ควรลงทุนหุ้นต่างประเทศหรือหุ้นไทยมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ ? ประเทศไหนดี ?

Should you invest in global or local stock ? At what proportions ? And if global, which country ?

ควรลงทุนหุ้นต่างประเทศหรือหุ้นไทยมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ ? ประเทศไหนดี ?

อันนี้เป็นวีดิโอต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่เราทำวีดิโอเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  ผมรวบรวมคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่คนถามเข้ามาเพิ่มเติมและยังไม่เคยตอบในวีดิโอครับ

ผมลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศมากกว่ากัน ?

ในเวลานี้เงินลงทุนอยู่ในหุ้นต่างประเทศเยอะกว่าเยอะครับ  ประมาณ 90% ได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ชอบหุ้นไทยนะ  ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศเยอะขนาดนั้นหลักๆเลยเพราะอย่างที่บอกอยู่ตลอดผมซื้อหุ้นประเภทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและต่างประเทศฉีดวัคซีนเร็วกว่าไทย  ดังนั้นเศรษฐกิจเค้าควรจะฟื้นก่อน  และถ้าโชคดีคือหุ้นต่างประเทศก็อาจจะฟื้นก่อนประเทศไทย  ถ้าเป็นแบบนั้นผมก็จะขายหุ้นในต่างประเทศและดึงกลับมาลงทุนในไทยต่ออีกที  กะฉวยโอกาสทำกำไรจากโควิดหลายครั้ง  แต่ถ้าโชคไม่ดีหุ้นทั่วโลกฟื้นพร้อมๆกันก็ไม่เป็นไรยังไงก็กำไรอยู่ดีแค่อดกำไรเยอะเฉยๆ

ในความเห็นผม  ควรลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ดี ?

จริงๆอันนี้มันแล้วแต่คนมาก  ยังไงก็ได้นะ  แต่โดยรวมคือผมว่าขึ้นอยู่กับเราตั้งใจจะศึกษาด้วยตัวเองแล้วซื้อหุ้นรายตัวหรือเปล่า

ถ้าสมมติเรากะศึกษาด้วยตัวเอง  งั้นอย่างนั้นไทยหรือต่างประเทศก็ไม่ค่อยเกี่ยวละ  เพราะเราก็ต้องมองหาบริษัทที่เข้าข่ายแนวการลงทุนของเราและมันก็ไม่เกี่ยวว่ามันอยู่ประเทศไหนป้ะ  เช่นอย่างผมคือมองหาบริษัททำธุรกิจที่เราชอบ, มีความเข้าใจและเชื่อว่ามันจะทำได้ดีต่อไปในอนาคตแล้วก็เล็งซื้อตอนมันราคาตกจากปัญหาที่คิดว่าชั่วคราว  ผมมองหาแบบนี้เป็นหลักและไม่สนว่ามันจะอยู่ประเทศไหน  ถ้าโอกาสแบบนี้หาได้ในไทยผมก็ซื้อหุ้นไทย  ถ้าหาเจอในหุ้นต่างประเทศผมก็ซื้อหุ้นประเทศนั้น  ความสำคัญของภาพรวมของประเทศหรืออะไรมันจะน้อยลงไปละ  เพราะเราไม่ได้ซื้อประเทศเราซื้อบริษัทที่บังเอิญอยู่ในประเทศนั้น  ดังนั้นในกรณีนี้ที่ถามว่าควรลงทุนต่างประเทศหรือไทยสัดส่วนเท่าไหร่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องอะไร

แต่สมมติเราตั้งใจลงทุนกระจายความเสี่ยงด้วยกองทุน  ไม่ได้กะจะมาเลือกหุ้นรายตัว  งั้นเราสมควรมองภาพรวมของประเทศละ  เพราะเรากำลังซื้อภาพรวมของประเทศนั้นๆอยู่  ในกรณีนี้ผมว่าถ้าไม่ซีเรียสก็หุ้นไทย 50% ต่างประเทศ 50% ก็ได้นะ  วัตถุประสงค์คือการกระจายความเสี่ยงใช่มะ  กระจายประมาณนี้บวกลบก็น่าจะโอเคละ  แต่ทั้งนี้คือแล้วแต่คนสุดๆ  เอาไงก็เอาเถอะ  ถ้าใครอยากจะ 100% กระจายหุ้นทั่วโลกเลยก็ได้นี่  มันจะมีกองทุนที่ลงทุนตามดัชนีหุ้นทั่วโลกอยู่แล้วครับเช่นกองทุนที่ลงทุนตาม MSCI ACWI เป็นต้น

ต่างประเทศไปประเทศไหนดี ?

ถ้าไม่คิดอะไรมากก็กระจายสุดๆไปเลยก็ได้  อย่างที่บอกว่ามี MSCI ACWI  หรือไม่งั้นจะเลือกประเทศที่เราสนใจเชื่อว่ามีอนาคตก็ได้  แต่ต้องเข้าใจว่าทุกประเทศมันก็มีปัญหาของมันนะ  ไม่ใช่มีแต่เรื่องดี  อย่างอินเดียก็มีพวกเรื่องโกง, จีนเร็วๆนี้ก็มีรัฐบาลออกมาพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ, เวียดนามก็ยังไม่ได้เปิดให้ต่างชาติลงทุนเต็มที่  กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเวียดนามก็ยังมีน้อย, ประเทศเจริญแล้วต่างๆส่วนใหญ่โตช้า

สรุปแล้วอย่าไปคิดอะไรเยอะไป  เอาประเทศที่เราคิดว่าดีแหละ  แค่อย่าไปคิดว่ามันจะดีแบบไม่มีข้อเสียเลยเท่านั้นเอง  คิดซะว่าการลงทุนในต่างประเทศด้วยนอกเหนือจากไทยเป็นการกระจายความเสี่ยงครับ

กองทุนต่างประเทศเราซื้อได้มั้ย ?

ได้  พวก ETF นะ  ซื้อได้เหมือนหุ้นต่างประเทศธรรมดาเลย  เราไปทำการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศซะ  แล้วเราก็จะซื้อ ETF ได้ครับ

เงินไม่เยอะควรไปลงทุนต่างประเทศมั้ย ?

พิจารณาเทียบกับค่าธรรมเนียมขั้นต่ำละกันครับ  คือถ้ามันคุ้มก็ไม่มีปัญหา  ถ้าดูแล้วไม่คุ้มก็อย่าไป  อย่างหุ้น US ปัจจุบันผมเห็นของ SCBS เค้า 4.99 USD นะซึ่งคือประมาณ 150 บาทใช่มะ  ดังนั้นสมมติซื้อดัวยเงินซัก 50,000 บาท  ค่าธรรมเนียมมันจะคิดเป็น 0.3% ของมูลค่าการซื้อขาย  ก็แพงกว่าซื้อหุ้นในไทย 0.15% แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้นะ  แต่สมมติบอกซื้อ 10,000 บาท  ค่าธรรมเนียมซื้อขายมันจะกลายเป็น 1.5% ซึ่งเริ่มแพงเว่อร์ละ  เช็คเรื่องค่าธรรมเนียมกับโบรกเกอร์ที่เราจะเปิดกับเค้าดูครับ

ลงทุนหุ้นต่างประเทศแบบ DCA ได้มั้ย ?

เข้าใจว่าส่วนใหญ่คนที่ถามนี่เค้าจะรู้สึกว่า DCA มีปัญหาเพราะเรื่องค่าธรรมเนียม  ผมก็แนะนำว่า DCA ทุก 6 เดือนก็ได้นี่  DCA มันขอให้สม่ำเสมอก็ใช้ได้  ไม่ได้มีใครบอกว่ามันต้องทุกเดือนนี่ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นไปถึงไหนแล้ว ? ธุรกิจไหนฟื้นก่อน ? ธุรกิจไหนยัง ?

How is the recovery on US economy ? Which sector and industry recover first ? Which have not recovered yet ?

ตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นไปถึงไหนแล้ว ? ธุรกิจไหนฟื้นก่อน ? ธุรกิจไหนยัง ?

ผมไปอ่านเจอบทความอันนี้ของ Morningstar คุยเรื่องเศรษฐกิจอเมริกาว่าฟื้นมาขนาดไหนแล้วเทียบกับช่วงก่อนโควิด  ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังอยากรู้พอดี  คือผมอยากรู้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาหลังจากเปิดให้ธุรกิจห้างร้านกลับมาปกติเกือบหมดแล้วมันเป็นยังไงบ้าง  เพราะถึงจุดนึงคาดว่าประเทศไทยก็น่าจะตามรอยเค้านะ

อันนี้ให้ดูจากเวป USA Today ว่าล่าสุดรัฐสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ละ  หมายความว่าพวกข้อจำกัดต่างๆจากโควิดไม่มีละ  บางรัฐที่เป็นสีชมพูคือรัฐที่เริ่มมีนโยบายระวังโควิดกลับขึ้นมาเนื่องจากการระบาดเริ่มเยอะขึ้น  ส่วนสีน้ำเงินคือตอนนี้ข้อจำกัดยังไม่ยกเลิกแต่กำลังจะผ่อนคลายลง

ผมสรุปคร่าวๆเนื้อหาที่เค้าพูดถึงในบทความอัพเดทให้ฟัง

  • เค้ามองว่าการระบาดของ Delta ยังไงก็ไม่น่าจะมีผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเท่าไหร่  เพราะคนที่ฉีดวัคซีนแล้วก็จะป่วยแบบอาการไม่หนักดังนั้นก็จะใช้ชีวิตได้ปกติ  ส่วนคนที่ยังไม่ฉีดก็คือคนที่ไม่แคร์และใช้ชีวิตตามปกติอยู่แล้ว
  • ในเรื่องเศรษฐกิจโดยรวม  เค้าคาดว่า Real GDP (GDP ที่ตัดผลของเงินเฟ้อแล้ว) จะเติบโต 6% และ 4.3% ในปี 2022  หลักๆแล้วมาจากปัจจัยทางฝั่งอุปทานคนกลับมาทำงานกันเยอะขึ้น  อัตราการว่างงานต่ำลง  ด้านอุปสงค์ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะปัจจุบันเราก็เห็นอยู่แล้วว่าเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นเพราะความต้องการสินค้าบริการกลับขึ้นมาเร็วกว่าทางฝั่งผู้ผลิต
  • ส่วนเรื่องการบริโภค  ของอุปโภคบริโภคนี่เป็นตัวนำเศรษฐกิจฟื้นเลย  หลักๆน่าจะมาจากการที่รัฐบาลออกนโยบายให้เงินกระตุ้น  ส่วนภาคบริการก็ฟื้นขึ้นมาอย่างเร็ว  แต่ปัจจุบัน Q2 2021 ยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอยู่ 3.3%  เชื่อว่าในอนาคตก็จะฟื้นตัวกลับไปสูงกว่าก่อนโควิด  Delta อาจจะทำให้ฟื้นช้าแต่คาดว่ายังไงก็ฟื้นแน่
  • กลุ่มธุรกิจร้านอาหารกับโรงแรม  ตอนนี้ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดแค่ประมาณ 3% เท่าน้ัน  ซึ่งถือว่าฟื้นมาเยอะมากเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่กระทบหนักจริงๆ  ตอน Q2 2020 นี่ตกไป 40%
  • ธุรกิจกลุ่มสุขภาพตอนนี้ก็ต่ำกว่าก่อนโควิดประมาณ 4.3%  หลักๆมาจากการที่คนส่วนใหญ่ถ้าไม่จำเป็นก็ยังหลีกเลี่ยงการไปหาหมอเพราะความเสี่ยงจากการติดโควิด
  • สาเหตุที่ธุรกิจบริการบางประเภทฟื้นตัวเร็วกว่า  เช่นร้านอาหารดูฟื้นตัวเร็วกว่าบริการอย่างสุขภาพ  น่าจะเป็นเพราะธุรกิจบริการบางประเภทต้องมีการวางแผนล่วงหน้า  อย่างเช่นการท่องเที่ยว, คอนเสิร์ตหรือการรักษาทางการแพทย์ที่จริงจังอย่างผ่าตัด  พวกนี้ต้องใช้เวลาซักพักถึงจะเริ่มมองเห็นการฟื้นตัว
  • การจ้างงานฟื้นตัว  แต่ดูจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด  เค้าคาดว่าการจ้างงานน่าจะฟื้นเต็มที่กลางปีหน้า  ณ ตอนนี้ Q2 2021 อัตราการจ้างงานยังต่ำกว่าก่อนโควิดอยู่ประมาณ 4.5%
  • ทั้งที่การจ้างงานจะยังไม่กลับมาเต็มที่  แต่ Real GDP ของ Q2 2021 ก็สูงกว่าที่คาด  มาจากการที่คนทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • พนักงานกำลังกลับไปทำงานในออฟฟิศ  เมื่อปีที่แล้วเค้าคาดว่าพนักงานประมาณ 40% ทำงานจากที่บ้าน  แต่ตอนนี้น่าจะเหลือประมาณ 20%  เมื่อจบเรื่องโควิดก็คาดว่าจะเหลือประมาณ 13% ซึ่งสูงกว่า 9% ช่วงก่อนโควิด
  • ส่วนที่ยังห่างไกลกับก่อนโควิดมากคือพวกการเดินทางเรื่องงาน  ธุรกิจที่พึ่งพาการเดินทางเรื่องงานก็น่าจะลำบาก  ต่อให้โควิดหายไปก็ยังไม่แน่ว่าจะฟื้นกลับมามั้ย  และในเวลานี้จากการสำรวจของ Deloitte ที่ทำกับธุรกิจใหญ่ๆคาดว่า Q2 2021 ที่ผ่านมาการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางในธุรกิจอยู่ในระดับ 10-15% ของปี 2019  คาดว่าจะกลับไปที่ 75% ภายในสิ้นปี 2022
  • สำหรับคนที่สนใจจะอ่านบทความอันนี้ของ Morningstar ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ  https://www.morningstar.com/articles/1056741/how-close-is-the-us-economy-to-normal

น่าสนใจอยู่นะ  ในแง่นึงมันก็ทำให้ผมรู้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกานี่ฟื้นมาเยอะละนะ  และการที่เห็นตัวอย่างว่าธุรกิจอย่างร้านอาหารหรือสินค้าต่างๆฟื้นก่อนบริการประเภทอื่นก็เป็นอะไรที่มีประโยชน์  เผื่อถึงเวลาของไทยฟื้นผมก็จะซื้อหุ้นกลุ่มพวกนี้ก่อน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าอเมริกาถอดหุ้นจีนออกจากตลาด แล้วเราถือหุ้นอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น ?

Delisting, what is it and what is the impact ?

ถ้าอเมริกาถอดหุ้นจีนออกจากตลาด แล้วเราถือหุ้นอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น ?

เร็วๆนี้มีคนถามเกี่ยวกับข่าวที่บอกตลาดหุ้นอเมริกาจะเอาหุ้นจีนออกจากตลาดว่ามันจะเกิดขึ้นจริงมั้ย  แล้วสมมติเกิดขึ้นแล้วเราถือหุ้นอยู่จะเกิดอะไรขึ้น

Delist นี่คืออะไร ?

การ delist นี่ก็คือแค่ไม่ให้ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นเอง  และมันเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วนะ  ตลาดหุ้นไทยก็มีหุ้นที่ออกจากตลาดเหมือนกัน  อย่างล่าสุดที่ดังๆก็มีข่าวว่าหุ้นการบินไทยจะโดนเพราะขาดทุนติดต่อกันจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ  แน่นอนตลาดหุ้นที่อเมริกาก็มีเช่นกัน  หุ้นจีนที่โดน delist ไปก่อนหน้านี้ก็เช่น Luckin Coffee ที่มีเรื่องโกหกตัวเลขยอดขาย

ทำไมอเมริกาถึงจะเอาหุ้นจีนออกจากตลาด ?

ทีนี้เรื่องที่บอกจะมีการ delist หุ้นจีนที่อยู่บนตลาดหุ้นอเมริกา  สาเหตุบางส่วนอาจจะมาจากเรื่องการเมืองที่บอกว่าบริษัทจีนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีนนู่นนี่นั่น  แต่หลักๆเข้าใจว่ามาจากการที่บริษัทจีนไม่ยอมให้หน่วยงานในสหรัฐอเมริกาตรวจสอบการตรวจสอบบัญชีของบริษัท  ซึ่งอันนี้เป็นกฎหมายในอเมริกาที่มีมาตั้งแต่หลังเรื่อง Enron  แต่บริษัทจีนไม่ยอมก็เพราะเป็นกฎหมายความมั่นคงของชาติในจีนเช่นกัน  ภายหลังเรื่องนี้ก็ยิ่งเป็นประเด็นเข้าไปใหญ่ตอนที่เจอว่า Luckin Coffee โกหกตัวเลขยอดขาย

การเอาหุ้นจีนออกจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?

เห็นในข่าวคืออีก 3 ปี  คือมันจะประมาณว่าไม่ปฏิบัติตามกฎของกลต.  โดนเตือนต่อเนื่องกัน  แล้วก็ค่อยเอาออก

แล้วถ้าเราถือหุ้นที่ถูกเอาออกจากตลาด  จะเกิดอะไรขึ้น ?

ก็คือแค่ว่าไม่สามารถซื้อขายบนตลาดหุ้นได้  เราจะยังเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทจีนนั่นอยู่  แต่แค่ว่าไม่สามารถซื้อหรือขายหุ้นจีนนั่นบนตลาดหุ้นได้ก็เท่านั้นเอง  ถ้าเกิดเราจะอยากขายขึ้นมาก็จะต้องทำแบบ Over the counter ซึ่งก็คือผ่านดีลเลอร์  สภาพคล่องก็จะน้อยกว่า  โดยรวมด้วยความสภาพคล่องน้อยก็อาจจะทำให้ราคาที่ขายได้ต่ำกว่าที่จริงๆน่าจะได้ถ้าขายผ่านตลาดหุ้น

โดยส่วนตัวผมว่าขายออกมาเถอะถ้ามันจะ delist นะ  ถือไปจน delist ก็เป็นการหาความยุ่งยากใส่ตัวนะผมว่า  ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าจะขายแบบ OTC ขึ้นมาจะต้องทำไง  แต่ทั้งนี้ไม่ได้ต้องรีบเพราะมีเวลาเหลือเฟือ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

ADR, GDR what are they ?

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

มีคนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  แล้วก็เริ่มเห็นว่าหุ้นบางทีมันจะมีคำว่า ADR หรือ GDR อยู่ด้านหลัง  ก็เลยมีคำถามว่ามันคืออะไร

พวกที่มันมี DR อยู่ข้างหลังเช่น DR, ADR, GDR พวกนี้มันคือ depository receipt ครับ

Depository receipt มันคือการที่โบรกเกอร์หรือธนาคารซื้อหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศ  แล้วเอาไปฝากไว้กับพวก custodian ผู้ดูแลทรัพย์สิน  แล้วให้ custodian ออกเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่ออกมา  แล้วโบรกเกอร์หรือธนาคารก็เอาเอกสารนั่นมาให้คนซื้อขายแทนหุ้น  ตัวเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่นั่นน่ะคือ depository receipt ครับ

การทำแบบนี้เป็นการอำนวยความสะดวกดึงเอาหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศมาให้นักลงทุนในประเทศลงทุนได้  โบรกเกอร์หรือธนาคารที่เป็นคนออก DR ก็ได้ค่าธรรมเนียมและบางทีจะมีหักปันผลที่ได้บางส่วนด้วย

ความต่างระหว่าง DR กับหุ้นจริงหลักๆคือ

  1. 1 DR อาจจะเท่ากับกี่หุ้นก็ได้แล้วแต่คนออกกำหนด
  2. ราคาของ DR กับหุ้นมันจะสอดคล้องไปในทางเดียวกัน  ส่วนใหญ่จะเท่าๆกัน  แต่ไม่จำเป็นเสมอไป 
  3. ปันผลที่ได้จาก DR อาจจะไม่เท่าหุ้นจริง
  4. การออก DR ไม่ได้ทำให้เกิด dilution เพราะจำนวนหุ้นเท่าเดิม

แต่สรุปแล้วการลงทุนใน DR มันก็เกือบจะเหมือนลงทุนในหุ้นจริงแหละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

What's the deal with the rising bond yield and inflation ?

ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

ช่วงที่ผ่านมามีคนพูดถึงข่าวเรื่องเงินเฟ้อกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่สูงขึ้นในอเมริกา  แล้วก็ด้วยเหตุผลอะไรซักอย่างจะมีผลทำให้หุ้นตก  เลยมีคนอยากให้อธิบายเรื่องนี้ว่ามันเกี่ยวกันยังไง

ก่อนจะตอบคำถามต้องบอกก่อนว่าผมก็ไม่ใช่ว่าเข้าใจทุกอย่าง  ผมอาจจะอธิบายจากมุมเศรษฐศาสตร์ได้บ้างเพราะเรียนมา  แต่บางเรื่องอย่างอารมณ์ตลาดหรือจิตวิทยานี่ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

เราเริ่มจากตัวเงินเฟ้อก่อน  เงินเฟ้อนี่หลักๆก็คือของโดยภาพรวมราคาแพงขึ้นเท่านั้นเอง  ซึ่งโดยปกติแล้วของมันจะแพงขึ้นมันก็มาได้จากสองแบบหลักๆคือ

  1. คนมีความต้องการเยอะขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น

ส่วนเรื่อง bond yield อัตราผลตอบแทนพันธบัตร  มันก็คืออัตราส่วนระหว่างดอกเบี้ยที่คงที่ซึ่งกำหนดไว้แต่แรกเทียบกับราคาของพันธบัตรใช่มะ  และในเมื่อตัวดอกเบี้ยนั่นไม่เปลี่ยนเพราะกำหนดไว้แต่แรกแล้ว  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมันก็เลยขึ้นกับราคาของพันธบัตรเป็นหลัก  ถ้าราคาพันธบัตรแพงขึ้นก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะต่ำลง  ถ้าราคาพันธบัตรต่ำลงก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะสูงขึ้น

ทีนี้อย่างกรณีของอเมริกาที่บอกเงินเฟ้อสูงขึ้น  มันก็น่าจะตรงไปตรงมาคือมาจากการที่คนมีความต้องการเยอะขึ้น  เพราะผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

พอเงินเฟ้อสูง  มันก็ไปทำให้พันธบัตรไม่น่าลงทุนเท่าไหร่  เพราะพันธบัตรผลตอบแทนมันคงที่กำหนดไว้แล้วถูกมะ  ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นราคาข้าวของสูงขึ้นกว่าที่คาด  มันก็ทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตรน้อยลงด้วยไง  คนเห็นแบบนี้ก็เลยขายพันธบัตร  พอคนขายพันธบัตรก็ทำให้ราคาพันธบัตรต่ำลงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้น

มาถึงตรงนี้  เรื่องมันก็สมเหตุสมผลดีไม่มีอะไร  แต่ต่อจากตรงนี้ว่าแล้วมันกระทบกับหุ้นทำให้หุ้นตกได้ยังไง  ก็เป็นอะไรที่ผมก็งงละ

ในเมื่อ bond yield สูงขึ้นเพราะคนไม่อยากถือพันธบัตร  คนก็ต้องเอาเงินไปทำอย่างอื่นถูกมะ  ถ้าถือเงินสดไว้เฉยๆอย่างงั้นก็ถือพันธบัตรดีกว่าเพราะเงินสดมันก็เจอเงินเฟ้ออยู่ดีไม่มีประโยชน์อะไร  คนอาจจะเอาไปซื้อทองซึ่งอดีตที่ผ่านมาถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีเพราะราคามันก็ขึ้นตามเงินเฟ้อ  หรือไม่งั้นก็ซื้อหุ้นเพราะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นฟื้นตัวหรือเงินเฟ้อสูงขึ้น  บริษัทก็จะกำไรดีขึ้นราคาหุ้นก็สูงขึ้น  เป็นการป้องกันเงินเฟ้อได้ดีขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นถ้าตามเหตุและผลแล้วสถานการณ์ในเวลานี้มันควรจะดีกับหุ้นนะ

แต่ปรากฎว่าไม่ใช่  กลายเป็นว่าหุ้นตกและคนก็ตกใจกลัวเงินเฟ้อกลัว bond yield สูงขึ้นอะไรซักอย่าง  ผมก็งงเหมือนกัน  เท่าที่อ่านดูในข่าว  ดูเหมือนเหตุผลจะเป็นเพราะคนกลัวว่าถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัว + เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างเร็วในอนาคต  จะทำให้ธนาคารกลางออกมาเพิ่มอัตราดอกเบี้ย  และเมื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้ต้นทุนการยืมเงินสูงขึ้นบริษัทยืมเงินน้อยลงและทำให้คนสนใจออมเงินเยอะขึ้นใช้จ่ายน้อยลง  บริษัทก็จะโตช้าลงและหุ้นอาจจะตก

ซึ่งผมก็ว่ามันแปลกๆนะ  เพราะธนาคารกลางก็ออกมาบอกอยู่แล้วว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย  แนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ปกติก็ไม่น่าเป็นไปได้อยู่แล้ว  ความกังวลอันนี้ก็ดูห่างไกลยังไงไม่รู้  ในขณะที่วัคซีนดูได้ผลเศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นและดีขึ้นหลังจากนั้น  ปัจจัยในระยะสั้นนี่ชี้ไปยังการฟื้นตัวและดูจะสนับสนุนการถือหุ้นมากกว่านะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ไบเดน มีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

How will Biden affect the market ?

ไบเดน มีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

เอาจริงๆก็ไม่มีใครรู้อนาคตหรอก  อย่างมากที่ผมทำได้ก็คือช่วยเดาจากที่เค้าบอกว่าจะทำเท่านั้นแหละ

อย่างในระยะสั้นนี่ก็น่าจะดีนะ  คือเค้าบอกว่าจะพยายามเร่งกระจายวัคซีนใช่มะ  ซึ่งมันก็สมควรทำแล้วและยิ่งถ้าปัญหาโควิดจบเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีกับเศรษฐกิจและดีกับตลาดหุ้น

ส่วนในระยะยาวมันก็มีนโยบายที่เค้าบอกว่าจะทำอยู่

1. เรื่องที่บอกจะเพิ่มภาษี

ในสมัย Trump สิ่งที่ทำคือลดภาษีนิติบุคคลจากสูงสุด 35% มาเหลือ 21%  Biden บอกว่าจะเพิ่มภาษี  ไม่รู้ว่าเพิ่มยังไงเท่าไหร่  แต่จะเพิ่มเท่าไหร่ก็ตามยังไงก็ต้องทำให้บริษัทกำไรน้อยลงแน่นอนอยู่แล้ว  หุ้นก็ควรจะราคาตกนะ

2. เรื่อง Healthcare

Biden พยายามจะให้ความคุ้มครองของโครงการรัฐบาล Medicare, Medicaid ไปกว้างมากขึ้น  แต่เค้าไม่ได้สนับสนุนโครงการ Medicare for all ของผู้สมัคร Democrat คนอื่น  ดังนั้นก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงถึงขั้นประกันสุขภาพเอกชนหายไป  ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่ม healthcare หรือประกันสุขภาพก็ไม่น่าจะเยอะ

3. เรื่องการค้ากับจีน

ดูเหมือนเค้าก็บอกว่าจะต้องให้จีนค้าขายแบบแฟร์นะ  เท่าที่ดูพวกกำแพงภาษีก่อนหน้านี้ก็น่าจะดำเนินต่อ  กับการจะอยู่ๆไปเปลี่ยนเป็นมิตรกับจีนไม่น่าเป็นไปได้เพราะฐานเสียงคนอเมริกาก็จะไม่ชอบ  ไม่แน่ใจว่าจะมีผลอะไรกับตลาดหุ้น

4. เรื่องสิ่งแวดล้อม

จุดยืนเค้าสนับสนุนพลังงานสะอาดชัดเจน  จะกลับเข้าไป Paris accord เรื่องโลกร้อนแล้วด้วยนี่  เค้ามีนโยบายจะไม่ให้ทำพวกการขุดน้ำมันเพิ่ม  แล้วก็ยกเลิก Keystone XL pipeline ที่ต่อท่อก๊าซจากแคนาดามาอเมริกาแล้วด้วย  โดยรวมหุ้นกลุ่มน้ำมันก็คงอนาถเร็วขึ้นแหละจากเดิมที่อนาคตก็คงอนาถอยู่แล้ว ส่วนบริษัทที่เป็นพลังงานสะอาดก็น่าจะได้รับการสนับสนุน

5. เรื่องค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

อันนี้เค้าบอกว่าจะทำแต่ไม่รู้รายละเอียดตอนนี้  โดยรวมก็จะไม่ดีกับเศรษฐกิจแหละ  เกิด inefficiency  คนที่มีงานก็ได้ประโยชน์แต่บริษัทก็จ้างคนน้อยลงแน่นอนก็แปลว่าบางส่วนซวย  โดยรวมกับตลาดหุ้นก็น่าจะทำให้บริษัทต้นทุนสูงขึ้น

เท่าที่รู้ก็ประมาณนี้ป้ะ  สรุปคือโดยรวมเราก็คงไม่มีทางรู้อย่างชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น  ผมว่ารอดูว่าเค้าทำอะไรจริงๆแล้วค่อยคิดดีกว่าว่ามีโอกาสอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ ต่างกันมั้ย ?

Differences Between Investing in Thai Stocks Versus Global Stocks

ลงทุนหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ ต่างกันมั้ย ?

มีนักเรียนผมที่เค้าขอให้พูดถึงความแตกต่างระหว่างลงทุนในหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ  ในวีดิโอนี้เราเปรียบเทียบลงทุนในหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศในประเด็นต่างๆที่คนมักจะถามครับ

1. ผลตอบแทนอันไหนดีกว่า

เรื่องผลตอบแทนนี่อาจจะตอบยากนิดนึง  เพราะมันก็มีบางประเทศที่ผลตอบแทนแย่กว่าไทย  และบางประเทศผลตอบแทนดีกว่าไทย  ถ้าดูโดยภาพรวมเราก็เปรียบเทียบผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระหว่าง MSCI ACWI (all country world index) กับ SET Total Return Index  MSCI ACWI ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.7% ต่อปี  ในขณะที่ SET Total Return Index ผลตอบแทน 0.94% เท่านั้นเอง  ซึ่งก็แปลว่าตลาดหุ้นต่างประเทศผลตอบแทนดีกว่า

แต่ทีนี้ในทางปฏิบัติเราก็คงไม่ได้ซื้อหุ้นทุกประเทศแบบ MSCI ACWI  และเวลาซื้อหุ้นไทยเราก็ไม่ได้ซื้อทั้ง SET เช่นเดียวกัน  ผมมองว่าเรื่องผลตอบแทนดีกว่าหรือเปล่านี่น่าจะแล้วแต่การตัดสินใจเลือกหุ้นของเรามากกว่า

โดยความเห็นส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศจะผลตอบแทนดีกว่าหรืออะไร  แค่รู้สึกว่าการดูหุ้นต่างประเทศไว้ด้วยทำให้เรามีทางเลือกเยอะขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมลงทุนด้วยวิธีการฉวยโอกาสหุ้นตกด้วยใช่มะ  การมีหุ้นต่างประเทศด้วยก็รู้สึกว่าทำให้มีโอกาสเยอะกว่านั่งจ้องหุ้นไทยเฉยๆนะ

2. แล้วเรื่องความเสี่ยงล่ะ

บางคนที่ถามผมเรื่องนี้จะมีภาพความรู้สึกว่าลงทุนในหุ้นต่างประเทศนี่มัน advanced กว่า  มันสำหรับโปรหรือคนที่ลงทุนชำนาญแล้วหรือคนมีประสบการณ์หลายปีหรืออะไรซักอย่าง  

ในความเป็นจริงคือมันไม่เกี่ยวครับ  หุ้นต่างประเทศไม่ได้แปลว่ามันเสี่ยงมากกว่าหรือเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นไทย  เสี่ยงหรือไม่เสี่ยงมันขึ้นอยู่กับว่าเรารู้เรื่องเกี่ยวกับบริษัทนั้นหรือเปล่ามากกว่า  ลองนึกถึงตัวอย่างง่ายๆ  คุณว่าระหว่าง Starbucks กับ PTTGC อันไหนเสี่ยงกว่ากัน  อันไหนคุณเห็นภาพเข้าใจสินค้ามากกว่ากัน  คนส่วนใหญ่ก็จะเห็นภาพและเข้าใจ Starbucks มากกว่าแหละ  เพราะมันใกล้ตัว  PTTGC นี่ผมไม่เคยเจอใครเข้าใจหรือรู้เรื่องอะไรจริงๆจังๆ  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกว่าลงทุนในหุ้นไทยที่ตัวเองไม่รู้เรื่องเลยเสี่ยงน้อยกว่าลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่ตัวเองรู้จักดี  ผมก็ไม่เข้าใจ

ดังนั้นเราควรจะสนใจว่าเราเข้าใจหรืออย่างน้อยสามารถหาข้อมูลทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทหรือธุรกิจมันได้หรือเปล่ามากกว่า  ถ้าทำได้จะหุ้นไทยหรือต่างประเทศก็โอเคทั้งคู่นี่  แต่ถ้าไม่ได้มันก็เสี่ยงหมดแหละไม่ว่าจะหุ้นไทยหรือต่างประเทศ

อีกเรื่องที่คนมักจะถามถึงเวลาพูดถึงความเสี่ยงคือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอันนี้มันก็มีผลแหละแต่มันก็มีทั้งไปในทางที่ดีหรือไปในทางที่ไม่ดีก็ได้  ไม่ได้จำเป็นว่าต้องแย่เสมอไป  และผมมองว่าสมมติลงทุนในหลายประเทศ  โดยรวมระยะยาวมันก็จะหักล้างกันไป  บางสกุลเงินที่เราถือก็จะอ่อนค่าลง  บางสกุลเงินแข็งค่าขึ้น  ขอให้เราลงทุนแล้วกำไรเยอะๆก็ใช้ได้  อย่าไปกังวลมาก

3. การหาข้อมูล

ส่วนตัวคิดว่าไม่ต่างกันนะ  คือสมมติว่าเป็นบริษัทไทยที่เราไม่คุ้นเคยกับบริษัทต่างประเทศที่เราไม่คุ้นเคย  ยังไงก็ต้องเริ่มหาข้อมูลยังไงซักอย่าง  รายงานประจำปีที่อธิบายว่าบริษัททำอะไรก็มีเหมือนกัน  หลังจากนั้นไปอ่านเกี่ยวกับคู่แข่ง, จุดเด่นหรือสถานการณ์ของอุตสาหกรรมก็ต้องทำเหมือนกันทั้งหุ้นไทยและต่างประเทศ  เวป SET ที่ใช้สำหรับหุ้นไทย  หุ้นต่างประเทศก็มีเวปอย่าง Reuters กับ Morningstar ที่มีสรุปงบการเงินเหมือนๆกัน

อย่างเดียวที่อาจจะเป็นประเด็นคือบริษัทในต่างประเทศที่ไม่มีธุรกิจในไทยเราสัมผัสจริงยากกว่า  อย่างสมมติ CPALL ร้านสะดวกซื้อ 7-11 นี่เราสามารถเข้าไปเดินๆสัมผัสได้จริง  แต่อย่างร้านสะดวกซื้อในรัสเซีย Pyaterochka งี้เราอาจจะไม่ได้สัมผัสจริงถึงแม้จะอ่านข้อมูลได้ก็ตาม  มันก็ทำให้เสียเปรียบอยู่นิดนึงตรงเรื่องนี้นะ

4. วิธีเลือกหรือตัดสินใจ

มันก็เหมือนกันกับหุ้นไทย  ถ้าคุณใช้ปัจจัยพื้นฐานก็ใช้ปัจจัยพื้นฐานแบบเดียวกันกับหุ้นต่างประเทศได้  ถ้าใครดู P/E ก็ดู P/E  ใครดูกราฟก็ดูกราฟ  ไม่เห็นว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน

5. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าธรรมเนียมการซื้อขายโดยรวมแพงกว่าหุ้นไทย  เข้าใจว่าเป็นเพราะเราลงทุนผ่านตัวกลางสองต่อ  คืออย่างผมลงทุนผ่าน SCBS ซึ่งเค้าก็ไปติดต่อกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศอีกที  ถ้าไปติดต่อเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศได้โดยตรงอาจจะถูกกว่าอันนี้ไม่เคยลอง

ภาษีปันผล  โดยรวมก็แพงกว่าเช่น US นี่ 15%, Germany 26.375%  แพงสุดที่เคยเจอคือ Switzerland 35%  แต่ที่ถูกกว่าก็มีเช่น UK นี่ 0%, ฮ่องกงที่ไม่ใช่ H-shares ก็ 0%

สรุป

สรุปคือมันก็ไม่ต่างอะไรกันขนาดนั้นหรอกครับ  เราก็ยืนยันว่าการเปิดโอกาสศึกษาหุ้นต่างประเทศเป็นเรื่องดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้ภาษาอังกฤษได้ผมว่าศึกษาไว้ก็ไม่เห็นเสียหายอะไรนี่  จะซื้อหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึงครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี