อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

Most important financial ratios

อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

มีคนถามว่าอัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด  ต้องดูอันไหนบ้าง  รู้สึกมันมีเยอะไปหมด  ในวีดิโอนี้ผมพูดถึงอันที่ผมมองว่าสำคัญสุดละกัน  โดยเราจะพูดถึงสำคัญ 3 อันดับแรกนะ  เพราะถ้าพูดถึงเยอะกว่านั้นมันก็จะปัญหาเดิมคือรู้สึกมันมีเยอะไปหมด

1. Return on Equity

อันนี้สำคัญสุดละ  เพราะอัตราส่วนนี้สื่อว่าเงินของผู้ถือหุ้นทุกๆ 100 บาทที่บริษัทเก็บไว้เอาไปทำให้เกิดกำไรได้กี่บาท  อัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะยิ่งดีเป็นธรรมดา  ตัวเลขนี้อาจจะสูงได้ด้วยการที่บริษัทจ่ายปันผลออกมาเยอะๆทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเล็กก็เป็นไปได้  กรณีแบบนั้นก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทแย่นะแค่ว่าไม่ได้แปลว่าดีมากเฉยๆ

2. Net Profit Margin

Net Profit Margin คือสื่อว่าจากทุกรายได้ 100 บาทที่บริษัททำได้  เมื่อหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเหลือกี่บาท  ตัวเลขนี้มันต่างกันแล้วแต่ลักษณะธุรกิจ  ผมให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอมากกว่า  กับดูว่ามันไม่ต่ำจนไม่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ

3. Interest Coverage

อัตราส่วนนี้มันก็อยู่ในหมวด liquidity ratio  วัตถุประสงค์คือไว้ดูว่าบริษัทน่าจะจ่ายหนี้ได้มั้ย  ที่ผมนิยมใช้คือ EBIT/Interest expense  ผมไม่นิยมใช้ EBITDA/Interest expense  สิ่งที่อัตราส่วนนี้สื่อคือกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลายเท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ก็แปลว่าน่าจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้  ก็คือเสี่ยงน้อย  ดังนั้นอัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี

สามอันนี้ส่วนตัวผมว่าสำคัญสุดครับ  ไม่ใช่บอกว่าอันอื่นไม่สำคัญนะ  แค่บอกว่าสามอันนี้สำคัญสุด  เป็นอันที่ยังไงผมต้องดูแน่ๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

Does increase in retained earnings translate to increase in cash ?

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

มีคนมีความสงสัยเกี่ยวกับรายการบนงบการเงินตัว “กำไรสะสม”  เค้าถามว่ากำไรสะสมนี่คืออยู่ในรูปเงินสดใช่มั้ย

คำตอบคือไม่ใช่นะครับ  เพื่อความเข้าใจวีดิโอนี้ผมขยายความด้วยการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนบัญชีงบดุลให้ดูนะ

 

สมมติสถานการณ์ไล่ไปดังนี้

1. เริ่มต้นมาเราทำธุรกิจอะไรซักอย่างด้วยเงินทุน 100 บาท

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่ามีเงินสด 100 บาทโผล่ขึ้นมาเป็นทรัพย์สิน  และบันทึก 100 บาทในฝั่งส่วนของเจ้าของว่าเป็นเงินลงทุน 100 บาท

2. เราเอาเงิน 100 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 100 บาทหายไปละ  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 100 บาท

3. ขายสินค้าไปในราคา 120 บาท  สมมติว่าลูกค้าติดเงินเราไว้ก่อน

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าสินค้าคงเหลือ 100 บาทก็หายไปละ  แล้วมีลูกหนี้การค้า 120 บาทโผล่ขึ้นมา  ส่วนต่าง 20 บาทที่เพิ่มขึ้นมานับเป็นกำไรดังนั้นก็บันทึกตรงส่วนของเจ้าของว่ามีกำไรสะสมโผล่ขึ้นมา 20 บาท  จะเห็นว่าตรงนี้มีกำไรสะสมเกิดขึ้นละนะ  แต่มันก็ไม่ได้อยู่ในรูปเงินสดถูกมะ  ตอนนี้ยังอยู่ในรูปลูกหนี้การค้าอยู่เพราะคนยังไม่จ่ายเงินเรา

4. ลูกค้าเอาเงิน 120 บาทมาจ่าย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าลูกหนี้การค้า 120 บาทหายไปละ  แทนที่ด้วยเงินสด 120 บาท  ตอนนี้กำไรสะสม 20 บาทนั่นก็อยู่ในรูปเงินสดแล้วใช่มะ

5. เราเอาเงิน 110 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 110 บาทหายไป  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 110 บาท  กำไรสะสมก็ 20 บาทเหมือนเดิมถูกมะ  แต่เปลี่ยนรูปไปอีกละส่วนนึงยังเป็นเงินสดอยู่ 10 บาทกับอีกส่วนนึงอยู่ในรูปของสินค้าคงเหลือ 10 บาท

6.เราจ่ายเงิน 10 บาทออกมาเป็นปันผลให้ตัวเอง

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 10 บาทหายไป  และกำไรสะสมก็หายไป 10 บาท  เพราะในเมื่อจ่ายปันผลออกมาแล้วก็ไม่ใช่สะสมแล้ว

 

นึกภาพออกมั้ยครับ  ในบริษัทของจริงมันก็จะมีธุรกรรมเยอะแยะไปหมดดังนั้นกำไรสะสมนั่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ในรูปเงินสดเลยครับ  และเวลาเราเห็นบนงบการเงินว่าบริษัทมีกำไรสะสม X บาท  ไม่ได้แปลว่าบริษัทมีเงิน X บาทอยู่ในมือในเวลานั้น  อาจจะมี 0 บาทเลยก็ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

Book recommend: book on financial statements

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

เรื่องนี้เอาจริงๆผมก็ไม่รู้เหมือนกัน  คือพอดีผมเรียนตรงสายก็เลยเรียนพื้นฐานบัญชีกับพวกงบการเงินมาตั้งแต่ป.ตรี  แล้วก็มาสอบ CFA ซึ่ง CFA 1, 2 ก็มีเรื่องบัญชี  มันเลยเหมือนอ่านและเรียนหลายครั้งจาหนังสือหลายเล่ม

หลักๆแล้วผมมองว่าความเข้าใจที่เราต้องมีก็คือเรื่องหลักการบันทึกบัญชีเบื้องต้น  เข้าใจงบหลักอย่างงบกำไรขาดทุน, งบแสดงสถานะทางการเงินแล้วก็งบกระแสเงินสด  เข้าใจว่ามันสื่ออะไร  โครงมันเป็นยังไง  รู้จักรายการหลักๆบนนั้น  เข้าใจว่างบการเงินแต่ละเรื่องมันสัมพันธ์กันยังไง  แล้วก็เข้าใจความหมายของอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ  ประมาณนี้ก็น่าจะใช้ได้ละ

หนังสือที่ผมเคยอ่านหรือคิดว่าเคยอ่านก็จะมี

  • ซีรี่ส์ For Dummies  จำไม่ได้ว่าเล่มไหน  น่าจะ Accounting for Dummies นะ  แต่อ่านเล่มที่ชื่อ Financial Accounting for Dummies น่าจะตรงประเด็นกว่า

  • Warren Buffett and the Interpretation of Financial Statements  เล่มนี้ก็เคยอ่านแน่นอน  แต่เล่มนี้ไม่ใช่พื้นฐานบัญชีนะ  ถ้าจำไม่ผิดมันสำหรับคนเข้าใจบ้างอยู่แล้ว  หนังสือเค้า Highlight รายการที่สำคัญแล้วพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินเพิ่มเติม

  • เล่มที่เป็นการ์ตูนที่จำได้จะมีของ Tactschool  คือเล่มนี้มาอ่านตอนหลังมากก็เลยรู้อยู่แล้วทั้งหมด  จำไม่ได้เลยว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง  แต่จำได้ว่าดีนะ  เคยซื้อเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่ๆที่ทำงาน  ดังนั้นก็เลยคิดว่าดี

  • นอกนั้นที่เหลือจะเป็นหนังสือเรียนตอนป.ตรีกับหนังสือของ CFA 1 ละ

ประมาณนี้แหละครับ  ส่วนใครที่ถามเกี่ยวกับหนังสือเล่มอื่นๆว่าดีมั้ยนู่นนี่  คือผมไม่เคยอ่านดังนั้นผมไม่รู้และไม่มีความเห็นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อ้าว กลายเป็นว่าผลประกอบการไม่ค่อยมีผลกับราคาหุ้น ?

Myth-Busting: Earnings Don’t Matter Much for Stock Returns

อ้าว กลายเป็นว่าผลประกอบการไม่ค่อยมีผลกับราคาหุ้น ?

อันนี้เป็นบทความของเวป CFA ที่ผมไปอ่านเจอมา  เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับผมเพราะเนื้อหามันขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานที่สุดของผมเลย

หลักการในการลงทุนที่ผมใช้คือซื้อบริษัทที่ดีและพยายามซื้อมันให้ได้ตอนที่มันราคาถูกใช่มะ  วิธีการนี้ความเชื่อพื้นฐานของมันก็คือเชื่อว่าถ้าบริษัทผลประกอบการดีขึ้นในอนาคตราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นด้วย  และดังนั้นวิธีการลงทุนนี้มันถึงจะได้ผล

แต่บทความนี้เค้ากำลังจะบอกว่า Earnings ซึ่งคือผลประกอบการของบริษัท  Doesn’t matter much ไม่ได้มีผลเท่าไหร่  for stock returns ต่อผลตอบแทนของหุ้น

บทความนี้เขียนโดย Nicolas Rabener  ผมอ่านเจอบนเวปของ CFA ซึ่งผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/03/22/myth-busting-earnings-dont-matter-much-for-stock-returns/

ในบทความเค้าพบว่า

  • ถ้าเราเอาเฉลี่ย 5 ปีผลตอบแทนของหุ้น US กับเฉลี่ย 5 ปีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของหุ้น US  ย้อนไปตั้งแต่ปี 1904 ถึง 2020 มาเปรียบเทียบกัน  เราจะพบว่ามันขยับไปในทิศทางเดียวกันอยู่ช่วงหนึ่ง  แต่ก็มีช่วงที่ดูไม่เกี่ยวกัน  correlation แค่ 0.2 เท่านั้น  และไม่ว่าเราจะเปลี่ยนเป็นเฉลี่ย 10 ปีหรือ 1 ปี  หรือเราจะดู real return  สิ่งที่เจอก็คือความเกี่ยวข้องกันมันน้อยมากในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

  • ที่ดูไม่เกี่ยวกันเป็นเพราะนักลงทุนมองอนาคตหรือเปล่า  ตัวเลขอดีตก็เลยไม่ค่อยเกี่ยวมั้ย
  • เค้าก้เลยลองเปลี่ยนมาใช้อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคตแทน  คือไม่ใช้ย้อนหลัง 5 ปีละ  ใช้ไปข้างหน้า 12 เดือนแทน  สมมติว่านักลงทุนสามารถเดาการเติบโตของกำไรได้ถูกต้องแน่นอน  แต่ผลก็คล้ายเดิมคือดูไม่ค่อยเกี่ยวกัน  ยกเว้นช่วงที่อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคตจะต่ำมากเท่านั้นที่ราคาหุ้นในตลาดลดลง  นอกนั้นดูไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย

  • อีกเรื่องที่เค้าลองดูคือดูความสัมพันธ์ระหว่าง P/E กับอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคต  โดยคอนเซปต์คือหุ้น P/E สูงคือหุ้นที่คนเชื่อว่าจะดีก็เลยให้ราคาสูง  สิ่งที่เจอคือไม่เกี่ยวอีกเช่นกัน  ดูเหมือน P/E ที่สูงไม่ได้แปลว่าอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิใน 12 เดือนข้างหน้าจะดี

สุดท้ายคนเขียนเค้าก็ตั้งคำถามว่า  ทำไมผลประกอบการดูไม่เกี่ยวกับราคาหุ้นเลยล่ะ  เดาว่าเป็นเพราะคนในตลาดหุ้นไม่ได้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ  ดูเหมือนตลาดหุ้นจะเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่า  ปัจจุบันเราเห็นหลักฐานเช่นนักลงทุนแห่เข้าไปซื้อหุ้น Gamestop  หรือนักลงทุนบางกลุ่มใช้วิธีลงทุนแบบโมเมนตัมซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับผลประกอบการเลย  ผู้เขียนจึงสรุปว่าเราอาาจะไม่สามารถพูดได้ว่าราคาหุ้นขึ้นหรือลงเพราะผลประกอบการของบริษัท

เป็นบทความที่น่าสนใจอยู่นะ  ผมงงเพราะพอดีมันไม่ตรงกับประสบการณ์ส่วนตัวผมเลย  เพราะที่ผ่านมาผมก็เห็นว่าบริษัทที่ทำได้แย่ลงเรื่อยๆระยะยาวราคามันก็ต่ำลงเรื่อยๆจริง  และบริษัทที่ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นระยะยาวมันก็สูงขึ้นเรื่อยๆจริง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

จริงๆมันก็ไม่ได้มีประเด็นอะไรมากนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายทีละทำวีดิโอตอบซะหน่อย

ทุนจดทะเบียนคือจำนวนเงินทุนที่จดทะเบียนเอาไว้ในเอกสารตามกฎหมายน่ะครับ  คิดซะว่ามันเป็นขออนุญาตเอาไว้  จะออกจริงตามจำนวนนั้นหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึง

ส่วนทุนที่ออกชำระแล้วคือที่ออกมาจริงแล้ว  บริษัทได้รับเงินจากผู้ถือหุ้นแล้ว  หุ้นอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นแล้ว  ซึ่งก็คือจะเท่ากับหรือน้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้ก็ได้

เวลาคิดกำไรต่อหุ้น  จำนวนหุ้นที่เราจะใช้ก็คืออิงทุนที่ออกและชำระแล้ว  ทุนจดทะเบียนไม่เกี่ยว

เอาจริงๆในทางปฏิบัติทุนจดทะเบียนผมก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรนะ  สมมติจะออกหุ้นเกินที่จดทะเบียนไว้ก็สามารถทำได้ขอแค่ให้ผู้ถือหุ้นเห็นชอบเท่านั้นเอง

ในบางประเทศเค้าไม่ต้องมีเรื่องจดทะเบียนไว้เท่าไหร่แล้วด้วยซ้ำ  เช่นหุ้นในออสเตรเลียหรืออังกฤษ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ความได้เปรียบในการแข่งขันของแต่ละธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน

Changes of competitive advanvantage vary by industries

ความได้เปรียบในการแข่งขันของแต่ละธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน

อันนี้เป็นบทความที่ผมว่าน่าสนใจ  เขียนโดย Derek Horstmeyer, Ano Glonti และ Brian Peirce  สิ่งที่เค้าพยายามทำคือดูว่าความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทในแต่ละธุรกิจนี่มันเปลี่ยนแปลงเหมือนกันมั้ย  อุตสาหกรรมไหนที่บริษัทสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันเร็วสุดหรือช้าสุด  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจอ่าน  https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/03/01/how-long-does-competitive-advantage-last-a-sector-analysis/

เนื่องจากการไปวัดความได้เปรียบในการแข่งขันมันอาจจะวัดตรงๆยาก  เค้าก็เลยดูการเปลี่ยนแปลงของ margin แทน  ถ้าเมื่อเวลาผ่านไปบริษัทสูญเสียความได้เปรียบเราก็น่าจะเห็น margin มันเล็กลง  คนทำเค้าตัดสินใจเทียบ Gross margin, Operating margin, EBT margin และ Net profit margin นับจากปีที่ IPO ซึ่งเค้ามองว่าน่าจะเป็นช่วงที่บริษัททำได้ดีที่สุดเทียบกับ 9 ปีต่อมาว่าเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง  และนี่คือผลลัพธ์ที่เค้าเจอ  ตัวเลขที่เห็นนี่คือเป็น Median ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยนะ

ผมว่าน่าสนใจเลยนะ  เพราะบางกลุ่มธุรกิจเราก็เห็นว่า margin มันแย่ลงจริงเพราะการแข่งขันหรืออะไรก็แล้วแต่  แต่บางกลุ่มธุรกิจนี่ margin ดีขึ้นก็มี  อย่าง Software นี่ไม่ใช่แค่ดีขึ้นเฉยๆแต่ดูเหมือนดีขึ้นเยอะด้วยนะ  ซึ่งอันนี้ก็พอเข้าใจได้  แต่อย่างกลุ่มเคมีนี่ผมแปลกใจ  เพราะเข้าใจมาตลอดว่ามันน่าจะแข่งกันรุนแรงและเจ้าไหนก็น่าจะเหมือนๆกัน  แต่กลายเป็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ margin ดีขึ้นเหมือนกัน  ส่วนกลุ่มที่ดูแย่อย่าง Biotechnology นี่ผมก็แปลกใจเช่นกัน  เข้าใจมาตลอดว่ามันเป็นธุรกิจที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองก็น่าจะ margin ดีหรืออย่างน้อยคงที่  นึกว่ามันก็น่าจะคล้ายๆกับกลุ่มผลิตยา Drug manufacturer ซึ่งก็ดูคงที่กว่าเยอะนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เราจะมีวิธีประเมินคุณภาพผู้บริหารอย่างไร ?

How to evaluate management quality?

เราจะมีวิธีประเมินคุณภาพผู้บริหารอย่างไร ?

มีคนถามว่าเรื่องตัวผู้บริหารเราจะมีวิธีการประเมินว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร  อันนี้ก็เป็นคำถามที่ดีและต้องบอกว่าเรื่องนี้ผมก็ไม่ได้ถนัดเพราะที่ผ่านมาไม่ได้เน้นมาก  แต่จะพยายามให้ไอเดียจากสิ่งที่ปกติผมทำหรือจากที่ได้ยินว่าคนอื่นทำละกัน  เริ่มจากที่ผมทำก่อน

  1. โครงการหรือสิ่งที่เคยบอกว่าจะทำสุดท้ายได้ทำมั้ย
  2. วิธีการก็ไม่ยากคือไปอ่านรายงานประจำปีฉบับเก่าๆย้อนหลังไป  แต่เอาที่มันเป็นผู้บริหารคนเดียวกันนะ  แล้วก็ดูว่าในเวลานั้นเค้ามีโครงการทำอะไรหรือมีการซื้อกิจการอะไรพวกนี้หรือเปล่า  แล้วก็มาเทียบกับปัจจุบันว่าเป็นไงบ้างแผนหรือโครงการนั้นยังอยู่มั้ยทำได้ดีหรือเปล่า  หรือว่าอยู่ๆก็เลิกพูดถึงหายไปเฉยๆ

    ส่วนตัวนี่ผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าทุกอย่างที่ทำจะประสบความสำเร็จนะ  แต่คาดหวังให้มีการลงมือทำตามที่พูดและมีการสื่อสาร  ถ้าสุดท้ายซื้อกิจการมาแล้วไม่เวิร์คหรืออะไรผมก็อยากได้ยินเค้าพูดถึงว่าทำไมไม่ใช่แบบหายเงียบไป

  3. เวลาผลประกอบการออกมาไม่ดี  เค้าพยายามไม่พูดถึงหรือพยายามให้ฟังดูดีหรือเปล่า
  4. อันนี้ปกติถ้าเป็นหุ้นอเมริกาหรือยุโรปจะทำง่ายพิเศษเพราะหลายบริษัทจะมีคล้าย opportunity day ดังนั้นเราจะมีโอกาสฟังว่าเค้าอธิบายยังไง  เวลาผลประกอบการดีทุกคนก็พูดคล้ายๆกันไม่มีอะไร  แต่เวลาที่ผลประกอบการแย่ลงนี่จะทำให้เราเห็นชัดขึ้น

    หลักๆคือเราเข้าใจว่าบริษัทมันก็มีปัญหาได้เป็นระยะแหละไม่ใช่เรื่องแปลก  สิ่งที่เราต้องการจากผู้บริหารคือสื่อสารให้ตรงไม่หลบหรืออ้อมค้อมและอธิบายตัวปัญหาอย่างละเอียด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นปัญหาสำคัญอย่างโควิด  เป็นไปได้เราต้องการจะรู้ว่า worst case เลยบริษัทจะยังรอดได้นานเท่าไหร่  ซึ่งตรงนี้หลายบริษัทก็ไม่พูดขยายความ

ส่วนอันนี้คือเป็นสิ่งที่คนอื่นทำแล้วผมได้ยินมาอีกที

  1. รวมกลุ่มเข้าไปคุยกับผู้บริหารเลย
  2. อันนี้ก็มีคนทำแน่  แต่ผมไม่เคยทำนะ  วิธีนี้ก็น่าจะเข้าท่าเพราะมีโอกาสเจอตัว, ถามคำถามแล้วฟังเค้าตอบ

  3. ดูพวกเรื่องเงินเดือนค่าตอบแทนอื่นๆ
  4. หลักๆก็คือดูว่ามันเยอะหรือเปล่าโดยอาจจะเทียบกับผู้บริหารบริษัทที่มันคล้ายๆกัน  ถ้าเป็นไปได้เราอยากจะรู้ว่ารายได้ที่ไม่ใช่รายได้คงที่อย่างโบนัสหรือ stock option อะไรพวกนี้กติกาคืออะไรเกณฑ์ที่จะวัดผลงานว่าได้หรือไม่ได้นี่คือยังไง

    ถ้าให้ดีก็คือเราอยากจะเห็นกติกาที่มันทำให้ตัวผลตอบแทนดีก็ต่อเมื่อบริษัททำได้ดีด้วยและแย่ถ้าผลประกอบการของบริษัทแย่

    ตัวพวก stock option หรือให้หุ้นแนวๆนี้นี่ถ้าเป็นไปได้ควรจะดูว่ามันจำนวนหุ้นเท่าไหร่  คิดเป็นกี่ % ของหุ้นทั้งหมด

  5. มีเอื้อประโยชน์กับญาติพี่น้องหรือเปล่า
  6. ดูตรงส่วนที่เค้าแจกแจงรายการที่ทำกับธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกัน  ดูอันที่มันเป็นจำนวนเงินเยอะๆว่าคืออะไรแล้วมันดูเว่อร์ไปป่าว

    อีกอย่างที่มีคนเสนอให้ดูคือดูว่าคนที่เป็นกรรมการบริษัทกับทีมผู้บริหารนี่ครอบครัวเพื่อนสนิทกันทั้งนั้นเลยหรือเปล่า  ถ้าใช่ก็มีความเสี่ยงละ  บางทีเราก็ต้องสงสัยว่าคนพวกนี้มีฝีมือจริงมั้ยหรือมีตำแหน่งอยู่เพราะเป็นญาติกันเฉยๆ  แล้วคนที่เป็นกรรมการบริษัทคอยดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นซี้กับผู้บริหารนี่มันดีสำหรับผู้ถือหุ้นหรือเปล่า

  7. เอาชื่อไป Google ดูว่าเคยมีข่าวทุจริตหรืออะไรมั้ย
  8. ถ้าเคยมีหรือบริษัทที่ผ่านมาเละทุกบริษัทนี่ก็สยองนิดนึงละ

เท่าที่ผมรู้ก็ประมาณนี้แหละ  ยากอยู่นะเรื่องการจะตัดสินว่าผู้บริหารดีหรือไม่ดีเนี่ย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ยกตัวอย่าง บริษัทดูดีแต่ไม่ดีจริง

Examples of Seemingly Good companies, But Are Not Really Good

ยกตัวอย่าง บริษัทดูดีแต่ไม่ดีจริง

มีนักเรียนที่เค้าอยากให้ยกตัวอย่างกรณีบริษัทที่เหมือนจะดีแต่ไม่ดีจริง  ซึ่งผมเข้าใจว่าเค้ากำลังถามถึงกรณีที่บริษัทตัวเลขผลประกอบการออกมาดีแต่ตัวบริษัทไม่ได้เป็นบริษัทที่เข้มแข็งและดังนั้นในภายหลังผลประกอบการก็แย่ลง  วันนี้เรามาพูดถึงกรณีแบบนั้นกันว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง

โดยภาพรวมแล้ว  การดูตัวเลขผลประกอบการย้อนหลังหลายๆปีว่าทำได้ดีสม่ำเสมอหรือเปล่ามันก็ตัดบริษัทกลุ่มแย่ออกไปได้เยอะแหละ  เพราะบริษัทกลุ่มแย่ส่วนใหญ่ผลประกอบการก็จะแกว่งรุนแรงไม่สม่ำเสมอ  แต่ทีนี้การพึ่งพาตัวเลขผลประกอบการเฉยๆแล้วสรุปบางทีเราก็โดนหลอกได้  จากประสบการณ์ผมแล้วก็จะมีกรณีต่างๆดังต่อไปนี้

1. งบการเงินหลอก

อันนี้ก็ตรงไปตรงมา  นานๆทีมันก็มีกรณีที่บริษัทเค้าจงใจโกหกแต่งงบบัญชี  รายงานรายได้สูงเกินจริงมั่ง  หรือจัดหมวดค่าใช้จ่ายให้ยังไม่รับรู้บ้าง  กรณีพวกนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย  แต่ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้การดูตัวเลขผลประกอบการเฉยๆว่าดูดีแล้วอาจจะผิดพลาดได้

ตัวอย่าง case ก็พวกที่เป็นข่าวดังอยู่ก่อนหน้านี้เช่น  Luckin Coffee, Wirecare, Lookers, ฯลฯ

2. บริษัทที่บังเอิญสินค้าได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง

ในบางครั้งมันก็จะมีบริษัทที่สินค้าจู่ๆคนนิยมขึ้นมาแต่แล้วซักพักความนิยมหายไปคนเลิกเห่อก็จบ  กรณีแบบนี้บริษัทก็ขายดีจริง  แต่ปัญหาคือมันเป็นความนิยมแค่วูบเดียว  ส่วนใหญ่พวกนี้มักจะเจอกับหุ้นที่เป็นแฟชั่น

ตัวอย่างก็เช่น Beauty Community, Crocs, ฯลฯ

3. บริษัทโชคดีอยู่ในธุรกิจที่โตพอดี

กลุ่มนี้เจอบ่อยสุด  ในบางครั้งเราก็จะเจอบริษัทที่ดูทำได้ดีมากต่อเนื่องกันหลายปี  โดยที่จริงๆแล้วก็อาจจะไม่ได้เป็นบริษัทที่เก่งอะไรเป็นพิเศษแค่ว่าโชคดีอยู่ในอุตสาหกรรมหรือสถานการณ์ที่เติบโตพอดีก็เป็นไปได้

ตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นหุ้นที่ทำคอนโดในไทย  ช่วงหลายปีที่ผ่านมาตอนคอนโดบูม  บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ทำคอนโดก็ดูดีหมดน่ะครับ  แน่นอนว่าก็จะมีบางบริษัทที่ทำได้ดีกว่าเพื่อนและเก่งจริงแหละ  และมันก็จะมีที่ไม่ค่อยเก่งปนอยู่ด้วยผมเชื่อ  แต่ในเวลาที่ทุกคนโตเหมือนกันหมดมันก็จะดูไม่ค่อยออกแยกแยะลำบาก

ตัวอย่างเช่นหุ้นกลุ่มธนาคารในจีน  ถ้าเราไปดูงบการเงินย้อนหลังจะพบว่าธนาคารในจีนเกือบทั้งหมดดูทำได้ดีมากทั้งหมด  อันนี้แปลว่าธนาคารในจีนเก่งมากทุกธนาคารเหรอ  ก็ไม่น่าเป็นไปได้ป้ะ  แต่ที่ดูทำได้ดีมากทั้งหมดก็เป็นเพราะประเทศจีนโดยรวมหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเติบโตดีขึ้นน่ะครับ  ถ้าเวลาผ่านไปถึงจุดหนึ่ง  ยังไงก็ต้องมีผู้ชนะหรือแพ้โผล่มาแน่นอน  ต้องมีบางธนาคารที่ทำได้ดีต่อไปและบางธนาคารที่เจ๊ง  แต่ในเวลาที่ประเทศยังโตอย่างเร็วอยู่มันก็จะดูไม่ค่อยออก

หรืออีกตัวอย่างนึงก็เช่น  กลุ่มบริษัทที่ให้บริการขนส่งแบบรถบรรทุกหรือพวก Less-Than-Truckload ในอเมริกาที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของการขายสินค้า online อย่างเช่น Knight-Swift Transportation, Schneider National, Old Dominion Freight Line, ฯลฯ  พวกนี้ก็จะดูผลประกอบการดีหมดเหมือนกันในช่วงที่ผ่านมา  ทั้งที่บริการหลักๆคือการเอารถบรรทุกวิ่งส่งของซึ่งยังไงก็มีการแข่งขันกันสูงและแข่งกันด้วยราคาเป็นหลัก

สรุป

ที่คุยไปนี่ก็คือตัวอย่างกรณีที่เราอาจจะเจอบริษัทที่เหมือนจะดีแต่ไม่ดีจริง  อาจจะแค่โชคดีเฉยๆและอาจจะไม่ได้ยั่งยืนเท่าไหร่  ดังนั้นการตัดสินว่าบริษัทดีแน่นอนจากการแค่ดูงบการเงินเฉยๆมันถึงไม่เวิร์คไง  คนเค้าถึงบอกว่าให้พยายามทำความเข้าใจบริษัทเพื่อจะได้ชัวร์ว่ามันเป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบจริงๆน่ะครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิธีกะหุ้น ถูก แพง : ง่ายสุดที่คิดออกละ!

Approximate a Stock's Value : Easiest Way I Can Think Of!

วิธีกะหุ้น ถูก แพง : ง่ายสุดที่คิดออกละ!

ผมเจอคนถามหลายทีละเรื่องวิธีการคำนวณมูลค่าดูว่าหุ้นถูกหรือแพง  และพอตอบไปด้วย Discounted Dividend ปุ๊บก็ดูเหมือนหลายคนแทนที่จะดูว้าวกลายเป็นดูซึมไป  วันนี้เลยลองหาวิธีแบบง่ายสุดๆเท่าที่นึกออกมาครับ

ไอเดียคือมันเป็นวิธีการที่บอกว่าถูกหรือแพงแบบคร่าวมาก  เหมือนแทนที่จะบอกว่าคนอ้วนหรือผอมโดยการวัดน้ำหนักเราก็ใช้กะเอาด้วยสายตาแทน  ซึ่งมันก็จะแม่นยำน้อยกว่าแน่นอนและใช้ได้ในกรณีที่มันถูกหรือแพงไปอย่างชัดเจน แต่ข้อดีคือมันง่าย

ผมเสนอให้เริ่มจากดูอัตราส่วนผลตอบแทนกำไรต่อหุ้นที่บริษัททำได้เทียบกับราคาที่เราซื้อ  ซึ่งก็คือส่วนกลับของ p/e น่ะแหละ อย่างเช่นสมมติ p/e 20 เท่าก็จะเท่ากับ e/p ที่ 5% หรือถ้า p/e 17 เท่าก็จะเท่ากับ e/p 5.88%  พอทำตัวเลขออกมาเป็น % ผลตอบแทนแบบนี้มันก็จะดูง่ายกว่า

ตรงนี้อาจจะดูอัตราปันผลตอบแทน (dividend yield) ด้วยก็ได้แล้วแต่คน

แล้วต่อมาก็ดูอัตราการเติบโตของกำไรกับความสม่ำเสมอของมัน  เทียบเอาแบบง่ายๆบนเวป SET ก็ได้ครับ

สุดท้ายก็คือเทียบกับผลตอบแทนอย่างอื่นที่เราหาได้ว่าแบบนี้มันน่าจะเรียกว่าถูกหรือแพง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

อ่านงบบัญชีอย่างเดียว โดยไม่ศึกษาธุรกิจได้มั้ย ??

Can we rely solely on financial statements, without any understanding of business characteristics ??

อ่านงบบัญชีอย่างเดียว โดยไม่ศึกษาธุรกิจได้มั้ย ??

โดยปกติผมจะบอกว่าเวลาเรามองธุรกิจที่ยอดเยี่ยมให้ดูที่ลักษณะธุรกิจที่เค้าทำแล้วพยายามทำความเข้าใจว่าบริษัทนั้นมีอำนาจในการบังคับผู้บริโภคหรือเปล่าก่อน  หลังจากคิดว่าบริษัทนั้นมีอำนาจแล้วค่อยไปดูผลการดำเนินงานอีกทีว่ามันสอดคล้องกับสิ่งที่เราคิดมั้ย ซึ่งถ้ามันเป็นธุรกิจที่ยอดเยี่ยมจริงมันจะต้องผ่านทั้งสองเรื่องแหละ  เพราะธุรกิจที่มีอำนาจบังคับผู้บริโภคได้ก็จะทำกำไรได้ดีด้วย

แต่ทีนี้มีคนถามว่าเค้าไม่ถนัดการดูลักษณะธุรกิจ  สมมติใช้วิธีดูงบการเงินอย่างเดียว เช่นดูเทรนด์ของรายได้กับกำไรย้อนหลัง 10 ปีแทนการดูลักษณะธุรกิจเลยได้มั้ย  เพราะยังไงธุรกิจที่ดีมันก็ต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีอยู่แล้วนี่ เราก็ดูตัวเลขไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ  ต้องชมคนถามจริงๆ

ตอบตามตรงเลยคือถ้าเปิดดูงบการเงินเพื่อใช้กรองดูว่าน่าสนใจจะไปศึกษาจริงจังต่อมั้ยอันนี้ผมว่าโอเคไม่มีปัญหา  แต่ถ้าสมมติจะซื้อหุ้นเลยโดยที่ไม่ทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจให้ดีก่อนผมแนะนำว่าอย่าดีกว่าครับ เพราะผมก็เคยทำแบบนั้นมาก่อนเหมือนกันครับ   แต่ผมพบว่าทำแบบนั้นมันยังมีช่องโหว่ทำให้เกิดความพลาดได้อยู่ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

  1. บริษัทอาจจะไม่มีอำนาจ  แต่ช่วงที่ผ่านมาบังเอิญเป็นช่วงอุตสาหกรรมนั้นบูมพอดี

เราอาจจะโดนหลอกได้  อันนี้เป็นอะไรที่ไม่ได้เจอบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดูย้อนหลัง 10 ปี  แต่ก็เป็นไปได้อยู่นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2009-2018) มันเป็นช่วงฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจดังนั้นหลายบริษัทก็จะดูเป็นทิศทางขาขึ้น

ตัวอย่างเช่น Trucking ในอเมริกาตอนนี้ดูดีมากทุกบริษัทเพราะ E-Commerce บูม

หรืออย่างกลุ่มธนาคารในจีนก็จะดูดีมาก  เพราะช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโต ธนาคารไหนก็ดูดี

  1. ธุรกิจบางประเภทจะถูกตัดออกไปเพราะตัวเลขอัตราส่วนทางบัญชีดูไม่ดี  หรือบางบริษัทก็จะดูดีมากทั้งที่มันก็ธรรมดาในธุรกิจประเภทนั้น

ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของธุรกิจที่ต่างกันจะทำให้ตัวเลขอัตราส่วนทางบัญชีบางตัวต่างกันมาก  เอาง่ายๆอย่าง Net Profit Margin ที่ต่ำไม่ได้แปลว่ามันจะต้องไม่ดีเสมอไป อย่าง Makro อยู่ 3%  หรือ Costco อยู่ 1% พวกนี้ธุรกิจเข้มแข็งมากแทบไม่มีคู่แข่งที่ทำแบบเดียวกัน

ธุรกิจธนาคารก็เป็นอีกตัวที่ต่างมาก  ROE ธนาคารมันสูงกว่าธุรกิจอื่นดังนั้นจะดูดีมาก  แต่ถ้าดูพวกอัตราส่วนเกี่ยวกับหนี้ก็จะบอกว่าบริษัทบ้าอะไรเสี่ยงมาก  ROA ก็จะต่ำมากโดยปกติเกิน 1% ก็เยี่ยมละ

  1. บางบริษัทที่มีอำนาจผลประกอบการขึ้นลงเพราะใหญ่จัด

บางบริษัทที่เข้มแข็งมากก็มีผลประกอบการแกว่งขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ  อย่าง Thor

  1. และที่เลวร้ายสุดเลยคือเจอบริษัทที่ทำงบบัญชีหลอก

สุดท้ายบริษัทมันก็โดนจับได้แหละ  แต่เราอาจจะโดนหลอกไปก่อนแล้ว

ผมเคยเจอบริษัทในอินเดียที่ผลประกอบการดูดีมาก  เป็นทิศทางเติบโตสม่ำเสมอ แต่ที่เอะใจคือมันเป็นบริษัทขายข้าว  ซึ่งในหัวผมคือมันเป็นไปไม่ได้เลยที่มันจะสม่ำเสมอขนาดนี้ในเมื่อเราก็รู้อยู่ว่าสินค้าเกษตรราคาเปลี่ยนแปลงทุกปีผลผลิตเปลี่ยนแปลงทุกปี  บริษัทมันจะสม่ำเสมออะไรขนาดนั้น ก็เลยไม่ได้ซื้อหรือดูต่อ แล้วผ่านไปซักพักก็ได้ข่าวบริษัทนี้ผู้บริหารโดนจับครับ

 

ดังนั้นกล่าวโดยสรุปคือผมแนะนำว่ายังไงก็ต้องดูพิจารณาตัวธุรกิจครับ  คือถ้าจะกรองหยาบๆด้วยการเปิดงบการเงินย้อนหลังดูนี่ผมโอเคนะ ไม่มีปัญหาเลยทำตามสบาย  แต่เหนื่อยหน่อยเพราะถ้าเริ่มด้วยการดูงบการเงินมันก็จะกลายเป็นว่าต้องเปิดดูทุกตัวใช่มั้ยครับ  แทนที่จะเป็นเริ่มจากธุรกิจที่เราคิดว่าน่าสนใจมีอำนาจแล้วค่อยไปดูงบการเงินคอนเฟิร์มเฉพาะตัวที่เราสนใจ  แต่ถ้าจะตัดสินใจซื้อหุ้นเลยแบบเอาเงินจริงไปลงทุนในบริษัทเลยแต่ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจนี่ผมไม่เห็นด้วยครับ  เคยทำละครับไม่เวิร์คครับ เตือนด้วยความหวังดี

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg