หาข้อมูล ETF ต่างประเทศยังไง ?

How to find information for foreign ETFs ?

หาข้อมูล ETF ต่างประเทศยังไง ?

มีคนถามประมาณนี้  ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่พยายามจะหานี่คืออะไร  แต่ทั้งนี้ผมว่าเรื่องกองทุนมันไม่ได้มีอะไรมากก็เลยทำวีดิโอตอบแบบครอบคลุมละกัน

ไอเดียของการเลือกกองทุนรวมหรือ ETF จะในไทยหรือต่างประเทศผมว่ามันเหมือนกัน  และหัวข้อนี้เราเคยทำวีดิโอตอบไปแล้ว  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ https://youtu.be/yRDYYol68vI

ทีนี้เรื่องการหาข้อมูล  สมมติเราเริ่มจากเราต้องการจะรู้ว่า ETF มีอะไรบ้าง  มันก็ทำได้โดย Google ตรงๆเลยครับ  หาคำประมาณว่า list of ETF in …(ประเทศที่เราต้องการ)…  หรือไม่อย่างนั้นผมก็แนะนำให้ใช้เครื่องมือเปรียบเทียบกองทุนของ Morningstar  เค้ามีแยกหมวด ETF ออกมาอยู่

แล้วต่อมา  สมมติเรามีกองทุน ETF ที่เราสนใจละ 2-3 ชื่อ  เราต้องการหาข้อมูลเพิ่มนอกเหนือจากที่เจอบนเวปของ Morningstar  สิ่งที่เราทำได้มากสุดก็คือไปที่เวปของผู้บริหารกองทุนนั้นๆเลยครับ  แล้วก็ไปอ่าน prospectus หรือพวกเอกสารที่สรุปสาระสำคัญต่างๆของกองทุน  นโยบายการลงทุน, ค่าธรรมเนียม, ผลตอบแทนย้อนหลัง, ผู้บริหารกองทุนเป็นใคร, ฯลฯ

จบละ  มันทำได้มากสุดแค่นี้แหละครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

What are Share Classes ? Why do some companies have multiple share classes ?

Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

มีคนเห็นว่าหุ้น Alphabet มี Class A กับ Class C  เค้าถามว่ามันต่างกันยังไง

ต่างกันยังไงสมมติเราดูแค่ชื่อนี่คือไม่มีทางรู้ได้ครับ  มันไม่ได้มีหลักสากลอะไร  ต้องเปิดไปดูเวปของบริษัทปกติเค้าจะอธิบายไว้อยู่

เช่นอย่างกรณี Alphabet นี่  มันต่างกันตรงสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 10 โหวต
  • Class C คือ 1 หุ้น 0 โหวต

ส่วนกรณี Berkshire Hathaway มันต่างกันทั้งสัดส่วนความเป็นเจ้าของและสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 1/1500 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1/10000 โหวต

อย่างที่เห็นคือมันแบ่งได้หลากหลายมาก  ดังนั้นเราต้องเช็คด้วยตัวเองเสมอว่ามันต่างกันยังไง  กรณีส่วนใหญ่การแบ่ง Class หุ้นเค้าทำไปเพราะเจ้าของเดิมอยากรักษาความสามารถในการควบคุมบริษัทเอาไว้  กำไรแบ่งกันไม่เป็นไร  ก็เลยเป็นที่มาว่างั้นเอางี้ละกัน  แทนที่จะมีหุ้นแบบเดียวที่มีสิทธิออกเสียงเท่ากัน  เปลี่ยนเป็นออกหุ้นให้มันมีมากกว่าแบบเดียว  อันนึงมีสิทธิในการออกเสียงควบคุมบริษัทมากกว่าส่วนอีกอันน้อยกวา

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ETF ต่างประเทศ ซื้อได้มั้ย ซื้อยังไง มีอะไรบ้าง ?

Buy ETF abroad

ETF ต่างประเทศ ซื้อได้มั้ย ซื้อยังไง มีอะไรบ้าง ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับการซื้อกองทุนในต่างประเทศ  ตอบไปทีละเรื่อง

ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศซื้อกองทุนในต่างประเทศได้มั้ย ?

ซื้อ ETF ได้ครับ  พวกที่ไม่ใช่ ETF ที่เวลาซื้อต้องซื้อจากบริษัทจัดการกองทุนอันนั้นไม่ได้  แต่เนื่องจาก ETF ในต่างประเทศอย่างอเมริกาหรือยุโรปได้รับความนิยมกว่าในไทยเยอะ  ETF มีเยอะและหลากหลายมากดังนั้นซื้อแค่ ETF ก็ควรจะพอละ

 

เวลาซื้อทำยังไง ?

สั่งซื้อเหมือนหุ้นธรรมดาเนี่ยครับ

 

ค่าธรรมเนียมต่างๆแพงมั้ย  มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

อันนี้ไม่ทราบเหมือนกัน  น่าจะแล้วแต่กองทุนนะ  สนใจกองทุนไหนคงต้องไปหาเอาเอง

 

ETF ในต่างประเทศมีอะไรบ้าง ?

คือมีเยอะมาก  ทั้งกองที่ลงทุนแบบ index หรือตามธีมอะไรซักอย่าง  มีทั้ง passive, active  อยากได้อะไรก็ลองหาดูครับ  Google ชื่อตลาดหุ้นประเทศที่เราจะไปลงทุนแล้วก็คำว่า ETF มันก็น่าจะหาได้อยู่

ใน US ก็จะมีของ Blackrock ที่ดังและใหญ่สุดแล้ว  ETF เค้าจะชื่อ iShares  ประเทศอื่นผมไม่รู้เหมือนกันแต่ชัวร์ว่าในยุโรปก็มีเยอะมาก

 

เทียบกับซื้อกองทุนในไทยที่ไปเป็น feeder fund ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศอีกที  อันไหนดีกว่ากัน ?

อันนี้ไม่รู้เลยครับ  แต่เข้าใจว่ากองทุนในไทยที่เป็น feeder fund อาจจะไปลงทุนในกองทุนที่ไม่ใช่ ETF นะ  ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องดีกว่าหรือแย่กว่า  การตัดสินใจคงขึ้นกับว่าเราอยากจะลงทุนในกองทุนอะไรเป็นพิเศษมั้ยมากกว่า

 

มีวิธีการเลือกยังไง ?

ผมว่าก็เหมือนเลือกกองทุนของไทยเนี่ยแหละ  คร่าวๆก็ดูว่าลงทุนในอะไรตรงกับที่เราต้องการมั้ย  ค่าธรรมเนียมเป็นยังไง  ที่ผ่านมาผลการดำเนินงานดีมั้ย

โดยรวมก็มองว่าถ้าไม่คิดอะไรมากก็ซื้อ ETF ที่ลงทุนแบบ passive ตาม index ไปเลยก็ได้  ผมเข้าใจว่าคนที่จะซื้อ ETF ในต่างประเทศก็คือไม่ได้มีในใจว่าจะลงทุนในหุ้นอะไรเป็นพิเศษอยู่แล้วนี่  ถ้าอย่างนั้นก็ลงทุนกระจายตามดัชนีไปเลยมั้ย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะหาหุ้นปันผลสูงของต่างประเทศได้ที่ไหน ?

Where to find high dividend foreign stocks ?

จะหาหุ้นปันผลสูงของต่างประเทศได้ที่ไหน ?

มีคนถามเข้ามาก็นึกได้ว่าหัวข้อนี้เคยทำไปสำหรับหุ้นไทยแต่ยังไม่เคยทำสำหรับหุ้นต่างประเทศ

วิธีการที่ตรงประเด็นสุดคือใช้พวก Stock Screener เลยครับ  ผมพบว่าของ Tradingview ก็ใช้ง่ายดี  ไปที่ลิ้งค์นี้ https://www.tradingview.com/screener/

วิธีการใช้ก็ง่ายมาก  ตอนนี้มันจะ default หุ้นอเมริกาอยู่  สมมติเราต้องการจะเปลี่ยนประเทศก็กด Filter ที่อยู่ทางขวามือเปลี่ยนเป็นตลาดประเทศที่เราต้องการ  จากนั้นก็เลือกแถบ Dividends  แล้วก็กดให้มันเรียงปันผลจากมากไปน้อยเท่านั้นเองครับ  แค่นี้ก็ได้รายชื่อหุ้นปันผลสูงในประเทศที่เราต้องการละ

เวลาเราเลือกนี่ก็อย่าลืมว่าใช้ความระมัดระวังนะ  คืออย่าเห็นแค่ว่าปันผลสูง  ต้องดูด้วยว่ามันมีความสามารถในการทำกำไรสม่ำเสมอมั้ย  ไม่งั้นปันผลที่เห็นว่าสูงนั่นมันก็อาจจะลดลงหรือไม่มีได้ในอนาคต

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

ADR, GDR what are they ?

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

มีคนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  แล้วก็เริ่มเห็นว่าหุ้นบางทีมันจะมีคำว่า ADR หรือ GDR อยู่ด้านหลัง  ก็เลยมีคำถามว่ามันคืออะไร

พวกที่มันมี DR อยู่ข้างหลังเช่น DR, ADR, GDR พวกนี้มันคือ depository receipt ครับ

Depository receipt มันคือการที่โบรกเกอร์หรือธนาคารซื้อหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศ  แล้วเอาไปฝากไว้กับพวก custodian ผู้ดูแลทรัพย์สิน  แล้วให้ custodian ออกเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่ออกมา  แล้วโบรกเกอร์หรือธนาคารก็เอาเอกสารนั่นมาให้คนซื้อขายแทนหุ้น  ตัวเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่นั่นน่ะคือ depository receipt ครับ

การทำแบบนี้เป็นการอำนวยความสะดวกดึงเอาหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศมาให้นักลงทุนในประเทศลงทุนได้  โบรกเกอร์หรือธนาคารที่เป็นคนออก DR ก็ได้ค่าธรรมเนียมและบางทีจะมีหักปันผลที่ได้บางส่วนด้วย

ความต่างระหว่าง DR กับหุ้นจริงหลักๆคือ

  1. 1 DR อาจจะเท่ากับกี่หุ้นก็ได้แล้วแต่คนออกกำหนด
  2. ราคาของ DR กับหุ้นมันจะสอดคล้องไปในทางเดียวกัน  ส่วนใหญ่จะเท่าๆกัน  แต่ไม่จำเป็นเสมอไป 
  3. ปันผลที่ได้จาก DR อาจจะไม่เท่าหุ้นจริง
  4. การออก DR ไม่ได้ทำให้เกิด dilution เพราะจำนวนหุ้นเท่าเดิม

แต่สรุปแล้วการลงทุนใน DR มันก็เกือบจะเหมือนลงทุนในหุ้นจริงแหละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอ บนแพลตฟอร์มของ SCB ??

Can't find Japanese Stocks on SCB's platform ??

ทำไมหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอ บนแพลตฟอร์มของ SCB ??

อธิบายเรื่อง Online กับ Offline platform

หัวข้อเรื่องนี้จริงๆมาจากคนที่ไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศละ  แล้วพอเข้าไปบนหน้าจอสั่งคำสั่งซื้อขายบนเวปแล้วปรากฎว่าหาหุ้นญี่ปุ่นไม่เจอเค้าเลย message มาถามเรา

จะอธิบายว่าอย่างสมมติเปิดพอร์ตกับ SCBS หรือ KSecurities หรือ Kim Eng ก็แล้วแต่  เค้าจะมีบางตลาดที่ไม่อยู่บน Online platform แต่ซื้อขายได้นะแค่ต้องโทรไปสั่งกับทางมาร์เก็ตติ้งเท่านั้นเอง

ตลาดหลักๆส่วนใหญ่ซื้อขายได้บนออนไลน์แหละ เช่น

  • อเมริกา
  • ยุโรป (เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ฯลฯ)  ยกเว้นตุรกี
  • ฮ่องกง

จะมี Kim Eng ที่ต่างกว่าคนอื่นคือหุ้นยุโรปซื้อออนไลน์ ไม่ได้ต้องโทรสั่ง  ส่วนหุ้น Malaysia ที่คนอื่นต้องโทรสั่ง ของ Kim Eng สั่งออนไลน์ได้

ส่วนตลาดที่ต้องโทรสั่งเช่น

  • จีน
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลี
  • ออสเตรเลีย
  • อินโดนีเซีย
  • เวียดนาม

ถ้าต้องการซื้อหุ้นในตลาดเหล่านี้ก็ไม่ได้ยากนะ  แค่โทรไปสั่งกับมาร์เก็ตติ้งเท่านั้นเอง เวลาดูราคาก็ดูไปบนเวปอื่นอย่าง Bloomberg เอาครับ

 

โดยปกติแล้วถ้าตลาดไหนซื้อขายด้วยตัวเองบนออนไลน์ได้  ผมก็จะทำด้วยตัวเองแหละครับเพราะว่า

  1. ค่าธรรมเนียมถูกกว่า
  2. ไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งเองได้  บางตลาดเปิดดึก เวลาจะสั่งซื้อต้องโทรสั่งตั้งแต่กลางวัน  แล้วเกิดอยากแก้ไขคำสั่งก็ไม่ได้มาร์เก็ตติ้งไม่อยู่แล้ว

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

How does your global stock tax work ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

เวลาไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ  เราจะต้องเสียภาษีอย่างไร ?

ตอนเริ่มลงทุนหุ้นต่างประเทศผมก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน  อย่างหุ้นไทยเรารู้ว่า Capital Gain เราไม่ต้องเสียภาษี แต่ในอเมริกา Capital Gain เสียภาษีนะครับ  แล้วถ้าเราไปลงทุนในหุ้นอเมริกาล่ะเราต้องเสียภาษีตามเค้าหรือเปล่า

ผมเคยถามทาง SCBS คำตอบคือ

 

ถ้าเป็นปันผล

ประเทศส่วนใหญ่ก็จะเหมือนเราคือมีภาษีปันผลที่หัก ณ ที่จ่ายเลย  และดังนั้นถ้าเราไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็จะโดนหักภาษีแบบนี้เช่นกัน  แต่ละประเทศภาษีแพงถูกไม่เท่ากัน ที่แพงกว่าเราก็มีแบบเกือบ 30% เลย หรือที่ถูกกว่าเรา 0% เลยก็มี

ใครอยากดูรายละเอียดดูได้บนเวป SCB Securities เค้ามีอยู่ครับ  ตามลิ้งค์นีี้เลย http://www.scbs.com/medias/pdf/Corporation_Actions_Charges.pdf

ของหุ้นอเมริกา  ปกติถ้าเป็นพวกเราปันผลจะโดนภาษี 30%  แต่ SCB เค้าจะมีบริการทำอะไรซักอย่างซึ่งผมก็ไม่เข้าใจทั้งหมด  แต่เหมือนเค้าทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานะทำให้โดนภาษีแค่ 15% แทนโดยมีค่าดำเนินการนิดหน่อยแค่ 2,000 บาททุกๆ 3 ปี  ซึ่งถ้าเราลงทุนในหุ้นอเมริกาเยอะยังไงก็คุ้มอยู่แล้วแนะนำให้ทำซะครับ ของ KSecurities ก็มีเช่นกัน ส่วน Kim Eng ก็น่าจะมีนะ  ลองถามเค้าดูครับ

 

ส่วนเรื่อง Capital Gain

ไม่ว่าจะลงทุนประเทศไหนก็แล้วแต่  เราเสียภาษี Capital Gain ตามกฎหมายประเทศไทย  ซึ่งคือ 0% หรือไม่ต้องเสีย โคตรได้เปรียบคนอื่นเค้าเลยครับ

จะมีข้อกำหนดพิเศษที่อาจโดนภาษีนิดนึงคือกรณีที่ลงทุนระยะสั้นๆไ่ม่ถึงหนึ่งปี  กติกาคือนับตามปีปฏิทิน ถ้าเรามีการโอนเงินออกไปนอกประเทศปีที่ 1 แล้วลงทุนทำกำไรแล้วดึงเงินกลับมาประเทศไทยภายในปีที่ 1  แบบนี้ส่วนกำไร Capital Gain จะโดนนับรวมกับรายได้แล้วเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่สมมติขายหุ้นได้กำไร Capital Gain ตั้งแต่ปีที่ 1 แหละ  แต่ไม่ได้ดึงเงินกลับมาประเทศไทย ปล่อยทิ้งไว้จนปีต่อมา แล้วค่อยดึงเงินกลับมาตอนปีที่ 2 เป็นต้นไปแบบนี้ก็ไม่นับละ  ไม่โดนนับเป็นภาษีเงินได้

 

ดังนั้นลงทุนได้อย่างสบายใจละครับ  จะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นต่างประเทศนี่เราได้เปรียบคนประเทศเค้าลงทุนในประเทศตัวเองมากเลยนะ

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg