Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

What are Share Classes ? Why do some companies have multiple share classes ?

Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

มีคนเห็นว่าหุ้น Alphabet มี Class A กับ Class C  เค้าถามว่ามันต่างกันยังไง

ต่างกันยังไงสมมติเราดูแค่ชื่อนี่คือไม่มีทางรู้ได้ครับ  มันไม่ได้มีหลักสากลอะไร  ต้องเปิดไปดูเวปของบริษัทปกติเค้าจะอธิบายไว้อยู่

เช่นอย่างกรณี Alphabet นี่  มันต่างกันตรงสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 10 โหวต
  • Class C คือ 1 หุ้น 0 โหวต

ส่วนกรณี Berkshire Hathaway มันต่างกันทั้งสัดส่วนความเป็นเจ้าของและสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 1/1500 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1/10000 โหวต

อย่างที่เห็นคือมันแบ่งได้หลากหลายมาก  ดังนั้นเราต้องเช็คด้วยตัวเองเสมอว่ามันต่างกันยังไง  กรณีส่วนใหญ่การแบ่ง Class หุ้นเค้าทำไปเพราะเจ้าของเดิมอยากรักษาความสามารถในการควบคุมบริษัทเอาไว้  กำไรแบ่งกันไม่เป็นไร  ก็เลยเป็นที่มาว่างั้นเอางี้ละกัน  แทนที่จะมีหุ้นแบบเดียวที่มีสิทธิออกเสียงเท่ากัน  เปลี่ยนเป็นออกหุ้นให้มันมีมากกว่าแบบเดียว  อันนึงมีสิทธิในการออกเสียงควบคุมบริษัทมากกว่าส่วนอีกอันน้อยกวา

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ควรลงทุนหุ้นต่างประเทศหรือหุ้นไทยมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ ? ประเทศไหนดี ?

Should you invest in global or local stock ? At what proportions ? And if global, which country ?

ควรลงทุนหุ้นต่างประเทศหรือหุ้นไทยมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ ? ประเทศไหนดี ?

อันนี้เป็นวีดิโอต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่เราทำวีดิโอเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  ผมรวบรวมคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่คนถามเข้ามาเพิ่มเติมและยังไม่เคยตอบในวีดิโอครับ

ผมลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศมากกว่ากัน ?

ในเวลานี้เงินลงทุนอยู่ในหุ้นต่างประเทศเยอะกว่าเยอะครับ  ประมาณ 90% ได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ชอบหุ้นไทยนะ  ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศเยอะขนาดนั้นหลักๆเลยเพราะอย่างที่บอกอยู่ตลอดผมซื้อหุ้นประเภทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและต่างประเทศฉีดวัคซีนเร็วกว่าไทย  ดังนั้นเศรษฐกิจเค้าควรจะฟื้นก่อน  และถ้าโชคดีคือหุ้นต่างประเทศก็อาจจะฟื้นก่อนประเทศไทย  ถ้าเป็นแบบนั้นผมก็จะขายหุ้นในต่างประเทศและดึงกลับมาลงทุนในไทยต่ออีกที  กะฉวยโอกาสทำกำไรจากโควิดหลายครั้ง  แต่ถ้าโชคไม่ดีหุ้นทั่วโลกฟื้นพร้อมๆกันก็ไม่เป็นไรยังไงก็กำไรอยู่ดีแค่อดกำไรเยอะเฉยๆ

ในความเห็นผม  ควรลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศมากกว่ากัน ? สัดส่วนเท่าไหร่ดี ?

จริงๆอันนี้มันแล้วแต่คนมาก  ยังไงก็ได้นะ  แต่โดยรวมคือผมว่าขึ้นอยู่กับเราตั้งใจจะศึกษาด้วยตัวเองแล้วซื้อหุ้นรายตัวหรือเปล่า

ถ้าสมมติเรากะศึกษาด้วยตัวเอง  งั้นอย่างนั้นไทยหรือต่างประเทศก็ไม่ค่อยเกี่ยวละ  เพราะเราก็ต้องมองหาบริษัทที่เข้าข่ายแนวการลงทุนของเราและมันก็ไม่เกี่ยวว่ามันอยู่ประเทศไหนป้ะ  เช่นอย่างผมคือมองหาบริษัททำธุรกิจที่เราชอบ, มีความเข้าใจและเชื่อว่ามันจะทำได้ดีต่อไปในอนาคตแล้วก็เล็งซื้อตอนมันราคาตกจากปัญหาที่คิดว่าชั่วคราว  ผมมองหาแบบนี้เป็นหลักและไม่สนว่ามันจะอยู่ประเทศไหน  ถ้าโอกาสแบบนี้หาได้ในไทยผมก็ซื้อหุ้นไทย  ถ้าหาเจอในหุ้นต่างประเทศผมก็ซื้อหุ้นประเทศนั้น  ความสำคัญของภาพรวมของประเทศหรืออะไรมันจะน้อยลงไปละ  เพราะเราไม่ได้ซื้อประเทศเราซื้อบริษัทที่บังเอิญอยู่ในประเทศนั้น  ดังนั้นในกรณีนี้ที่ถามว่าควรลงทุนต่างประเทศหรือไทยสัดส่วนเท่าไหร่จึงไม่มีความเกี่ยวข้องอะไร

แต่สมมติเราตั้งใจลงทุนกระจายความเสี่ยงด้วยกองทุน  ไม่ได้กะจะมาเลือกหุ้นรายตัว  งั้นเราสมควรมองภาพรวมของประเทศละ  เพราะเรากำลังซื้อภาพรวมของประเทศนั้นๆอยู่  ในกรณีนี้ผมว่าถ้าไม่ซีเรียสก็หุ้นไทย 50% ต่างประเทศ 50% ก็ได้นะ  วัตถุประสงค์คือการกระจายความเสี่ยงใช่มะ  กระจายประมาณนี้บวกลบก็น่าจะโอเคละ  แต่ทั้งนี้คือแล้วแต่คนสุดๆ  เอาไงก็เอาเถอะ  ถ้าใครอยากจะ 100% กระจายหุ้นทั่วโลกเลยก็ได้นี่  มันจะมีกองทุนที่ลงทุนตามดัชนีหุ้นทั่วโลกอยู่แล้วครับเช่นกองทุนที่ลงทุนตาม MSCI ACWI เป็นต้น

ต่างประเทศไปประเทศไหนดี ?

ถ้าไม่คิดอะไรมากก็กระจายสุดๆไปเลยก็ได้  อย่างที่บอกว่ามี MSCI ACWI  หรือไม่งั้นจะเลือกประเทศที่เราสนใจเชื่อว่ามีอนาคตก็ได้  แต่ต้องเข้าใจว่าทุกประเทศมันก็มีปัญหาของมันนะ  ไม่ใช่มีแต่เรื่องดี  อย่างอินเดียก็มีพวกเรื่องโกง, จีนเร็วๆนี้ก็มีรัฐบาลออกมาพยายามแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ, เวียดนามก็ยังไม่ได้เปิดให้ต่างชาติลงทุนเต็มที่  กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเวียดนามก็ยังมีน้อย, ประเทศเจริญแล้วต่างๆส่วนใหญ่โตช้า

สรุปแล้วอย่าไปคิดอะไรเยอะไป  เอาประเทศที่เราคิดว่าดีแหละ  แค่อย่าไปคิดว่ามันจะดีแบบไม่มีข้อเสียเลยเท่านั้นเอง  คิดซะว่าการลงทุนในต่างประเทศด้วยนอกเหนือจากไทยเป็นการกระจายความเสี่ยงครับ

กองทุนต่างประเทศเราซื้อได้มั้ย ?

ได้  พวก ETF นะ  ซื้อได้เหมือนหุ้นต่างประเทศธรรมดาเลย  เราไปทำการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศซะ  แล้วเราก็จะซื้อ ETF ได้ครับ

เงินไม่เยอะควรไปลงทุนต่างประเทศมั้ย ?

พิจารณาเทียบกับค่าธรรมเนียมขั้นต่ำละกันครับ  คือถ้ามันคุ้มก็ไม่มีปัญหา  ถ้าดูแล้วไม่คุ้มก็อย่าไป  อย่างหุ้น US ปัจจุบันผมเห็นของ SCBS เค้า 4.99 USD นะซึ่งคือประมาณ 150 บาทใช่มะ  ดังนั้นสมมติซื้อดัวยเงินซัก 50,000 บาท  ค่าธรรมเนียมมันจะคิดเป็น 0.3% ของมูลค่าการซื้อขาย  ก็แพงกว่าซื้อหุ้นในไทย 0.15% แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้นะ  แต่สมมติบอกซื้อ 10,000 บาท  ค่าธรรมเนียมซื้อขายมันจะกลายเป็น 1.5% ซึ่งเริ่มแพงเว่อร์ละ  เช็คเรื่องค่าธรรมเนียมกับโบรกเกอร์ที่เราจะเปิดกับเค้าดูครับ

ลงทุนหุ้นต่างประเทศแบบ DCA ได้มั้ย ?

เข้าใจว่าส่วนใหญ่คนที่ถามนี่เค้าจะรู้สึกว่า DCA มีปัญหาเพราะเรื่องค่าธรรมเนียม  ผมก็แนะนำว่า DCA ทุก 6 เดือนก็ได้นี่  DCA มันขอให้สม่ำเสมอก็ใช้ได้  ไม่ได้มีใครบอกว่ามันต้องทุกเดือนนี่ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นจีนยังน่าลงทุนอยู่มั้ย ? หลังล่าสุดรัฐบาลออกกฎคุมเข้มธุรกิจต่างๆ

Are Chinese stocks still interesting given recent crackdowns ?

หุ้นจีนยังน่าลงทุนอยู่มั้ย ? หลังล่าสุดรัฐบาลออกกฎคุมเข้มธุรกิจต่างๆ

มีนักเรียนหลายคนถามถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่หุ้นจีนตกเพราะรัฐบาลออกมาจัดการกับบริษัทเทคโนโลยีในจีนกับออกกฎใหม่ที่กระทบธุรกิจเรียนพิเศษในจีน  จนทำให้หุ้นจีนตกเยอะมาก  กรณีแบบนี้ตลาดหุ้นจีนยังน่าสนใจอยู่มั้ยเห็นผมเคยสนใจหุ้นในจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นโรงเรียน  หรือกรณีแบบนี้ถือเป็นโอกาสหรือเปล่า

โดยรวมผมก็มองว่าเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสนะ  แต่แค่เราต้องเลือกนิดนึง

ในมุมมองของผมคือการที่รัฐบาลจีนทำแบบนี้  ไม่ได้มีเจตนาขัดขวางทุนนิยมหรือต้องการกลับไปเป็นสังคมนิยม  แต่เค้าแค่ต้องการเอาให้ชัวร์ว่าบริษัทอย่าง Alibaba, Tencent พวกนี้ยังอยู่ภายใต้การควบคุมและไม่กลายเป็นผูกขาดหรือใหญ่เกินไปเท่านั้นเอง  ส่วนเรื่องที่จัดการธุรกิจเรียนพิเศษอันนั้นมันไม่ได้เกี่ยวกัน  แค่บังเอิญเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน  เป้าหมายของเค้าคือพยายามแก้ปัญหาเรื่องประชากรเกิดน้อยโดยการลดต้นทุนของการเลี้ยงลูกลง  ซึ่งอาจจะดูรุนแรงมากเป็นเพราะรัฐบาลมองว่าเด็กควรจะเรียนหนังสือที่โรงเรียนไม่ใช่มาเรียนพิเศษ  มุมมองของรัฐบาลต่อธุรกิจนี้เค้าพูดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่ามองว่าเป็นปัญหาสังคม  เค้าก็เลยจัดการหนัก  แต่ไม่คิดว่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลจีนจะทำแบบนี้กับทุกธุรกิจ

ทีนี้ที่บอกมองว่าเป็นโอกาส  ก็เพราะมันลามไปทำให้หุ้นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องตกไปด้วยมากกว่า

เราในฐานะนักลงทุน  เราก็อย่าไปซื้อบริษัทที่มันโดนจังๆแบบประเภทกะไม่ให้ทำธุรกิจได้เลย  อย่างพวกที่ทำกวดวิชาเป็นหลักนี่คือเลี่ยงแน่นอนเพราะมันเสี่ยงเกินไปเยอะ  เราไม่รู้เลยว่าบริษัทพวกนี้มันจะปรับตัวอะไรยังไงแล้วจะรอดมั้ย  ส่วนหุ้นกลุ่ม tech อย่าง Alibaba หรือ Tencent  ผมก็มองว่าโอเคอยู่นะ  รัฐบาลจีนไม่ได้มีเจตนาจะเอาจนเละอยู่แล้ว  แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ว่ารัฐบาลจีนอาจจะอยากให้บริษัทพวกนี้มีอำนาจผูกขาดน้อยลง

ทีนี้สำหรับหุ้นโรงเรียนระดับประถมมัธยมที่ผมเคยพูดถึงในวีดิโอก่อนหน้า  ดูแล้วก็มีความเสี่ยงอยู่  ส่วนตัวไม่คิดว่าอยู่รัฐบาลจะประกาศให้โรงเรียนทั้งหมดต้องเป็น Non-profit แบบกวดวิชา  เพราะยังไงเค้าก็ยังต้องมีโรงเรียนเอกชนเหลืออยู่  ไม่เหมือนกวดวิชาเรียนพิเศษที่เค้ามองว่าไม่จำเป็นเลย  แต่ทั้งนี้ก็อาจจะมีมาตรการเช่นจำกัดการตั้งราคาค่าเทอมหรืออะไรออกมา  ดังนั้นก็มีความเสี่ยง  แต่เนื่องจากราคาหุ้นบริษัทกลุ่มนี้ก็ตกเยอะเหลือเกิน  ผมคิดว่าสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากหน่อยหุ้นกลุ่มนี้ก็ยังเป็นโอกาสดีอยู่

ส่วนที่ดีสุดเลยคือเรามองหาหุ้นที่มันไม่เกี่ยวสุดๆแต่ราคาดันตกจะดีที่สุด เช่นหุ้นอุตสาหกรรม, หุ้นของกิน, ฯลฯ  เพราะในเหตุการณ์นี้มันไม่เหมือนกับโควิด  มันเป็นนโยบายรัฐบาลซึ่งอะไรก็เกิดขึ้นได้จริงๆ  ถ้ามีทางเลือกเราฉวยโอกาสเอาในกลุ่มที่ตกแบบไม่มีเหตุผลดีกว่า

แต่ทั้งนี้  ต้องบอกว่าอันนี้คือมองระยะยาวเท่านั้นนะ  ในระยะสั้นก็อาจจะมีการแทรกแซงเพิ่มและตลาดอาจจะตกอีกก็ได้  ถ้าใครรู้ตัวว่าไม่สามารถถือยาวหรือทนความตื่นเต้นเวลาราคาตกได้  ก็สมควรหลีกเลี่ยงหุ้นจีนครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ ต่างกันมั้ย ?

Differences Between Investing in Thai Stocks Versus Global Stocks

ลงทุนหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ ต่างกันมั้ย ?

มีนักเรียนผมที่เค้าขอให้พูดถึงความแตกต่างระหว่างลงทุนในหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศ  ในวีดิโอนี้เราเปรียบเทียบลงทุนในหุ้นไทยกับหุ้นต่างประเทศในประเด็นต่างๆที่คนมักจะถามครับ

1. ผลตอบแทนอันไหนดีกว่า

เรื่องผลตอบแทนนี่อาจจะตอบยากนิดนึง  เพราะมันก็มีบางประเทศที่ผลตอบแทนแย่กว่าไทย  และบางประเทศผลตอบแทนดีกว่าไทย  ถ้าดูโดยภาพรวมเราก็เปรียบเทียบผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระหว่าง MSCI ACWI (all country world index) กับ SET Total Return Index  MSCI ACWI ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.7% ต่อปี  ในขณะที่ SET Total Return Index ผลตอบแทน 0.94% เท่านั้นเอง  ซึ่งก็แปลว่าตลาดหุ้นต่างประเทศผลตอบแทนดีกว่า

แต่ทีนี้ในทางปฏิบัติเราก็คงไม่ได้ซื้อหุ้นทุกประเทศแบบ MSCI ACWI  และเวลาซื้อหุ้นไทยเราก็ไม่ได้ซื้อทั้ง SET เช่นเดียวกัน  ผมมองว่าเรื่องผลตอบแทนดีกว่าหรือเปล่านี่น่าจะแล้วแต่การตัดสินใจเลือกหุ้นของเรามากกว่า

โดยความเห็นส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศจะผลตอบแทนดีกว่าหรืออะไร  แค่รู้สึกว่าการดูหุ้นต่างประเทศไว้ด้วยทำให้เรามีทางเลือกเยอะขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมลงทุนด้วยวิธีการฉวยโอกาสหุ้นตกด้วยใช่มะ  การมีหุ้นต่างประเทศด้วยก็รู้สึกว่าทำให้มีโอกาสเยอะกว่านั่งจ้องหุ้นไทยเฉยๆนะ

2. แล้วเรื่องความเสี่ยงล่ะ

บางคนที่ถามผมเรื่องนี้จะมีภาพความรู้สึกว่าลงทุนในหุ้นต่างประเทศนี่มัน advanced กว่า  มันสำหรับโปรหรือคนที่ลงทุนชำนาญแล้วหรือคนมีประสบการณ์หลายปีหรืออะไรซักอย่าง  

ในความเป็นจริงคือมันไม่เกี่ยวครับ  หุ้นต่างประเทศไม่ได้แปลว่ามันเสี่ยงมากกว่าหรือเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นไทย  เสี่ยงหรือไม่เสี่ยงมันขึ้นอยู่กับว่าเรารู้เรื่องเกี่ยวกับบริษัทนั้นหรือเปล่ามากกว่า  ลองนึกถึงตัวอย่างง่ายๆ  คุณว่าระหว่าง Starbucks กับ PTTGC อันไหนเสี่ยงกว่ากัน  อันไหนคุณเห็นภาพเข้าใจสินค้ามากกว่ากัน  คนส่วนใหญ่ก็จะเห็นภาพและเข้าใจ Starbucks มากกว่าแหละ  เพราะมันใกล้ตัว  PTTGC นี่ผมไม่เคยเจอใครเข้าใจหรือรู้เรื่องอะไรจริงๆจังๆ  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกว่าลงทุนในหุ้นไทยที่ตัวเองไม่รู้เรื่องเลยเสี่ยงน้อยกว่าลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่ตัวเองรู้จักดี  ผมก็ไม่เข้าใจ

ดังนั้นเราควรจะสนใจว่าเราเข้าใจหรืออย่างน้อยสามารถหาข้อมูลทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทหรือธุรกิจมันได้หรือเปล่ามากกว่า  ถ้าทำได้จะหุ้นไทยหรือต่างประเทศก็โอเคทั้งคู่นี่  แต่ถ้าไม่ได้มันก็เสี่ยงหมดแหละไม่ว่าจะหุ้นไทยหรือต่างประเทศ

อีกเรื่องที่คนมักจะถามถึงเวลาพูดถึงความเสี่ยงคือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอันนี้มันก็มีผลแหละแต่มันก็มีทั้งไปในทางที่ดีหรือไปในทางที่ไม่ดีก็ได้  ไม่ได้จำเป็นว่าต้องแย่เสมอไป  และผมมองว่าสมมติลงทุนในหลายประเทศ  โดยรวมระยะยาวมันก็จะหักล้างกันไป  บางสกุลเงินที่เราถือก็จะอ่อนค่าลง  บางสกุลเงินแข็งค่าขึ้น  ขอให้เราลงทุนแล้วกำไรเยอะๆก็ใช้ได้  อย่าไปกังวลมาก

3. การหาข้อมูล

ส่วนตัวคิดว่าไม่ต่างกันนะ  คือสมมติว่าเป็นบริษัทไทยที่เราไม่คุ้นเคยกับบริษัทต่างประเทศที่เราไม่คุ้นเคย  ยังไงก็ต้องเริ่มหาข้อมูลยังไงซักอย่าง  รายงานประจำปีที่อธิบายว่าบริษัททำอะไรก็มีเหมือนกัน  หลังจากนั้นไปอ่านเกี่ยวกับคู่แข่ง, จุดเด่นหรือสถานการณ์ของอุตสาหกรรมก็ต้องทำเหมือนกันทั้งหุ้นไทยและต่างประเทศ  เวป SET ที่ใช้สำหรับหุ้นไทย  หุ้นต่างประเทศก็มีเวปอย่าง Reuters กับ Morningstar ที่มีสรุปงบการเงินเหมือนๆกัน

อย่างเดียวที่อาจจะเป็นประเด็นคือบริษัทในต่างประเทศที่ไม่มีธุรกิจในไทยเราสัมผัสจริงยากกว่า  อย่างสมมติ CPALL ร้านสะดวกซื้อ 7-11 นี่เราสามารถเข้าไปเดินๆสัมผัสได้จริง  แต่อย่างร้านสะดวกซื้อในรัสเซีย Pyaterochka งี้เราอาจจะไม่ได้สัมผัสจริงถึงแม้จะอ่านข้อมูลได้ก็ตาม  มันก็ทำให้เสียเปรียบอยู่นิดนึงตรงเรื่องนี้นะ

4. วิธีเลือกหรือตัดสินใจ

มันก็เหมือนกันกับหุ้นไทย  ถ้าคุณใช้ปัจจัยพื้นฐานก็ใช้ปัจจัยพื้นฐานแบบเดียวกันกับหุ้นต่างประเทศได้  ถ้าใครดู P/E ก็ดู P/E  ใครดูกราฟก็ดูกราฟ  ไม่เห็นว่ามีความแตกต่างกันตรงไหน

5. ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าธรรมเนียมการซื้อขายโดยรวมแพงกว่าหุ้นไทย  เข้าใจว่าเป็นเพราะเราลงทุนผ่านตัวกลางสองต่อ  คืออย่างผมลงทุนผ่าน SCBS ซึ่งเค้าก็ไปติดต่อกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศอีกที  ถ้าไปติดต่อเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศได้โดยตรงอาจจะถูกกว่าอันนี้ไม่เคยลอง

ภาษีปันผล  โดยรวมก็แพงกว่าเช่น US นี่ 15%, Germany 26.375%  แพงสุดที่เคยเจอคือ Switzerland 35%  แต่ที่ถูกกว่าก็มีเช่น UK นี่ 0%, ฮ่องกงที่ไม่ใช่ H-shares ก็ 0%

สรุป

สรุปคือมันก็ไม่ต่างอะไรกันขนาดนั้นหรอกครับ  เราก็ยืนยันว่าการเปิดโอกาสศึกษาหุ้นต่างประเทศเป็นเรื่องดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณใช้ภาษาอังกฤษได้ผมว่าศึกษาไว้ก็ไม่เห็นเสียหายอะไรนี่  จะซื้อหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึงครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

Should You Worry About Exchange Rate When Investing in Foreign Stocks?

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

อีกเรื่องที่คนถามประจำเวลาผมพูดถึงการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือหัวข้อที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน  ว่าปกติเค้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไรเวลาเราแลกเงินไปกลับสกุลเงินอื่น แล้วก็เวลาไปลงทุนในต่างประเทศนี่คือเราต้องป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ยยังไง  วันนี้เรามาคุยหัวข้อนี้กันครับ

 

ใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไร ?

แต่เดิม SCBS บอกว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบเวลาเราไปแลกเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคาร  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนดีสุดของรายย่อย ซึงเราก็รู้กันอยู่แล้วว่ามันจะแพงกว่าเวลาเราไปแลกเงินที่ร้านแลกเงินอย่าง Superrich

แต่หลังจาก KSecurities เข้ามาแข่งแล้วโฆษณาบอกว่าใช้อัตราแลกเปลี่ยน interbank rate  ทาง SCBS ปัจจุบันบอกว่าของเค้าเป็น spot rate + 0.5% ซึ่งบอกตามตรงผมก็ไม่ทราบว่ามันคือดีหรือไม่ดีเท่าไหร่ยังไง

Kim Eng ไม่รู้เลย

 

แล้วต้องกังวลมั้ย  มีวิธีป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร ?

ส่วนตัวผมตอนนี้ไม่ได้กังวลอะไรมาก  ใช้วิธีว่าลงทุนในหลายประเทศแล้วหวังว่ามันจะถ่วงกันบางสกุลเงินอ่อนค่าบางสกุลเงินแข็งค่าในระยะยาวหักล้างกันไป  ส่วนเกินหรือขาดเหลือยังไงก็เอาว่าเราเลือกลงทุนได้ดีแล้วกำไรเยอะๆ เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเป็นแค่นิดๆหน่อยๆไม่น่าจะมีผลอะไรเยอะ

แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาปรากฎว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกับทุกสกุลเงินหลักเลยครับ  แล้วดังนั้นก็เลยมีผลต่อภาพรวมกำไรของพอร์ตเยอะเหมือนกันนะถ้าสมมติคิดมูลค่าพอร์ตเป็นหน่วยเงินบาท  ตัวอย่างสกุลเงินที่ผมมีเยอะๆเช่น USD คอนประมาณ 2015 ที่เริ่มลงทุน USD แลก THB ได้แถว 36 บาท มาตอนนี้ได้ประมาณ 30.5%  แปลว่าขาดทุนไปทั้งหมด -15.28% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็น -3.62% ต่อปีเลยนะ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่โอเคแหละผมก็ยังไม่ได้คิดจะแปลงกลับมาเป็นเงินบาทตอนนี้ก็ยังไม่เป็นไร  แต่นี่ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆนี่ก็เป็นปัจจัยถ่วงผลกำไรของพอร์ตพอควรเหมือนกันครับ

ถ้าสมมติฟังแล้วรู้สึกกังวลมาก  อยากจะทำการปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินให้ได้  ผมนึกออกอยู่วิธีนึงคือทำการซื้อสัญญา Forex เอาไว้ต่างหาก  ให้ขนาดมันประมาณพอดีแล้วก็กลับทิศกับเงินที่เราแปลงไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศเอาครับ  แต่ต้องบอกว่าผมไม่เคยทำนะ ดังนั้นในรายละเอียดคงต้องไปดูเอาเอง เวปนึงที่น่าจะใช้ได้คือของ OANDA เพราะตอนสมัยเรียนป.ตรีมีวิชานึงอจ.สั่งให้ไปลองทำ  ล่าสุดเปิดดูมันยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะแปลว่าไว้ใจได้มั้งครับ ผมทิ้งลิ้งค์ไว้เผื่อใครสนใจแต่ผมบอกเลยผมไม่เคยทำนะและสบายใจได้ว่าไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมอะไรกับเวปนี้

https://www.oanda.com/au-en/

วิธีนี้ที่ผมไม่คิดจะทำคือเพราะมันต้องมีใช้เงินวางไว้เป็นหลักประกันตัวสัญญา Forex  แปลว่าถ้าจะทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ต้องมีเงินบางส่วนไปจมอยู่เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ (initial margin) แล้วถ้าสมมติตัวสัญญา Forex เราขาดทุนเยอะๆก็จะต้องมีเอาเงินไปใส่ในบัญชีเพิ่ม (margin call) ซึ่งผมก็รู้สึกว่ามันวุ่นวายเลยไม่ได้ทำครับ

ส่วนวิธีอื่นๆตอนนี้ผมนึกไม่ออกจริง  ใครรู้ก็บอกทีนะ ปัจจุบันผมก็เลยใช้วิธีไม่สนใจและรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

Why We Want You to Invest Abroad

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

ตอนแรกๆที่เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะเวิร์คหรือเปล่า  แต่มาตอนนี้อยากแนะนำให้ทุกคนที่อ่านภาษาอังกฤษออกและมีเงินลงทุนพอสมควรพิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. เป็นการขยายโอกาสทำกำไร
  2. การขยายขอบเขตการลงทุนไปดูหุ้นต่างประเทศด้วย  ทำให้มีโอกาสซื้อหุ้นดีได้ในราคาถูกบ่อยขึ้น แทนที่จะรอแต่หุ้นไทยตกอย่างเดียว

  3. ลดความเสี่ยงที่บางครั้งเกิดกับเฉพาะประเทศไทย
  4. การลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี  เพราะบางครั้งมันก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้นตกเฉพาะตลาดหุ้นไทย  นึกถึงพวกเหตุการณ์หุ้นไทยตกอย่างตอนปี 2540 ถ้าเรามีเงินบางส่วนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศเราก็จะไม่โดนเต็มๆ

  5. สามารถซื้อธุรกิจบางประเภทที่หาไม่ได้ในไทย
  6. ธุรกิจบางประเภทไม่มีให้ซื้อในตลาดหุ้นไทย  อย่างสมมติถ้าเราอยากถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alphabet (Google), Tesla เราก็ต้องไปตลาดหุ้นอเมริกา

 

ส่วนเหตุผลที่ทำให้บางคนไม่ได้เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็ไม่เป็นจริงเสมอไปเช่น

  1. หุ้นต่างประเทศความเสี่ยงสูง
  2. หุ้นในต่างประเทศก็เป็นบริษัทที่มีอยู่จริงเหมือนหุ้นในไทยนี่แหละครับ  ตราบใดที่เรารู้จักบริษัทรู้จักสินค้ามันก็ไม่ได้เสี่ยงกว่าการซื้อหุ้นไทยตรงไหน  นึกถึงอย่าง Starbucks, McDonald’s หรือ Coca-Cola ที่เราคุ้นเคยกับสินค้า การลงทุนในบริษัทพวกนี้ซึ่งอยู่ในต่างประเทศเผลอๆจะปลอดภัยกว่าซื้อหุ้นไทยหลายๆบริษัทที่เราจริงๆก็ไม่ได้เข้าใจ

  3. ลงทุนหุ้นต่างประเทศมันยาก
  4. มันไม่มีอะไรยากเลยครับ  เปิดบัญชีเหมือนหุ้นไทยและเวลาซื้อก็เหมือนหุ้นไทย

  5. เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  6. อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ผลตอบแทนไม่แน่นอนก็จริงและที่ผ่านมาเนื่องจากเงินบาทแข็งมันก็ทำให้ไปลงทุนต่างประเทศผลตอบแทนลดลง  แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้จำเป็นต้องแย่เสมอไป อัตราแลกเปลี่ยนมันก็มีทั้งทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่ใช่ว่ามันจะต้องไม่ดีเสมอไป

 

ข้อเสียอย่างเดียวของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นเท่านั้นเอง  แต่โดยรวมแล้วผมว่าข้อดีมีมากกว่าข้อเสียและอยากจะแนะนำให้พิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติมจากหุ้นไทยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

How to Register for an International Stock Account ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

ขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศทำยังไง ?

ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทำวีดิโอหัวข้ออะไรประมาณนี้แล้วนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายคนก็เลยจะทำวีดิโออธิบายไว้ให้สมบูรณ์ไปเลยทีเดียวครับ

เท่าที่ผมทราบตอนนี้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีบริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศจะมี SCB Securities, KSecurities  แล้วก็ Kim Eng แต่ละโบรกเกอร์จะมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อยเช่นเรื่องค่าธรรมเนียมกับไปได้บางประเทศไม่เหมือนกัน  แต่ตลาดต่างประเทศหลักๆอย่างอเมริกา, ยุโรป, จีน, ญี่ปุ่น, ฯลฯ ไปได้เหมือนกันหมด

เปิดบัญชีของ SCB Securities

ปัจจุบันผมใช้ของที่นี่เป็นหลักเพราะตอนนั้นเจอเป็นเจ้าแรกที่ทำได้

วิธีการเปิดบัญชีปัจจุบันของ SCB Securities เค้ามี 2 ทางคือ

1. เปิดผ่านแอพ SCB Easy

ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมากครับ  แต่ก่อนไม่มี สะดวกมากและเราแนะนำให้ทำผ่านทาง SCB Easy นี่แหละครับ

ขั้นตอนคือ

  • เปิด SCB Easy
  • เลือก “การลงทุน”
  • เลือก “ลงทุนกับ  SCBS”
  • ใส่ PIN
  • เลือก “เปิดบัญชี”
  • เลือก “อนุญาต”
  • ตรงนี้เค้าจะบอกว่าทำการเปิดบัญชีครั้งนี้ครั้งเดียว  ได้หมดเลยทั้งหุ้นไทย, ต่างประเทศ, กองทุน
  • ดูว่าคุณสมบัติเราผ่าน
  • ใส่หมายเลขที่อยู่ด้านหลังบัตรประชาชน
  • เช็คข้อมูลส่วนตัวว่าถูกต้องมั้ย
  • ที่อยู่ดูให้เรียบร้อย
  • สถานภาพสมรส
  • ใส่ข้อมูลอาชีพ
  • ใส่ข้อมูลเรื่องวัตถุประสงค์การลงทุน
  • กำหนดวงเงิน  เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • เลือกลักษณะที่เราลงทุน  โดยปกติหุ้นต่างประเทศก็อาจจะต้องรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
  • ทำประเมินการรับความเสี่ยงซะ
  • ตรงที่ถาม  รับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้มั้ย  ต้องตอบว่า “ได้” ไม่งั้นน่าจะเปิดบัญชีหุ้นต่างประเทศไม่ได้
  • เลือกบัญชี SCB ที่ผูกกับบัญชีหุ้น
  • ตรวจสอบข้อมูลอีกที
  • เลือก “ยอมรับ”
  • ยืนยันเบอร์โทร
  • จบละ

ง่ายมากและเร็วมากจริงๆครับ  หลังจากทำเสร็จปุ๊บผมยังนึกว่าต้องใช้เวลาซัก 1 วัน  แต่ปรากฎว่าอนุมัติทันทีและเค้าส่ง Username และ Password มาทันที  ที่เหลือคือไปตั้งรหัสของตัวเองแล้วก็ก่อนซื้อขายต้องโอนเงินเข้าไปในบัญชีก่อนครับ

Login ของบัญชีหุ้นต่างประเทศมันจะอยู่ล่างๅ

2. เปิดโดยการกรอกเอกสาร

โทรไปหาเค้าแล้วแจ้งว่าจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ  แจ้งที่อยู่ให้เค้าส่งมาให้

SCB Securities เค้าจะมีเอกสารอธิบายว่าต้องทำอะไรเตรียมอะไรอยู่แล้ว

ส่วนตรงข้อมูลส่วนตัวพวกเรื่องรายได้, รายได้อื่นกับข้อมูลการติดต่อกับสถาบันการเงินต่างๆ  ตรงนี้ปกติไว้ใช้พิจารณาวงเงิน ซึ่งบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศเป็น Cash Balance อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความสำคัญอะไรไม่ได้ต้องซีเรียส

พวกประวัติฟอกเงินหรือเคยถูกปฏิเสธการรับทำธุรกรรมทางการเงิน  พวกนี้เราก็ตอบไปตามจริงซึ่งโดยปกติผมว่าไม่น่าจะมีใครมีปัญหาอยู่แล้ว

เรื่องการรับความเสี่ยง  ตรงคำถามว่าท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ระดับใด  ถ้าตอบว่าน้อยที่สุดก็อาจจะเปิดไม่ได้ ส่วนสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ  ถ้าตอบว่าไม่ได้นี่คือเปิดบัญชีไม่ได้แน่ๆ ตอบว่าได้นี่คือชัวร์สุด ผลรวมถ้าคะแนน 30 คะแนนขึ้นไปก็คือเปิดได้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

เรื่องข้อมูลธนาคารในการรับเงิน  E-Dividend หรือการหักเงินบัญชีธนาคารโดยตรง  จะไม่มีถ้าเป็นหุ้นต่างประเทศเพราะเป็นระบบ Cash Balance อย่างเดียว

เลือกเปิดบัญชี  เลือกทั้งสั่งคำสั่งผ่านระบบ Internet และผ่านผู้แนะนำการลงทุน  

ที่เหลือคือกรอกเอกสารตามความเป็นจริงและเซ็นให้เรียบร้อย

FATCA ตอบตามความเป็นจริง  ถ้าไม่ใช่ชาวอเมริกันก็คือตอบ No ทุกข้ออยู่แล้ว

W-8BEN อันนี้เรื่องภาษีของ US เพื่อกลับมาเสียภาษีที่ไทย

Globe Tax ประหยัดภาษีปันผลจาก 30% เหลือ 15% มีค่าบริการ

ของ SCB เค้าจะไม่มีกำหนดว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ในบัญชี

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมเวลาเอาเงินออกหรือกลับประเทศไทย  ล่าสุดเค้าบอกว่าโอนออกไม่เสียเงินแล้ว แต่ตอนโอนเข้ากลับมาจะมีเสีย 500 บาทต่อครั้ง

เปิดบัญชีของ KSecurities

ของเจ้านี้ผมสนใจขึ้นมาเพราะเกิดสนใจอยากจะลงทุนในหุ้นตุรกี  การเปิดบัญชีของ KSecurities ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสารเท่านั้น  ดังนั้นก็โทรไปขอเค้าเลยครับ

เอกสารไม่ได้มาเป็นเล่มเหมือนของ SCB Securities แต่การกรอกก็คล้ายๆกันครับ

ของที่นี่ผมตอนผมโทรไปเค้าให้ข้อมูลพยายามช่วยเหลือดีมากเลยครับ  เค้าแจ้งว่าของ KSecurities จะมีบทวิเคราะห์ของ S&P Capital IQ แล้วก็สามารถช่วยหาข้อมููลทาง Bloomberg ได้

แต่ที่ผมแปลกใจคือเค้าบอกว่าเรื่องการโอนเงินออกหรือเข้าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทั้งตอนออกและเข้าครั้งละ 1,300 บาท  ซึ่งก็แปลกว่าทำไมไม่เหมือนของ SCB

และอีกอย่างที่ต่างคือต้องมีการโอนเงินเข้าไปในบัญชี 500,000 บาทก่อน  ถึงจะส่งรหัสมาให้เราเริ่มใช้งานได้ 

เปิดบัญชีของ Kim Eng

ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสาร

ข้อมูลที่กรอกก็เหมือนๆเจ้าอื่น  แต่ต้องมีเปิดบัญชีหุ้นไทยด้วยถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้  ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเปิดไปทั้งคู่แหละครับ

ไม่มีขั้นต่ำ

ที่เค้าบอกว่าต้องมี Statement ย้อนหลัง 3 เดือนเข้าใจว่าไว้กำหนดวงเงิน  แต่ถ้าเราเปิดบัญชี Cash Balance อย่างเดียวเลยก็ไม่น่าจะต้องใช้

ของที่นี่มีค่าเปิด 90 บาท  อันนี้น่าจะแล้วแต่มาร์เก็ตติ้ง  จริงๆของหลักทรัพย์อื่นก็มีแหละ แต่แค่ว่าตัวมาร์เก็ตติ้งบางคนหรือตัวโบรกเกอร์เค้าออกให้เท่านั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี