ต้องถือยาวให้ได้ !!

Must hold long term

ต้องถือยาวให้ได้ !!

ต้องถือยาวให้ได้ !!

ผมพบว่าอุปสรรค์สำคัญอันนึงที่ทำให้ลงทุนแล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งกับนักลงทุนที่รู้เรื่องแล้ว ก็คือไม่สามารถทำใจถือยาวได้ แล้วมันมีทั้งสองด้านด้วยนะ หุ้นขึ้นก็ขาย หุ้นลงก็ขาย

ปัญหาเรื่องนี้ก็ดูจะมาได้หลายรูปแบบ บางคนตอนซื้อก็ดูมีสติดีอยู่ แต่ซักพักอาจจะตกใจขายตอนตลาดหุ้นตก ทั้งที่บางทีบริษัทที่ตัวเองถืออยู่ได้รับผลกระทบน้อยมาก หรือบางคนก็เป็นลักษณะเปลี่ยนใจไปซื้ออย่างอื่นดีกว่า จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ผมพบว่ามีนักเรียนเราจำนวนมากที่ถือยาวไม่ค่อยได้

พอผม Google เรื่องนี้ ปรากฎว่าเป็นกันทั้งโลกนะเนี่ย ไม่ใช่เฉพาะนักเรียนพวกเราหรือคนไทยหรืออะไร

จากใน chart นี้จะเห็นว่า เฉลี่ยแล้วคน US เองก็ถือหุ้นสั้นลงเรื่อยๆ จากในอดีตนู้นถือหุ้นเฉลี่ยนาน 8 ปี ตอนนี้เหลือไม่ถึงปีละ

ส่วนของไทยก็ดูจะคล้ายกัน ผมไปดูข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์จากลิ้งค์นี้ https://www.set.or.th/th/market/statistics/market-statistics/main ข้อมูลสถิติสำคัญของ SET และ mai แบบรายปี แล้วเอามูลค่าหลักทรัพย์ทั้งตลาดตั้งแล้วหารด้วยตัวเลขมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในปี เราก็จะได้ turnover พบว่าของไทยจะอยู่ประมาณ 0.9-1.1 ปี สั้นพอกัน

ประเด็นสำคัญของการถือยาวไม่ได้คือผลตอบแทนมันแย่ลงเยอะมากครับ การที่เราอยู่ในหุ้นสั้นๆมันเหมือน handicap เยอะมาก เพราะในระยะยาวแล้วโดยเฉลี่ยหุ้นภาพรวมมันเป็นทิศทางขาขึ้นครับ

การที่ทิศทางมันเป็นขาขึ้นได้ แปลว่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่อวันระยะยาวแล้วมันเป็นบวกนึกภาพออกมะ ดังนั้นก็พูดได้ว่าโดยเฉลี่ยการที่เราไม่อยู่ในหุ้น เท่ากับเราเสียโอกาส ดังนั้นยิ่งใครอยู่นอกตลาดถือเงินสดเยอะหรือถือเงินสดนาน ก็ยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย

ตลาดหุ้นทั่วโลกก็หน้าตาเหมือนกัน

แล้วคนที่ถือสั้นๆ แต่ไม่ออกจากหุ้นนะ กระโดดไปหุ้นอื่นแทนล่ะ

ก็เสียเปรียบอยู่ดีครับ อันนี้พูดจากประสบการณ์ตรงส่วนตัวพบว่า
เสียค่าธรรมเนียมเยอะกว่า
ไม่มีอะไรบอกได้ว่าหุ้นที่กระโดดไปจะทำได้ดีกว่าหุ้นที่อยู่เดิม
ส่วนใหญ่แล้วถ้าเราซื้อหุ้นที่ดีได้มาในราคาถูก ถือไปยาวๆกำไรดีมาก แต่เราดันกระโดดออกกลางทาง

ส่วนใหญ่เป็นข้ออ้าง ลึกๆมาจากความใจร้อนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในระยะยาว หรือไม่ก็ไม่ได้ทำการบ้านมาดีเท่าไหร่เลยไม่ได้เชื่อมั่นหุ้นที่ถือขนาดนั้น ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นปัญหา ต้องระวัง

แล้วทำไงดี ? ทางแก้จริงๆก็ไม่ง่ายเพราะอันนี้มันเป็น impulse บางทีมันอารมณ์ด้วย ควบคุมยาก

ผมเสนอว่าเขียน commitment ลงไปครับ คนเราในทางจิตวิทยาถ้าเขียนออกมามันจะหนักแน่นกว่า ผมแนะนำว่าคุณเขียนออกมาเลยว่าตัดสินใจซื้อหุ้นอะไร ซื้อเพราะว่าอะไร ทำไมเราเชื่อว่าดี แล้วเราจะถือนานอย่างน้อยแค่ไหน แล้วเป็นไปได้ก็บอกคนใกล้ตัวไว้เลยด้วย มันจะทำให้เราหลุดยากขึ้นครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

Value investing and value stocks aren’t the same thing

VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

วีดิโอนี้ผมพูดถึง Value Investing กับ หุ้นกลุ่ม Value นิดนึงว่ามันไม่เหมือนกันครับ

ผมเจอหลายคนมีความสับสนสองอันนี้ คือคนมักเข้าใจว่า Value Investing นี่คือการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value หรือก็คือหุ้นที่ P/E ต่ำ ซึ่งก็เข้าใจได้นะเพราะชื่อมันคล้ายๆกัน แต่มันไม่ใช่นะ

หุ้นกลุ่ม Value นี่ปกติเค้าเรียกรวมๆถึงหุ้นที่มีอัตราส่วนอย่าง P/E, Forward P/E, P/B, EV/CFO, ฯลฯ อะไรพวกนี้ต่ำครับ เวลาได้ยินคนบอกว่าเค้าซื้อหุ้นกลุ่ม Value ไอเดียความเชื่อคือบอกว่าการซื้อหุ้นกลุ่มพวกนี้โดยรวมคือซื้อหุ้นถูก และควรจะผลตอบแทนดี ซึ่งโดยปกติคนจะลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value ด้วยการซื้อหุ้นที่มีลักษณะแบบนี้จำนวนมากและทำผ่านกองทุนเพราะมันสะดวกกว่า มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Top view

ส่วนถ้าคนพูดถึง Value Investing นี่คือเค้ากำลังสื่อว่าวิธีการตัดสินใจลงทุนเลือกหุ้นเนี่ย ตัดสินใจจากการวิเคราะห์บริษัท, ประเมินมูลค่าพื้นฐาน แล้วก็ซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้เป็นหลัก ซึ่งโดยปกติมันจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นรายตัวและซื้อแบบเฉพาะเจาะจง มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Bottom view

จุดที่มันต่างคือคนที่ลงทุนแบบ Value Investing อาจจะซื้อหุ้นที่ P/E, Forward P/E, P/B สูงก็ได้ครับ แบบ P/E 35-40 เลยก็ได้ ตราบใดที่เค้าเชื่อว่าการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั้นมันสูงมากพอจนทำให้ราคาระดับนั้นเหมาะสม การตัดสินใจจะไม่อยู่บนคำว่า P/E สูงหรือต่ำ การตัดสินใจจะอยู่บนการคาดการณ์หน้าตาในอนาคตของบริษัทและคิดลดกระแสเงินสดจะปันผลหรือ Free cash flow ก็ดีกลับมาเป็นปัจจุบัน หุ้นบางบริษัทที่คนที่ลงทุนแบบ Value Investing ซื้ออาจจะจัดว่าเป็นหุ้น Growth ก็ได้ครับ

สรุปคือมันเป็นคนละเรื่องกัน อยากให้เห็นภาพเอาไว้ครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนแบบ VI ระยะสั้นได้มั้ย ?

Can VI be used for short term investing ?

ลงทุนแบบ VI ระยะสั้นได้มั้ย ?

ขึ้นอยู่กับว่าพูดถึงระยะสั้นขนาดไหน  แต่โดยรวมแล้วยิ่งลงทุนระยะสั้นมาก VI ก็ยิ่งไม่ได้ผล

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน  คือ VI สำหรับผมมันต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่าง

  1. มีการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหุ้น (fundamental analysis)
  2. ซื้อเมื่อเห็นว่าราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม

ถ้ามีแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่นับว่าเป็น VI  เช่นบางคนอาจจะเลือกลงทุนโดยมองที่ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น  แต่เมื่อเลือกหุ้นที่ชอบแล้วอาจจะซื้อแบบ DCA หรือ Momentum ก็ได้  แบบนี้ก็ไม่ได้เรียกว่าลงทุนแบบ VI  หรือบางคนเน้นซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำหรือราคาตกรุนแรงโดยที่ไม่ได้พิจารณาปัจจัยพื้นฐาน  แบบนี้ก็เรียกว่าลงทุนแบบ contrarian เฉยๆ  ไม่ได้เป็น VI

ทีนี้ประเด็นที่ทำให้ลงทุนแบบ VI ใช้กับระยะสั้นมากเช่นหลักวัน, สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนไม่ได้ผลเป็นเพราะว่า  โดยปกติแล้วการที่ราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมได้ตั้งแต่แรกมักจะเป็นเพราะคนในตลาดมีมุมมองเชิงลบกับหุ้นนั้นเว่อร์เกินไป  หรือไม่ก็เพราะคนในตลาดอาจจะไม่ค่อยรู้จักหุ้นนั้นมันยังไม่ดัง  ดังนั้นโดยปกติมันต้องใช้เวลากว่าคนในตลาดจะเอะใจว่าบริษัทมันดีกว่าที่คาดนี่หว่าหรือเริ่มรู้จักมากขึ้นจนราคาหุ้นสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับคุณภาพของบริษัท  บางทีใช้เวลาเป็นปีเพราะต้องรอผลประกอบการออกมาดีต่อเนื่องกว่าจะคนมั่นใจว่าดีจริง  ก็เลยเป็นเหตุให้ลงทุนระยะสั้นมากด้วยวิธี VI ก็จะไม่ค่อยได้เรื่องอะไรเท่าไหร่

แต่สำหรับคนที่จะลงทุนระยะสั้น  ผมมองว่าก็เอาบางส่วนของ VI มาใช้ก็ได้นี่  ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายตรงไหน  คือเอาการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานมาใช้  อย่างเช่นคนที่ลงทุนแบบสายเทคนิคดูกราฟเป็นหลัก  ก็ไม่เสียหายที่จะจำกัดหุ้นที่จะลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐานก่อน  คือตัดสินใจด้วยกราฟแหละแต่ใช้กับหุ้นที่พื้นฐานดีเท่านั้น  โดยรวมหุ้นที่พื้นฐานดีก็น่าจะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น  ถ้าพลาดจริงๆก็สามารถที่จะถือยาวได้เพราะบริษัทที่ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นก็จะมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆในระยะยาวอยู่แล้ว

หรือสำหรับบางคนที่คำว่าลงทุนระยะสั้นหมายถึงซักเกือบปีถึงสองปี  VI ก็ยังพอใช้การได้อยู่นะ  อย่างวิธีการลงทุนที่ผมทำอยู่คือเน้นซื้อหุ้นที่รู้จักดีอยู่แล้วว่าดีแต่ซื้อตอนคนตกใจจากปัญหาชั่วคราว  เท่าที่ทำมาถ้ามีเวลารอได้ซัก 1-2 ปีมันก็ใช้ได้อยู่นะ  ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นปัญหาชั่วคราวเช่นอย่างโควิดหรือที่ตลาดตกเพราะสงครามการค้าจีนอเมริกาหรืออะไรก็แล้วแต่ที่คนตกใจเฉยๆ  พวกนี้ไม่ได้ใช้เวลานานมากคนก็หายตกใจ  ดังนั้นถ้าสำหรับบางคนที่ระยะสั้นคือ 1-2 ปีก็ใช้ VI ได้อยู่ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

How to determine from company's qualitative aspects whether it will perform better or worse ?

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

ก็เป็นคำถามที่ดีแหละ  แต่ในความเป็นจริงคือต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่มีกฎอะไรตายตัวหรือค่าตัวเลขอะไรซักอย่างที่แค่ดูตัวเลขนี้แล้วบอกได้  เพราะสถานการณ์ของบริษัทแต่ละบริษัทหรือธุรกิจแต่ละประเภทมันมีความหลากหลายและต่างกันเยอะเกินกว่าที่จะมีเกณฑ์ตายตัวได้  วีดิโอนี้เราพยายามอธิบายเรียบเรียงความคิดละกันว่าถ้าเป็นเราจะดูอะไรยังไงบ้าง

ขั้นตอนแรกสุดเลยคือ  เราต้องเห็นภาพก่อนว่าบริษัทมันมีความได้เปรียบเพราะว่าอะไรตั้งแต่แรก  อันนี้สำคัญมากจริงเพราะถ้าไม่รู้ประเด็นนี้คือจบละ  เราไม่มีทางบอกได้ว่าบริษัทจะดีขึ้นหรือแย่ลงแน่นอน  โดยทั่วไปสิ่งที่ควรทำคือถามก่อนเลยว่า “มีเหตุผลอะไรที่คนต้องซื้อของจากบริษัทนี้ ?”  มันมีสินค้าบริการที่แตกต่างออกไปเหรอ  ต่างยังไง  ความต่างนั่นมันสำคัญเพราะอะไร  ทำไมไม่มีใครทำเลียนแบบล่ะ  หรือที่ต้องซื้อเพราะมันทำอยู่เจ้าเดียวเหรอ  ทำไมมันทำอยู่เจ้าเดียวได้ล่ะ  ทำไมไม่มีคนอื่นมาทำแข่ง  เรื่องตรงนี้เป็นอะไรที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจแหละ  ไม่มีทางลัด

เมื่อเราเข้าใจที่มาของความได้เปรียบแล้ว  สิ่งที่เราพยายามทำคือมองดูว่าความได้เปรียบตรงนั้นมันเข้มแข็งขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม  หลักๆก็คือสังเกตไอตรงเหตุที่มันทำให้บริษัทได้เปรียบนั่นแหละ  ถ้าเป็นเรื่องสินค้าบริการที่แตกต่างก็ต้องคอยดูว่ามันยังแตกต่างอยู่  ถ้าเป็นเรื่องขายอยู่เจ้าเดียวก็ต้องคอยดูว่ามันยังจะขายอยู่เจ้าเดียวอยู่ต่อไปมั้ย

ส่วนใหญ่ระหว่างเข้มแข็งมากขึ้น, เท่าเดิมกับเข้มแข็งน้อยลง  ที่มันจะมีปัญหากับเราคือกรณีที่มันเข้มแข็งน้อยลงมากกว่า  อาจจะเริ่มจากถามคำถามว่า “ถ้าไม่ซื้อของจากบริษัทนี้  มีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง ?”  ทางเลือกอื่นเหล่านั้นมันดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมั้ย  หรือทางเลือกอื่นที่ว่านี่ก็ยังดูสู้ไม่ได้ทิ้งห่างเหมือนเดิม

นอกเหนือจากนี้ก็มีตัวเลขที่ควรสังเกตอื่นๆที่ช่วยบ่งชี้ได้เช่น  ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาด (ถ้ามีก็ช่วยได้  แต่บางบริษัทก็หาตัวเลขนี่ไม่ได้), Profit margin  โดยเฉพาะ Gross profit margin กับ Operating profit margin  แย่สุดคือแกว่งรุนแรง  และน่าสงสัยถ้าเห็นว่ามันบีบลงเรื่อยๆ, Customer retention  และอัตราส่วนอื่นๆที่บ่งชี้ว่าลูกค้าชอบบริษัท  ตัวเลขพวกนี้ช่วยได้  แต่จุดบอดของการพึ่งพาตัวเลขพวกนี้อย่างเดียวคือกว่าจะเห็นสัญญาณปัญหาก็คือปัญหาเริ่มเกิดไปซะละ

มาถึงตรงนี้คุณน่าจะสังเกตได้แล้วแหละว่าการจะสังเกตเรื่องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  มันจะได้เปรียบมากถ้าเราคุ้นเคยกับสินค้าหรือบริการนั้นๆน่ะแหละ  อ่านบทความบนเน็ตมันก็ช่วยอ่ะนะ  แต่ไม่มีทางสู้คนใช้จริงที่ใกล้ชิดสินค้าบริการนั้นๆแน่นอน  ดังนั้นก็เลยเป็นเหตุผลที่เค้าย้ำกันนักหนาว่าลงทุนในบริษัทที่เราชอบและเห็นภาพดีกว่าครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนแนว VI ควรถือยาวแค่ไหน ?

How long is a VI holding period ?

ลงทุนแนว VI ควรถือยาวแค่ไหน ?

มีคนสงสัยว่าปกติแล้วผมถือหุ้นยาวนานขนาดไหน  หรือจริงๆที่ว่าลงทุนระยะยาวนี่คือมันควรจะถือยาวขนาดไหน  แล้วสมมติถ้าเค้าอยากถือหุ้นระยะยาวมากเกิน 10 ปีเลยได้มั้ย  ผมรวมคำถามมาตอบครับ

 

1. VI นี่มันควรถือยาวขนาดไหน ?

ผมไม่คิดว่ามันมีกฎตายตัวและไม่น่าจะมีคำว่าควรหรือไม่ควรนะ  โดยรวมแล้วการลงทุนระยะยาวมันก็คือลงทุนโดยหวังผลในระยะยาวแหละ  ดังนั้นโดยทั่วไปมันก็จะถือหุ้นกันเป็นปี  แต่ทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เหตุผลที่เราซื้อหุ้นนั้นมาตั้งแต่แรก

สมมติเราซื้อมาเพราะเราต้องการปันผล  เรามองว่าบริษท dividend yield มันดีและน่าจะมีกำไรและจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ  แบบนี้จะถือยาวไปเรื่อยก็ถูกต้องแล้ว

หรือสมมติซื้อมาเพราะตั้งใจจะขายเมื่อราคากลับมาอยู่สภาพปกติ  เช่นเรามองว่าตอนนี้ราคาหุ้นมันตกต่ำเว่อร์เกินไปอาจจะเพราะปัญหาชั่วคราว  จริงๆด้วยคุณภาพธุรกิจบริษัทน่าจะทำได้ดีและขึ้นราคามันน่าจะฟื้นกลับขึ้นมา  แบบนี้ก็ขายเมื่อมันฟื้นกลับมา  ซึ่งอาจจะ 1 ปี หรือ 5 ปีก็แล้วแต่

2. แล้วปกติวิธีที่ผมใช้นี่ถือยาวแค่ไหน ?

ไม่เคยเก็บสถิติจริง  แต่คาดว่าอยู่ประมาณ 3 ปีครับ

มันมีทั้งเคสที่ซื้อมาเพราะเหตุการณ์ชั่วคราวแต่ไม่ได้ชอบธุรกิจเท่าไหร่แล้วพอเหตุการณ์หายไปผมก็ขาย  อันนี้บางที 1-2 ปีหรือน้อยกว่าปีก็มี  หรือพวกที่กะถือไปยาวโลดเพราะผมชอบธุรกิจแล้วก็มีความมั่นใจว่ามันทำได้ดีมากอย่างต่อเนื่องก็มี

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses