การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ซื้อของออนไลน์เป็นครั้งแรกเพราะโควิด

COVID-19 forced many shoppers to make their first online purchases. But will these customers stick around?

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ซื้อของออนไลน์เป็นครั้งแรกเพราะโควิด

อันนี้เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจทำโดย Ayelet Israeli, Eva Ascarza และเพื่อน  เค้าพยายามจะหาคำตอบว่าคนที่แต่เดิมก่อนโควิดไม่เคยซื้อของออนไลน์มาก่อนแล้วมาเริ่มซื้อของออนไลน์เพราะโควิดมีพฤติกรรมในการซื้อต่างออกไปจากคนที่ซื้อของออนไลน์อยู่แต่แรกแล้วมั้ย  แล้วหลังจากนี้ไปเค้าจะซื้อออนไลน์ต่อไปหรือเปล่าหรือว่าจะกลับไปซื้อในร้านเหมือนเดิม  ซึ่งอันนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจนะ  มีผลกระทบต่อพวกหุ้นที่ทำห้างสรรพสินค้าหรือค้าปลีกเยอะอยู่

งานวิจัยนี้เค้าทำโดยดูตลาดกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าใน US กับ UK  สรุปสิ่งที่เค้าเจอคร่าวๆคือ

  1. ยอดซื้อเสื้อผ้าตกในช่วงที่มีการ lockdown เพราะโควิด  แต่หลังจากนั้นก็ฟื้นขึ้นมา
  2. ทันทีที่มีการปิดห้าง lockdown ช่วงเมษายน 2020  ก็มีลูกค้าใหม่ที่โผล่มาจากช่องทางออนไลน์เยอะขึ้น
  3. มูลค่าการซื้อต่อครั้งของคนที่เข้ามาช่องทางออนไลน์เป็นครั้งแรกในช่วงโควิดดูไม่ต่างจากคนที่ซื้อออนไลน์ปกติ  สินค้าที่ขายดีเป็นพิเศษคือชุดนอน
  4. จุดที่ดูต่างคือคนที่มาซื้อออนไลน์ครั้งแรกช่วงโควิดซื้อกางเกงน้อยกว่าคนที่ซื้อออนไลน์อยู่แล้ว
  5. ยังไม่ชัดเจนว่าถ้าสถานการณ์กลับสู่สภาพปกติคนจะกลับไปซื้อจากร้านค้าเหมือนเดิมหรือเปล่า  แต่คนเขียนพยายามเดาโดยดูจากพฤติกรรมของคนที่เพิ่งมาซื้อผ่านออนไลน์ครั้งแรกว่าหลังจากซื้อออนไลน์ครั้งแรกนั้นแล้วหลังจากนั้นเป็นไงต่อ  ซื้อซ้ำมั้ย  สิ่งที่เค้าเจอคือคนที่ซื้อออนไลน์ครั้งแรกกลางช่วง lockdown มีอัตราการซื้อซ้ำเยอะกว่าปกติ
  6. ส่วนเรื่องคืนสินค้า  คนที่เริ่มซื้อครั้งแรกหลัง lockdown ก็ดูเหมือนจะคืนสินค้าน้อยกว่าพวกที่ซื้อออนไลน์อยู่แล้วด้วย  แล้วก็ไม่ได้เป็นแค่เดือนแรกๆด้วย  ดูเหมือนจะคืนสินค้าน้อยกว่าแม้ว่าเวลาจะผ่านไป

ดังนั้นถึงแม้ว่าโควิดจะยังไม่จบ  แต่จากข้อมูลเบื้องต้นดูเหมือนลูกค้าที่เพิ่งซื้อออนไลน์ครั้งแรกเหล่านี้จะดีกับคนที่ขายปลีกออนไลน์

เผื่อใครสนใจอ่านตัวเต็ม  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://hbswk.hbs.edu/item/beyond-pajamas-sizing-up-the-pandemic-shopper

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมวิกฤติโควิดรอบนี้ ตลาดหุ้นฟื้นเร็วจัง ?

How come after Covid, the stock market recover so fast this time ?

ทำไมวิกฤติโควิดรอบนี้ ตลาดหุ้นฟื้นเร็วจัง ?

มีคนสงสัยว่าทำไมเหตุการณ์โควิดครั้งนี้ตลาดหุ้นฟื้นกลับขึ้นมาเร็วจัง  ถ้าเทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตเวลามีวิกฤติเศรษฐกิจแล้วตลาดหุ้นตกรุนแรงมันจะใช้เวลานานเป็นปีกว่าตลาดหุ้นจะฟื้นกลับมาที่เดิม  แต่ครั้งนี้ทั้งที่จริงๆโควิดก็ยังไม่จบและเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังไม่ฟื้นแต่ตลาดหุ้นดันฟื้นกลับขึ้นมาแล้ว  ถ้าไม่นับหุ้นที่โดนโควิดจังๆบางบริษัทราคาสูงกว่าก่อนโควิดอีก  ทำไมมันเป็นแบบนั้นล่ะ

เอาจริงๆผมก็ไม่ชัวร์ 100% นะ  ส่วนตัวก็นึกว่ามันจะใช้เวลานานกว่านี้เหมือนกัน  แต่ถ้าให้เดาก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้

1. โควิดมันเป็นปัจจัยภายนอก  วิกฤติไม่ได้เกิดจากฟองสบู่หรือคนทำอะไรโง่ๆ

อันนี้น่าจะเป็นเรื่องหลัก  คือวิกฤติเศรษฐกิจครั้งอื่นๆที่ผ่านมามันเกิดจากการที่คนในระบบเศรษฐกิจเอาเงินไปจมอยู่ในทรัพย์สินที่สุดท้ายเป็นฟองสบู่แล้วไม่เกิดประโยชน์ซะส่วนใหญ่  เช่นอย่างตอนช่วงต้มยำกุ้งนั่นธุรกิจจำนวนมากในไทยกู้ยืมเงินในสกุลต่างประเทศแล้วไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  พอเงินบาทลอยตัวอ่อนค่าลงเยอะๆก็เลยทำให้หนี้สินที่เยอะพุ่งพรวดขึ้นไป  บวกกับที่ลงทุนไปเงินจมอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นฟองสบู่อีกก็เลยไปกันใหญ่  หรืออย่างวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกานั่นก็มาจากการปล่อยกู้ซื้อบ้าน subprime mortgage ให้คนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายด้วยความเชื่อว่าอสังหาริมทรัพย์ราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ  เงินไปจมอยู่กับบ้านที่สุดท้ายไม่มีความต้องการเช่นกัน

แต่โควิดนี่มันไม่เหมือนกัน  ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ปล่อยกู้มั่วซั่ว  ไม่ได้มีใครกู้ยืมเงินเกินตัวมาลงทุนทำอะไรไม่เกิดประโยชน์  ไม่ได้มาจากการฟองสบู่ในทรัพย์สินอะไร  เศรษฐกิจหยุดเพราะคนชะลอการใช้จ่ายจากมาตรการป้องกันการระบาดเท่านั้นเอง  ดังนั้นพอการระบาดลดลงคนก็กลับมาใช้จ่ายได้เร็วและดังนั้นเศรษฐกิจก็จะฟื้นเร็วกว่าครั้งก่อนๆ

2. รัฐบาลประเทศต่างๆให้ความช่วยเหลืออย่างเร็ว

รอบนี้พอมีปัญหา  เนื่องจากมันเป็นปัญหาจากปัจจัยภายนอก  รัฐบาลแทบทุกประเทศก็ไม่ลังเลที่จะให้ความช่วยเหลือทันที  ทั้งลดอัตราดอกเบี้ย, สั่งให้ยังไม่นับเป็นหนี้เสียบ้าง, ให้เงินช่วยเหลือธุรกิจให้ไม่ปลดพนักงาน, ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายบ้างแบบเราเที่ยวด้วยกันหรือคนละครึ่ง, ฯลฯ  โดยรวมเป็นการพยุงเศรษฐกิจไว้ไม่ให้ผลกระทบรุนแรงจนเกินไป  แล้วก็เลยทำให้บริษัทพวกที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงยังรอดอยู่ได้

3. คนอยู่บ้านกันเยอะ  ว่างก็เลยเริ่มมองหาอะไรทำที่มีผลตอบแทน

สุดท้าย  อาจจะเพราะมีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาสนใจตลาดหุ้นเยอะขึ้นก็เป็นไปได้  เลยทำให้โดยรวมมีเม็ดเงินมาซื้อหุ้นกันเยอะขึ้น  ก็เลยทำให้ตลาดหุ้นฟื้นกลับขึ้นมาเร็วกว่าปกติหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

US Bankruptcy in 2020 is less than in 2019, even with COVID.

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

วีดิโอนี้ผมอยากจะมาเล่าสิ่งที่ผมไปอ่านเจอแล้วรู้สึกประหลาดใจมากให้ฟังครับ

เมื่อปีที่แล้วที่มี COVID ระบาด  เราได้ข่าวธุรกิจได้ผลกระทบเยอะมาก  มีโรงงานปิดตัว, บริษัทปิด, ปลดคนงาน, ฯลฯ  ดังนั้นมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกถ้าเราจะเห็นตัวเลขบริษัทที่ยื่นล้มละลาย  แต่ปรากฎว่าผิดคาด  ผมไปอ่านเจอว่าจำนวนบุคคลและบริษัทขนาดเล็กที่ยื่นล้มละลายในอเมริกาดันลดลง

อันนี้เป็น working paper ของ Harvard Business School ทำโดย Jialan Wang, Jeyul Yang, Benjamin Iverson, Raymond Kluender  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจอ่าน https://www.hbs.edu/faculty/Publication%20Files/21-041_a9e75f26-6e50-4eb7-84d8-89da3614a6f9.pdf  แล้วก็เผื่อใครสนใจอ่านรายงานที่เกี่ยวกับการว่างงานในอเมริกาอันนี้ผมก็ทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เช่นกัน https://fas.org/sgp/crs/misc/R46554.pdf

คร่าวๆคือ  ปกติแล้วเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาเวลามีช่วงเศรษฐกิจไม่ดี  ตัวเลขการล้มละลายของบุคคลและบริษัทก็จะเยอะ  ดังนั้นช่วง COVID ปีที่แล้วก็คาดหมายได้ว่าจะต้องเยอะเช่นกัน  แต่สิ่งที่เค้าเจอคือมันต่างออกไปจากปี 2019  โดยรวมเค้าพบว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2020 ถึงสิงหาคม 2020 จำนวนคนและบริษัทที่ยื่นล้มละลายน้อยลง 27% เมื่อเทียบกับปี 2019  ถ้าดูในรายละเอียดเค้าพบว่าที่ทำให้น้อยลงคือจำนวนล้มละลายของบุคคล  ส่วนในภาคธุรกิจมียื่น chapter 11 (แบบปรับโครงสร้างหนี้) เพิ่มขึ้นแต่ยื่นแบบ chapter 7 (แบบขายทรัพย์สิน) น้อยลงโดยรวมแล้วเลยน้อยลง

อีกเรื่องที่แปลกคือเค้าพบว่ารัฐที่การว่างงานสูงเพิ่มขึ้นเยอะสุด  ดันมีการยื่นล้มละลายลดลงมากสุดด้วย  ซึ่งมันควรจะกลับกันหรือเปล่า

คนเขียนเค้าก็พยายามเดาว่าอะไรเป็นสาเหตุ  สิ่งสำคัญสุดน่าจะเป็นความช่วยเหลือด้วยนโยบายการคลังจากรัฐบาลเช่น CARES act ที่มีให้เงินช่วยเหลือกับเพิ่มผลประโยชน์คนว่างงาน, PPP ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจให้บริษัทยังสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานได้, ห้ามไม่ให้ไล่คนไม่จ่ายค่าเช่าออกจากที่พัก, ฯลฯ  เรื่องพวกนี้น่าจะได้ผลดีระดับนึงทีเดียว

สาเหตุอื่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าศาลปรับขั้นตอนการทำงานเป็นให้ยื่นออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดแล้วคนที่ล้มละลายเค้าไม่สามารถทำได้หรือเปล่า  หรืออาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของโควิดที่ทำให้คนกับธุรกิจไม่แน่ใจว่ามันจะจบเมื่อไหร่หรือจะเกิดอะไรขึ้น  ก็เลยทำให้เค้าลังเลที่จะยื่นหรือเปล่า  เพราะในอเมริกามันมีกฎหมายว่ายื่นล้มละลายได้จำกัดครั้งในช่วงกี่ปีๆ

โดยรวมก็เป็นอะไรที่ผิดคาดดีเลยมาเล่าให้ฟัง  เป็นเครื่องเตือนสติผมเลยว่าอย่าด่วนสรุปอะไรเร็วไปและบางทีเราเห็นข่าวอะไรก็อย่าเชื่อว่าต้องจริงเสมอไปนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

โควิดระบาดรอบ 2 นี่ นับเป็นโอกาสหรือเปล่า ?

Is the second COVID wave in Thailand considered opportunity ?

โควิดระบาดรอบ 2 นี่ นับเป็นโอกาสหรือเปล่า ?

มีคนถามความเห็นว่าสมมติ COVID เวฟสองนี้ระบาดรุนแรงขึ้นมาจนต้องมี lockdown อีกรอบ  แบบนี้ผมยังมองว่าเป็นโอกาสอยู่หรือเปล่า

อันนี้คือตอบแบบมองจากมุมของการลงทุนในหุ้นล้วนๆไม่นับความเสียหายต่อเศรษฐกิจหรือชีวิตคน  มันก็ขึ้นอยู่กับว่าตลาดหุ้นตกด้วยมั้ย  ถ้าไม่ตกก็ต้องไม่ใช่โอกาสแน่  แต่สมมติตลาดหุ้นตกรุนแรงผมก็เชื่อว่าเป็นโอกาสนะ

โดยภาพรวมสิ่งที่ผมมองคือแบบนี้

  • การจะให้ปัญหาจบสมบูรณ์การท่องเที่ยวกลับสู่ปกติ  ยังไงก็ต้องใช้วัคซีนหรือยา  ซึ่งประเด็นตรงนี้ก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป  ที่จริงแล้วดูจะดีขึ้นกว่าที่คาดด้วยซ้ำไปด้วยความที่มีวัคซีนที่ใช้ได้หลายอัน  ทดลองเสร็จเร็วกว่าที่คาด  และหลายประเทศก็เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว
  • การระบาดรอบสอง  ไม่ว่าจะทำการ lockdown หรือไม่  มันเป็นการทำให้ระหว่างทางที่จะไปถึงสภาพปกติเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง  คือเปลี่ยนจากที่ธุรกิจพึ่งพาการกินใช้ของคนในประเทศได้ค่อนข้างปกติเพราะไม่มีการระบาดกลายเป็นการกินใชัของคนในประเทศก็อาจจะจำกัดไปด้วย  ดังนั้นก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงจริงๆเพราะมันก็จะมีผลกระทบกับผลประกอบการบริษัทในตลาด  จากบางบริษัทที่ตอนแรกเราคิดว่ารอดแน่นอนแล้วเพราะไม่ได้พึ่งพานักท่องเที่ยวอาศัยแค่คนในประเทศก็ยังกำไรพวกนี้ก็จะเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่ๆ
  • แต่ก็เป็นโอกาสด้วยเช่นกัน  เพราะอย่างที่บอกคือสุดท้ายจะจบได้ก็ต้องมีวัคซีนหรือยาอยู่ดี  และการที่ระบาดรอบสองก็แค่ทำให้ระหว่างทางลำบากมากขึ้นเท่านั้น  ภาพรวมยังเหมือนเดิม

ดังนั้นสิ่งที่่ควรทำผมก็แนะนำเหมือนเดิม  ก็มองภาพไกลหน่อยแล้วเห็นมันเป็นโอกาส  มองหาบริษัทที่มันได้รับผลกระทบแล้วราคาตกแต่เราเชื่อว่ามันจะทนได้นานพอแล้วรอดนั่นแหละ  แล้วก็อย่าตกใจเกินไป  สิ่งที่เราควรจะตกใจคืออะไรก็ตามที่ทำให้ปัญหาลากยาวออกไปกว่าที่คาดเยอะๆน่ะครับ  เช่นวัคซีนใช้ไม่ได้แล้ว

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ล็อคดาวน์ยุโรปรอบ 2, ประท้วงในไทย, ลงทุนยังไงต่อดี ? – 3 พฤศจิกายน 2563

Second Lockdown in Europe, Protest in Thaliand, How to Invest ? - Nov 3, 2020

ล็อคดาวน์ยุโรปรอบ 2, ประท้วงในไทย, ลงทุนยังไงต่อดี ? – 3 พฤศจิกายน 2563

มีนักเรียนที่เค้าเริ่มบอกจิตเริ่มแกว่งเพราะช่วงที่ผ่านมาเห็นตลาดหุ้นโดยรวมตกลงมา  เค้าถามความเห็นว่าแบบนี้เป็นโอกาสในวิกฤติหรือเป็นวิกฤติซ้ำซ้อน  เศรษฐกิจเมื่อไหร่ถึงจะฟื้น

วีดิโอนี้เรามาคุยสถานการณ์ภาพรวม, อะไรเกิดขึ้นแล้ว, อะไรน่าจะเกิดขึ้นต่อไป  แล้วเราควรจะลงทุนยังไงดี

สิ่งที่เกิดขึ้น

  • ไทยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน  แต่การท่องเที่ยวแน่นอนยังไม่ฟื้น
  • มีเรื่องความวุ่นวายทางการเมืองเพิ่มขึ้น
  • ส่วนทั่วโลก  ถ้าดูเรื่องตัวเลขทางเศรษฐกิจจะเห็นว่าดีขึ้น  มีการฟื้นตัวชัดเจนทั้งการบริโภคและการผลิต
  • จีนนี่ไม่ใช่แค่ฟื้นตัว  แต่ถึงขึ้นมีเศรษฐกิจโตเทียบกับปีที่แล้วด้วยซ้ำ
  • การกลับมาระบาดของ COVID-19 เริ่มเยอะจนประเทศในยุโรปหลายประเทศเช่นฝรั่งเศส, เยอรมณี, อังกฤษกลับมาทำ National lockdown ปิดธุรกิจที่ไม่จำเป็นอีกรอบ
  • อเมริกาก็ยังระบาดรุนแรงอยู่  ไม่ได้มีการปิดธุรกิจแต่บางรัฐเห็นในข่าวมีการสั่งห้าม indoor dining แล้ว
  • อเมริกากำลังจะมีเลือกตั้งวันนี้เลย Nov 3

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้  บางส่วนก็น่าจะเป็น noise ไม่มีอะไร  สิ่งที่คิดว่ามีผลทำให้ตลาดตกในช่วงที่ผ่านมาคือเรื่องการทำ national lockdown ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลหลายประเทศก็บอกว่าจะไม่ทำเพราะมันจะมีผลต่อเศรษฐกิจ  ตอนนี้พอทำก็เลยอาจจะผิดคาดสำหรับคนที่หวังว่าจะไม่มีแล้วจนถึงวัคซีนออกมา  และอีกอย่างนึงคือมันก็มีผลกระทบกับเศรษฐกิจจริงๆแหละ  ธุรกิจที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนอาจจะคิดว่ารอดไม่เจ๊งแน่นอนแล้วอย่างพวกร้านอาหารก็กลับไปเสี่ยงเจ๊งได้อีก

อะไรน่าจะเกิดขึ้นต่อไป

  • ประเทศอื่นที่ยังไม่ทำ National lockdown สุดท้ายคงไม่มีทางเลือกต้องทำแหละ  ไม่งั้นผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลจะทำยังไง
  • และการทำ National lockdown ก็แน่นอนจะมีผลต่อเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นแล้วให้ทรุดกลับลงไป
  • เรื่องอื่นๆดูไม่มีสาระสำคัญ
  • การเมืองไทย  ถ้ามองย้อนไปจะพบว่าเหตุการณ์รัฐประหารหรือความรุนแรงตอนม๊อบเสื้อแดงที่มีเผาไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้น  ดังนั้นเรื่องนี้ก็ตัดไปไม่ได้มีสาระสำคัญ
  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  ก็เป็นเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา  แต่คนก็รู้ว่ามันจะไม่กลับไปสมบูรณ์เหมือนก่อน COVID-19 จนกว่าปัญหาจะจบถาวร  ดังนั้นประเด็นนี้ก็ไม่น่าจะมีสาระสำคัญ
  • เลือกตั้งสหรัฐ  ใครซักคนก็จะชนะ  ถ้า Trump ชนะก็ดำเนินนโยบายเหมือนเดิมซึ่งตลาดก็รู้อยู่แล้ว  ถ้า Biden ชนะตลาดก็ไม่น่าจะตกใจเพราะก็ยังไม่ได้เริ่มทำอะไร  ดังนั้นเรื่องนี้ไม่น่าจะมีสาระสำคัญ  
  • กำหนดการของวัคซีนดูเหมือนเดิม  ดูน่าจะได้ข้อสรุปจากการทดลองในคน Phase 3 ภายในปลายปีนี้เดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม  และหลังจากนั้นถ้าสรุปคือใช้ได้ปลอดภัยก็จะต้องมีการเร่งการผลิตและกระจายใช้เวลาซักพักหนึ่ง

แล้วเราควรลงทุนยังไง

ในความเห็นผม  สิ่งที่เราควรทำก็ยังเหมือนเดิม  ซึ่งคือฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ตลาดตกแบบนี้  เราควรเห็นมันเป็นโอกาส  ผมสรุปประเด็นสำคัญมีดังนี้

  1. สุดท้าย COVID-19 ก็เป็นปัญหาชั่วคราว  ปัญหานี้จะจบก็ต่อเมื่อมียาหรือวัคซีนคนถึงจะกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ  การท่องเที่ยวการเดินทางถึงจะมีโอกาสฟื้น
  2. แนวโน้มวัคซีนก็ยังตามกำหนดการเดิม
  3. ดังนั้นภาพรวมกลยุทธ์ก็ยังเหมือนเดิมคือ  เรามองหาธุรกิจที่ปกติแล้วเข้มแข็งทำได้ดี  แต่ดันได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ราคาตกรุนแรง  แล้วเราเชื่อว่ามันจะรอดจากวิกฤติไปได้และกลับไปทำได้ดี  อย่างส่วนตัวผมเกณฑ์ที่บอกว่าคิดว่ามันจะรอดคือ  ดูว่ามีเงินสดเหลือมากพอที่จะรอดแบบกรณีเลวร้ายสุดไปได้ถึงอย่างน้อยครึ่งปีหน้า
  4. แต่ทั้งนี้เราก็ต้องระวังมากขึ้นตรงที่  ถ้าเราซื้อบริษัทในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจาก National lockdown  เราก็ต้องเผื่อ worst case ว่าไตรมาส 4 ก็จะต้องอนาถพอๆกับไตรมาส 2  คือเราต้องดูว่ามันมีเงินสดมากพอที่จะรอด

สรุป

สรุปสุดท้ายสิ่งที่จะฝากโดยเฉพาะกับนักเรียนผมเลยนะคือ  มองออกไปไกลหน่อย  อย่าไปมองอะไรระยะสั้นๆแบบนักลงทุนทั่วไปทำเพราะสุดท้ายเราก็ไม่รู้อยู่ดี  เอาจริงๆไม่มีใครรู้หรอกอย่างตอนฝรั่งเศสประกาศ Lockdown ตลาดตก  พอมาอังกฤษประกาศ Lockdown ซึ่งคือเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมานี่เอง  วันจันทร์ปรากฎว่าตลาดขึ้น  มันมั่วๆแบบนี้แหละครับ  ดังนั้นอย่าไปเสียเวลาทำเรื่องไร้สาระมองอะไรสั้นๆ  มองข้ามช็อตไปไกลหน่อยแล้วดักทางคนอื่นก่อนเลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อันไหนดีกว่ากัน ซื้อหุ้นดีมาก ราคาตกนิดเดียว กับ ซื้อหุ้นพอใช้ได้ ราคาตกเยอะ ?

Which is better ? Great company at decent discount or decent company at great discount

อันไหนดีกว่ากัน ซื้อหุ้นดีมาก ราคาตกนิดเดียว กับ ซื้อหุ้นพอใช้ได้ ราคาตกเยอะ ?

อันนี้ยากจริง  ตอบตามตรงเลยคือผมก็ไม่รู้ครับว่าทำแบบไหนผลสุดท้ายจะออกมาดีกว่ากัน

ผมเองก็มีลังเลนะ  คือถ้าเลือกบริษัทที่เข้มแข็งมากและดูแล้วรอดจากวิกฤติแน่นอนอาจเพราะจริงๆไม่ค่อยได้รับผลกระทบตั้งแต่แรก  ข้อดีมันก็คือรอดแน่นอนซึ่งก็หมายความว่ากำไรแน่นอนด้วย  แต่จุดที่เสียเปรียบมีอยู่นิดนึงคือส่วนใหญ่หุ้นพวกนี้มันจะตกไม่เยอะตั้งแต่แรก  ดังนั้นในระยะสั้นช่วงที่มันฟื้นจากวิกฤติก็จะไม่ได้กำไรเยอะเท่าไหร่เทียบกับอีกทางเลือกนึง  แต่ถ้ามองในระยะยาวหลายปีแล้วมันก็จะดีกว่าแน่นอนเพราะบริษัทที่เข้มแข็งมากกว่าปกติมันก็จะเติบโตดีกว่าด้วย

แต่ถ้าเลือกพวกบริษัทที่เข้มแข็งกลางๆแต่ราคาตกเยอะ  ความได้เปรียบมากอย่างนึงคือคือถ้ามันรอดช่วงวิกฤติมาเราก็จะกำไรกระโดดพรวดขึ้นเลยในช่วงสั้นๆจากการที่ราคามันวิ่งกลับมาที่เดิมก่อนวิกฤติ  แต่ข้อที่ต้องระวังคือไม่รู้จะรอดมั้ยหรือรอดมาแบบบอบช้ำขนาดไหน  และจุดบอดสำคัญคือในระยะยาวหลายปีแล้วมันจะแพ้เพราะบริษัทมันเข้มแข็งสู้ไม่ได้ปกติการเติบโตมันก็จะสู้ไม่ได้ไปด้วย

โดยสรุปก็คือเลือกระหว่าง  ชอบชัวร์กว่าแล้วก็ซื้อไปไม่ต้องทำอะไรเยอะถือยาวไปเลย  กับชอบความตื่นเต้นซื้อไปเสร็จซักพักผ่านวิกฤติอาจจะต้องขายออกมาไปลงทุนในอย่างอื่น

หรืออีกแบบนึงถ้าไม่ได้ว่าต้องเลือกซื้อแค่แบบใดแบบหนึ่ง  มองในเชิงกลยุทธ์ที่จะกำไรสูงสุดนะ  ก็คือต้องซื้อแล้วขายออกมาตามลำดับประมาณนี้

  1. ซื้อบริษัทที่เข้มแข็งมากแต่ตกไม่เยอะก่อน  เพราะพวกนี้โดยปกติจะฟื้นเร็วกว่า  ขายเมื่อฟื้นมาแล้ว
  2. ซื้อบริษัทที่กลางๆแต่ราคาตกเยอะต่อ  พวกนี้มักจะโดนผลกระทบจังๆหรือไม่งั้นก็ไม่เข้มแข็งเท่าดังนั้นโดยปกติราคาจะฟื้นช้ากว่า  แล้วก็ขายเมื่อฟื้นมาแล้วเช่นกัน
  3. กลับไปซื้อบริษัทที่เข้มแข็งมากอีกที  ในเวลานี้สถานการณ์น่าจะปกติละดังนั้นระยะยาวบริษัทพวกที่เข้มแข็งมากได้เปรียบ

แต่นี่คือในอุดมคติสุดๆจังหวะดีสุดๆ  ในความเป็นจริงมันก็จะไม่ง่ายขนาดนี้แน่นอน

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมาคือซื้อที่เข้มแข็งมากไว้ก่อนมักจะออกมาดีกว่า  เพราะเวลาไปซื้อกิจการที่เข้มแข็งกลางๆนี่มันมักจะมีอะไรผิดคาดมา surprise เราบ่อย  แล้วมักจะ surprise ในทางไม่ดีด้วยนะ  แล้วมันก็จะมาถ่วงพอร์ตเรา  ดังนั้นถ้าเป็นผมแนะนำก็ซื้อกิจการที่มันเข้มแข็งมากไว้ก่อนดีกว่าครับ  แต่อันนี้ก็ยอมรับว่าผมก็มีลงทุนในบริษัทที่ชัดเจนว่าเสี่ยงมากกว่าเพราะคาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าอยู่เหมือนกันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

Fiscal and monetary policy, what are they and which one is right for the current situation ?

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

ช่วงนี้กำลังเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์โรคระบาดและเศรษฐกิจหดตัว  หลายประเทศก็จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพื่อช่วยลดผลกระทบจากโรคระบาด  เป็นโอกาสดีที่เราจะทำความรู้จักกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ละเอียดขึ้นอีกนิดนึง  วันนี้ผมมาอธิบายความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงิน (Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy) กันครับ  เผื่อคนที่ยังไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนจะได้เข้าใจภาพรวมมากขึ้นและเห็นภาพว่านโยบายที่เค้าพยายามทำกันอยู่มันมีที่มาที่ไปยังไงและทำไมเค้าถึงทำ

Monetary policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านปริมาณเงิน (money supply) ในระบบเศรษฐกิจ  โดยมีคนบริหารจัดการเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย  เวลาที่เราได้ยินข่าวบอกว่าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือมีการซื้อพันธบัตร (bond buying) พวกนี้คือ monetary policy  ทำไปเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อมากขึ้น, ให้ภาคธุรกิจกู้ยืมเงินได้ถูกลงจะได้ลงทุนเยอะขึ้น, ให้คนเอาเงินออกมาใช้จ่าย

Fiscal policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านภาษีและการใช้จ่ายของรัฐบาล  คนที่เป็นคนทำก็จะเป็นรัฐบาล  การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ทั้งโดยการลดภาษีเพื่อให้คนมีรายได้เยอะขึ้นจะได้ใช้จ่ายได้เยอะขึ้น  หรือไม่ก็ใช้จ่ายกับโครงการต่างๆเยอะขึ้นซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการใช้จ่ายกับ public goods (สินค้าสาธารณะ) เช่นซ่อมถนน, ทำโรงเรียน, ปรับปรุงระบบประปา, ทำทางรถไฟความเร็วสูง, ฯลฯ  แต่สองแบบนี้มันมักจะระยะยาวและไม่ได้เกิดผลทันที  บางครั้งเพื่อให้เกิดผลอย่างรวดเร็วก็จะมี fiscal policy ที่ใช้จ่ายกับโครงการระยะสั้นเพื่อให้กระตุ้นเศรษฐกิจทันทีเช่น ช็อปช่วยชาติ, ให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานช่วงโรคระบาด, ฯลฯ

สังเกตว่าวิธีการของ monetary policy พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้เอกชนเป็นคนใช้จ่าย  ส่วน fiscal policy คือรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายก่อนเลย

ทีนี้อย่างกรณีของ COVID-19  นโยบายที่จะได้ผลมากกว่าจะเป็น fiscal policy  เพราะในเวลานี้ต่อให้ใช้ monetary policy ปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำลงธนาคารก็ไม่ได้อยากจะปล่อยกู้อะไรนักหนาเพราะตัวเองก็ต้องระวัง NPL ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน  บริษัทก็ไม่มีใครอยากลงทุนอะไรเพิ่มเยอะเพราะสถานการณ์ไม่ปกตินักท่องเที่ยวไม่มี, ช่วงก่อนห้างร้านอะไรก็ถูกสั่งปิด  และคนเองก็ไม่พร้อมจะออกมาใช้จ่ายเพราะบางคนก็ขาดรายได้ไปช่วงนึงและบางส่วนก็ยังใช้จ่ายระมัดระวังไม่ซื้ออะไรใหญ่ๆ  

แต่ถ้าเป็น fiscal policy ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายโดยตรง  และโครงการอย่างการให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานจากโรคระบาดก็เป็นการช่วยพยุงให้คนยังสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าจำเป็นได้อยู่  ช่วยบรรเทาปัญหาได้ชั่วคราวแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อเปิดเศรษฐกิจกลับมาคนจะกลับมาใช้จ่ายปกติ

ล่าสุดอย่างนโยบายที่ออกมาสนับสนุนให้คนไปท่องเที่ยวแล้วรัฐบาลช่วยออก  ผมก็เห็นด้วยนะ  มันก็คือรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจแบบที่รัฐไม่ได้ออกเงินอยู่คนเดียวแล้วให้คนทั่วไปช่วยออกเงินด้วย  ถือว่าฉลาดดีอยู่  ในเวลาปกติผมอาจจะด่าเพราะมองว่า fiscal policy แบบนี้มันได้ผลอยู่แวบเดียวไม่เหมือนพวกที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างอื่น  แต่ตอนนี้มันสถานการณ์ผิดปกติจริงๆครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses