อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

Most important financial ratios

อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

มีคนถามว่าอัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด  ต้องดูอันไหนบ้าง  รู้สึกมันมีเยอะไปหมด  ในวีดิโอนี้ผมพูดถึงอันที่ผมมองว่าสำคัญสุดละกัน  โดยเราจะพูดถึงสำคัญ 3 อันดับแรกนะ  เพราะถ้าพูดถึงเยอะกว่านั้นมันก็จะปัญหาเดิมคือรู้สึกมันมีเยอะไปหมด

1. Return on Equity

อันนี้สำคัญสุดละ  เพราะอัตราส่วนนี้สื่อว่าเงินของผู้ถือหุ้นทุกๆ 100 บาทที่บริษัทเก็บไว้เอาไปทำให้เกิดกำไรได้กี่บาท  อัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะยิ่งดีเป็นธรรมดา  ตัวเลขนี้อาจจะสูงได้ด้วยการที่บริษัทจ่ายปันผลออกมาเยอะๆทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเล็กก็เป็นไปได้  กรณีแบบนั้นก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทแย่นะแค่ว่าไม่ได้แปลว่าดีมากเฉยๆ

2. Net Profit Margin

Net Profit Margin คือสื่อว่าจากทุกรายได้ 100 บาทที่บริษัททำได้  เมื่อหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเหลือกี่บาท  ตัวเลขนี้มันต่างกันแล้วแต่ลักษณะธุรกิจ  ผมให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอมากกว่า  กับดูว่ามันไม่ต่ำจนไม่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ

3. Interest Coverage

อัตราส่วนนี้มันก็อยู่ในหมวด liquidity ratio  วัตถุประสงค์คือไว้ดูว่าบริษัทน่าจะจ่ายหนี้ได้มั้ย  ที่ผมนิยมใช้คือ EBIT/Interest expense  ผมไม่นิยมใช้ EBITDA/Interest expense  สิ่งที่อัตราส่วนนี้สื่อคือกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลายเท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ก็แปลว่าน่าจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้  ก็คือเสี่ยงน้อย  ดังนั้นอัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี

สามอันนี้ส่วนตัวผมว่าสำคัญสุดครับ  ไม่ใช่บอกว่าอันอื่นไม่สำคัญนะ  แค่บอกว่าสามอันนี้สำคัญสุด  เป็นอันที่ยังไงผมต้องดูแน่ๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

Should I hold dividend stocks forever

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

ส่วนตัวผมก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาตรงไหนนะ  ควรหรือไม่นี่น่าจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์  ถ้าอยากถือยาวไปตลอดเพื่อเอาปันผลก็ทำได้ครับ

แต่ทีนี้ถึงแม้ว่าเราจะตั้งใจถือยาวไปตลอดไม่ขาย  ไม่ได้แปลว่าเราไม่ต้องคอยติดตามดูเลยนะ  เพราะหุ้นบริษัทที่เข้มแข็งทำได้ดีอยู่วันนี้ไม่ได้แปลว่ามันจะดีตลอดไป  ถึงจุดหนึ่งบริษัทอาจจะมีคู่แข่งสำคัญโผล่เข้ามาหรือเริ่มตกยุคไปเพราะมีสินค้าบริการที่ดีกว่าหรือเพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป  เราก็ต้องรู้ให้ทันเพราะเราอาจจำเป็นต้องขายออกมา

โดยรวมแล้วแนะนำว่าคอยติดตามดู

  • ปีละครั้งประมาณเดือนเมษายน  ผลประกอบการของปีก่อนทั้งปีจะออกไปแล้ว
  • ตัวธุรกิจที่บริษัททำยังทำได้ดีอยู่ใช่มั้ย
  • สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับเรื่องที่ทำให้บริษัทเข้มแข็งหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะศึกษาหุ้นซักบริษัทนึงจริงจัง ต้องดูอะไรบ้าง ?

What makes a thorough analysis of a stock ?

จะศึกษาหุ้นซักบริษัทนึงจริงจัง ต้องดูอะไรบ้าง ?

จริงๆหัวข้อนี้คือมีคนถามต่อเนื่องจากวีดิโอก่อนหน้า (https://youtu.be/uuc50G_1HZc) ที่เราพูดถึงวิธีกรองอย่างเร็ว  คนถามเค้าอยากรู้ว่าหลังจากผ่านกรองอย่างเร็วแล้วสมมติมีหุ้นที่เราสนใจคือเราต้องดูอะไรต่อ  เอาจริงๆมันก็คือหาข้อมูลพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทให้เยอะที่สุดที่เป็นไปได้แล้วก็ตัดสินใจว่าจะซื้อมั้ยหรือจะทำอะไรน่ะครับ  แต่โอเคเข้าใจว่าบางคนมือใหม่มากอาจจะไม่เห็นภาพว่ามันคืออะไรประมาณไหน  วีดิโอนี้เราจะพยายามอธิบายให้เห็นภาพครับ

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท
    • ขายอะไร
    • ขายให้ใคร
    • ขายแบบไหน
    • รูปแบบรายได้เป็นแบบไหน
    • สิ่งที่ขายมีความเด่นอะไรยังไง
    • ทำไมคนอยากซื้อของจากเจ้านี้ล่ะ
    • ความนิยมมากขึ้นหรือน้อยลง
    • ความได้เปรียบบริษัทมันอยู่ตรงไหน
    • ที่ผ่านมาผลประกอบการเป็นไง
    • ยอดขายเป็นไง
    • กำไรเป็นไง
    • เก็บเงินได้มั้ย
    • มีหนี้สินเยอะมั้ย
    • เติบโตมั้ย
    • โตจากอะไร
    • อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ
    • ทีมผู้บริหารเป็นใคร  อยู่มานานยัง
    • บริษัทมีแผนจะทำอะไรต่อ
    • ฯลฯ
  2. ทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่บริษัทแข่งอยู่
    • ธุรกิจนี้แข่งกันยังไง
    • การแข่งขันรุนแรงมั้ย
    • มีคู่แข่งเยอะมั้ย
    • บริษัทเป็นเจ้าใหญ่มั้ย
    • ส่วนแบ่งการตลาดเป็นไง
    • การเติบโตและอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆเทียบกับคู่แข่งเป็นไง
    • ธุรกิจนี้ที่ผ่านมาเป็นไง
    • ธุรกิจนี้มีธุรกิจอื่นมาแข่งอยู่ด้วยหรือเปล่า
    • ธุรกิจนี้ขึ้นลงตามเศรษฐกิจมั้ย
    • หรือขึ้นลงตามอุตสาหกรรมอื่นหรือเปล่า
    • ถูกกำกับดูแลโดยรัฐบาลหรือเปล่า
    • อนาคตน่าจะเป็นยังไงต่อ
    • ฯลฯ
  3. เมื่อทำดีที่สุดแล้ว  ก็เอาทุกอย่างมาประกอบกัน
    • สรุปเราไว้ใจบริษัทนี้มั้ย
    • เราคิดว่าอนาคตมันจะเป็นไงต่อ
    • ปัจจัยเสี่ยงหลักๆน่าจะมาจากอะไรได้บ้าง
    • แล้วด้วยราคาตอนนี้ผลตอบแทนคาดหวังดูคุ้มเสี่ยงหรือเปล่า

ไอเดียคร่าวๆก็ประมาณนี้  ไม่ได้จำกัดว่าต้องรู้เท่านี้นะ  เอาทุกอย่างที่เราคิดว่ามันสำคัญต่อการตัดสินใจของเรานั่นแหละ  ผมแนะนำว่าอย่างน้อยที่สุดเลยเริ่มจากอ่านรายงานประจำปีล่าสุด, งบไตรมาสล่าสุดก็จะช่วยเรื่องข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนแบบ VI ระยะสั้นได้มั้ย ?

Can VI be used for short term investing ?

ลงทุนแบบ VI ระยะสั้นได้มั้ย ?

ขึ้นอยู่กับว่าพูดถึงระยะสั้นขนาดไหน  แต่โดยรวมแล้วยิ่งลงทุนระยะสั้นมาก VI ก็ยิ่งไม่ได้ผล

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน  คือ VI สำหรับผมมันต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่าง

  1. มีการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหุ้น (fundamental analysis)
  2. ซื้อเมื่อเห็นว่าราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม

ถ้ามีแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่นับว่าเป็น VI  เช่นบางคนอาจจะเลือกลงทุนโดยมองที่ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น  แต่เมื่อเลือกหุ้นที่ชอบแล้วอาจจะซื้อแบบ DCA หรือ Momentum ก็ได้  แบบนี้ก็ไม่ได้เรียกว่าลงทุนแบบ VI  หรือบางคนเน้นซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำหรือราคาตกรุนแรงโดยที่ไม่ได้พิจารณาปัจจัยพื้นฐาน  แบบนี้ก็เรียกว่าลงทุนแบบ contrarian เฉยๆ  ไม่ได้เป็น VI

ทีนี้ประเด็นที่ทำให้ลงทุนแบบ VI ใช้กับระยะสั้นมากเช่นหลักวัน, สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนไม่ได้ผลเป็นเพราะว่า  โดยปกติแล้วการที่ราคาหุ้นต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมได้ตั้งแต่แรกมักจะเป็นเพราะคนในตลาดมีมุมมองเชิงลบกับหุ้นนั้นเว่อร์เกินไป  หรือไม่ก็เพราะคนในตลาดอาจจะไม่ค่อยรู้จักหุ้นนั้นมันยังไม่ดัง  ดังนั้นโดยปกติมันต้องใช้เวลากว่าคนในตลาดจะเอะใจว่าบริษัทมันดีกว่าที่คาดนี่หว่าหรือเริ่มรู้จักมากขึ้นจนราคาหุ้นสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับคุณภาพของบริษัท  บางทีใช้เวลาเป็นปีเพราะต้องรอผลประกอบการออกมาดีต่อเนื่องกว่าจะคนมั่นใจว่าดีจริง  ก็เลยเป็นเหตุให้ลงทุนระยะสั้นมากด้วยวิธี VI ก็จะไม่ค่อยได้เรื่องอะไรเท่าไหร่

แต่สำหรับคนที่จะลงทุนระยะสั้น  ผมมองว่าก็เอาบางส่วนของ VI มาใช้ก็ได้นี่  ไม่น่าจะเป็นเรื่องเสียหายตรงไหน  คือเอาการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานมาใช้  อย่างเช่นคนที่ลงทุนแบบสายเทคนิคดูกราฟเป็นหลัก  ก็ไม่เสียหายที่จะจำกัดหุ้นที่จะลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐานก่อน  คือตัดสินใจด้วยกราฟแหละแต่ใช้กับหุ้นที่พื้นฐานดีเท่านั้น  โดยรวมหุ้นที่พื้นฐานดีก็น่าจะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น  ถ้าพลาดจริงๆก็สามารถที่จะถือยาวได้เพราะบริษัทที่ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นก็จะมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆในระยะยาวอยู่แล้ว

หรือสำหรับบางคนที่คำว่าลงทุนระยะสั้นหมายถึงซักเกือบปีถึงสองปี  VI ก็ยังพอใช้การได้อยู่นะ  อย่างวิธีการลงทุนที่ผมทำอยู่คือเน้นซื้อหุ้นที่รู้จักดีอยู่แล้วว่าดีแต่ซื้อตอนคนตกใจจากปัญหาชั่วคราว  เท่าที่ทำมาถ้ามีเวลารอได้ซัก 1-2 ปีมันก็ใช้ได้อยู่นะ  ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นปัญหาชั่วคราวเช่นอย่างโควิดหรือที่ตลาดตกเพราะสงครามการค้าจีนอเมริกาหรืออะไรก็แล้วแต่ที่คนตกใจเฉยๆ  พวกนี้ไม่ได้ใช้เวลานานมากคนก็หายตกใจ  ดังนั้นถ้าสำหรับบางคนที่ระยะสั้นคือ 1-2 ปีก็ใช้ VI ได้อยู่ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

How to determine from company's qualitative aspects whether it will perform better or worse ?

ปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัท อนาคตจะดีขึ้นไปอีก หรือจะหายไป ต้องดูยังไง ?

ก็เป็นคำถามที่ดีแหละ  แต่ในความเป็นจริงคือต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่มีกฎอะไรตายตัวหรือค่าตัวเลขอะไรซักอย่างที่แค่ดูตัวเลขนี้แล้วบอกได้  เพราะสถานการณ์ของบริษัทแต่ละบริษัทหรือธุรกิจแต่ละประเภทมันมีความหลากหลายและต่างกันเยอะเกินกว่าที่จะมีเกณฑ์ตายตัวได้  วีดิโอนี้เราพยายามอธิบายเรียบเรียงความคิดละกันว่าถ้าเป็นเราจะดูอะไรยังไงบ้าง

ขั้นตอนแรกสุดเลยคือ  เราต้องเห็นภาพก่อนว่าบริษัทมันมีความได้เปรียบเพราะว่าอะไรตั้งแต่แรก  อันนี้สำคัญมากจริงเพราะถ้าไม่รู้ประเด็นนี้คือจบละ  เราไม่มีทางบอกได้ว่าบริษัทจะดีขึ้นหรือแย่ลงแน่นอน  โดยทั่วไปสิ่งที่ควรทำคือถามก่อนเลยว่า “มีเหตุผลอะไรที่คนต้องซื้อของจากบริษัทนี้ ?”  มันมีสินค้าบริการที่แตกต่างออกไปเหรอ  ต่างยังไง  ความต่างนั่นมันสำคัญเพราะอะไร  ทำไมไม่มีใครทำเลียนแบบล่ะ  หรือที่ต้องซื้อเพราะมันทำอยู่เจ้าเดียวเหรอ  ทำไมมันทำอยู่เจ้าเดียวได้ล่ะ  ทำไมไม่มีคนอื่นมาทำแข่ง  เรื่องตรงนี้เป็นอะไรที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจแหละ  ไม่มีทางลัด

เมื่อเราเข้าใจที่มาของความได้เปรียบแล้ว  สิ่งที่เราพยายามทำคือมองดูว่าความได้เปรียบตรงนั้นมันเข้มแข็งขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม  หลักๆก็คือสังเกตไอตรงเหตุที่มันทำให้บริษัทได้เปรียบนั่นแหละ  ถ้าเป็นเรื่องสินค้าบริการที่แตกต่างก็ต้องคอยดูว่ามันยังแตกต่างอยู่  ถ้าเป็นเรื่องขายอยู่เจ้าเดียวก็ต้องคอยดูว่ามันยังจะขายอยู่เจ้าเดียวอยู่ต่อไปมั้ย

ส่วนใหญ่ระหว่างเข้มแข็งมากขึ้น, เท่าเดิมกับเข้มแข็งน้อยลง  ที่มันจะมีปัญหากับเราคือกรณีที่มันเข้มแข็งน้อยลงมากกว่า  อาจจะเริ่มจากถามคำถามว่า “ถ้าไม่ซื้อของจากบริษัทนี้  มีทางเลือกอื่นอะไรบ้าง ?”  ทางเลือกอื่นเหล่านั้นมันดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมั้ย  หรือทางเลือกอื่นที่ว่านี่ก็ยังดูสู้ไม่ได้ทิ้งห่างเหมือนเดิม

นอกเหนือจากนี้ก็มีตัวเลขที่ควรสังเกตอื่นๆที่ช่วยบ่งชี้ได้เช่น  ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาด (ถ้ามีก็ช่วยได้  แต่บางบริษัทก็หาตัวเลขนี่ไม่ได้), Profit margin  โดยเฉพาะ Gross profit margin กับ Operating profit margin  แย่สุดคือแกว่งรุนแรง  และน่าสงสัยถ้าเห็นว่ามันบีบลงเรื่อยๆ, Customer retention  และอัตราส่วนอื่นๆที่บ่งชี้ว่าลูกค้าชอบบริษัท  ตัวเลขพวกนี้ช่วยได้  แต่จุดบอดของการพึ่งพาตัวเลขพวกนี้อย่างเดียวคือกว่าจะเห็นสัญญาณปัญหาก็คือปัญหาเริ่มเกิดไปซะละ

มาถึงตรงนี้คุณน่าจะสังเกตได้แล้วแหละว่าการจะสังเกตเรื่องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  มันจะได้เปรียบมากถ้าเราคุ้นเคยกับสินค้าหรือบริการนั้นๆน่ะแหละ  อ่านบทความบนเน็ตมันก็ช่วยอ่ะนะ  แต่ไม่มีทางสู้คนใช้จริงที่ใกล้ชิดสินค้าบริการนั้นๆแน่นอน  ดังนั้นก็เลยเป็นเหตุผลที่เค้าย้ำกันนักหนาว่าลงทุนในบริษัทที่เราชอบและเห็นภาพดีกว่าครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนแนว VI ควรถือยาวแค่ไหน ?

How long is a VI holding period ?

ลงทุนแนว VI ควรถือยาวแค่ไหน ?

มีคนสงสัยว่าปกติแล้วผมถือหุ้นยาวนานขนาดไหน  หรือจริงๆที่ว่าลงทุนระยะยาวนี่คือมันควรจะถือยาวขนาดไหน  แล้วสมมติถ้าเค้าอยากถือหุ้นระยะยาวมากเกิน 10 ปีเลยได้มั้ย  ผมรวมคำถามมาตอบครับ

 

1. VI นี่มันควรถือยาวขนาดไหน ?

ผมไม่คิดว่ามันมีกฎตายตัวและไม่น่าจะมีคำว่าควรหรือไม่ควรนะ  โดยรวมแล้วการลงทุนระยะยาวมันก็คือลงทุนโดยหวังผลในระยะยาวแหละ  ดังนั้นโดยทั่วไปมันก็จะถือหุ้นกันเป็นปี  แต่ทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เหตุผลที่เราซื้อหุ้นนั้นมาตั้งแต่แรก

สมมติเราซื้อมาเพราะเราต้องการปันผล  เรามองว่าบริษท dividend yield มันดีและน่าจะมีกำไรและจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ  แบบนี้จะถือยาวไปเรื่อยก็ถูกต้องแล้ว

หรือสมมติซื้อมาเพราะตั้งใจจะขายเมื่อราคากลับมาอยู่สภาพปกติ  เช่นเรามองว่าตอนนี้ราคาหุ้นมันตกต่ำเว่อร์เกินไปอาจจะเพราะปัญหาชั่วคราว  จริงๆด้วยคุณภาพธุรกิจบริษัทน่าจะทำได้ดีและขึ้นราคามันน่าจะฟื้นกลับขึ้นมา  แบบนี้ก็ขายเมื่อมันฟื้นกลับมา  ซึ่งอาจจะ 1 ปี หรือ 5 ปีก็แล้วแต่

2. แล้วปกติวิธีที่ผมใช้นี่ถือยาวแค่ไหน ?

ไม่เคยเก็บสถิติจริง  แต่คาดว่าอยู่ประมาณ 3 ปีครับ

มันมีทั้งเคสที่ซื้อมาเพราะเหตุการณ์ชั่วคราวแต่ไม่ได้ชอบธุรกิจเท่าไหร่แล้วพอเหตุการณ์หายไปผมก็ขาย  อันนี้บางที 1-2 ปีหรือน้อยกว่าปีก็มี  หรือพวกที่กะถือไปยาวโลดเพราะผมชอบธุรกิจแล้วก็มีความมั่นใจว่ามันทำได้ดีมากอย่างต่อเนื่องก็มี

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ความแตกต่างระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า”

What's the difference between value and price ?

ความแตกต่างระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า”

สำหรับคนที่ลงทุนสายพื้นฐานหลักการคือเราพยายามซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันใช่มั้ยครับ  ทีนี้ผมพบว่าบางทีก็มีคนสับสนระหว่างคำว่าราคากับมูลค่า  เพราะโดยทั่วไปแล้วคำสองคำนี้มันใช้คล้ายๆกันและหลายครั้งมักจะเป็นเลขเดียวกันด้วย

นึกภาพว่าราคาคือเงินที่เราต้องจ่ายไปเพื่อซื้อของ  ส่วนมูลค่าคือประโยชน์ที่เราได้รับจากของนั้น  ซึ่งสองอย่างนี้มันก็ไม่เหมือนกันถูกมะ  ลองดูตัวอย่างง่ายๆ

สมมติมีคนขาย iPhone 12 ราคา 15,000 บาท (ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากแบบไม่มีอยู่จริงเพราะตอนที่พูดวีดิโอนี้อยู่มันยังไม่ออก)  มันก็จะมีทั้งคนซื้อและคนไม่ซื้อ

  • คนที่เป็นสาวก Apple ก็จะว้าวมาก  ปกติ iPhone รุ่นใหม่เค้าก็พร้อมจะซื้อราคาเกิน 20,000 บาทอยู่แล้ว  เค้ารู้สึกว่า iPhone มันปลอดภัย, คุณภาพสูง, ฯลฯ  ดังนั้นเค้าซื้อทันทีเพราะรู้สึกราคาถูกมาก
  • ส่วนบางคนที่ไม่ชอบ iOS  คือยังไงก็ไม่อยากใช้  รู้สึกว่า App อะไรก็ต้องเสียเงิน, ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นก็ยาก, ฯลฯ  ประโยชน์ที่ได้รับจาก iPhone 12 สำหรับคนกลุ่มนี้อาจจะแค่ 10,000 บาทดังนั้นที่ราคา 15,000 บาทเค้าก็จะไม่ซื้อเพราะรู้สึกว่าแพงอยู่

สิ่งที่อยากให้สังเกตคือ

  1. คนเราจะซื้ออะไรก็ต่อเมื่อเรารู้สึกว่าประโยชน์ที่เราจะได้รับจากของนั้นสูงกว่าราคาเท่านั้น
  2. ของแต่ละอย่างก็มีมูลค่ากับแต่ละคนไม่เท่ากัน
  3. ราคากับมูลค่าเป็นคนละอย่างกัน  แต่มักจะไปในทิศทางเดียวกัน
  4. สำคัญที่สุดเลยคือราคาที่สูงขึ้นหรือต่ำลง  ไม่ได้มีผลต่อมูลค่า

ทีนี้ในบริบทของหุ้น

มูลค่าของหุ้นก็คือประโยชน์ที่เราได้รับจากหุ้นนั้น  พูดง่ายๆก็คือปันผลที่เราจะได้รับในอนาคตกับราคาขายที่เราจะได้รับในอนาคตในกรณีที่เราตัดสินใจจะขาย  ซึ่งพอดีมันไม่เหมือนสินค้าปกติเพราะเราไม่รู้อย่างชัดเจนว่ามันจะเป็นเท่าไหร่  มันมีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยว  ดังนั้นมูลค่าของหุ้นในสายตาของคนแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน

ส่วนราคาหุ้นก็คือราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อซื้อหุ้นนั้น  ถ้ามองในรายละเอียดราคาหุ้นในขณะหนึ่งเป็นเท่าไหร่ก็มาจากความต้องการซื้อขายของคนในตลาดในเวลานั้น  ซึ่งก็มาจากการตีความมูลค่าของหุ้นเฉลี่ยของคนทั้งตลาดโดยรวม  ถ้าตลาดโดยรวมมองว่าราคาหุ้นตอนนี้ต่ำกว่ามูลค่าก็จะมีคนอยากเข้าไปซื้อหุ้นมากกว่าขายทำให้ราคามันสูงขึ้นมาจนมันพอๆกัน  ถ้าตลาดโดยรวมมองว่าราคาหุ้นตอนนี้สูงกว่ามูลค่าก็จะมีคนอยากขายหุ้นมากกว่าซื้อทำให้ราคามันต่ำลงจนมันพอๆกัน

ทีนี้ที่สายพื้นฐานบอกว่าให้ซื้อหุ้นเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันคือเค้ากำลังสื่อว่าอนาคตจริงๆก็ไม่มีใครรู้  ดังนั้นการตีความมูลค่าขอหุ้นโดยเฉลี่ยของคนทั้งตลาดก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกต้อง บางทีคนทั้งตลาดโดยรวมก็ตีความมูลค่าของหุ้นพลาดต่ำกว่าหรือสูงกว่าความเป็นจริงคลาดเคลื่อนไปเยอะได้  ให้เราฉวยโอกาสซื้อในเวลาที่มันคลาดเคลื่อนไปทางต่ำกว่าความเป็นจริงเยอะ  ถ้าทำได้ตามนั้นเราก็จะกำไร  แต่จะทำแบบนั้นได้ผลก็คือเราต้องตีความมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ถูกต้องและแม่นยำกว่าตลาดโดยรวมเท่านั้นนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ที่บอกต้องเข้าใจธุรกิจ สรุปนี่คือต้องรู้ประมาณไหน ?

How much do you need to understand a business to invest well ?

ที่บอกต้องเข้าใจธุรกิจ สรุปนี่คือต้องรู้ประมาณไหน ?

โอเคอันนี้ก็เป็นคำถามที่ดี  ที่ผ่านผมก็ไม่เคยพูดให้ชัดเจนว่าที่บอกสิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจธุรกิจนี่มันคือต้องรู้เรื่องอะไรนะ

เอาจริงๆคือยิ่งเข้าใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีแหละ  ถ้าเราเข้าใจเหมือนคน inside ในอุตสาหกรรมนั้นเลยก็ยิ่งยอดเยี่ยม  แต่ทีนี้วีดิโอนี้ผมพูดถึงขั้นต่ำที่สุดที่ต้องรู้ละกันนะ

ไอเดียหลักคือ  เราต้องการจะรู้ว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า  จริงๆสุดท้ายเราต้องการรู้เพื่อให้ได้ข้อสรุปแค่นี้แหละ  แม้แต่ที่ผมเคยบอกว่าธุรกิจกลุ่มดีหรือแย่วัดกันที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภคก็คือต้องการจะดูว่าบริษัทจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า  ดังนั้นองค์ประกอบหลักที่เรายังไงก็ต้องรู้

  1. บริษัทนี่สรุปเค้าขายอะไร  ขายยังไง
  2. คนซื้อเป็นใคร  ซื้อไปทำอะไร  ตัดสินใจซื้อจากอะไร
  3. มีเหตุผลอะไรมั้ยที่คนต้องมาซื้อจากบริษัท  มีหลักฐานอะไรมั้ยว่าคนชอบสินค้าบริษัทมากกว่า  หรือบริษัททำได้ดีกว่าคู่แข่ง
  4. สภาพของอุตสาหกรรมโดยรวมเป็นไงบ้าง  มีเรื่องอะไรที่จะมีผลต่อบริษัทได้บ้าง
  5. บริษัทเร็วๆนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและกำลังวางแผนจะทำอะไรอยู่

หลักๆที่นึกออกก็ประมาณนี้  ที่เหลือคือมันจะไปยากตอนทำจริงละว่าจะหาข้อมูลได้ขนาดไหน  ถึงได้บอกว่าถ้าเป็นไปได้ลงทุนในธุรกิจที่เราคุ้นเคยและเห็นภาพจะดีกว่าเพราะเราได้เปรียบในการทำความเข้าใจน่ะครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

What counts as "opportunity" ?

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

วิธีลงทุนที่ผมใช้คือซื้อกิจการที่ยอดเยี่ยมและซื้อมันให้ได้ในราคาถูกโดยอาศัยการฉวยโอกาสจากเวลาที่คนตกใจใช่มั้ยครับ  ทีนี้ก็มีนักเรียนที่ถามว่าอย่าง KTC ที่ราคาตกอย่างรวดเร็วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เรียกว่าเป็น “โอกาส” มั้ย  หรือมันต้องยังไงถึงจะเรียกว่า “โอกาส”

เอาง่ายๆละกันนะ  เวลาที่หุ้นบริษัทที่เราชอบมันราคาตกลงมาพอสมควรมันก็เรียกว่า “โอกาส” หมดแหละ  เราสมควรจะไปดูในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น  แล้วเราจะซื้อหรือเปล่านี่ก็อีกเรื่องนะ  ไม่ใช่ว่าทุก “โอกาส” ที่เกิดขึ้นเราจะซื้อหมดนี่

บางคนก็ถามต่อว่าที่บอกราคาตกพอสมควรนี่มันคือต้องตกขนาดไหน ?  มันก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรขนาดนั้นนะคือเอาที่คุณว่ามันตกเยอะมากระดับนึงที่จะทำให้คุณสนใจไปดูน่ะ  ส่วนตัวผมก็ตั้งคร่าวๆไว้ว่าตกซัก 15% จะเรียกว่าน่าสนใจ

แล้วที่ว่าดูในรายละเอียดนี่หลักๆแล้วก็คือดูสาระสำคัญและถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้

  1. ไปดูว่าเรื่องที่ทำให้ราคาหุ้นตกนี่มันเรื่องอะไร
    1. มีผลกระทบกับผลประกอบการจริงหรือเปล่า
    2. ถ้ามี  มีไปตลอดมั้ย
    3. ถ้าไม่ได้มีไปตลอด  บริษัทจะรอดจากเหตุการณ์นี้หรือเปล่า
  2. บริษัทน่าจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า
  3. ด้วยราคานี้เราพร้อมจะเสี่ยงลงทุนในบริษัทนี้มั้ย
  4. คิดเผื่อไว้ด้วยว่า  
    1. สถานการณ์ที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นคืออะไร  ต้องคอยสังเกตอะไร
    2. ถ้าต้องถือหุ้นบริษัทนี้ยาวไป 3-5 ปี  สบายใจที่จะถือมั้ย

หลักการมันก็มีง่ายๆแค่นี้แหละ  โฟกัสไปที่ตัวธุรกิจของบริษัทแล้วก็เลิกถามคำถามระยะสั้นที่ยังไงมันก็ไม่มีทางรู้เช่นราคามันจะตกลงไปอีกมั้ยหรือซื้อแล้วราคามันจะขึ้นมั้ย  ความยากมันก็จะอยู่ในรายละเอียดที่เราต้องไปหาข้อมูลมากกว่าละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

Holding period is forever ?

ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

เร็วๆนี้มีคนถามว่าเราควรจะถือหุ้นยาวไปตลอดแบบไม่ขายเลยมั้ย  เพราะเค้าเคยได้ยินว่า Warren Buffett บอกว่า “our favorite holding period is forever”

คำตอบของผมคือจะทำแบบนั้นก็ได้  แต่จริงๆแล้วไม่ได้จำเป็น

เอาเรื่อง Warren Buffett ก่อน  เพราะแต่ก่อนผมก็เคยงงจากคำพูดอันนี้ของเค้าเหมือนกัน

  1. จริงๆแล้ว Warren Buffett มีการขายหุ้น
  2. Warren Buffett เคยออกมาอธิบายแล้วว่าบริษัท Berkshire Hathaway ไม่ได้บอกว่าจะต้องถือหุ้นตลอดไป  เค้าแค่บอกว่าไม่มีความคิดที่จะขายบริษัทที่ทำได้ดีและลังเลมากที่จะขายบริษัทที่ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ตราบใดที่เค้าคาดว่ามันจะอย่างน้อยสามารถที่จะสร้างกระแสเงินสดได้อยู่

  3. คน US มี Capital Gain tax  แต่คนไทยไม่มี
  4. สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ Warren Buffett ไม่นิยมขายหุ้นผมคิดว่าเป็นเพราะมันโดนภาษี  ซึ่งสูงถึง 15-20%  ดังนั้นถ้าไม่ใช่ว่าดูแล้วขายออกมาเอาไปลงทุนในอย่างอื่นคุ้มกว่ากันมากจริงๆ  มันก็ไม่คุ้มที่จะขายออกมาตราบใดที่บริษัทยังทำได้พอใช้ได้

    แต่ประเทศไทยไม่มี Capital Gain tax  ดังนั้นมันก็จะคุ้มถ้าขายออกมาแล้วสามารถเอาเงินไปลงทุนในอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า  ดีกว่าแค่นิดเดียวก็ดีกว่าละเพราะตอนขายเราไม่เสียอะไร

 

ดังนั้นในมุมมองผมการจะถือยาวๆไปเลยมันก็เป็นเรื่องดี  ถ้า

  1. บริษัทยังทำได้ดีอยู่  เราก็ไม่รู้จะขายออกมาทำไมให้พลาดโอกาส
  2. เราขี้เกียจหาโอกาสอื่น

 

แต่ก็อย่างที่บอกว่าไม่ได้จำเป็นต้องถือยาวไปตลอดถ้า

  1. บริษัทดูมีแววจะทำได้เลวร้ายลง
  2. เห็นโอกาสอื่นที่คิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าถือต่อพอสมควร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses