Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

What does negative P/E mean and how to interpret it?

Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

คำถามนี้ง่าย เอาหมายความว่ายังไงก่อน

P/E มันคือ ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้นใช่มะ ราคาหุ้นนี่มันไม่มีทางติดลบอยู่ละอย่างต่ำสุดก็คือ 0 ดังนั้นการที่ P/E มันจะเป็นเลขติดลบ ก็คือกำไรต่อหุ้นเป็นเลขติดลบน่ะครับ หรือก็คือบริษัทผลประกอบการขาดทุน ความหมายมันก็คือแค่นี้แหละ

ทีนี้ดูยังไง

เอาจริงๆคือไม่มีความหมายอะไร ตัวเลขนี้ไม่ได้ว่าติดลบเยอะแล้วดีหรือติดลบน้อยแล้วดีหรืออะไร ในทางปฏิบัติคือมันห่วยหมดน่ะ สมมติเรามีความสนใจในตัวบริษัทจะด้วยชอบธุรกิจหรืออะไรก็แล้วแต่แล้วมาเห็นเลข P/E ติดลบ สาระสำคัญที่เราควรใส่ใจก็คือไปทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุที่บริษัทขาดทุนมันคืออะไรนะ แล้วมันจะดีขึ้นมั้ย P/E จะหายเป็นลบมั้ย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าต้องถือหุ้นเดียวเลยถือหุ้นอะไร ?

What one stock will I buy if I have to hold it forever?

ถ้าต้องถือหุ้นเดียวเลยถือหุ้นอะไร ?

มีคนถามว่าสมมติผมต้องถือหุ้นเดียวเลยไปยาวๆจะถือหุ้นอะไร

เอาจริงๆอันนี้ยากนะ ผมก็ชอบหลายบริษัทแต่พอโจทย์คือต้องหุ้นเดียวยาวนี่ทำให้ยากเพราะเราก็รู้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่ดีวันนี้อนาคตอาจจะตกยุคตายไปก็ได้

ดังนั้นถ้าต้องหุ้นเดียวจริงๆ มั่นใจสุดคงเป็น Berkshire Hathaway มั้ง แน่นอน Warren Buffet อาจจะไม่ได้อยู่ไปตลอด แต่ด้วยความที่ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holdings Company ที่มีบริษัทลูกในกลุ่มที่ทำได้ดีจำนวนมาก และมีถือหุ้นบริษัทที่ดีที่อยู่ในตลาดหุ้นอีก โอกาสที่จะเละเทะก็จะยากหน่อย

อันนี้เอามาให้ดู ตัวอย่างบริษัทที่เป็นบริษัทลูก ไม่แน่ใจว่าครบมั้ยนะ

ส่วนนี่ก็จะเป็นตัวอย่างบริษัทที่เค้ามีถือหุ้น อันนี้จะเปลี่ยนแปลงบ่อยหน่อย ดังนั้นเช่นกันอาจจะไม่ครบหรือมีการเปลี่ยนแปลง

แล้วที่ผ่านมาเค้าก็ทำได้ดีนะ

บางคนบอกหุ้น Berkshire Hathaway แพงมากซื้อไม่ไหว แนะนำให้ซื้อ Class B ครับ ราคาจะเป็นประมาณ 1 ใน 1,500 ของ Class A สัดส่วนความเป็นเจ้าของในแง่ส่วนแบ่งกำไรจะเหมือนซอยย่อย Class A ลงมาเป็น 1 ใน 1,500 สอดคล้องกับราคาหุ้น ที่แย่กว่าคือเรื่องสิทธิในการโหวตเท่านั้นเอง จะเป็น 1 ใน 10,000 ของ Class A ซึ่งเอาจริงเราก็คงไม่ได้สนใจอยู่แล้ว

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

REIT ใน U.S. ทำไม payout ratio เกิน 100% ได้ ?

Why are U.S. REITS having over 100% dividend payout ratio?

REIT ใน U.S. ทำไม payout ratio เกิน 100% ได้ ?

มีนักเรียนมีคำถาม เค้าไปเจอ REIT ต่างประเทศที่ Dividend payout ratio เกิน 100% อย่างต่อเนื่องหลายปี แล้วก็เลยสงสัยว่าเป็นไปได้ยังไงที่มันเกิน 100% ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ใน REIT ไทย

อันนี้เป็นคำถามที่ดีนะ เผื่อคนไม่คุ้นเคย Dividend payout ratio คืออัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินที่จ่ายปันผลเทียบกับกำไรสุทธิ Dividend payout ratio 50% ก็คือจากกำไรสุทธิ 100 จ่ายออกมาเป็นปันผล 50 ถ้า Dividend payout ratio มากกว่า 100% ก็คือกำไรสุทธิ 100 จ่ายออกมาเป็นปันผลเกิน 100 ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอะไรที่ทำได้ตลอด ทำบางปีอาจจะได้ แต่โดยหลักการมันไม่ควรจะทำได้ต่อเนื่อง ก็เลยเป็นเหตุผลที่นักเรียนเรามีความสงสัย

ตัวอย่างที่นักเรียนผมพูดถึงก็จะเป็น Realty Income ซึ่งเป็น REIT เจ้าใหญ่ใน US

จะสังเกตว่า payout ratio ก็เกิน 100% ตลอดจริงๆ

ให้ดูอีกตัวอย่าง W. P. Carey เป็น REIT ขนาดใหญ่เช่นกัน

สังเกตว่าคล้ายกันตรงที่ payout ratio เกิน 100% ตลอด

ประเด็นเรื่องนี้สมัยที่เริ่มดู REIT ใน U.S. ตอนแรกๆผมก็เคยสงสัยเหมือนกัน สิ่งที่ผมเจอคือเป็นเพราะวิธีการบันทึกบัญชีมันไม่เหมือนกับที่ไทยครับ คือ REIT ที่อเมริกาเค้ามีการบันทึกค่าเสื่อม ในขณะที่ REIT ที่ไทยไม่บันทึกเพราะมองว่าเป็น investment

เพื่อให้เห็นภาพเดี๋ยวผมเปิดเทียบให้ดู

ส่วนสาเหตุว่าทำไมบันทึกต่างกัน ผมเข้าใจว่าเพราะในมุมของ US GAAP เค้ามองว่า REIT นี่เป็น operating assets ในขณะที่ของไทยมองว่าเป็น investment assets ครับ

สมมติเราคำนวณ payout ratio เองเลยนะ เอาแบบตรงๆ เราจะได้ว่า
Realty Income 208.58%, 342.21%
W. P. Carey 143.48%, 190.65%

แต่สมมติเราคำนวณ payout ratio แบบตัดผลของ depreciation ออกไป เราจะได้ว่า
Realty Income 72.13%, 97.84%
W. P. Carey 77.97%, 88.41%

ดูปกติขึ้นมะ มันเป็นเพราะแบบนี้แหละครับ ตอบคำถามว่าทำไม payout ratio ของ REIT ใน U.S. มันถึงสูงเกิน 100% ตลอด

ทีนี้โดยปกติ REIT ใน U.S. นี่เค้าจะรายงานตัวเลข Funds From Operations (FFO) กับ Adjusted Funds From Operations (AFFO) ประกอบในรายงานด้วย และปกติธุรกิจนี้เวลาเค้าพูดถึงการจ่ายปันผลเค้าจะเทียบ payout ratio กับไม่ FFO ก็ AFFO มากกว่าที่จะเทียบกับ Net Income ตัวเลขพวกนี้ก็จะเป็นตัวเลขที่มีการบวกกลับค่าเสื่อมและมีการปรับตัวเลขด้วยรายการอื่นอีก มันจะไม่ได้ตามมาตรฐานบัญชี US GAAP แต่มันเป็นตัวเลขที่อุตสาหกรรมนี้เค้าตกลงร่วมกันว่าช่วยให้เข้าใจผลการดำเนินงานของ REIT มากขึ้นและเพื่อให้นิยามการคำนวณเหมือนกันเค้าจะอิงตาม NAREIT ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้สำหรับคนที่มีความสนใจ REIT ใน U.S. ควรต้องอ่านครับ
https://www.reit.com/sites/default/files/2018-FFO-white-paper-(11-27-18).pdf

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

How do you record stocks dividend?

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

ไม่แน่ใจว่าทำไมมีทั้งนักเรียนและคนทั่วไปถาม แล้วถามเจาะจงวิธีบันทึกบัญชีของการจ่ายปันผลเป็นหุ้นด้วยนะ แต่อันนี้ง่ายจริง ผมทำวีดิโอตอบครับ

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน การจ่ายปันผลเป็นหุ้นมันคือการจ่ายปันผลแบบบริษัทไม่ได้มีการจ่ายเงินอะไรออกมา แต่เป็นการออกหุ้นใหม่ให้กับคนที่ถือหุ้นอยู่แล้วเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ถืออยู่ อย่างเช่นสมมติเค้าบอก 1 หุ้นใหม่ต่อ 10 หุ้นเดิม ก็คือแปลว่าถ้าเรามีหุ้นอยู่ 10 หุ้นเราก็จะได้เพิ่ม 1 หุ้น ถ้ามี 20 หุ้นก็จะได้ 2 หุ้น

ทีนี้มาพูดถึงการบันทึก งบการเงินมันมี 3 อันหลักคือ
– งบกำไรขาดทุน
– งบแสดงสถานะทางการเงิน
– งบกระแสเงินสด

เวลาบันทึกบัญชีเราก็ต้องใช้ความเข้าใจความหมายของงบ แล้วพิจารณาการจ่ายปันผลเป็นหุ้นว่ามันควรบันทึกยังไง
– งบกำไรขาดทุนไม่บันทึก เพราะการจ่ายปันผลเป็นหุ้น ไม่ได้ทำให้บริษัทกำไรมากขึ้นหรือน้อยลง การจ่ายปันผลเป็นหุ้นไม่ได้ทำให้บริษัทขายของได้มากขึ้นหรือเป็นค่าใช้จ่าย
– งบกระแสเงินสดก็แน่นอนว่าไม่เกี่ยว เพราะการจ่ายปันผลเป็นหุ้นไม่ได้มีการขยับของเงินสด ไม่มีการได้รับเงินสด และไม่มีการจ่ายเงินสด
– งบแสดงสถานะทางการเงิน อันนี้ถึงจะเกี่ยว เพราะมันมีส่วนที่แสดงตัวเลขรายการส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ การจ่ายปันผลเป็นหุ้นยังไงต้องมีจำนวนหุ้นเพิ่มย่อมต้องเกี่ยวแน่

วิธีการบันทึกบัญชีก็จะเป็น เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนหุ้นที่ปันผลทั้งหมดคูณ par เช่นสมมติออกหุ้นใหม่ทั้งหมด 20 หุ้นและพาร์หุ้นละ 10 บาท ก็คือเพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว 200 บาท จากนั้นก็ลดกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรไปเป็นจำนวนเท่ากัน 200 บาท งบก็จะดุลละ แค่นี้แหละครับ

แล้วสมมติว่าเป็นฝั่งได้รับการปันผลเป็นหุ้นล่ะ

วิธีการบันทึกก็ง่ายเพราะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดเช่นกัน และจริงๆก็ไม่เกี่ยวกับงบแสดงสถานะทางการเงินด้วยเพราะการได้รับปันผลเป็นหุ้นไม่ได้ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลง อย่างมากก็บันทึกรายละเอียดว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่บริษัทถืออยู่เพิ่มขึ้นกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถือลดลงเป็นสัดส่วนที่ทำให้มูลค่ารวมอยู่เท่าเดิมก็เท่านั้นเอง

อนาคตเผื่อมีคำถามอะไรที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชี ผมแนะนำว่า Google หาแล้วอ่านมาตรฐานการบันทึกที่เป็นทางการเลยจะชัวร์สุดครับ ส่วนตัวเวลาผมสงสัยผมก็ทำแบบนั้นเหมือน

ยกตัวอย่างเช่นสมมติกรณีนี้เลยจ่ายปันผลเป็นหุ้นบันทึกบัญชียังไง เค้าจะอธิบายไว้แบบนี้ครับ
https://www.tfac.or.th/upload/9414/NxXYuS6oyY.pdf
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ดูหุ้นบริษัทนึงใช้เวลานานมั้ย ?

How long does it take to look at a company?

ดูหุ้นบริษัทนึงใช้เวลานานมั้ย ?

มีคนถามว่าปกติดูหุ้นบริษัทนึงนานมั้ยกว่าจะตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุน

โดยส่วนตัวของผมก็น่าจะซักอาทิตย์นึงบวกลบ ส่วนใหญ่จะเริ่มทำการดูจริงจังก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าเป็นบริษัทที่น่าสนใจ ไม่รู้สึกว่าจะเข้าใจยากจนเกินไป แล้วก็ราคาตกลงมาเยอะระดับนึงแตะ Alert ที่ตั้งไว้ ไอเดียหลักๆที่บอกดูประมาณอาทิตย์นึงก็จะประมาณนี้

วันสองวันแรก เอาเรื่องว่าบริษัททำอะไร, ที่ผ่านมาเป็นยังไงกับราคามันตกเพราะอะไรให้เรียบร้อย อ่านเอกสารล่าสุดอย่าง 56-2, Annual report, Quarterly report, ข่าวสารว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามให้เห็นภาพความเป็นไปของบริษัทให้มากที่สุด เค้ากำลังทำอะไรอยู่และกำลังพยายามไปทางไหน สินค้าเค้าถ้ามีรูปมีวีดิโออธิบายสินค้าอะไรพวกนี้ยิ่งดี

วันสองวันถัดมา ก็จะเป็นเรื่องว่าสรุปบริษัทนี้มันทำได้ดีเพราะอะไรนะ รีวิวลูกค้า, รีวิวพนักงาน, บทความมีใครพูดถึงบริษัทนี้มั้ย, YouTube อะไรเอาให้หมด พยายามเก็ทไอเดียว่ามันมีคนพูดถึงเยอะหรือน้อย ถูกเอาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งมั้ย เป็นผู้นำในเรื่องไหนบ้าง ทำไมขายดี

วันสองวันถัดมาอีก โฟกัสไปยังเรื่องอุตสาหกรรมกับเรื่องแวดล้อมของบริษัทมากขึ้น ถ้ามีคู่แข่งโดยตรงอยู่ในตลาดหุ้นคือต้องไปอ่านเลย พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุดที่เป็นไปได้ แข่งกันยังไง มีความเคลื่อนไหวอะไรบ้าง

สุดท้ายเลยก็พิจารณาดูว่าเรารู้สึกว่าเรามีความมั่นใจขนาดไหนว่าบริษัทจะทำได้ดีต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทำให้หุ้นตกแต่แรกนีมันจะทำให้บริษัทเละมั้ย ยังสนใจอยู่หรือเปล่า หรือยังมีอะไรติดค้างที่รู้สึกว่าต้องศึกษาเพิ่มเติมมั้ย ถ้าสนใจอยู่ก็ประเมินมูลค่าว่าราคาถูกพอมั้ย ถ้ายังติดค้างก็ไปทำความเข้าใจเรื่องนั้น หรือถ้าไม่สนใจละไม่ค่อยแน่ใจอนาคตก็ดรอปมันไป เท่านั้นเองครับ

สรุปคือ ประมาณ 1 สัปดาห์ และการทำแบบนี้ก็จะจำกัดขอบเขตสิ่งที่ผมลงทุนในระดับนึง อะไรยากจัดๆที่ดูว่าจะเข้าใจนี่คงต้องนานส่วนใหญ่ผมก็ปล่อยไป
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี