป็นหุ้น Growth ก็ได้ครับ

สรุปคือมันเป็นคนละเรื่องกัน อยากให้เห็นภาพเอาไว้ครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

Most important financial ratios

อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

มีคนถามว่าอัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด  ต้องดูอันไหนบ้าง  รู้สึกมันมีเยอะไปหมด  ในวีดิโอนี้ผมพูดถึงอันที่ผมมองว่าสำคัญสุดละกัน  โดยเราจะพูดถึงสำคัญ 3 อันดับแรกนะ  เพราะถ้าพูดถึงเยอะกว่านั้นมันก็จะปัญหาเดิมคือรู้สึกมันมีเยอะไปหมด

1. Return on Equity

อันนี้สำคัญสุดละ  เพราะอัตราส่วนนี้สื่อว่าเงินของผู้ถือหุ้นทุกๆ 100 บาทที่บริษัทเก็บไว้เอาไปทำให้เกิดกำไรได้กี่บาท  อัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะยิ่งดีเป็นธรรมดา  ตัวเลขนี้อาจจะสูงได้ด้วยการที่บริษัทจ่ายปันผลออกมาเยอะๆทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเล็กก็เป็นไปได้  กรณีแบบนั้นก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทแย่นะแค่ว่าไม่ได้แปลว่าดีมากเฉยๆ

2. Net Profit Margin

Net Profit Margin คือสื่อว่าจากทุกรายได้ 100 บาทที่บริษัททำได้  เมื่อหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเหลือกี่บาท  ตัวเลขนี้มันต่างกันแล้วแต่ลักษณะธุรกิจ  ผมให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอมากกว่า  กับดูว่ามันไม่ต่ำจนไม่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ

3. Interest Coverage

อัตราส่วนนี้มันก็อยู่ในหมวด liquidity ratio  วัตถุประสงค์คือไว้ดูว่าบริษัทน่าจะจ่ายหนี้ได้มั้ย  ที่ผมนิยมใช้คือ EBIT/Interest expense  ผมไม่นิยมใช้ EBITDA/Interest expense  สิ่งที่อัตราส่วนนี้สื่อคือกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลายเท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ก็แปลว่าน่าจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้  ก็คือเสี่ยงน้อย  ดังนั้นอัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี

สามอันนี้ส่วนตัวผมว่าสำคัญสุดครับ  ไม่ใช่บอกว่าอันอื่นไม่สำคัญนะ  แค่บอกว่าสามอันนี้สำคัญสุด  เป็นอันที่ยังไงผมต้องดูแน่ๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

Should I hold dividend stocks forever

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

ส่วนตัวผมก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาตรงไหนนะ  ควรหรือไม่นี่น่าจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์  ถ้าอยากถือยาวไปตลอดเพื่อเอาปันผลก็ทำได้ครับ

แต่ทีนี้ถึงแม้ว่าเราจะตั้งใจถือยาวไปตลอดไม่ขาย  ไม่ได้แปลว่าเราไม่ต้องคอยติดตามดูเลยนะ  เพราะหุ้นบริษัทที่เข้มแข็งทำได้ดีอยู่วันนี้ไม่ได้แปลว่ามันจะดีตลอดไป  ถึงจุดหนึ่งบริษัทอาจจะมีคู่แข่งสำคัญโผล่เข้ามาหรือเริ่มตกยุคไปเพราะมีสินค้าบริการที่ดีกว่าหรือเพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป  เราก็ต้องรู้ให้ทันเพราะเราอาจจำเป็นต้องขายออกมา

โดยรวมแล้วแนะนำว่าคอยติดตามดู

  • ปีละครั้งประมาณเดือนเมษายน  ผลประกอบการของปีก่อนทั้งปีจะออกไปแล้ว
  • ตัวธุรกิจที่บริษัททำยังทำได้ดีอยู่ใช่มั้ย
  • สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับเรื่องที่ทำให้บริษัทเข้มแข็งหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

How to determine from company's qualitative aspects whether it will perform better or worse ?

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

ก็เป็นคำถามที่ดีแหละ  แต่ในความเป็นจริงคือต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่มีกฎอะไรตายตัวหรือค่าตัวเลขอะไรซักอย่างที่แค่ดูตัวเลขนี้แล้วบอกได้  เพราะสถานการณ์ของบริษัทแต่ละบริษัทหรือธุรกิจแต่ละประเภทมันมีความหลากหลายและต่างกันเยอะเกินกว่าที่จะมีเกณฑ์ตายตัวได้  วีดิโอนี้เราพยายามอธิบายเรียบเรียงความคิดละกันว่าถ้าเป็นเราจะดูอะไรยังไงบ้าง

ขั้นตอนแรกสุดเลยคือ  เราต้องเห็นภาพก่อนว่าบริษัทมันมีความได้เปรียบเพราะว่าอะไรตั้งแต่แรก  อันนี้สำคัญมากจริงเพราะถ้าไม่รู้ประเด็นนี้คือจบละ  เราไม่มีทางบอกได้ว่าบริษัทจะดีขึ้นหรือแย่ลงแน่นอน  โดยทั่วไปสิ่งที่ควรทำคือถามก่อนเลยว่า “มีเหตุผลอะไรที่คนต้องซื้อของจากบริษัทนี้ ?”  มันมีสินค้าบริการที่แตกต่างออกไปเหรอ  ต่างยังไง  ความต่างนั่นมันสำคัญเพราะอะไร  ทำไมไม่มีใครทำเลียนแบบล่ะ  หรือที่ต้องซื้อเพราะมันทำอยู่เจ้าเดียวเหรอ  ทำไมมันทำอยู่เจ้าเดียวได้ล่ะ  ทำไมไม่มีคนอื่นมาทำแข่ง  เรื่องตรงนี้เป็นอะไรที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจแหละ  ไม่มีทางลัด

เมื่อเราเข้าใจที่มาของความได้เปรียบแล้ว  สิ่งที่เราพยายามทำคือมองดูว่าความได้เปรียบตรงนั้นมันเข้มแข็งขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม  หลักๆก็คือสังเกตไอตรงเหตุที่มันทำให้บริษัทได้เปรียบนั่นแหละ  ถ้าเป็นเรื่องสินค้าบริการที่แตกต่างก็ต้องคอยดูว่ามันยังแตกต่างอยู่  ถ้าเป็นเรื่องขายอยู่เจ้าเดียวก็ต้องคอยดูว่ามันยังจะขายอยู่เจ้าเดียวอยู่ต่อไปมั้ย

ส่วนใหญ่ระหว่างเข้มแข็งมากขึ้น, เท่าเดิมกับเข้มแข็งน้อยลง  ที่มันจะมีปัญหากับเราคือกรณีที่มันเข้มแข็งน้อยลงมากกว่า  อาจจะเริ่มจากถามคำถามว่า “ถ้าไม่ซื้อของจากบริษัทนี้  มีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง ?”  ทางเลือกอื่นเหล่านั้นมันดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมั้ย  หรือทางเลือกอื่นที่ว่านี่ก็ยังดูสู้ไม่ได้ทิ้งห่างเหมือนเดิม

นอกเหนือจากนี้ก็มีตัวเลขที่ควรสังเกตอื่นๆที่ช่วยบ่งชี้ได้เช่น  ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาด (ถ้ามีก็ช่วยได้  แต่บางบริษัทก็หาตัวเลขนี่ไม่ได้), Profit margin  โดยเฉพาะ Gross profit margin กับ Operating profit margin  แย่สุดคือแกว่งรุนแรง  และน่าสงสัยถ้าเห็นว่ามันบีบลงเรื่อยๆ, Customer retention  และอัตราส่วนอื่นๆที่บ่งชี้ว่าลูกค้าชอบบริษัท  ตัวเลขพวกนี้ช่วยได้  แต่จุดบอดของการพึ่งพาตัวเลขพวกนี้อย่างเดียวคือกว่าจะเห็นสัญญาณปัญหาก็คือปัญหาเริ่มเกิดไปซะละ

มาถึงตรงนี้คุณน่าจะสังเกตได้แล้วแหละว่าการจะสังเกตเรื่องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  มันจะได้เปรียบมากถ้าเราคุ้นเคยกับสินค้าหรือบริการนั้นๆน่ะแหละ  อ่านบทความบนเน็ตมันก็ช่วยอ่ะนะ  แต่ไม่มีทางสู้คนใช้จริงที่ใกล้ชิดสินค้าบริการนั้นๆแน่นอน  ดังนั้นก็เลยเป็นเหตุผลที่เค้าย้ำกันนักหนาว่าลงทุนในบริษัทที่เราชอบและเห็นภาพดีกว่าครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ที่บอกต้องเข้าใจธุรกิจ สรุปนี่คือต้องรู้ประมาณไหน ?

How much do you need to understand a business to invest well ?

ที่บอกต้องเข้าใจธุรกิจ สรุปนี่คือต้องรู้ประมาณไหน ?

โอเคอันนี้ก็เป็นคำถามที่ดี  ที่ผ่านผมก็ไม่เคยพูดให้ชัดเจนว่าที่บอกสิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจธุรกิจนี่มันคือต้องรู้เรื่องอะไรนะ

เอาจริงๆคือยิ่งเข้าใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีแหละ  ถ้าเราเข้าใจเหมือนคน inside ในอุตสาหกรรมนั้นเลยก็ยิ่งยอดเยี่ยม  แต่ทีนี้วีดิโอนี้ผมพูดถึงขั้นต่ำที่สุดที่ต้องรู้ละกันนะ

ไอเดียหลักคือ  เราต้องการจะรู้ว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า  จริงๆสุดท้ายเราต้องการรู้เพื่อให้ได้ข้อสรุปแค่นี้แหละ  แม้แต่ที่ผมเคยบอกว่าธุรกิจกลุ่มดีหรือแย่วัดกันที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภคก็คือต้องการจะดูว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า  ดังนั้นองค์ประกอบหลักที่เรายังไงก็ต้องรู้

  1. บริษัทนี่สรุปเค้าขายอะไร  ขายยังไง
  2. คนซื้อเป็นใคร  ซื้อไปทำอะไร  ตัดสินใจซื้อจากอะไร
  3. มีเหตุผลอะไรมั้ยที่คนต้องมาซื้อจากบริษัท  มีหลักฐานอะไรมั้ยว่าคนชอบสินค้าบริษัทมากกว่า  หรือบริษัททำได้ดีกว่าคู่แข่ง
  4. สภาพของอุตสาหกรรมโดยรวมเป็นไงบ้าง  มีเรื่องอะไรที่จะมีผลต่อบริษัทได้บ้าง
  5. บริษัทเร็วๆนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและกำลังวางแผนจะทำอะไรอยู่

หลักๆที่นึกออกก็ประมาณนี้  ที่เหลือคือมันจะไปยากตอนทำจริงละว่าจะหาข้อมูลได้ขนาดไหน  ถึงได้บอกว่าถ้าเป็นไปได้ลงทุนในธุรกิจที่เราคุ้นเคยและเห็นภาพจะดีกว่าเพราะเราได้เปรียบในการทำความเข้าใจน่ะครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

What counts as "opportunity" ?

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

วิธีลงทุนที่ผมใช้คือซื้อกิจการที่ยอดเยี่ยมและซื้อมันให้ได้ในราคาถูกโดยอาศัยการฉวยโอกาสจากเวลาที่คนตกใจใช่มั้ยครับ  ทีนี้ก็มีนักเรียนที่ถามว่าอย่าง KTC ที่ราคาตกอย่างรวดเร็วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เรียกว่าเป็น “โอกาส” มั้ย  หรือมันต้องยังไงถึงจะเรียกว่า “โอกาส”

เอาง่ายๆละกันนะ  เวลาที่หุ้นบริษัทที่เราชอบมันราคาตกลงมาพอสมควรมันก็เรียกว่า “โอกาส” หมดแหละ  เราสมควรจะไปดูในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น  แล้วเราจะซื้อหรือเปล่านี่ก็อีกเรื่องนะ  ไม่ใช่ว่าทุก “โอกาส” ที่เกิดขึ้นเราจะซื้อหมดนี่

บางคนก็ถามต่อว่าที่บอกราคาตกพอสมควรนี่มันคือต้องตกขนาดไหน ?  มันก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรขนาดนั้นนะคือเอาที่คุณว่ามันตกเยอะมากระดับนึงที่จะทำให้คุณสนใจไปดูน่ะ  ส่วนตัวผมก็ตั้งคร่าวๆไว้ว่าตกซัก 15% จะเรียกว่าน่าสนใจ

แล้วที่ว่าดูในรายละเอียดนี่หลักๆแล้วก็คือดูสาระสำคัญและถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้

  1. ไปดูว่าเรื่องที่ทำให้ราคาหุ้นตกนี่มันเรื่องอะไร
    1. มีผลกระทบกับผลประกอบการจริงหรือเปล่า
    2. ถ้ามี  มีไปตลอดมั้ย
    3. ถ้าไม่ได้มีไปตลอด  บริษัทจะรอดจากเหตุการณ์นี้หรือเปล่า
  2. บริษัทน่าจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า
  3. ด้วยราคานี้เราพร้อมจะเสี่ยงลงทุนในบริษัทนี้มั้ย
  4. คิดเผื่อไว้ด้วยว่า  
    1. สถานการณ์ที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นคืออะไร  ต้องคอยสังเกตอะไร
    2. ถ้าต้องถือหุ้นบริษัทนี้ยาวไป 3-5 ปี  สบายใจที่จะถือมั้ย

หลักการมันก็มีง่ายๆแค่นี้แหละ  โฟกัสไปที่ตัวธุรกิจของบริษัทแล้วก็เลิกถามคำถามระยะสั้นที่ยังไงมันก็ไม่มีทางรู้เช่นราคามันจะตกลงไปอีกมั้ยหรือซื้อแล้วราคามันจะขึ้นมั้ย  ความยากมันก็จะอยู่ในรายละเอียดที่เราต้องไปหาข้อมูลมากกว่าละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

Holding period is forever ?

ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

เร็วๆนี้มีคนถามว่าเราควรจะถือหุ้นยาวไปตลอดแบบไม่ขายเลยมั้ย  เพราะเค้าเคยได้ยินว่า Warren Buffett บอกว่า “our favorite holding period is forever”

คำตอบของผมคือจะทำแบบนั้นก็ได้  แต่จริงๆแล้วไม่ได้จำเป็น

เอาเรื่อง Warren Buffett ก่อน  เพราะแต่ก่อนผมก็เคยงงจากคำพูดอันนี้ของเค้าเหมือนกัน

  1. จริงๆแล้ว Warren Buffett มีการขายหุ้น
  2. Warren Buffett เคยออกมาอธิบายแล้วว่าบริษัท Berkshire Hathaway ไม่ได้บอกว่าจะต้องถือหุ้นตลอดไป  เค้าแค่บอกว่าไม่มีความคิดที่จะขายบริษัทที่ทำได้ดีและลังเลมากที่จะขายบริษัทที่ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ตราบใดที่เค้าคาดว่ามันจะอย่างน้อยสามารถที่จะสร้างกระแสเงินสดได้อยู่

  3. คน US มี Capital Gain tax  แต่คนไทยไม่มี
  4. สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ Warren Buffett ไม่นิยมขายหุ้นผมคิดว่าเป็นเพราะมันโดนภาษี  ซึ่งสูงถึง 15-20%  ดังนั้นถ้าไม่ใช่ว่าดูแล้วขายออกมาเอาไปลงทุนในอย่างอื่นคุ้มกว่ากันมากจริงๆ  มันก็ไม่คุ้มที่จะขายออกมาตราบใดที่บริษัทยังทำได้พอใช้ได้

    แต่ประเทศไทยไม่มี Capital Gain tax  ดังนั้นมันก็จะคุ้มถ้าขายออกมาแล้วสามารถเอาเงินไปลงทุนในอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า  ดีกว่าแค่นิดเดียวก็ดีกว่าละเพราะตอนขายเราไม่เสียอะไร

 

ดังนั้นในมุมมองผมการจะถือยาวๆไปเลยมันก็เป็นเรื่องดี  ถ้า

  1. บริษัทยังทำได้ดีอยู่  เราก็ไม่รู้จะขายออกมาทำไมให้พลาดโอกาส
  2. เราขี้เกียจหาโอกาสอื่น

 

แต่ก็อย่างที่บอกว่าไม่ได้จำเป็นต้องถือยาวไปตลอดถ้า

  1. บริษัทดูมีแววจะทำได้เลวร้ายลง
  2. เห็นโอกาสอื่นที่คิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าถือต่อพอสมควร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบทดสอบ : คุณเป็น VI แค่ไหน ?

Quiz : How Much VI are You ?

แบบทดสอบ : คุณเป็น VI แค่ไหน ?

เร็วๆนี้ผมไปทำ Quiz ของ Schroders บริษัทบริหารจัดการลงทุนในอังกฤษแล้วรู้สึกว่าสนุกดีก็เลยแปลบางส่วนมาให้ลองทำดูครับ

  1. สำหรับนักลงทุนสาย VI “ความเสี่ยง” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้ ?
    • ความผันผวนคือความเสี่ยง
    • หุ้นที่ราคาถูกมีความเสี่ยงสูงเสมอ
    • ความเสี่ยงคือโอกาสที่จะสูญเสียเงินต้นอย่างถาวร
  2. ถ้าอิงตามที่เรียนมาในห้องเรียน “ความเสี่ยง” มันจะวัดด้วยความผันผวน  แต่สำหรับนักลงทุนสาย VI แล้ว “ความเสี่ยง” คือโอกาสที่จะสูญเสียเงินต้นอย่างถาวรต่างหาก  โดยปกติแล้วมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เราเห็นราคามีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในระยะสั้นมันเป็นตัวบ่งชี้ถึงอารมณ์ของคนในตลาดมากกว่า  ที่จริงแล้วความผันผวนเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสให้กับนักลงทุนระยะยาวด้วยซ้ำ
     

  3. เวลาตัดสินใจลงทุนในหุ้น  นักลงทุนสาย VI มองระยะยาวแค่ไหน
    • 1 เดือน
    • 1 ปี
    • 3-5 ปี
  4. การลงทุนในหุ้นแบบ VI คือมองหาหุ้นที่ราคาตอนนี้ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง  ซึ่งโดยปกติมันต้องใช้เวลานานหน่อยกว่าตลาดจะเริ่มมองเห็นมูลค่าของบริษัทและราคาหุ้นเริ่มสูงขึ้นมาหามูลค่าที่แท้จริง
     

  5. ปัจจัยอะไรสำคัญต่อผลตอบแทนการลงทุนที่สุด
    • ราคาที่ซื้อ
    • โอกาสการเติบโตของบริษัท
    • สภาพเศรษฐกิจ
  6. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนมากที่สุดคือราคาที่ซื้อ  โอกาสการเติบโตของบริษัทกับสภาพเศรษฐกิจมันเป็นเรื่องที่นักลงทุนควบคุมไม่ได้  และต่อให้โอกาสการเติบโตของบริษัทไม่สูงกับสภาพเศรษฐกิจไม่ดีแต่ถ้าได้ซื้อในราคาที่ต่ำเพียงพอมันก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีในระยะยาวได้
     

  7. เงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยสำคัญแค่ไหน
    • สำคัญเพราะปัจจัยพวกนี้เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ
    • อัตราดอกเบี้ยสำคัญ  เงินเฟ้อไม่สำคัญ
    • ไม่สำคัญทั้งคู่
  8. ทั้งสองปัจจัยเป็นอะไรที่เราไม่สามารถรู้อะไรล่วงหน้าได้  การไปคิดถึงมันไม่เกิดประโยชน์อะไรและการตัดสินใจลงทุนของเราไม่ควรให้ปัจจัยพวกนี้มามีผลกระทบ
     

  9. บริษัทปรับคาดการณ์ผลประกอบการลง -10%  ราคาหุ้นของบริษัทเลยตกไป -30% สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ซื้อหุ้นทันทีเพื่อให้ได้ราคาใหม่ที่ถูกลงเยอะแล้วนี้
    • ขายหุ้นทันทีเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ราคามันจะตกลงไปอีก
    • ศึกษาข้อมูลที่บริษัทประกาศและดูว่ามันทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
  10. นักลงทุน VI มองการลงทุนระยะ 3-5 ปี  การตอบสนองทันทีกับสิ่งที่อาจจะเป็นเรื่องระยะสั้นไม่สอดคล้องกับแนวการลงทุน  สิ่งที่ควรทำคือใจเย็นๆแล้วทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินว่าพื้นฐานของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดรุนแรงหรือเปล่า  แล้วจึงค่อยคิดว่าต้องซื้อหรือขายอะไรมั้ย
     

  11. หุ้นขึ้นมา 30% ในช่วงเดือนเดียว  ตลาดคาดว่าบริษัทจะเติบโต 100% และราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนความคาดหวังนี้แล้ว  สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ซื้อหุ้นเนื่องจากมันมีโมเมนตัมชัดเจน
    • อย่าซื้อเพราะกรณีนี้ไม่เข้าข่ายหุ้นราคาถูก
    • ซื้อเพราะถ้ากำไรของบริษัททำได้ดีกว่าที่ตลาดคาดราคานี้ก็ถือว่าถูก
  12. หุ้นนี้ราคาสูงขึ้นมามากจากความคาดหวังว่าบริษัทจะทำได้ดีขึ้น 100% เป็นอะไรที่เยอะมากแล้ว  ไม่เข้าข่ายธุรกิจที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ไม่เหมาะกับการลงทุนสาย VI
     

  13. สมมติว่าธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย  สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ปรับพอร์ตการลงทุนให้จะได้ประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
    • ขายหุ้น  เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้โดยรวมคนอยากลงทุนในหุ้นน้อยลง
    • ไม่สนใจ  ให้ความสำคัญกับการซื้อหุ้นในราคาถูกต่อไป
  14. ปัจจัยพวกนี้ไม่แน่นอนคาดเดาไม่ได้และไม่ควรให้มันมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของเรา

 

เป็นไงบ้างครับ  เราเป็นนักลงทุน VI ขนาดไหนกันบ้างครับ ?

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

สาย VI ต้องรู้ : รอช้อนหุ้นช่วงวิกฤติ VS “Buy & Hold” กลยุทธ์ไหนให้ผลตอบแทนสูงกว่ากัน ?? (สถิติ)

"ฺWait for Crash" VS "Buy & Hold" Which Strategy gives the highest yield?

สาย VI ต้องรู้ : รอช้อนหุ้นช่วงวิกฤติ VS “Buy & Hold” กลยุทธ์ไหนให้ผลตอบแทนสูงกว่ากัน ?? (สถิติ)

มีคนถามผมว่า “เราควรจะลงทุนเลย หรือ รอให้ตลาดตกรุนแรงก่อน แล้วค่อยซื้อหุ้นในราคาถูก”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลเชิงสถิติ การลงทุนแบบรอช้อนหุ้นช่วงวิกฤติ หรือ ซื้อหุ้นเลย แล้ว Buy & Hold กลยุทธ์ไหนให้ผลตอบแทนสูงกว่า เพื่อทุกท่านจะได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg