เงินเฟ้อมาจากไหนกันแน่ ?

Where does inflation come from?

เงินเฟ้อมาจากไหนกันแน่ ?

เงินเฟ้อเอาง่ายๆก็คือราคาสินค้าบริการแพงขึ้น แค่นั้นเลย

ส่วนประเด็นว่ามันมาจากไหน ก็ขอให้นึกง่ายๆว่าปัจจัยใดๆที่มีผลกับความต้องการสินค้าหรือความสามารถในการผลิตสินค้า พวกนี้ก็มีผลกับเงินเฟ้อหมดแหละ

อะไรที่ทำให้ความต้องการสินต้าสูงขึ้น คนพร้อมจ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น หรือกลับกันอะไรที่ทำให้ความต้องการสินต้าต่ำลง คนพร้อมจ่ายน้อยลง ก็ทำให้เงินเฟ้อต่ำลง

ส่วนฝั่งผลิต อะไรที่ทำให้ผลิตได้เยอะขึ้น สินค้าหรือบริการเยอะขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อต่ำลง หรือกลับกันอะไรที่ทำให้ผลิตได้น้อยลง สินค้าหรือบริการน้อยลง ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น

เท่านั้นเองไม่มีอะไรมาก

ตัวอย่างเช่น
พิมพ์เงินเพิ่ม ก็ทำให้เงินในมือคนมีเยอะขึ้น คนก็พร้อมจ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
เปิดโควิดกลับมา คนก็อยากไปทำนู่นนี่ พร้อมใช้เงิน ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งออกข้าวสาลีไม่ได้ มีจำนวนสินค้าให้ขายน้อยลง เงินเฟ้อก็สูงขึ้น

แล้วในโลกความเป็นจริงมันก็จะมีปัจจัยหลายๆอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน เงินเฟ้อในเวลานั้นก็จะมาจากผลของปัจจัยทั้งหมดยำรวมกันครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

Why target 2% inflation?

ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

ทำไมต้องเป้าเงินเฟ้อ 2% ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับเป้าเงินเฟ้อของ Fed ทำไมต้อง 2% ด้วย แล้วมันเป็นเลขอื่นไม่ได้หรือไง 4% อะไรงี้ได้มั้ย

อันนี้ก็เป็นคำถามที่ดีมาก ผมก็ไม่เคยรู้เหมือนกันว่าทำไมมันต้อง 2% ด้วย ก็เลยลองไปหาคำตอบครับ

ก่อนอื่นทำไมต้อง 2% ?

ในอดีตนู้นเลย ธนาคารกลางของประเทศต่างๆก็มีเป้าหมายเรื่องเสถียรภาพของราคาแหละ แต่ไม่ได้มีเป้าที่ระบุชัดเจน

ทีนี้เป้าที่ชัดเจนมันมาแบบบังเอิญ ปรากฎว่าที่มามันคือมาจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์เป็นคนเริ่มในปี 1989 ในเวลานั้นเงินเฟ้อในนิวซีแลนด์สูง และธนาคารกลางก็เพิ่งเริ่มเป็นอิสระจากรัฐบาล คุณ Arthur Grimes Chairman ของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ในเวลานั้นก็เลยกำหนดเป้าหมายว่าเราจะคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วง 0-2% ละกัน แล้วปรากฎว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ทำให้เงินเฟ้อลดลงมาตามเป้าได้สำเร็จ

แค่นั้นเองครับ ธนาคารกลางในประเทศอื่นก็เริ่มทำตาม เริ่มจากยุโรปก่อน แล้วก็มาอเมริกาในปี 2012

ประโยชน์ของการมีเป้าที่ชัดเจน

ข้อดีของการมีเป้าที่ชัดเจนคือมันทำให้การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ง่ายขึ้น

ไอเดียคือถ้าคนมีความเชื่อว่าเดี๋ยวธนาคารกลางจะคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้า คนก็จะมีพฤติกรรมสอดคล้องกับเป้านั้น แล้วก็เลยทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นตามเป้าได้ง่ายขึ้น

แล้วทำไมไม่ตั้งเป้าให้มัน 0% หรือต่ำกว่านั้นไปเลย จะดีกว่ามั้ยของถูกลง ?

ไม่คิดว่าดี ในทางทฤษฎีมันดูเหมือนก็ไม่น่ามีอะไร ราคาของก็ลดลง เงินเดือนคนก็ลดลง คนก็ควรมีคุณภาพชีวิตเท่าเดิม แต่จริงๆเหมือนจะไม่เป็นแบบนั้น ปัญหาของเงินเฟ้อที่ 0% หรือติดลบไปเลยคือ
คนรู้สึกจนลง ใช้จ่ายน้อยลง
การที่ของราคาลดลงเรื่อยๆ ทำให้คนยิ่งอยากรอไม่อยากซื้อ
โดยรวมก็ทำให้เศรษฐกิจทรุด อาการแบบนี้ก็เหมือนในญี่ปุ่น

แล้วถ้างั้นตั้งเป้าให้สูงกว่า 2% ได้มั้ย 4% อะไรงี้ดีกว่าหรือเปล่า ?

อันนี้ก็ฟังดูเป็นไปได้ ตราบใดที่ไม่สูงมาก มีคนเสนออยู่เหมือนกัน โดยเค้าให้เหตุผลว่า
ไม่มีหลักฐานว่าเงินเฟ้อที่ประมาณ 4% มีผลเสียอะไรกับคุณภาพชีวิต
การอนุญาตให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอีกนิด ในแง่นึงก็คืออนุญาตให้ตลาดแรงงาน tight กว่านี้ ควรจะทำให้การว่างงานน้อยลงและเป็นเรื่องดีต่อคุณภาพชีวิตของคน

แต่ทั้งนี้โดยส่วนตัวผมคิดว่าเค้าไม่น่าจะเปลี่ยนเป้าในเวลานี้ เพราะกำลังอยู่ในช่วงควบคุมเงินเฟ้อสูงอยู่ การเปลี่ยนเป้าในเวลานี้มันอาจจะทำให้คนเสียความเชื่อมั่นในธนาคารกลาง อาจจะทำให้การควบคุมเงินเฟ้อทำได้ยากขึ้น ถ้าจะเปลี่ยนเป้าผมว่าไปเปลี่ยนตอนเหตุการณ์ปกติจะดีกว่า

สรุปตอบคำถามทำไมต้อง 2% คำตอบคือเค้าก็ตั้งเป้าอะไรซักอย่างที่ต่ำระดับหนึ่งเท่านั้นเอง ส่วนเลข 2% นี่ก็คือบังเอิญครับ ไม่ได้มีวิทยาศาสตร์อะไร มาจากธนาคารกลางนิวซีแลนด์เค้าเริ่มละคนอื่นตามแค่นั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เงินเฟ้อรอบนี้ สินทรัพย์ประเภทไหนทำได้ดีบ้าง ?

Which inflation hedge worked this time?

เงินเฟ้อรอบนี้ สินทรัพย์ประเภทไหนทำได้ดีบ้าง ?

Which Inflation hedges have worked?

อันนี้เป็นบทความของ Morningstar ที่ผมก็คิดว่าน่าสนใจดี คือเค้าดูว่าช่วงเงินเฟ้อสูงรอบนี้ สินทรัพย์อะไรที่ทำได้ดีบ้าง สินทรัพย์ที่ปกติคนเชื่อว่าดีช่วงเงินเฟ้อดีจริงหรือเปล่า แต่อันนี้คือต้องเข้าใจก่อนว่าเค้ากำลังพูดถึงระยะสั้นนะ https://www.morningstar.com/articles/1113374/which-inflation-hedges-have-worked

เค้าดูแยกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ ซึ่งคือมีทอง, commodities อื่นนอกเหนือจากทอง, อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด, อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหุ้น

ผลที่ได้คือพวก commodities ที่ไม่ใช่ทองทำได้ดีมาก ซึ่งอันนี้ก็คงเป็นเพราะมันรวมพวกพลังงานที่ราคาสูงขึ้นเยอะมากจากปัจจัยเรื่องสงคราม แต่โดยรวมแล้วราคาน้ำมันก็จะสูงในช่วงที่ความต้องการสูงด้วยเช่น 2007, 2010, 2017 ดังนั้นแปลว่าในช่วงไหนที่เงินเฟ้อสูงจากความต้องการสูง สินทรัพย์กลุ่มนี้ก็อาจจะทำได้ดีตามไปด้วย หรือก็คืออาจจะมีประโยชน์ในการสู้กับเงินเฟ้อในสถานการณ์แบบนั้น

แต่ที่แปลกใจคือทองดูทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไม่ถึงกับแย่ แต่ก็มูลค่าลดลงและผิดกับภาพที่ปกติเราจะมองว่ามันสู้กับเงินเฟ้อได้ดี

ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ลิสต์ในตลาด พวกนี้ก็คล้ายกับหุ้นคือมูลค่าลดลง ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่นอกตลาด ข้อมูลหายากหน่อยแต่เท่าที่ดูคือไม่ได้ชนะเงินเฟ้อ แต่ไม่ถึงกับเลวร้าย

กลุ่มที่สองคือพวกที่จ่ายดอกเบี้ย

Inflation bonds ที่ผลตอบแทนมีส่วนที่คงที่กับส่วนที่เพิ่มตามเงินเฟ้อทำได้ดีก็ไม่ได้น่าแปลกใจ แต่ที่่แปลกใจคือกลุ่ม TIPS ซึ่งก็ควรจะสู้กับเงินเฟ้อดูจะทำได้แย่กว่ามาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

กลุ่มสุดท้ายคือ alternative strategies กลุ่มนี้ปกติเค้าก็ไม่ได้บอกว่าเอาไว้สู้กับเงินเฟ้อหรืออะไร แต่แค่ปกติจะเอาไว้คาดหวังผลตอบแทนที่ต่างจากสินทรัพย์ประเภทอื่น

อันที่ดูทำได้ดีมากคือ Systematic Trend Funds ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลงทุนใน futures และได้รับประโยชน์จากราคา commodities ที่สูงขึ้น ส่วนอันอื่นๆก็ดูจะไม่เลวร้าย คือขาดทุนแต่ไม่ถึงกับเละ

สรุปแล้วคือดูเหมือนสินทรัพย์ที่รอดจากเงินเฟ้อสูงในระยะสั้นได้ก็ดูจะไม่ค่อยมีนะ Inflation bond นี่ปกติมันจะจำกัดการซื้อ

แล้วมันมีความหมายอะไรกับการลงทุนเราหรือเปล่า เอาตามตรงคือถ้าเราลงทุนระยะยาวอยู่แล้วสิ่งนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมาก รู้ไว้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเฉยๆครับ

ส่วนอันนี้คือ list ของที่มาว่าเค้าใช้อะไรเป็นตัวแทนของสินทรัพย์แต่ละหมวด
Nongold commodities—iShares S&P GSCI Commodity-Indexed Trust GSG
Gold—SPDR Gold Shares GLD
Real estate: private—Winans Real Estate Index
Real estate: public—Morningstar Category average, U.S. real estate funds
I Bonds—Author’s calculation, based on U.S. Treasury data
Floating-rate bonds—iShares Floating Rate Bond ETF FLOT
Short TIPS—iShares 0-5 Year TIPS Bond ETF STIP
Nontraditional bond funds—Morningstar category average
TIPS—iShares TIPS Bond ETF TIP
Systematic trading funds—Morningstar Category average
Macro trading funds—Morningstar Category average
Event-driven funds—Morningstar Category average
Multistrategy funds—Morningstar Category average
Relative value funds—Morningstar Category average
Options-trading funds—Morningstar Category average
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

How is inflation related to stock market ?

เงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

มีคนถามว่าเงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น  ถ้าเงินเฟ้อสูงจะทำให้หุ้นตกทั้งตลาดเหรอ  ทำไมคนถึงดูให้ความสนใจกับเงินเฟ้อ

เรื่องนี้เราแยกตอบสองประเด็น  ก่อนอื่นเลยต้องเข้าใจก่อนว่าที่คนเค้าพูดถึงเงินเฟ้อกันช่วงนี้  ไม่ใช่เพราะเค้ากังวลว่าเงินเฟ้อจะมีผลโดยตรงกับตลาดหุ้นนะ  เค้าแค่กังวลว่าเงินเฟ้อจะทำให้ธนาคารกลางหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น  และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อตลาดหุ้นอีกที  การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นทำให้ผลตอบแทนในสินทรัพย์อย่างพันธบัตรสูงขึ้น  ทำให้โดยเปรียบเทียบแล้วความน่าสนใจของหุ้นน้อยลง

ทีนี้ถ้าถามว่า  แล้วจริงๆเงินเฟ้อสูงขึ้นโดยตัวมันเองมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นยังไง  อันนี้ยากนิดนึง  เพราะมันยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน  ที่ผ่านมามันมีความพยายามในการศึกษาและมีคนเก็บข้อมูลได้ข้อสรุปต่างๆกันไป

โดยรวมแล้ว  ถ้าเป็นมุมมองระยะยาวมาก  เงินเฟ้อไม่มีผล  เพราะสุดท้ายในระยะยาวบริษัทก็สามารถปรับตัวตามเงินเฟ้อได้  ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นต้นทุนสินค้าหรือบริการสูงขึ้น  บริษัทก็ขึ้นราคาขายสูงขึ้นตาม  ไม่ได้มีผลกระทบอะไร

แต่พอเป็นระยะสั้นมันเริ่มไม่แน่ละ  ส่วนใหญ่หลักฐานที่เค้าเจอคือเงินเฟ้อที่สูงราคาหุ้นก็มักจะตก  แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นทุกตลาดหุ้น  มีบางตลาดหุ้นที่ดูเหมือนเงินเฟ้อสูงขึ้นราคาหุ้นสูงขึ้นตามก็มี  (Sathyanarayana, S., Gargesa, S. (2018). An Analytical Study of the Effect of Inflation on Stock Market Returns. IRA-International Journal of Management & Social Sciences (ISSN 2455-2267), 13(2), 48-64. doi:http://dx.doi.org/10.21013/jmss.v13.n2.p3)

แต่ทั้งนี้มันก็มีความซับซ้อนจากปัจจัยอื่นๆอีกเช่น  เป็นหุ้นกลุ่มไหนบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก, เงินเฟ้อสูงที่ว่านี่คือสูงแบบคนคาดอยู่แล้วมั้ยหรือว่าสูงกว่าที่คาด, เงินเฟ้อสูงที่ว่าคือสูงมากมั้ยเป็น hyperinflation เลยหรือเปล่า, เป็นเงินเฟ้อในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตหรือเป็นเงินเฟ้อช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ, ฯลฯ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนในสินทรัพย์แบบไหน ไม่ต้องกลัวเงินเฟ้อ

Which Investment Assets Can Guard Against Inflation?

ลงทุนในสินทรัพย์แบบไหน ไม่ต้องกลัวเงินเฟ้อ

หัวข้อเงินเฟ้อนี่เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยอยู่บ้างแล้ว  มันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วก็มีผลทำให้เงินของเราลดค่าลงไป  โชคดีที่ช่วงที่ผ่านมาเงินเฟ้อประเทศไทยไม่ได้สูง หลังปี 2014 มาเงินเฟ้อเราไม่เคยสูงกว่า 2% ไม่เหมือนช่วงก่อน  แต่อนาคตก็ไม่แน่ ในวีดิโอนี้เรามาคุยว่าจะลงทุนยังไงให้ไม่ต้องกลัวเงินเฟ้อกันครับ

ก่อนไปต่อเราคุยเรื่องผลกระทบของเงินเฟ้ออย่างเร็วเผื่อใครไม่เคยทราบมาก่อน  เงินเฟ้อนี่หลักๆก็คือการที่ของแพงขึ้นน่ะแหละ มันไม่ได้ทำให้เงินเรามีน้อยลงนะจริงๆเรามีเงินเท่าเดิมแหละแต่มันทำให้เงินเราซื้อของได้น้อยลง  เช่นสมมติแต่ก่อนบะหมี่ 1 ชาม 20 บาท เรามีเงิน 100 บาทเราซื้อบะหมี่ได้ 5 ชามดูละเหลือเฟือ แต่วันนี้บะหมี่ชามละ 40 บาทละ เงิน 100 บาทที่เรามีเหมือนเดิมตอนนี้ซื้อบะหมี่ได้ไม่ถึง 3 ชามละ  เงินเราซื้อของได้น้อยลงนี่แหละคือผลของเงินเฟ้อ

แต่ทีนี้เงินเฟ้อมันจะไม่เป็นปัญหาถ้าเงินเราสามารถโตได้ด้วยอัตราเร่งอย่างน้อยเท่าๆเงินเฟ้อ  เช่นตัวอย่างตะกี้ถ้าบะหมี่แพงขึ้นจากชามละ 20 เป็นชามละ 40 ก็จริง แต่เงิน 100 บาทเราที่ฝากไว้ในธนาคาร (หรือลงทุนอะไรก็แล้วแต่) โตเป็น 200 บาทมันก็ไม่เป็นไรไง  เพราะเราก็จะยังซื้อบะหมี่ได้ 5 ชามอยู่ดี ดังนั้นในเมื่อเราควบคุมเงินเฟ้อไม่ได้สิ่งที่เราทำได้ก็คือพยายามลงทุนเงินเราให้อย่างน้อยโตเท่ากับเงินเฟ้อ

ณ เวลานี้ด้วยความที่เงินเฟ้อต่ำกว่า 1%  การจะชนะเงินเฟ้อก็ไม่ยากเพราะเท่าที่ดูดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีให้ผลตอบแทน 1.5% ก็หาได้อยู่  แต่ถ้าสมมติมันกลับไปเป็น 3% เหมือนแต่ก่อนเงินฝากก็จะไม่ตอบโจทย์ละ

โดยไอเดียคือสินทรัพย์อะไรก็ตามที่ผลตอบแทนคงที่ล็อคเอาไว้ก็จะมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อหมด  พวกนี้ก็เช่นเงินฝากประจำ, หุ้นกู้, ตราสารหนี้ ถ้าเราจะลงทุนให้ไม่ต้องกลัวเงินเฟ้อเราก็ต้องไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนมันสามารถปรับตามเงินเฟ้อได้เช่น

  1. พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB, Inflation Linked Bond)
  2. พวกนี้คือพันธบัตรรัฐบาลนี่แหละ  แต่ลักษณะการจ่ายดอกเบี้ยมันจะคำนวณผลของเงินเฟ้อเข้าไปด้วยทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อเลย  ไม่ว่าจะเกิดเงินเฟ้อรุนแรงแค่ไหนก็ตามเราก็จะไม่เดือดร้อนเพราะเราจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นการชดเชยผลของเงินเฟ้อเสมอ  แต่แน่นอนถ้ากลับเป็นเงินเฟ้อติดลบหรือเงินฝืดเราก็จะได้ดอกเบี้ยน้อยลง สรุปคือผลตอบแทนที่แท้จริงก็จะคงที่

  3. สินทรัพย์อื่นที่ขึ้นราคาตามเงินเฟ้อได้
  • อสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า, REIT ที่คนต้องง้อ
  • หุ้นบริษัทที่ปรับราคาขึ้นได้

ยกตัวอย่างบริษัทนึงที่ผมเคยเห็นชัดๆเลยว่าปรับราคาสินค้าได้

นี่เป็นเงินเฟ้อในตุรกี  https://tradingeconomics.com/turkey/inflation-cpi

และบริษัทที่ผมเจอว่าไม่เดือดร้อนคือ Ulker Biskuvi ที่ทำพวกขนม  ในปี 2018 ยอดขายเพิ่มขึ้น 25% แต่มาจากจำนวนขนมที่ขายเพิ่มขึ้นแค่ 1.5% ที่เหลือเป็นราคาที่ปรับขึ้น  กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 24.6% ส่วนปี 2019 ที่ผ่านมา 9 เดือนยอดขายเพิ่มขึ้น 35% มาจากจำนวนขนมที่เพิ่มขึ้นแค่ 4% ที่เหลือเป็นราคาที่ปรับขึ้น  กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 41.3% จะเห็นได้ว่าบริษัทนี้และผู้ถือหุ้นไม่เดือดร้อนอะไรเลยจากเงินเฟ้อ

http://ulkerbiskuviinvestorrelations.com/media/917/download.aspx

http://ulkerbiskuviinvestorrelations.com/media/964/download.aspx

แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัทหรือทุกอสังหาริมทรัพย์จะทำแบบน้ันได้  เราต้องเลือกดีๆ แต่ถ้าเราเลือกออกมาถูกปุ๊บแปลว่าเราไม่ต้องกลัวเงินเฟ้ออะไรทั้งนั้นเลยครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg