Enterprise Value คืออะไร ? EV/EBITDA อัตราส่วนนี้ต่างจาก P/E ยังไง ?

What's enterprise value and what is its use ?

Enterprise Value คืออะไร ? EV/EBITDA อัตราส่วนนี้ต่างจาก P/E ยังไง ?

มีคนถามเกี่ยวกับ Enterprise value เพราะเคยอ่านเจออัตราส่วน EV/EBITDA เอาไว้ใช้ดูว่าหุ้นถูกหรือแพง  เค้าถามว่า Enterprise Value มันคืออะไร  แล้ว EV/EBITDA ดีกว่าหรือต่างจาก P/E ยังไง

เอาจริงๆมันก็ไม่ได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีกว่าหรือสุดยอดอะไรนะ  มันก็แค่อีกไอเดียหนึ่งในการประเมินว่าหุ้นถูกหรือแพงเท่านั้นเอง  ไม่ได้มีอะไรมาก

ไอเดียของมันคือการใช้อัตราส่วนอย่าง P/E เปรียบเทียบบริษัทมันมีจุดอ่อนอยู่ตรงที่บริษัทแต่ละบริษัทมีสัดส่วนหนี้สินกับทุนไม่เท่ากัน  บางบริษัทใช้หนี้เยอะบางบริษัทใช้หนี้น้อย  ต่อให้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทำธุรกิจคล้ายๆกันเก่งพอกัน  ถ้าบริษัทนึงมีหนี้สินเยอะเสี่ยงเยอะกว่าก็ไม่ควรจะ P/E เท่ากับอีกบริษัทนึงที่หนี้สินน้อยเสียงน้อย  การใช้ P/E เทียบกันตรงๆก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะ

มันก็เลยมีคนเสนอว่าถ้างั้นเราก็อย่ามองจากเฉพาะมุมของผู้ถือหุ้นสิ  อย่าง P/E หรือ P/BV นี่คือมองจากผู้ถือหุ้นเท่านั้น  Price คือราคาหุ้น, Earnings ก็คือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้น, Book value ก็เป็นมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น  แทนที่จะมองแค่ราคาหุ้นซึ่งเป็นราคาที่จะซื้อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทก็เปลี่ยนมาเป็นมองจากมุมของการซื้อทั้งบริษัทเลย  คือถามว่าถ้าจะซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทเลยไม่ใช่แค่ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่  ตัวเงินที่จะต้องใช้เพื่อซื้อทั้งหมดของบริษัทก็คือรวมราคาตลาดทั้งหมดของส่วนของผู้ถือหุ้น  แล้วก็ราคาตลาดทั้งหมดของส่วนเจ้าหนี้  แล้วก็รวมราคาตลาดของส่วนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ด้วยถ้ามี  แล้วก็หักเงินสดที่บริษัทมีอยู่ออกไปก็จะได้ตัวเลขมาใช่มะ  ซึ่งตัวเลขเงินที่ต้องใช้เพื่อซื้อทั้งหมดของบริษัทนั่นคือเรียกว่า Enterprise value ครับ

ทีนี้พอจะเอา Enterprise value ไปเทียบกับกำไรสุทธิมันก็ไม่เหมาะละ  เพราะกำไรสุทธิมันมองจากมุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น  เพื่อให้ตัวเลขกำไรมันเป็นตัวเลขที่เป็นกำไรสำหรับทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นเค้าก็เลยเสนอให้เทียบกับกำไรก่อนที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแทน

ปัจจุบันที่นิยมใช้สุดจะเป็น EV/EBITDA ซึ่งก็คือที่คนถามบอกว่าเคยอ่านเจอนั่นแหละ  หรือไม่งั้นก็ EV/EBIT ก็เคยเห็นเหมือนกัน

ข้อดีของการใช้อัตราส่วนนี้ก็เช่น

  1. ใช้ได้แม้กรณีบริษัทขาดทุน
  2. บางที P/E มันติดลบ  แต่ EV/EBITDA ไม่ค่อยเป็นเพราะส่วนใหญ่ EBITDA มันจะไม่เป็นเลขติดลบ

  3. EV/EBITDA ต่างกันน้อยกว่าเวลาเปรียบเทียบบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนต่างกันเยอะๆ

ข้อเสียก็มีเช่น

  1. ราคาตลาดของส่วนของหนี้สินอาจจะหาไม่ได้  ต้องเปรียบเทียบหนี้สินที่ใกล้เคียงเอา
  2. ปัญหาเดียวกับ P/E คือมันเป็นวิธีประเมินมูลค่าประเภท Price multiple ซึ่งมีประโยชน์ในเชิงเปรียบเทียบ  อาจจะเจอกรณีหุ้นมันแพงทั้งตลาดแต่แค่อันนี้ EV/EBITDA ต่ำสุดก็เลยดูว่าถูกกว่าโดยเปรียบเทียบก็ได้
  3. มันเป็นมุมมองของคนที่จะซื้อทั้งบริษัท  แต่เราเป็นผู้ถือหุ้น  เราไม่ได้จะซื้อทั้งหมดของบริษัท

สุดท้ายคือ  มันก็แค่อีกไอเดียนึงเท่านั้นครับ  ไม่ได้ว่าสุดยอดหรืออะไร  คนรู้จักก็อาจจะดูเท่ขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น  ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเป็นพิเศษ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้น p/e ต่ำ ไม่ได้ดีเสมอไป

Don't focus on just low P/E

หุ้น p/e ต่ำ ไม่ได้ดีเสมอไป

ผมเจอคนถามประมาณว่า P/E เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูกหรือว่า P/E นี้แพงเกินไปหรือยังบ่อยมาก  ซึ่งบางทีผมเริ่มรู้สึกกังวลว่าคนเน้นดู P/E ต่ำมากเกินไปหรือเปล่า  วีดิโอนี้ผมมาพยายามอธิบายว่า P/E ที่ต่ำก็ไม่ได้แปลว่าซื้อแล้วจะดีเสมอไป  ประเด็นสำคัญที่เราควรจะดูคือตัวบริษัทมากกว่าครับ

ก่อนอื่นเลย P/E ต่ำก็ได้เปรียบอันนี้จริง  เพราะ P/E มันคือเทียบราคากับหุ้นกับกำไรต่อหุ้นซึ่งบริษัททำได้ไปแล้ว  เป็นมูลค่าที่เป็นปัจจุบันไม่ใช่สิ่งที่ภาวนาว่าจะเกิดในอนาคต  และการที่หุ้น P/E ต่ำก็คือเราใช้เงินน้อยกว่าเพื่อซื้อกำไรเท่ากันเทียบกับหุ้นที่ P/E สูง

แต่ P/E ต่ำก็ไม่ได้ดีเสมอไป  เพราะบริษัทที่ P/E ต่ำนั่นผลประกอบการในอนาคตอาจจะแย่ลง  ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำไม P/E มันต่ำตั้งแต่แรก  ตัวอย่างเหตุผลที่หุ้นมี P/E ต่ำเช่น

1. เป็นบริษัทในธุรกิจที่อนาคตอาจจะหดตัว  เช่นบริษัทบุหรี่

  • British American Tobacco:  P/E 9.83 เท่า, Dividend yield 7.66%
  • Japan Tobacco: P/E 11.87 เท่า, Dividend yield 7.45%

2. เป็นบริษัทในธุรกิจที่เป็นวัฎจักร  แล้วที่ผ่านมาอยู่ในช่วงพีคพอดีเช่นบริษัทสร้างบ้านคอนโด, เหมือง

  • LPN: P/E 10.2 เท่า (ถ้าใช้กำไรปี 2019 จะเป็น 5.81 เท่า), Dividend yield 28% (ถ้าใช้ปี 2019 จะเป็น 12%)

3. เป็นบริษัทที่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ  เช่นบันทึกกำไรจริงแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ  หรือมีข่าวเรื่องโกงทุจริต  หรือมีหนี้สินเยอะมาก  หรืออะไรซักอย่าง

ดังนั้นย้ำประเด็นที่ผมอยากจะสื่อคืออย่าดู P/E ว่าต่ำเฉยๆ  P/E ต่ำเนี่ยดีนะแต่อย่าลืมไปพิจารณาตัวบริษัทด้วยว่ามันมีเหตุอะไรที่ทำให้คนไม่ชอบบริษัทขนาดนั้น  ถ้าเราเจอเหตุผลที่ทำให้คนไม่ชอบ  เราก็ถามต่อเลยว่าดูแล้วเหตุผลนี้มันจะทำให้บริษัทแย่ถาวรหรือเปล่า  คนตกใจเว่อร์เกินไปมั้ย  ถ้าดูแล้วไม่ใช่เหตุผลที่มีผลถาวรหรือดูว่าคนตกใจเว่อร์เกินไปแบบนี้โอเค  P/E ต่ำอันนี้อาจจะเป็นโอกาสกำไรดีมากก็เป็นได้

List หุ้น P/E ต่ำ หาได้จากที่ไหน ??

Where to Find a List of Low P/E Stocks?

List หุ้น P/E ต่ำ หาได้จากที่ไหน ??

มีคนสนใจอยากเริ่มดูหุ้นจากกลุ่มที่ P/E ต่ำ  ก็เลยมีคำถามว่าเราจะหารายชื่อหุ้นที่เรียงจาก P/E ต่ำไปสูงได้จากที่ไหน  ซึ่งจริงๆตอนแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่พอไปหาดูก็เจออยู่นะ

  1. ใช้ของ Investing.com
  2. ปกติผมใช้เวปนี้ตั้ง alert อยู่แล้ว  www.investing.com

    • เปิดเข้าไปตรง Tools > Stock Screener
    • เลือกเป็นประเทศไทย
    • กด add criteria ที่ชื่อ P/E Ratio
    • เลือก tab Fundamental
    • กดให้มันเรียงตาม P/E Ratio

     

  3. ใช้ของ Siamchart.com
  4. ที่ผ่านมาผมไม่เคยใช้  แต่เจอเวปนี้ตอนหาเรื่องนี้แหละ  www.siamchart.com

    • เปิดเข้าไปตรง Stock > Stock List
    • กดให้มันเรียงตาม P/E Ratio

 

ส่วนตัวผมจะนิยม investing.com มากกว่า  หลักๆเพราะ investing.com มันจะมีหุ้นทั่วโลก  ดังนั้นถ้าเราต้องการเรียง P/E แบบนี้กับตลาดหุ้นประเทศอื่นเราก็ทำได้บนเวปเดียวจบ  ในขณะที่ siamchart ก็มีแค่ของไทยเท่านั้น แต่โดยรวมถ้าจะดูหุ้นไทยผมก็ว่าใช้ของเวปไหนก็น่าจะเหมือนๆกันแหละ  ยังไงเราก็แค่ต้องการไอเดียไว้สำหรับศึกษาต่อแค่นั้นเองนี่ เอาตามที่เราสะดวกเลยครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg