บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

Negative Equity

บริษัทมีกำไร แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ??

มีคนไปเจอบริษัทที่ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ  แต่เป็นบริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปี  เค้าเลยงงว่ามันเป็นไปได้ไงแล้วแบบนี้หมายถึงบริษัทมันมีปัญหาหรือเปล่า

โดยปกติถ้าเราเห็นส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็แปลว่าไม่ดีแหละ  ส่วนใหญ่ก็มาจากการขาดทุนต่อเนื่องหลายปี  เอาซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

แต่มันก็มีกรณียกเว้นได้เหมือนกัน  บริษัทที่กำไรต่อเนื่องหลายปีอาจจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบได้  ที่ผมนึกออกก็จะมีบริษัทซื้อหุ้นคืนซะจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ

ตัวอย่างเช่น Autozone

ในกรณีแบบนี้  บริษัทที่เห็นมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบก็ไม่ได้แปลว่าไม่ดี  อย่างกรณีแรกถ้าบริษัทจะสามารถทำได้ดีต่อไปในอนาคตก็ไม่มีปัญหา  ถึงจุดหนึ่งขาดทุนสะสมก็หายไปและกลายเป็นกำไรสะสมแทน  ส่วนกรณีที่สองก็ไม่มีปัญหาอะไรเช่นกันถ้าบริษัทจะยังสามารถทำธุรกิจได้ดีต่อไปเรื่อยๆ  บริษัทมีกำไรจ่ายหนี้ได้ก็ใช้ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อ่าน 56-1 ยังไง ?

How to read 56-1 ?

อันนี้ก็เป็นคำถามที่มีคนถามหลายทีละ และยอมรับว่าที่ผ่านมาก็ไม่เคยทำวีดิโอตอบนะ หลักๆเพราะผมไม่รู้ว่าคนถามนี่มันต้องการอะไรกันแน่ แต่โอเควีดิโอนี้ผมลองพยายามตอบโดยอธิบายให้ครอบคลุมที่สุดละกัน เออกับบอกไว้อีกอย่างว่าปกติผมจะนิยมอ่าน 56-2 (รายงานประจำปี) นะไม่ได้อ่าน 56-1

เอามาจากไหน ?

โหลดจากเวป www.sec.or.th หรือไม่ก็เวปของบริษัทที่เราสนใจ

อ่านยังไง ?

อ่านเหมือนหนังสือหรือเอกสารภาษาไทยปกติ อ่านจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา จะมีที่อาจเป็นปัญหาก็ตรงส่วนที่พูดถึงงบการเงินซึ่งคนอ่านก็ควรจะรู้ โดยรวมมันไม่ได้อ่านยากอะไรนะแต่คนเห็นอาจจะตกใจเพราะมันหลายหน้าเท่านั้นเอง

เรื่องอะไรสำคัญบ้าง ?

อันนี้ผมพูดจากความเห็นส่วนตัวละ รายงาน 56-1 โหลดมามันจะแบ่งเป็นหัวข้อให้อยู่แล้ว

  1. การประกอบธุรกิจ
  2. หัวข้อนี้สำคัญสุด อ่านเพื่อให้เข้าใจว่าสรุปบริษัททำธุรกิจอะไรกันแน่ จะได้รู้ว่าคู่แข่งเป็นใครลูกค้าเป็นใคร

    สมมติอ่านส่วนนี้แล้วรู้สึกว่าไม่รู้เรื่อง ไม่เห็นภาพอยู่ดีว่าบริษัททำอะไร อาจจะเป็นสัญญาณว่าควรจะเลิกอ่านแล้วไปอ่านบริษัทอื่นดีกว่าครับ ไม่ใช่แปลว่าเราโง่หรือไม่ดีแค่ว่าเราอาจจะไม่คุ้นเคยกับอุตสาหกรรมนี้เท่าไหร่ ไม่มีความจำเป็นต้องดันทุรัง ธุรกิจประเภทอื่นและโอกาสอื่นๆมีเยอะแยะ

    ตรงส่วนนี้มีเรื่องปัจจัยความเสี่ยงด้วย คือมันจะดูเยอะนี่ก็อย่าไปกังวลมาก ทุกบริษัทต้องเขียนประมาณนี้หมดเพราะมันมีกฎบังคับ กวาดตามองผ่านๆดูว่ามีเรื่องอะไรน่าเอะใจมั้ย เช่นบริษัทพึ่งพาลูกค้าอยู่เจ้าเดียวไรงี้

    รายชื่อบริษัทลูก, บริษัทร่วมทุนพวกนี้ก็ดูไว้ก็ดี

  3. การจัดการและการกำกับดูแลกิจการ
  4. หมวดนี้ก็พวกเรื่องมีทุนออกชำระแล้วกี่หุ้น, ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใคร, คณะกรรมการกับทีมผู้บริหารมีใครบ้าง, ค่าตอบแทนผู้บริหาร, ผู้บริหารกับกรรมการถือหุ้นเท่าไหร่, ฯลฯ

    ส่วนใหญ่ส่วนนี้ผมไม่ค่อยสนเท่าไหร่ ผมดูผ่านๆมาก อย่างมากที่ดูคือพวกเรื่องค่าตอบแทนผู้บริหาร ดูทั้งที่เป็นตัวเงินแล้วก็พวก stock option ดูว่ากติกาของการได้โบนัสหรือได้หุ้นคืออะไร วัดผลงานผู้บริหารยังไง แล้วก็รายการระหว่างกันที่บริษัทอาจจะมีขายของหรือซื้อของจากบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นด้วยการมีหุ้นหรือมีกรรมการเป็นคนเดียวกัน

    เคยได้ยินบางคนเค้า Google ชื่อผู้บริหารหลักโดยเฉพาะ CEO กับ CFO ดูว่ามีประวัติโกงหรืออะไรป่าว บางคนก็อ่านด้วยว่าประวัติการทำงานมาจากบริษัทไหน ก็เป็นไอเดียที่ดีนะ แต่ตรงส่วนนี้ผมไม่ได้ทำ

  5. ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
  6. หมวดนี้ก็แน่นอนสำคัญ อาจมีต้องใช้ความเข้าใจเรื่องบัญชีบ้าง แต่ถึงไม่เคยเรียนมาก่อนเลยก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่รู้เรื่องแต่อาจจะรู้เรื่องไม่ครบ ที่เคยเห็นบน 56-1 มันไม่ใช่งบการเงินตัวเต็ม แต่ก็จะมีสาระสำคัญอยู่บนนั้นและมักจะมีพวกอัตราส่วนทางการเงินต่างๆด้วยซึ่งบนงบการเงินจะไม่มี ผมแนะนำว่าไปอ่านงบการเงินตัวเต็มด้วย เพราะมันจะครบกว่าและมีหมายเหตุประกอบที่มีสาระสำคัญอย่างนโยบายการรับรู้รายได้และอื่นๆ

    อ่านดูว่าบริษัททำธุรกิจแล้วสรุปเป็นไงบ้าง มันจะมีคำอธิบายประกอบด้วยว่าตัวเลขแต่ละอันที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้ามาจากเรื่องอะไร

คำแนะนำอื่นๆ

  1. พิมพ์ออกมาเป็นกระดาษแล้วอ่านไปด้วยจดไปด้วย
  2. อ่านเป็นครั้งแรกอาจจะรู้สึกนานเพราะไม่คุ้น อ่านหลายๆครั้งไปมันจะเร็วขึ้นเยอะ
  3. อ่านไปถ้าเจอคำเฉพาะที่ไม่รู้ว่าคืออะไรอย่าไปตกใจ Google ซะ

 

ที่นึกออกก็ประมาณนี้นะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

Warning Signs to Look Out for in Financial Statements

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

มีคนถามเข้ามาว่ากำไรเพิ่มขึ้นขนาดไหนเรียกว่าผิดปกติ  หรือหนี้สินลดลงเยอะแค่ไหนคือผิดปกติมั้ย  และอีกหลากหลายคำถามที่เป็นแนวๆนี้  ดังนั้นวีดิโอนี้ผมจะมาพูดถึงสิ่งที่เราควรต้องสังเกตบนงบการเงินเท่าที่ผมนึกออกตอนนี้ครับ

โดยไอเดียภาพรวมก่อน  สิ่งที่บันทึกอยู่บนงบการเงินมันควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัท  เวลาเราเห็นอะไรที่เราสงสัยบนงบการเงิน  มันเป็นสัญญาณเตือนให้เราไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวธุรกิจ  แล้วมันก็จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของบริษํทมากขึ้น

ทีนี้สิ่งที่เราต้องเอะใจถ้าเห็นบนงบการเงินก็จะมี

  1. หนี้สินพวกเงินกู้ธนาคารหรือหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นเยอะๆ
  2. รายได้กับกำไรดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน
  3. รายได้น้อยลงต่อเนื่องหลายปี
  4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่ดูใหญ่
  5. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นลบต่อเนื่อง
  6. ลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นไม่เป็นสัดส่วนกับรายได้
  7. จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วเพิ่มขึ้น
  8. มี Capital expenditure ขนาดใหญ่หรือมีการซื้อกิจการด้วยเงินจำนวนเยอะ

เท่าที่นึกออกก็ประมาณนี้นะ  ถ้าเราเจอเรื่องพวกนี้สิ่งที่ควรทำก็คือไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแล้วค่อยตัดสิน  ถ้าดูแล้วเป็นเหตุทีเข้าใจได้มีที่มาที่ไปแล้วเราสบายใจก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้าหาเหตุผลไม่ได้หรือรู้สึกผิดปกติอยู่ดีก็คอยจับตาดูต่อหรือข้ามมันไปก็ได้ครับแล้วแต่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

Case study: NMC Health

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

เร็วนี้ไปอ่านเจอบทความของ Binod Shankar, CFA น่าสนใจมากเลยมาเล่าให้ฟัง

มันเป็น case study ของบริษัทชื่อ NMC Health  บริษัทนี้ทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  มีทำบริการสำหรับผู้มีบุตรยากด้วย  เป็นเจ้าใหญ่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เคยเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE 100 ด้วย

แต่ทีนี้ในปี 2019 บริษัทถูกสงสัยว่ารายงานหนี้สินน้อยกว่าที่เป็นจริงโดย Muddy Waters Research  และสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2020 บริษัทก็ยอมรับว่ารายงานหนี้สินน้อยไปประมาณ $2.7 billion  ตอนนี้ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้และกำลังอยู่ในกระบวนการที่มีคนเข้ามาจัดการ  ทีมผู้บริหารและกรรมการถูกเปลี่ยน

คำถามที่น่าสนใจของบทความนี้คือ  เราจะสามารถเห็นความผิดปกติของบริษัทนี้ได้ก่อนที่เรื่องมันจะแดงหรือไม่  มีรายการบนงบการเงินไหนที่ผิดสังเกตที่เป็นสัญญาณเตือนเราล่วงหน้าหรือเปล่า  คนเขียนเค้าก็พูดถึงจุดที่เค้าเจอดังนี้

  1. เรื่องการซื้อกิจการ
  2. บริษัท NMC มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปี  ตั้งแต่ปี 2015 – 2018 รวมเป็นเงินประมาณ $1.9 billion

    ตัวเลขการซื้อกิจการเยอะๆต่อเนื่องก็เป็นสัญญาณที่ไม่น่าไว้ใจ  หลายครั้งทำเพื่อให้รายได้และกำไรมีการเติบโตเพราะธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่สามารถเติบโตเองได้

  3. ซื้อกิจการเยอะไม่พอ  ซื้อแบบมี Goodwill มหาศาลด้วย
  4. Goodwill มันเป็นตัวเลขส่วนต่างที่เกิดขึ้นเวลาบริษัทซื้อกิจการมาด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมินได้ของกิจการนั้น  การที่มี Goodwill เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกตินะ  แต่ในกรณีของ NMC Health นี่คุณ Binod Shankar, CFA แสดงตัวเลขให้ดูว่ามันสูงกว่าปกติมาก

    โดยเฉลี่ยแล้ว Goodwill เป็น 350% เทียบกับทรัพย์สินสุทธิของกิจการที่ไปซื้อมา  และถ้าดูเทียบกับทรัพย์สินของบริษัทตัวเองในปี 2018  Goodwill คิดเป็น 37% ของทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งนี่มันเยอะมาก

    ผมลองเทียบกับบริษัท Hanesbrands ซึ่งรู้ว่าเป็นอีกบริษัทที่มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีเช่นกันแต่หลังจากนั้นผลประกอบการไม่ได้มีปัญหา Goodwill คิดเป็น 16.8% เท่านั้นเอง  แต่กับอีกตัวอย่างนึงคือ Stericycle ซึ่งมีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีแล้วภายหลังมีปัญหา Goodwill ในช่วงปี 2014 ก่อนที่จะเริ่มเห็นปัญหาก็สูงมาก  คิดเป็นสัดส่วน 54.95% ของทรัพย์สินทั้งหมด

    บางคนก็อาจจะบอกว่า Goodwill มันเป็นตัวเลขทางบัญชีดังนั้นมันอาจจะไม่เกี่ยวเพราะบริษัทที่ซื้อมาอาจจะเป็นพวก Asset light แต่มีกำไรดีก็ได้  แต่ถ้าดูบรรทัดสุดท้ายที่เทียบกำไรทั้งปีของกิจการที่ซื้อมากับราคาซื้อ  จะพบว่าเลขปีหลังๆต่ำลงเยอะมากเหลือแค่ 3-4% เท่านั้นเอง  ถ้าคิดว่าเป็น P/E ก็คือซื้อบริษัท P/E 25-33 เท่ามา  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะซื้อกิจการที่ห่วยมาหรือไม่งั้นก็อาจจะกิจการดีแต่ซื้อมาราคาสูงมาก  มันก็ไม่ดีทั้งคู่

  5. หนี้สินที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ
  6. ต่อให้ไม่นับตัวหนี้สินที่เค้าซ่อนแล้วมาเจอทีหลัง  ถ้านับตามงบการเงินอย่างเดียวอย่างน้อยสิ่งที่เราเห็นก็คือเงินกู้ที่ใหญ่ขึ้นหลายปีติด  เหตุผลที่หนี้สินเยอะขึ้นอย่างรวดเร็วก็เข้าใจได้ว่าเพื่อไปซื้อกิจการ

  7. มีแววว่าจะเผื่อหนี้สูญน้อยผิดปกติ
  8. ถ้าดูปริมาณรายได้ค้างรับที่เกินกำหนดชำระจะเห็นว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ  และที่สำคัญคือสูงขึ้นเมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับรายได้ค่างรับทั้งหมดด้วย  แต่ถึงอย่างนั้นบนงบกำไรขาดทุนไม่ได้มีการพูดถึงการสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอะไรเลย  แล้วยิ่งดูสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่แย่ลงในช่วงปีหลังๆด้วยก็ยิ่งไม่น่าจะถูกต้องเข้าไปใหญ่

ดังนั้นโดยสรุปคือ  ต่อให้เราไม่ได้สามารถที่จะทำการสืบค้นแบบ Muddy Waters ได้  เราก็พอจะเห็นสัญญาณผิดปกติหลายอย่างบนงบการเงินได้อยู่ดี  

ผู้เขียนมีลองเอาตัวเลขงบการเงินไปใส่ Beneish model ที่เป็นเครื่องมือทางสถิติเอาไว้ดูว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่ตัวเลขงบการเงินถูกตกแต่ง  เค้าก็พบว่าคะแนนที่ได้ก็บ่งชี้ว่าบริษัทน่าจะมีการตกแต่งงบบัญชีมาตั้งแต่ปี 2016 ทุกปีจนถึง 2018 เลยด้วยครับ

เผื่อคนสนใจอ่านบทความต้นฉบับด้วยตัวเองผมทิ้งลิ้งค์ไว้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2020/05/19/the-nmc-health-debacle-four-red-flags/

ทีนี้สำหรับคนต้องการอ่านเพิ่มเติม  ผมแนะนำให้อ่านรายงานของ Muddy Waters ก่อนเลย  Link อยู่ที่นี่  http://d.muddywatersresearch.com/tou/?redirect=/content/uploads/2019/12/MW_NMC_12172019-1.pdf

ในรายงานของ Muddy Waters นอกจากเรื่องสงสัยว่าโกง  มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารโรงพยาบาลสูงผิดปกติอะไรพวกนั้นแล้ว  เค้าจะมีพูดถึงการใช้ Reverse Factoring ที่ควรจะมีลักษณะเหมือนกู้ยืมเงินแต่กติกาในการบันทึกบัญชีตรงนี้ไม่ชัดเจนทำให้สามารถบันทึกเป็นเจ้าหนี้การค้าได้  ทำให้ตัวเลขเงินกู้ดูน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  รายละเอียดของ Reverse Factoring อธิบายไว้ดีมากบนเวปนี้ครับ  https://valuesque.com/2019/12/28/nmc-health-demystifying-reverse-factoring-the-three-is-a-crowd-financial-analysis-problem/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

What are these different earnings: reported, operating, core, pro forma?

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

มีคนอ่านงบการเงินภาษาอังกฤษแล้วไปเจอคำพวกนี้  เค้าถามว่ามันต่างกันอย่างไร

Reported earnings กับ Basic earnings เป็นอันเดียวกัน  เค้าหมายถึงกำไรสุทธิที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  มาจากรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  ซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่ถือว่าแฟร์เพราะทุกบริษัทต้องบันทึกภายใต้กฎเดียวกันหมด

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation – Interest – Tax

แต่ Reported earnings มันก็จะมีผลของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว  ซึ่งตรงนี้มันมาจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทว่าใช้หนี้เยอะมั้ย  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการบริหารตัวธุรกิจเท่าไหร่  ดังนั้นมันก็เลยมีบางคนที่นิยมดูตัว Operating earnings แทน  ถ้าเป็นภาษาไทยอันนี้คือกำไรจากการดำเนินงานหรือคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้  ตัว EBIT น่ะครับ

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation

ส่วน Core earnings นี่เป็นตัวที่โดยหลักการคือต้องการจะดูกำไรที่เกิดจากธุรกิจหลักของบริษัท  ดังนั้นเค้าก็พิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท  แล้วก็ตัดพวกรายการพิเศษออกเช่น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการฟ้องร้อง, กำไรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เผื่อขาย, ฯลฯ

Pro Forma earnings หรือก็คือ Adjusted earnings  พวกนี้คือปรับยังไงก็ได้เลยแล้วแต่ผู้บริหาร  เค้าก็จะอ้างว่าเป็นการปรับตัวเลขตัดนู่นนี่ออกหรือไม่นับรายการบางอย่างเพื่อให้สะท้อนผลประกอบการของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น  อารมณ์มันจะคล้ายๆกับ Core earnings นะแต่ยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก

Reported earnings กับ Operating earnings ถือเป็นตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชี

แต่ Core earnings กับ Pro Forma นี่ถือว่าไม่ใช่ตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชีละ  เวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้ในการเปรียบเทียบข้ามบริษัทได้  และต่อให้เป็นการเปรียบเทียบแต่ละปีของบริษัทเดียวกันก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง  ปกติมันจะมีหน้า reconciliation ที่แจกแจงว่าเลขพวกนี้ปรับมาจากกำไรสุทธิปกติยังไงบ้าง  ถ้าจะดู earnings สองอันนี้ต้องดูรายละเอียดที่มาทุกครั้ง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

เวลาเราเปิดงบการเงินขึ้นมา  เราจะเห็นว่ามันมี column ที่เป็นงบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการ  และบางบริษัทก็จะต่างกันไม่เยอะส่วนบางบริษัทก็ดูต่างกันเยอะ  เลยมีคนถามว่างบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการต่างกันยังไง

โดยสาระสำคัญความแตกต่างมันจะตามชื่อเลยครับ  

งบการเงินรวมคือแสดงงบการเงินที่รวมบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน  รวมตัวรายได้, รายจ่าย, กระแสเงินสด, ทรัพย์สิน, หนี้สิน  ทุกอย่างรวมกันเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แล้วก็รายงานตัว minority interest หรือส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทแยกต่างหากอีกที

ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจการคือตัวบริษัทใหญ่เป็นหลัก  แล้วบันทึกพวกบริษัทย่อยหรือร่วมแยกต่างหาก  ปัจจุบันรู้สึกว่าจะบันทึกแบบราคาทุน (cost method) หรือแบบส่วนได้เสีย (equity method) ก็ได้

ดังนั้นจุดหลักๆที่มันจะต่างก็มี

  1. เวลามีกำไรเกิดขึ้นกับบริษัทย่อยจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  2. สมมติบริษัทย่อยมีกำไรโผล่มา 1 บาท  ถ้าเป็นงบการเงินรวมมันก็จะแสดงกำไรที่โผล่มา 1 บาทนี้  แต่ถ้าเป็นงบเฉพาะกิจการก็จะไม่เพราะ 1 บาทนี่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย

  3. รายการระหว่างกันจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  4. พวกธุรกรรมระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยเช่น  บริษัทใหญ่ซื้อของจากบริษัทย่อยหรือบริษัทใหญ่ให้บริษัทย่อยยืมเงิน  พวกนี้ถ้าเป็นงบการเงินรวมก็จะถูกตัดออกไปไม่แสดงเพราะมันมองเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แต่จะแสดงบนงบการเงินเฉพาะกิจการ

แล้วเราควรดูอันไหนดี ?

ถ้าเป็นผมก็จะดูงบการเงินรวมเป็นหลักนะ  เพราะเวลาเราซื้อหุ้นเราก็เป็นเจ้าของบริษัทย่อยของมันไปด้วย  ดังนั้นมันก็ควรจะดูงบการเงินรวมเป็นหลัก  แล้วอาจจะดูงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่ากำไรที่เกิดขึ้นมาจากบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยมากกว่ากัน

ถ้าใครสนใจจะอ่านอย่างละเอียดสามารถไปอ่านเอกสารของสภาวิชาชีพบัญชีเลยครับ

http://www.tfac.or.th/Article/Detail/119612

และสมมติใครถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าหรือต้องการอ่านของ IFRS เลยก็ไปที่นี่ครับ

https://www.ifrs.org/issued-standards/list-of-standards/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

When doing averages, what kind of incident should we exclude ?

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อ valuation  คือมีคนถามว่าเวลาทำการเฉลี่ยตัวเลขเช่นแบบ ROE เฉลี่ยของหลายปีหรือ Net Profit Margin เฉลี่ยหลายปีเนี่ย  สมมติว่ามันมีบางปีที่ตัวเลขต่างจากปีอื่นเยอะเราควรที่จะตัดมันออกไปจากการคำนวณมั้ย

ถ้าเป็นความเห็นผมโดยคอนเซปต์ก่อน  เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเราคือคำนวณตัวเลขเฉลี่ยเพื่อคาดการณ์อนาคต  โจทย์ของเราคือต้องการจะรู้ว่าถ้าบริษัททำธุรกิจปกติไม่ได้มีเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นผลประกอบการน่าจะเป็นเท่าไหร่  ดังนั้นเราก็ควรที่จะต้องตัดปีที่ผิดปกติออก

ทีนี้ปัญหาคือแล้วยังไงมันถึงเรียกว่าผิดปกติ  โดยส่วนตัวก็คือผมจะเข้าไปดูในรายละเอียดของปีนั้นๆว่ามีรายการอะไรผิดปกติบนงบการเงินหรือเปล่า  หรือพยายามหารายละเอียดว่าในปีนั้นๆมีเหตุการณ์อะไรพิเศษที่สมควรถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกมั้ย  อย่างถ้าสมมติอ่านเจอว่าผลประกอบการเลวร้ายเพราะโรคระบาดแล้วรัฐบาลสั่งให้หยุดขายงี้  ปีนั้นก็ควรจะตัดไปเพราะเราไม่คิดว่ามันสะท้อนผลประกอบการปกติของบริษัทและไม่มีประโยชน์ในการประมาณอนาคต  แต่สมมติอ่านเจอว่าปีนั้นผลประกอบการไม่ดีเพราะราคาขายของสินค้าของบริษัทตกต่ำเพราะมีคู่แข่งขายตัดราคา  อย่างนี้ไม่เกี่ยวละเพราะมันก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกเป็นปกติของธุรกิจ  ดังนั้นผลประกอบการปีนี้ก็ควรจะรวมอยู่ในการทำการเฉลี่ย

คือสุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนทำแหละ  และผมก็เข้าใจที่บางคนไม่ happy เพราะอยากได้กติกาที่มันตายตัว  แต่มันช่วยไม่ได้จริงๆครับมันก็ต้องทำแบบนี้แหละ  การที่จะไปอยู่ๆตัดปีเยอะสุดน้อยสุดแล้วเฉลี่ยที่เหลือหรือวิธีอะไรแบบนั้นผมก็ว่าไม่เวิร์คนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

Adjusted Net Profit คืออะไร? ต่างยังไงกับ Net Profit ปกติ?

What is "Adjusted Net Profit"? And how does it differ from normal "Net Profit"?

Adjusted Net Profit คืออะไร? ต่างยังไงกับ Net Profit ปกติ?

ล่าสุดมีนักเรียนถามเข้ามาว่า Adjusted Net Profit นี่มันคืออะไร

บางบริษัทจะมีรายงานตัวเลข Adjusted แบบนี้เพราะผู้บริหารมองว่าตัวเลขที่รายงานตามมาตรฐานบัญชีอาจจะไม่สะท้อนผลประกอบการจริงของบริษัท  ดังนั้นตัวเลข Adjusted นี่มันก็ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องปรับยังไงบ้างและแต่ละบริษัทก็ไม่เหมือนกัน  กฎในการรายงานก็คือแค่ว่าต้องมีคำอธิบายว่าตัวเลข Adjusted นี้มาได้ยังไงเท่านั้นเอง

ข้อดีมันก็มีอยู่  คือบางทีบริษัทก็มีรายการในงบการเงินบางอันที่น่าจะเกิดครั้งเดียวจริงๆ  และดังนั้นตัวเลข Adjusted ที่ตัดพวกนั้นออกมันก็ช่วยให้นักลงทุนเปรียบเทียบผลประกอบการได้ง่ายขึ้น

แต่ข้อเสียคือถ้าเราประมาทก็อาจจะโดนหลอกให้รู้สึกว่าบริษัทดีเกินจริงได้  บางบริษัทก็อาจจะพยายามเสนอตัว Adjusted เพราะมันดูดีกว่า

หลักๆคือต้องตามดูว่ามัน Adjusted มายังไงบ้าง  แล้วเราก็ตัดสินใจเอาว่าสมควรดูเลขไหน

บางบริษัทก็ไม่ได้ใช้คำว่า Adjusted แต่มันก็เหมือนกัน  อย่างบริษัทในอังกฤษนิยมใช้คำว่า Underlying

เวลาบริษัทรายงาน EPS หรือจ่ายปันผลก็จะคำนวณมาจากตัวปกติตามมาตรฐานบัญชี  ไม่ใช่ตัวเลข Adjusted

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ระวังกับดัก Non-Recurring Items

Beware of non-recurring items

ระวังกับดัก Non-Recurring Items

ปกติเวลาเราจะดูว่าบริษัทผลประกอบการเป็นยังไงบ้างเราก็จะดูว่ามันกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ  และเพื่อความสะดวกปกติเราก็จะไม่ได้ไปเปิดงบการเงินตัวจริงหรอก ส่วนใหญ่เราก็จะดูตัวเลขนี้บนหน้าเวปที่ทำการดึงตัวเลขสรุปออกมาอีกทีอย่างเวป SET หรือ Morningstar ถูกมั้ยครับ  ซึ่งมันก็ไม่ผิดอะไรนะเพราะผมก็ทำเหมือนกัน แต่ผมจะมาบอกว่าเวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังอย่าประมาทเกินไป เพราะบางทีตัวเลขกำไรขาดทุนนั้นมันมีพวกรายการพิเศษอยู่

รายการพิเศษหรือปกติผมจะเรียกว่า Non-recurring items คือรายได้หรือรายจ่ายที่มันไม่ใช่เรื่องปกติในธุรกิจของบริษัทและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นอีก  อย่างเช่นรายได้จากประกันชดเชยความเสียหายน้ำท่วม, กำไรขาดทุนจากการขายบริษัทย่อย, ตัดจำหน่าย Goodwill, ฯลฯ

โดยปกติรายการพิเศษนี่มันก็จะไม่ใหญ่และดังนั้นจะมีผลกับกำไรขาดทุนไม่เยอะ  แต่บางครั้งมันก็ใหญ่ซะจนทำให้ผลประกอบการเพี้ยนไปเลยก็มี พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรเลยก็มี  หรือจากกำไรกลายเป็นขาดทุนเลยก็มี ดังนั้นเวลาเราอ่านงบการเงินเราควรตัดรายการพวกนี้ทิ้งไปเพราะมันจะให้ภาพของบริษัทดีหรือแย่ผิดปกติกว่าความเป็นจริง  คือมันเป็นกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงแหละ แต่แค่ว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกเท่านั้นเอง

ตัวอย่างเช่นกรณี TRUE ปี 2557, BH ปี 2558, CVS ปี 2561
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg