งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

What is Statement of Changes in Stockholders Equity

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

บางทีจะมีคนถามถึงงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นว่าสำคัญมั้ย  ทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน

ที่คนไม่ได้พูดถึงกันเยอะเป็นเพราะมันไม่ได้เป็นงบการเงินหลักน่ะครับ  อย่างบางบริษัทถ้าไม่ใช่งบปีเค้าไม่รายงานงบอันนี้ด้วยซ้ำ

วัตถุประสงค์หลักของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือตามชื่อมันน่ะครับ  คือมันแจกแจงรายการต่างๆในส่วนของผู้ถือหุ้น  รายการพวกที่เราเห็นบนงบดุลนั่นแหละ  แล้วก็บอกว่าที่ตัวเลขของแต่ละรายการมันเปลี่ยนแปลงไปมันเปลี่ยนเพราะเรื่องอะไร

ส่วนใหญ่ผมก็ไม่ได้สนใจดูเท่าไหร่  ที่เคยดูแล้วมีประโยชน์ก็จะมีตอนที่่ผมเห็นตัวเลขทุนเรือนหุ้นออกชำระแล้วมันเปลี่ยนไป  ผมก็จะอยากรู้ว่ามันเพราะอะไรเหรอ  ออกหุ้นใหม่หรือเปล่า  ถ้ามาดูตรงนี้ปกติมันก็จะบอกอยู่ว่าเปลี่ยนจากอะไรออกหุ้นใหม่หรือเป็นการปันผลเป็นหุ้นหรือเพราะอะไร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

Essentials of Cash Flow Statement

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

งบกระแสเงินสดวัตถุประสงค์หลักก็คืออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับเงินสดบ้าง  เพิ่มหรือลดลงเพราะอะไร  ซึ่งสำคัญแหละเพราะสุดท้ายบริษัทดำเนินธุรกิจไปก็ต้องมีกระแสเงินสดเป็นบวกนะไม่งั้นก็เจ๊ง

หน้าตาการรายงานงบกระแสเงินสดมันจะมีแบบ direct กับ indirect method ซึ่งมันจะนำเสนอต่างกันตรงกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน  เท่าที่เห็นมาเจอแต่ indirect method  เคยได้ยินว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมเตรียมแบบ indirect method เพราะทำได้ง่ายกว่า  แต่ไม่ได้ซีเรียสอะไรเพราะมันแค่การนำเสนอเฉยๆ  ยังไงตัวกระแสเงินสดก็ต้องออกมาเท่ากันอยู่ดี

งบกระแสเงินสดจะมีรายการหลักๆเรียงตามนี้

1. ส่วนแรกจะเป็นกระแสเงินสดที่เกี่ยวกับกิจกรรมดำเนินงาน

  • เริ่มต้นจากกำไรสุทธิ  บางทีก็จะเห็นเริ่มต้นจากกำไรจากการดำเนินงาน  อันนี้ก็เอามาจากงบกำไรขาดทุนตรงๆ
  •  

  • ปรับรายการด้วยรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด
  • รายการแถวนี้ก็จะเยอะไปหมด  ใหญ่ๆก็มักจะเป็นค่าเสื่อมกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในธุรกิจ  มันจะมีบางอันที่ทำการกลับรายการเพื่อจะไปบันทึกในหมวดอื่น  เช่นอย่างค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  เค้าจะไปบันทึกเงินสดที่จ่ายไปจริงอีกที

     

  • กระแสเงินสดสุทธิที่ได้จากกิจกรรมดำเนินงาน
  • รายการนี้ก็คือสรุปสุดท้ายว่าดำเนินธุรกิจไปนี่สรุปกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง  โดยปกติแล้วสิ่งที่เราต้องการคือมันควรจะไปในทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุน  ไม่ใช่เลขต้องเท่ากันนะ  แต่มันต้องไปทางเดียวกัน

2. ส่วนที่สองจะเป็นหมวดกิจกรรมการลงทุน

  • รายได้หรือเงินที่จ่ายไปสำหรับการลงทุน
  • บางทีก็เป็นเงินลงทุนระยะสั้น, ระยะยาวหรือลงทุนในธุรกิจร่วมอะไรก็แล้วแต่
     

  • ลงทุนในที่ดิน, อาคารและอุปกรณ์
  • อันนี้คือที่ปกติเค้าเรียกว่า CAPEX ซึ่งย่อจาก capital expenditure ครับ  มันคือเงินลงทุนที่บริษัทใช้ไปเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหญ่ๆเพื่อมาขยายธุรกิจ  ถ้าสมมติเป็นธุรกิจที่ต้องมีลงทุนในใบอนุญาตหรือซื้อสัมปทานรายการมันจะชื่อสอดคล้องกับธุรกิจครับ  และอันนั้นก็เรียกว่าเป็น CAPEX เหมือนกัน
     

  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

3. ส่วนที่สามคือหมวดกิจกรรมจัดหาเงิน

  • ดอกเบี้ยจ่าย
  • เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
  • เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ที่ยืมมา
  • จ่ายปันผล
  • เงินสดรับจากการออกหุ้นใหม่
  • เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหุ้นคืน
  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

Income Statement essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

ต่อจากวีดิโอที่แล้ว  เราุพูดถึงรายการหลักๆบนงบการเงิน  โดยอันนี้เราจะดูงบกำไรขาดทุน

วัตถุประสงค์หลักของงบกำไรขาดทุนคือบอกเราว่าสรุปบริษัททำธุรกิจมานี่กำไรมั้ยเท่าไหร่  หรือว่าขาดทุน

รายการหลักๆที่เราจะเห็นบ่อยเรียงไปเลยก็จะมี

  • รายได้…
  • รายการนี้ก็คือรายได้ที่บริษัททำได้น่ะแหละ  ในหมายเหตุประกอบงบการเงินมันจะมีเกณฑ์การรับรู้รายได้อยู่  สมควรอ่าน

  • ต้นทุน…
  • อันนี้อย่างที่เคยอธิบายในวีดิโออื่น  มันคือต้นทุนตรงที่ให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ

  • กำไรขั้นต้น
  • อันนี้คือรายได้ที่หักต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  โดยปกติสิ่งที่ผมจะมองคือมันสม่ำเสมอหรือเปล่า  บริษัททั่วไปก็จะค่อนข้างสม่ำเสมอนะ  ถ้าไม่นี่ก็จะเริ่มน่ากลัวละ  ในกรณีที่เป็นบริษัทในหมวดสินค้าเดียวกัน  การเปรียบเทียบอัตราส่วนกำไรขั้นต้นก็จะช่วยให้เราเห็นภาพว่าบริษัทไหนขายของได้แพงกว่ากันหรือน่าจะมีอำนาจในการตั้งราคามากกว่ากัน

  • ค่าใช้จ่าย…
  • พวกนี้ก็คือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่ต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  เช่นค่าโฆษณา  คำเรียกสามัญเค้าจะเรียกว่า SG&A (Selling, general and administrative expenses)

  • ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย
  • โดยทั่วไปมักจะรวมอยู่ในรายการอื่น  บางส่วนอยู่กับต้นทุนบางส่วนกับค่าใช้จ่าย  ถ้าสมมติต้องการตัวเลขค่าเสื่อมและตัดจำหน่ายก็ดูในงบกระแสเงินสดหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้

  • กำไรจากการดำเนินงาน
  • รายการนี้ปกติเราก็จะนิยมเอาตั้งหารด้วยรายได้  จะได้ operating profit margin ซึ่งปกติผมจะคอยดูว่าทำได้สม่ำเสมอหรือเปล่า  ส่วนเรื่องสูงหรือต่ำนี่มันแล้วแต่อุตสาหกรรมมากๆ

  • ต้นทุนการเงิน
  • รายการนี้ก็แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี  ส่วนใหญ่ก็ดูเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานหรือรายได้ก็ได้

  • ภาษี
  • กำไรสุทธิ
  • ตรงแถวนี้ก็คือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นละ  บางทีจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เค้าก็จะเขียนแยกออกมา

  • กำไรต่อหุ้น
  • มันจะมีแบบขั้นพื้นฐานกับปรับลด  ขั้นพื้นฐานก็คือกำไรหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกชำระแล้วอยู่ในปัจจุบัน  ส่วนปรับลดคือหารด้วยจำนวนหุ้นที่เผื่อสมมติว่ามีการใช้สิทธิพวกหลักทรัพย์ที่มีสิทธิแปลงเป็นหุ้นทั้งหลาย

  • กำไรเบ็ดเสร็จ
  • กำไรเบ็ดเสร็จนี่คือกำไรสุทธิที่รวมพวกรายการที่ยังไม่เกิดแต่อาจจะเกิดขึ้นเข้าไปด้วย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

Balance Sheet essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

มีคนขอให้ทำวีดิโออธิบายรายการหลักๆบนงบการเงิน  เราเริ่มจากงบดุลก่อนละกัน

งบดุลหรืองบแสดงสถานะทางการเงิน  วัตถุประสงค์หลักคือบอกว่าบริษัทมีสินทรัพย์อะไรอยู่และสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นของใครบ้าง

รายการหลักๆที่เป็นสาระสำคัญก็จะมีดังนี้

เริ่มจากฝั่งสินทรัพย์ก่อน

หมวดแรกที่จะโผล่มาก่อนเสมอก็จะเป็นพวกสินทรัพย์หมุนเวียน  คำว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคือหมายถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง  เป็นเงินสดหรืออะไรที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วโดยไม่เสียมูลค่าเยอะ  รายการที่จะเห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด  เงินลงทุนชั่วคราว  เงินลงทุนระยะสั้น
  • อันนี้ก็ได้แก่พวกเงินสดในบัญชีและรายการอื่นๆที่สภาพคล่องสูงมากจนใกล้เคียงเงินสด  โดยรวมแล้วรายการพวกนี้ดูไว้ให้รู้ว่าสมมติมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นบริษัทมีเงินไปจ่ายเท่าไหร่

  • ลูกหนี้การค้า
  • อันนี้คือลูกค้าที่ยังติดเงินเราอยู่  โดยปกติเราควรสังเกตว่าลูกหนี้การค้าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับยอดขาย

  • สินค้าคงเหลือ
  • อันนี้รวมทั้งพวกวัตถุดิบที่กำลังจะมาผลิตเป็นสินค้า, สินค้าที่ผลิตแล้วพร้อมขาย, ของอยู่ระหว่างการผลิตหรือของที่ซื้อมาแล้วพร้อมขาย  รายการนี้กับบางธุรกิจตัวเลขที่แสดงอยู่บนงบการเงินอาจจะไม่ตรงกับมูลค่าจริงๆของมันเท่าไหร่  ปกติเค้าจะบันทึกตามต้นทุนที่ซื้อมาแหละ  แต่บางธุรกิจเช่นสมมติแฟชั่นงี้  บางทีของที่เหลืออยู่มันอาจจะตกยุคไปแล้ว  มูลค่าขายจริงได้ต่ำกว่าที่บันทึกอยู่มากๆก็เป็นไปได้  ในทางกลับกันสมมติเป็นบริษัทก่อสร้าง  สินค้าคงเหลืออาจจะมูลค่าตรงมากก็ได้  รายการนี้เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้าคือเราคอยดูว่ามันขยับไปทางเดียวกันกับยอดขาย

     
    หมวดถัดมาก็จะเป็นพวกสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  พวกนี้ก็คือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้ยาก  รายการหลักๆก็จะมี

  • เงินลงทุนระยะยาว
  • ในกรณีที่มันเป็นจำนวนที่ใหญ่  เราก็สมควรไปอ่านหมายเหตุว่ามันคืออะไร

  • ที่ดินอาคารและอุปกรณ์
  • รายการอันนี้มีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจแหละ  ในบางปีถ้าเราเห็นมันกระโดดพรวดขึ้นมาเราสมควรไปดูว่าบริษัททำอะไร

  • สินทรัพย์สิทธิการเช่า
  • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
  • ค่าความนิยม
  • ถ้าเราเห็นค่าความนิยมเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มันต้องแปลว่าบริษัทซื้อกิจการขนาดใหญ๋มาหรือไม่ก็ซื้อกิจการเยอะแน่นอน  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้แต่ก็เป็นอะไรที่เสี่ยงอยู่  สมควรอ่านเพิ่มเติมว่ามีการซื้อบริษัทอะไรมาเพราะอะไร

 

ฝั่งหนี้สิน

กลุ่มแรกก็จะเป็นหนี้สินหมุนเวียน  ซึ่งหมายถึงหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี  โดยปกติก็จะมี

  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้ยืมระยะสั้น
  • ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ

โดยปกติตรงส่วนนี้ผมไม่ได้ซีเรียสเท่าไหร่  ยกเว้นในโหมดวิกฤติที่เราอาจจะต้องดูเงินกู้ระยะสั้นกับส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระหน่อยเพราะมันเป็นอะไรที่ใกล้ต้องจ่ายละ  ขนาดที่ใหญ่มากเทียบกับสภาพคล่องที่มีก็จะสยองนิดนึง

 

ส่วนถัดมาก็จะเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน  ซึ่งก็แน่นอนคือพวกที่ถึงกำหนดชำระเกิน 1 ปีขึ้นไป  ที่เห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินกู้ระยะยาว  หุ้นกู้

อันนี้ซีเรียสละ  อย่างแรกเลยคือดูว่าเยอะหรือน้อยเมื่อเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้  ถ้าเห็นเป็นตัวเลขที่เยอะและที่สำคัญถ้าเห็นว่ากำลังเพิ่มขึ้นก็ควรจะสงสัยว่ามีอะไรหรือเปล่า  เอาเงินไปทำอะไรเหรอ

 

ฝั่งส่วนของผู้ถือหุ้น

หลักๆจะมี

  • เงินของผู้ถือหุ้นตอนที่ระดมทุน
  • กำไรที่สะสมไว้ในบริษัท

ส่วนนี้ปกติไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

Negative Equity

บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

มีคนไปเจอบริษัทที่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ  แต่เป็นบริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปี  เค้าเลยงงว่ามันเป็นไปได้ไงแล้วแบบนี้หมายถึงบริษัทมันมีปัญหาหรือเปล่า

โดยปกติถ้าเราเห็นส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็แปลว่าไม่ดีแหละ  ส่วนใหญ่ก็มาจากการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี  เอาซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

แต่มันก็มีกรณียกเว้นได้เหมือนกัน  บริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปีอาจจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบได้  ที่ผมนึกออกก็จะมีบริษัทซื้อหุ้นคืนซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

ตัวอย่างเช่น Autozone

ในกรณีแบบนี้  บริษัทที่เห็นมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็ไม่ได้แปลว่าไม่ดี  อย่างกรณีแรกถ้าบริษัทจะสามารถทำได้ดีต่อไปในอนาคตก็ไม่มีปัญหา  ถึงจุดหนึ่งขาดทุนสะสมก็หายไปและกลายเป็นกำไรสะสมแทน  ส่วนกรณีที่สองก็ไม่มีปัญหาอะไรเช่นกันถ้าบริษัทจะยังสามารถทำธุรกิจได้ดีต่อไปเรื่อยๆ  บริษัทมีกำไรจ่ายหนี้ได้ก็ใช้ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี