ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

What's the deal with the rising bond yield and inflation ?

ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

ช่วงที่ผ่านมามีคนพูดถึงข่าวเรื่องเงินเฟ้อกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่สูงขึ้นในอเมริกา  แล้วก็ด้วยเหตุผลอะไรซักอย่างจะมีผลทำให้หุ้นตก  เลยมีคนอยากให้อธิบายเรื่องนี้ว่ามันเกี่ยวกันยังไง

ก่อนจะตอบคำถามต้องบอกก่อนว่าผมก็ไม่ใช่ว่าเข้าใจทุกอย่าง  ผมอาจจะอธิบายจากมุมเศรษฐศาสตร์ได้บ้างเพราะเรียนมา  แต่บางเรื่องอย่างอารมณ์ตลาดหรือจิตวิทยานี่ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

เราเริ่มจากตัวเงินเฟ้อก่อน  เงินเฟ้อนี่หลักๆก็คือของโดยภาพรวมราคาแพงขึ้นเท่านั้นเอง  ซึ่งโดยปกติแล้วของมันจะแพงขึ้นมันก็มาได้จากสองแบบหลักๆคือ

  1. คนมีความต้องการเยอะขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น

ส่วนเรื่อง bond yield อัตราผลตอบแทนพันธบัตร  มันก็คืออัตราส่วนระหว่างดอกเบี้ยที่คงที่ซึ่งกำหนดไว้แต่แรกเทียบกับราคาของพันธบัตรใช่มะ  และในเมื่อตัวดอกเบี้ยนั่นไม่เปลี่ยนเพราะกำหนดไว้แต่แรกแล้ว  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมันก็เลยขึ้นกับราคาของพันธบัตรเป็นหลัก  ถ้าราคาพันธบัตรแพงขึ้นก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะต่ำลง  ถ้าราคาพันธบัตรต่ำลงก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะสูงขึ้น

ทีนี้อย่างกรณีของอเมริกาที่บอกเงินเฟ้อสูงขึ้น  มันก็น่าจะตรงไปตรงมาคือมาจากการที่คนมีความต้องการเยอะขึ้น  เพราะผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

พอเงินเฟ้อสูง  มันก็ไปทำให้พันธบัตรไม่น่าลงทุนเท่าไหร่  เพราะพันธบัตรผลตอบแทนมันคงที่กำหนดไว้แล้วถูกมะ  ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นราคาข้าวของสูงขึ้นกว่าที่คาด  มันก็ทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตรน้อยลงด้วยไง  คนเห็นแบบนี้ก็เลยขายพันธบัตร  พอคนขายพันธบัตรก็ทำให้ราคาพันธบัตรต่ำลงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้น

มาถึงตรงนี้  เรื่องมันก็สมเหตุสมผลดีไม่มีอะไร  แต่ต่อจากตรงนี้ว่าแล้วมันกระทบกับหุ้นทำให้หุ้นตกได้ยังไง  ก็เป็นอะไรที่ผมก็งงละ

ในเมื่อ bond yield สูงขึ้นเพราะคนไม่อยากถือพันธบัตร  คนก็ต้องเอาเงินไปทำอย่างอื่นถูกมะ  ถ้าถือเงินสดไว้เฉยๆอย่างงั้นก็ถือพันธบัตรดีกว่าเพราะเงินสดมันก็เจอเงินเฟ้ออยู่ดีไม่มีประโยชน์อะไร  คนอาจจะเอาไปซื้อทองซึ่งอดีตที่ผ่านมาถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีเพราะราคามันก็ขึ้นตามเงินเฟ้อ  หรือไม่งั้นก็ซื้อหุ้นเพราะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นฟื้นตัวหรือเงินเฟ้อสูงขึ้น  บริษัทก็จะกำไรดีขึ้นราคาหุ้นก็สูงขึ้น  เป็นการป้องกันเงินเฟ้อได้ดีขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นถ้าตามเหตุและผลแล้วสถานการณ์ในเวลานี้มันควรจะดีกับหุ้นนะ

แต่ปรากฎว่าไม่ใช่  กลายเป็นว่าหุ้นตกและคนก็ตกใจกลัวเงินเฟ้อกลัว bond yield สูงขึ้นอะไรซักอย่าง  ผมก็งงเหมือนกัน  เท่าที่อ่านดูในข่าว  ดูเหมือนเหตุผลจะเป็นเพราะคนกลัวว่าถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัว + เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างเร็วในอนาคต  จะทำให้ธนาคารกลางออกมาเพิ่มอัตราดอกเบี้ย  และเมื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้ต้นทุนการยืมเงินสูงขึ้นบริษัทยืมเงินน้อยลงและทำให้คนสนใจออมเงินเยอะขึ้นใช้จ่ายน้อยลง  บริษัทก็จะโตช้าลงและหุ้นอาจจะตก

ซึ่งผมก็ว่ามันแปลกๆนะ  เพราะธนาคารกลางก็ออกมาบอกอยู่แล้วว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย  แนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ปกติก็ไม่น่าเป็นไปได้อยู่แล้ว  ความกังวลอันนี้ก็ดูห่างไกลยังไงไม่รู้  ในขณะที่วัคซีนดูได้ผลเศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นและดีขึ้นหลังจากนั้น  ปัจจัยในระยะสั้นนี่ชี้ไปยังการฟื้นตัวและดูจะสนับสนุนการถือหุ้นมากกว่านะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อัตราดอกเบี้ย ทำไมมีผลต่อราคาหุ้น ?

Why Do Asset Prices Fall When Interest Rates Increase?

อัตราดอกเบี้ย ทำไมมีผลต่อราคาหุ้น ?

มีคนมีคำถามว่าทำไมอัตราดอกเบี้ยต่ำลงแล้วหุ้นมันต้องขึ้นด้วย  เกี่ยวกันยังไง

จริงๆเหตุผลมันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนครับ  หลักๆแล้วการที่อัตราดอกเบี้ยมีผลกับราคาหุ้นเป็นเพราะ 2 อย่างคือ

  1. คนเปรียบเทียบผลตอบแทนของการลงทุนแบบต่างๆ
  2. ลองนึกภาพง่ายๆ  สมมติวันนี้อยู่ๆอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งรับประกันโดยรัฐบาลบางส่วนด้วยนะให้ดอกเบี้ย 15%  เป็นคุณจะทำยังไง  คุณก็จะงงว่าคุณจะซื้อหุ้นได้ปันผล 2-3% แล้วเสี่ยงไปเพื่ออะไร  คุณก็จะรีบขายหุ้นแล้วไปฝากธนาคารเลยป้ะ  แล้วทุกคนมันก็จะคิดแบบนี้เหมือนกันหมดใช่มั้ยครับ  พอเป็นแบบนั้นมันก็ทำให้ราคาหุ้นต่ำลงไงเพราะคนอยากได้น้อยลง  ราคาหุ้นมันต้องต่ำไปจนถึงจุดที่ผลตอบแทนคาดหวังจากการถือหุ้นนี่สูงกว่า 15% พอสมควรคนถึงจะยอมซื้อหุ้นถูกมะ  ไม่งั้นใครซื้อก็โง่ละ

    กลับกันสมมติวันนี้จากดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่แล้วเกิดต่ำไปอีก  เช่นสมมติเป็น -5% แทน  คนที่แต่เดิมฝากเงินอยู่หรือคนที่กำลังจะฝากก็หนีเลยป้ะ  ไปลงทุนอย่างอื่นเช่นหุ้นดีกว่ามั้ย  มันก็ดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นเพราะคนอยากได้เยอะขึ้นน่ะครับ

    ดังนั้นขอให้นึกภาพว่าอัตราดอกเบี้ยมันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนแทนหุ้น  ถ้าผลตอบแทนมันดีหุ้นคนก็อยากได้น้อยลง  ถ้าผลตอบแทนมันต่ำคนอยากได้หุ้นเพิ่มขึ้น  เท่านั้นเองครับ

  3. อัตราดอกเบี้ยมีผลต่อต้นทุนการกู้เงินของธุรกิจ
  4. คนในตลาดหุ้นจะมองว่า  ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นบริษัทต่างๆก็จะกู้ยืมเงินได้น้อยลงและขยายน้อยลงเศรษฐกิจก็จะโตช้าลง  ดังนั้นผลตอบแทนจากหุ้นก็น่าจะต่ำลงคนก็เลยไม่ค่อยอยากซื้อหุ้น  ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำลงบริษัทต่างๆก็จะกู้ยืมเงินได้มากขึ้นและขยายมากขึ้นเศรษฐกิจก็จะเติบโตเร็วขึ้น  ผลตอบแทนจากหุ้นก็น่าจะสูงขึ้นคนก็เลยอยากซื้อหุ้นมากขึ้น

ด้วย 2 ปัจจัยนี้อัตราดอกเบี้ยจึงมีผลกับราคาหุ้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

US Bankruptcy in 2020 is less than in 2019, even with COVID.

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

วีดิโอนี้ผมอยากจะมาเล่าสิ่งที่ผมไปอ่านเจอแล้วรู้สึกประหลาดใจมากให้ฟังครับ

เมื่อปีที่แล้วที่มี COVID ระบาด  เราได้ข่าวธุรกิจได้ผลกระทบเยอะมาก  มีโรงงานปิดตัว, บริษัทปิด, ปลดคนงาน, ฯลฯ  ดังนั้นมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกถ้าเราจะเห็นตัวเลขบริษัทที่ยื่นล้มละลาย  แต่ปรากฎว่าผิดคาด  ผมไปอ่านเจอว่าจำนวนบุคคลและบริษัทขนาดเล็กที่ยื่นล้มละลายในอเมริกาดันลดลง

อันนี้เป็น working paper ของ Harvard Business School ทำโดย Jialan Wang, Jeyul Yang, Benjamin Iverson, Raymond Kluender  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจอ่าน https://www.hbs.edu/faculty/Publication%20Files/21-041_a9e75f26-6e50-4eb7-84d8-89da3614a6f9.pdf  แล้วก็เผื่อใครสนใจอ่านรายงานที่เกี่ยวกับการว่างงานในอเมริกาอันนี้ผมก็ทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เช่นกัน https://fas.org/sgp/crs/misc/R46554.pdf

คร่าวๆคือ  ปกติแล้วเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาเวลามีช่วงเศรษฐกิจไม่ดี  ตัวเลขการล้มละลายของบุคคลและบริษัทก็จะเยอะ  ดังนั้นช่วง COVID ปีที่แล้วก็คาดหมายได้ว่าจะต้องเยอะเช่นกัน  แต่สิ่งที่เค้าเจอคือมันต่างออกไปจากปี 2019  โดยรวมเค้าพบว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2020 ถึงสิงหาคม 2020 จำนวนคนและบริษัทที่ยื่นล้มละลายน้อยลง 27% เมื่อเทียบกับปี 2019  ถ้าดูในรายละเอียดเค้าพบว่าที่ทำให้น้อยลงคือจำนวนล้มละลายของบุคคล  ส่วนในภาคธุรกิจมียื่น chapter 11 (แบบปรับโครงสร้างหนี้) เพิ่มขึ้นแต่ยื่นแบบ chapter 7 (แบบขายทรัพย์สิน) น้อยลงโดยรวมแล้วเลยน้อยลง

อีกเรื่องที่แปลกคือเค้าพบว่ารัฐที่การว่างงานสูงเพิ่มขึ้นเยอะสุด  ดันมีการยื่นล้มละลายลดลงมากสุดด้วย  ซึ่งมันควรจะกลับกันหรือเปล่า

คนเขียนเค้าก็พยายามเดาว่าอะไรเป็นสาเหตุ  สิ่งสำคัญสุดน่าจะเป็นความช่วยเหลือด้วยนโยบายการคลังจากรัฐบาลเช่น CARES act ที่มีให้เงินช่วยเหลือกับเพิ่มผลประโยชน์คนว่างงาน, PPP ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจให้บริษัทยังสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานได้, ห้ามไม่ให้ไล่คนไม่จ่ายค่าเช่าออกจากที่พัก, ฯลฯ  เรื่องพวกนี้น่าจะได้ผลดีระดับนึงทีเดียว

สาเหตุอื่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าศาลปรับขั้นตอนการทำงานเป็นให้ยื่นออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดแล้วคนที่ล้มละลายเค้าไม่สามารถทำได้หรือเปล่า  หรืออาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของโควิดที่ทำให้คนกับธุรกิจไม่แน่ใจว่ามันจะจบเมื่อไหร่หรือจะเกิดอะไรขึ้น  ก็เลยทำให้เค้าลังเลที่จะยื่นหรือเปล่า  เพราะในอเมริกามันมีกฎหมายว่ายื่นล้มละลายได้จำกัดครั้งในช่วงกี่ปีๆ

โดยรวมก็เป็นอะไรที่ผิดคาดดีเลยมาเล่าให้ฟัง  เป็นเครื่องเตือนสติผมเลยว่าอย่าด่วนสรุปอะไรเร็วไปและบางทีเราเห็นข่าวอะไรก็อย่าเชื่อว่าต้องจริงเสมอไปนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ตลาดหุ้นตกส่งผลยังไงกับเศรษฐกิจ ทำไมภาครัฐต้องพยายามพยุงราคาหุ้นด้วย ?

How stock market affects the economy? Why government tries to support stock price ?

ตลาดหุ้นตกส่งผลยังไงกับเศรษฐกิจ ทำไมภาครัฐต้องพยายามพยุงราคาหุ้นด้วย ?

มีคนถามว่าตลาดหุ้นตกมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร  คือประเด็นของคำถามนี่คือเค้ารู้แหละว่าเศรษฐกิจน่ะมีผลต่อตลาดหุ้น  และเค้าก็รู้ว่าที่ซื้อขายหุ้นกันอยู่ในตลาดส่วนใหญ่เป็นซื้อไปมาระหว่างนักลงทุนด้วย  ราคาหุ้นที่สูงขึ้นไม่ได้ทำให้บริษัทกำไรมากขึ้น  ราคาหุ้นที่ต่ำลงก็ไม่ได้ทำให้บริษัทกำไรน้อยลง  แล้วทำไมดูเหมือนภาครัฐเป็นกังวลเวลาตลาดหุ้นตก  อย่างเคส COVID-19 ที่ผ่านมาก็มีออก SSFX ออกมาเพื่อพยายามพยุงราคาตลาดหุ้น  แสดงว่าการที่ตลาดหุ้นตกมันก็ต้องมีผลต่อเศรษฐกิจสิไม่งั้นเค้าจะทำไปทำไม

ตอบตามตรงผมก็ไม่รู้ว่าวัตถุประสงค์ของการที่เค้าออก SSFX มาเพื่อพยุงตลาดหุ้นนี่ทำไปเพราะอะไรนะ  แต่โดยภาพรวมแล้ว  การมีอยู่ของตลาดหุ้นมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเพราะว่า

  1. สำหรับบริษัท  ตลาดหุ้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการระดมเงินทุน  ทำให้บริษัทมีโอกาสเติบโตมากขึ้นและเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวม  ถ้าไม่มีตลาดหุ้นก็แปลว่าบริษัทพึ่งพาการยืมเงินธนาคารแค่ทางเดียว  หรือไม่งั้นก็อาจต้องหาคนมาร่วมทุนแต่ก็จะเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่เท่านั้นซึ่งก็ทำได้จำกัด
  2. สำหรับคนทั่วไป  ตลาดหุ้นก็เป็นช่องทางที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปเป็นเจ้าของร่วมในธุรกิจต่างๆที่ประสบความสำเร็จได้ด้วยเงินที่ไม่เยอะ  มันก็เป็นการสร้างโอกาสในการกระจายความมั่งคั่งแบบนึง  ถ้าไม่มีตลาดหุ้นก็แปลว่าเราต้องเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองเท่านั้นซึ่งก็เป็นการจำกัดความเป็นไปได้สำหรับหลายๆคน  หรือไม่งั้นก็ลงทุนได้แค่ฝากธนาคารซึ่งเราก็เห็นอยู่ว่าผลตอบแทนแพ้เงินเฟ้อด้วยซ้ำ

ดังนั้นถ้าสมมติตลาดหุ้นตกรุนแรงแล้วซึมอยู่เป็นเวลานาน  (ย้ำว่าซึมนานด้วยนะ  ตกแป๊บเดียวไม่น่าจะเป็นสาระ)  ก็อาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้ตรงที่

  1. ถ้าหุ้นตกต่ำอยู่นาน  มันก็แปลว่าคนจำนวนมากไม่อยากลงทุนในตลาดหุ้น  ดังนั้นถ้าสมมติในอนาคตมีบริษัทที่จะมาระดมทุนออก IPO หรือบริษัทที่อยู่เดิมต้องการจะระดมทุนเพิ่ม  ก็อาจจะทำได้ลำบากเพราะคนไม่ค่อยสนใจ  โดยรวมก็ไปทำให้ระดมทุนได้ยากหรือแพงขึ้น
  2. มีผลกระทบต่อจิตวิทยาของคน  ตลาดหุ้นตกมันก็มีผลกับเงินลงทุนของคน  อาจทำให้คนรู้สึกจนลงแล้วก็เลยกล้าใช้จ่ายน้อยลง  ถ้าเป็นแบบนั้นกันเยอะๆก็อาจจะมีผลต่อเศรษฐกิจ
  3. อาจมีผลกับพอร์ตของพวกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือเพื่อการเกษียณ  ทำให้คนที่กำลังจะเกษียณเดือดร้อน  แต่ประเด็นนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องหลัก

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หรือ ทดลองเรียนฟรี

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

Fiscal and monetary policy, what are they and which one is right for the current situation ?

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

ช่วงนี้กำลังเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์โรคระบาดและเศรษฐกิจหดตัว  หลายประเทศก็จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพื่อช่วยลดผลกระทบจากโรคระบาด  เป็นโอกาสดีที่เราจะทำความรู้จักกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ละเอียดขึ้นอีกนิดนึง  วันนี้ผมมาอธิบายความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงิน (Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy) กันครับ  เผื่อคนที่ยังไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนจะได้เข้าใจภาพรวมมากขึ้นและเห็นภาพว่านโยบายที่เค้าพยายามทำกันอยู่มันมีที่มาที่ไปยังไงและทำไมเค้าถึงทำ

Monetary policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านปริมาณเงิน (money supply) ในระบบเศรษฐกิจ  โดยมีคนบริหารจัดการเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย  เวลาที่เราได้ยินข่าวบอกว่าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือมีการซื้อพันธบัตร (bond buying) พวกนี้คือ monetary policy  ทำไปเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อมากขึ้น, ให้ภาคธุรกิจกู้ยืมเงินได้ถูกลงจะได้ลงทุนเยอะขึ้น, ให้คนเอาเงินออกมาใช้จ่าย

Fiscal policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านภาษีและการใช้จ่ายของรัฐบาล  คนที่เป็นคนทำก็จะเป็นรัฐบาล  การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ทั้งโดยการลดภาษีเพื่อให้คนมีรายได้เยอะขึ้นจะได้ใช้จ่ายได้เยอะขึ้น  หรือไม่ก็ใช้จ่ายกับโครงการต่างๆเยอะขึ้นซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการใช้จ่ายกับ public goods (สินค้าสาธารณะ) เช่นซ่อมถนน, ทำโรงเรียน, ปรับปรุงระบบประปา, ทำทางรถไฟความเร็วสูง, ฯลฯ  แต่สองแบบนี้มันมักจะระยะยาวและไม่ได้เกิดผลทันที  บางครั้งเพื่อให้เกิดผลอย่างรวดเร็วก็จะมี fiscal policy ที่ใช้จ่ายกับโครงการระยะสั้นเพื่อให้กระตุ้นเศรษฐกิจทันทีเช่น ช็อปช่วยชาติ, ให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานช่วงโรคระบาด, ฯลฯ

สังเกตว่าวิธีการของ monetary policy พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้เอกชนเป็นคนใช้จ่าย  ส่วน fiscal policy คือรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายก่อนเลย

ทีนี้อย่างกรณีของ COVID-19  นโยบายที่จะได้ผลมากกว่าจะเป็น fiscal policy  เพราะในเวลานี้ต่อให้ใช้ monetary policy ปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำลงธนาคารก็ไม่ได้อยากจะปล่อยกู้อะไรนักหนาเพราะตัวเองก็ต้องระวัง NPL ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน  บริษัทก็ไม่มีใครอยากลงทุนอะไรเพิ่มเยอะเพราะสถานการณ์ไม่ปกตินักท่องเที่ยวไม่มี, ช่วงก่อนห้างร้านอะไรก็ถูกสั่งปิด  และคนเองก็ไม่พร้อมจะออกมาใช้จ่ายเพราะบางคนก็ขาดรายได้ไปช่วงนึงและบางส่วนก็ยังใช้จ่ายระมัดระวังไม่ซื้ออะไรใหญ่ๆ  

แต่ถ้าเป็น fiscal policy ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายโดยตรง  และโครงการอย่างการให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานจากโรคระบาดก็เป็นการช่วยพยุงให้คนยังสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าจำเป็นได้อยู่  ช่วยบรรเทาปัญหาได้ชั่วคราวแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อเปิดเศรษฐกิจกลับมาคนจะกลับมาใช้จ่ายปกติ

ล่าสุดอย่างนโยบายที่ออกมาสนับสนุนให้คนไปท่องเที่ยวแล้วรัฐบาลช่วยออก  ผมก็เห็นด้วยนะ  มันก็คือรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจแบบที่รัฐไม่ได้ออกเงินอยู่คนเดียวแล้วให้คนทั่วไปช่วยออกเงินด้วย  ถือว่าฉลาดดีอยู่  ในเวลาปกติผมอาจจะด่าเพราะมองว่า fiscal policy แบบนี้มันได้ผลอยู่แวบเดียวไม่เหมือนพวกที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างอื่น  แต่ตอนนี้มันสถานการณ์ผิดปกติจริงๆครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

อัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สรุปว่าจะฟื้นแล้วหรือยัง ?

How are the economy recoveries doing ?

อัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สรุปว่าจะฟื้นแล้วหรือยัง ?

วันนี้เรามาติดตามข่าวเรื่องเศรษฐกิจกันบ้างครับ

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวอัตราการว่างงานในอเมริกาลดลง  คนก็เลยเริ่มตื่นเต้นว่าเศรษฐกิจอาจจะฟื้นกลับมาเร็วกว่าที่คาด  เริ่มมีคนกลับมาพูดถึงการฟื้นตัวแบบ V-shape  และนักวิเคราะห์หลายคนก็เริ่มเปลี่ยนมุมมองละ  https://www.cnbc.com/2020/06/05/jobs-report-may-2020.html

ส่วนตัวผมมองว่าเศรษฐกิจมันจะฟื้นแบบ V-shape แหละ  แต่มันจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อโรคระบาดมันถูกจัดการได้มียารักษาหรือมีวัคซีนแล้วเท่านั้นถึงจะจบจริง  ตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นมากของ US มันก็ไม่ได้น่าแปลกใจอะไรก็ในเมื่อเค้าอนุญาตให้กลับมาเปิดร้านเปิดอะไรมันก็ควรเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว  แต่ต่อจากนี้ไปจนกว่าจะแก้ปัญหาได้จริงๆ  ผมเชื่อว่ามันก็อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ยังไม่ชัดเจน  เรื่องนี้ประเด็นมันอยู่ที่ 2 อย่าง

  1. พอเปิดธุรกิจกลับมา  จะกลับมาระบาดรุนแรงอีกหรือเปล่า
  2. กลับมาระบาดบ้างก็คงไม่ใช่ปัญหา  ตราบใดที่มันไม่ขึ้นแบบ exponential และระบบสาธารณสุขรองรับได้ก็โอเค

  3. สมมติรักษาระดับการระบาดให้ทรงๆได้  คนจะกลับมาใช้ชีวิตใช้จ่ายปกติขนาดไหน
  4. ส่วนตัวผมมองว่าปัจจัยที่ 1 ตราบใดที่ทำตรงนี้ได้ดี  ปัจจัยที่ 2 น่าจะไม่เป็นปัญหา  ถ้าคนเห็นว่าไม่กลับมาระบาดและควบคุมได้ก็น่าจะสบายใจมากขึ้นเรื่อยๆและกลับมาใช้จ่ายใกล้เคียงเดิม (ที่มันไม่เหมือนเดิม 100% เป็นเพราะผมยังเชื่อว่าการท่องเที่ยวจะยังไม่ฟื้นเป็นปกติ)

ดังนั้นตอนนี้ผมว่า key ของมันคือเรื่องการกลับมาระบาดแล้วล่ะ  ซึ่งถ้าเราดู timeline หลายๆประเทศรวมถึงไทยเริ่มทยอยอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเปิดเป็นปกติมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้น-กลางเดือนพฤษภาคม  ระยะฟักตัวโรคมันคือ 14 วันถูกมะ  ตอนนี้ผ่านสัปดาห์แรกของมิถุนายนมาแล้วก็น่าจะแปลว่านานเกิน 14 วันละ  เราน่าจะมาดูซักหน่อยว่าการระบาดในประเทศที่ก่อนหน้านี้อาการหนักแล้วได้มีการเริ่มเปิดธุรกิจกลับมาเป็นยังไงกันบ้างแล้ว

เท่าที่ดูเราจะเห็นว่าประเทศที่เปิดกลับมาแล้วดูสถานการณ์ควบคุมได้ก็มี  ไทย, เยอรมณี, อิตาลี, เกาหลี  แต่พวกที่ดูจะกลับมาเยอะหรือดูยังเยอะอยู่ก็มีอย่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา

คำถามคือแล้วถ้าเกิดกลับมาระบาดรุนแรงซึ่งก็ดูเป็นไปได้  เค้าจะต้องสั่งปิดธุรกิจอีกหรือเปล่า  ถ้าสั่งปิดอีกรอบผลกระทบกับเศรษฐกิจก็รุนแรงอย่างน้อยพอๆกับรอบที่แล้วแน่นอน  ตลาดหุ้นก็มีโอกาสตกรุนแรงอีกก็ได้  ดังนั้นอย่าเพิ่งสบายใจกันเกินไป  ผมว่ามันต้องคอยดูถึงซักสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses