อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

Most important financial ratios

อัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด ?

มีคนถามว่าอัตราส่วนทางการเงินอันไหนสำคัญสุด  ต้องดูอันไหนบ้าง  รู้สึกมันมีเยอะไปหมด  ในวีดิโอนี้ผมพูดถึงอันที่ผมมองว่าสำคัญสุดละกัน  โดยเราจะพูดถึงสำคัญ 3 อันดับแรกนะ  เพราะถ้าพูดถึงเยอะกว่านั้นมันก็จะปัญหาเดิมคือรู้สึกมันมีเยอะไปหมด

1. Return on Equity

อันนี้สำคัญสุดละ  เพราะอัตราส่วนนี้สื่อว่าเงินของผู้ถือหุ้นทุกๆ 100 บาทที่บริษัทเก็บไว้เอาไปทำให้เกิดกำไรได้กี่บาท  อัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะยิ่งดีเป็นธรรมดา  ตัวเลขนี้อาจจะสูงได้ด้วยการที่บริษัทจ่ายปันผลออกมาเยอะๆทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเล็กก็เป็นไปได้  กรณีแบบนั้นก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทแย่นะแค่ว่าไม่ได้แปลว่าดีมากเฉยๆ

2. Net Profit Margin

Net Profit Margin คือสื่อว่าจากทุกรายได้ 100 บาทที่บริษัททำได้  เมื่อหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วเหลือกี่บาท  ตัวเลขนี้มันต่างกันแล้วแต่ลักษณะธุรกิจ  ผมให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอมากกว่า  กับดูว่ามันไม่ต่ำจนไม่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ

3. Interest Coverage

อัตราส่วนนี้มันก็อยู่ในหมวด liquidity ratio  วัตถุประสงค์คือไว้ดูว่าบริษัทน่าจะจ่ายหนี้ได้มั้ย  ที่ผมนิยมใช้คือ EBIT/Interest expense  ผมไม่นิยมใช้ EBITDA/Interest expense  สิ่งที่อัตราส่วนนี้สื่อคือกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลายเท่าของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  ก็แปลว่าน่าจะสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้  ก็คือเสี่ยงน้อย  ดังนั้นอัตราส่วนนี้ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี

สามอันนี้ส่วนตัวผมว่าสำคัญสุดครับ  ไม่ใช่บอกว่าอันอื่นไม่สำคัญนะ  แค่บอกว่าสามอันนี้สำคัญสุด  เป็นอันที่ยังไงผมต้องดูแน่ๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

Book recommend: book on financial statements

แนะนำหนังสือเรื่องการอ่านงบการเงิน

เรื่องนี้เอาจริงๆผมก็ไม่รู้เหมือนกัน  คือพอดีผมเรียนตรงสายก็เลยเรียนพื้นฐานบัญชีกับพวกงบการเงินมาตั้งแต่ป.ตรี  แล้วก็มาสอบ CFA ซึ่ง CFA 1, 2 ก็มีเรื่องบัญชี  มันเลยเหมือนอ่านและเรียนหลายครั้งจาหนังสือหลายเล่ม

หลักๆแล้วผมมองว่าความเข้าใจที่เราต้องมีก็คือเรื่องหลักการบันทึกบัญชีเบื้องต้น  เข้าใจงบหลักอย่างงบกำไรขาดทุน, งบแสดงสถานะทางการเงินแล้วก็งบกระแสเงินสด  เข้าใจว่ามันสื่ออะไร  โครงมันเป็นยังไง  รู้จักรายการหลักๆบนนั้น  เข้าใจว่างบการเงินแต่ละเรื่องมันสัมพันธ์กันยังไง  แล้วก็เข้าใจความหมายของอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ  ประมาณนี้ก็น่าจะใช้ได้ละ

หนังสือที่ผมเคยอ่านหรือคิดว่าเคยอ่านก็จะมี

  • ซีรี่ส์ For Dummies  จำไม่ได้ว่าเล่มไหน  น่าจะ Accounting for Dummies นะ  แต่อ่านเล่มที่ชื่อ Financial Accounting for Dummies น่าจะตรงประเด็นกว่า

  • Warren Buffett and the Interpretation of Financial Statements  เล่มนี้ก็เคยอ่านแน่นอน  แต่เล่มนี้ไม่ใช่พื้นฐานบัญชีนะ  ถ้าจำไม่ผิดมันสำหรับคนเข้าใจบ้างอยู่แล้ว  หนังสือเค้า Highlight รายการที่สำคัญแล้วพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินเพิ่มเติม

  • เล่มที่เป็นการ์ตูนที่จำได้จะมีของ Tactschool  คือเล่มนี้มาอ่านตอนหลังมากก็เลยรู้อยู่แล้วทั้งหมด  จำไม่ได้เลยว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง  แต่จำได้ว่าดีนะ  เคยซื้อเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่ๆที่ทำงาน  ดังนั้นก็เลยคิดว่าดี

  • นอกนั้นที่เหลือจะเป็นหนังสือเรียนตอนป.ตรีกับหนังสือของ CFA 1 ละ

ประมาณนี้แหละครับ  ส่วนใครที่ถามเกี่ยวกับหนังสือเล่มอื่นๆว่าดีมั้ยนู่นนี่  คือผมไม่เคยอ่านดังนั้นผมไม่รู้และไม่มีความเห็นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

จริงๆมันก็ไม่ได้มีประเด็นอะไรมากนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายทีละทำวีดิโอตอบซะหน่อย

ทุนจดทะเบียนคือจำนวนเงินทุนที่จดทะเบียนเอาไว้ในเอกสารตามกฎหมายน่ะครับ  คิดซะว่ามันเป็นขออนุญาตเอาไว้  จะออกจริงตามจำนวนนั้นหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึง

ส่วนทุนที่ออกชำระแล้วคือที่ออกมาจริงแล้ว  บริษัทได้รับเงินจากผู้ถือหุ้นแล้ว  หุ้นอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นแล้ว  ซึ่งก็คือจะเท่ากับหรือน้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้ก็ได้

เวลาคิดกำไรต่อหุ้น  จำนวนหุ้นที่เราจะใช้ก็คืออิงทุนที่ออกและชำระแล้ว  ทุนจดทะเบียนไม่เกี่ยว

เอาจริงๆในทางปฏิบัติทุนจดทะเบียนผมก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรนะ  สมมติจะออกหุ้นเกินที่จดทะเบียนไว้ก็สามารถทำได้ขอแค่ให้ผู้ถือหุ้นเห็นชอบเท่านั้นเอง

ในบางประเทศเค้าไม่ต้องมีเรื่องจดทะเบียนไว้เท่าไหร่แล้วด้วยซ้ำ  เช่นหุ้นในออสเตรเลียหรืออังกฤษ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ยกตัวอย่าง บริษัทดูดีแต่ไม่ดีจริง

Examples of Seemingly Good companies, But Are Not Really Good

ยกตัวอย่าง บริษัทดูดีแต่ไม่ดีจริง

มีนักเรียนที่เค้าอยากให้ยกตัวอย่างกรณีบริษัทที่เหมือนจะดีแต่ไม่ดีจริง  ซึ่งผมเข้าใจว่าเค้ากำลังถามถึงกรณีที่บริษัทตัวเลขผลประกอบการออกมาดีแต่ตัวบริษัทไม่ได้เป็นบริษัทที่เข้มแข็งและดังนั้นในภายหลังผลประกอบการก็แย่ลง  วันนี้เรามาพูดถึงกรณีแบบนั้นกันว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง

โดยภาพรวมแล้ว  การดูตัวเลขผลประกอบการย้อนหลังหลายๆปีว่าทำได้ดีสม่ำเสมอหรือเปล่ามันก็ตัดบริษัทกลุ่มแย่ออกไปได้เยอะแหละ  เพราะบริษัทกลุ่มแย่ส่วนใหญ่ผลประกอบการก็จะแกว่งรุนแรงไม่สม่ำเสมอ  แต่ทีนี้การพึ่งพาตัวเลขผลประกอบการเฉยๆแล้วสรุปบางทีเราก็โดนหลอกได้  จากประสบการณ์ผมแล้วก็จะมีกรณีต่างๆดังต่อไปนี้

1. งบการเงินหลอก

อันนี้ก็ตรงไปตรงมา  นานๆทีมันก็มีกรณีที่บริษัทเค้าจงใจโกหกแต่งงบบัญชี  รายงานรายได้สูงเกินจริงมั่ง  หรือจัดหมวดค่าใช้จ่ายให้ยังไม่รับรู้บ้าง  กรณีพวกนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย  แต่ก็เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้การดูตัวเลขผลประกอบการเฉยๆว่าดูดีแล้วอาจจะผิดพลาดได้

ตัวอย่าง case ก็พวกที่เป็นข่าวดังอยู่ก่อนหน้านี้เช่น  Luckin Coffee, Wirecare, Lookers, ฯลฯ

2. บริษัทที่บังเอิญสินค้าได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง

ในบางครั้งมันก็จะมีบริษัทที่สินค้าจู่ๆคนนิยมขึ้นมาแต่แล้วซักพักความนิยมหายไปคนเลิกเห่อก็จบ  กรณีแบบนี้บริษัทก็ขายดีจริง  แต่ปัญหาคือมันเป็นความนิยมแค่วูบเดียว  ส่วนใหญ่พวกนี้มักจะเจอกับหุ้นที่เป็นแฟชั่น

ตัวอย่างก็เช่น Beauty Community, Crocs, ฯลฯ

3. บริษัทโชคดีอยู่ในธุรกิจที่โตพอดี

กลุ่มนี้เจอบ่อยสุด  ในบางครั้งเราก็จะเจอบริษัทที่ดูทำได้ดีมากต่อเนื่องกันหลายปี  โดยที่จริงๆแล้วก็อาจจะไม่ได้เป็นบริษัทที่เก่งอะไรเป็นพิเศษแค่ว่าโชคดีอยู่ในอุตสาหกรรมหรือสถานการณ์ที่เติบโตพอดีก็เป็นไปได้

ตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นหุ้นที่ทำคอนโดในไทย  ช่วงหลายปีที่ผ่านมาตอนคอนโดบูม  บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ทำคอนโดก็ดูดีหมดน่ะครับ  แน่นอนว่าก็จะมีบางบริษัทที่ทำได้ดีกว่าเพื่อนและเก่งจริงแหละ  และมันก็จะมีที่ไม่ค่อยเก่งปนอยู่ด้วยผมเชื่อ  แต่ในเวลาที่ทุกคนโตเหมือนกันหมดมันก็จะดูไม่ค่อยออกแยกแยะลำบาก

ตัวอย่างเช่นหุ้นกลุ่มธนาคารในจีน  ถ้าเราไปดูงบการเงินย้อนหลังจะพบว่าธนาคารในจีนเกือบทั้งหมดดูทำได้ดีมากทั้งหมด  อันนี้แปลว่าธนาคารในจีนเก่งมากทุกธนาคารเหรอ  ก็ไม่น่าเป็นไปได้ป้ะ  แต่ที่ดูทำได้ดีมากทั้งหมดก็เป็นเพราะประเทศจีนโดยรวมหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเติบโตดีขึ้นน่ะครับ  ถ้าเวลาผ่านไปถึงจุดหนึ่ง  ยังไงก็ต้องมีผู้ชนะหรือแพ้โผล่มาแน่นอน  ต้องมีบางธนาคารที่ทำได้ดีต่อไปและบางธนาคารที่เจ๊ง  แต่ในเวลาที่ประเทศยังโตอย่างเร็วอยู่มันก็จะดูไม่ค่อยออก

หรืออีกตัวอย่างนึงก็เช่น  กลุ่มบริษัทที่ให้บริการขนส่งแบบรถบรรทุกหรือพวก Less-Than-Truckload ในอเมริกาที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของการขายสินค้า online อย่างเช่น Knight-Swift Transportation, Schneider National, Old Dominion Freight Line, ฯลฯ  พวกนี้ก็จะดูผลประกอบการดีหมดเหมือนกันในช่วงที่ผ่านมา  ทั้งที่บริการหลักๆคือการเอารถบรรทุกวิ่งส่งของซึ่งยังไงก็มีการแข่งขันกันสูงและแข่งกันด้วยราคาเป็นหลัก

สรุป

ที่คุยไปนี่ก็คือตัวอย่างกรณีที่เราอาจจะเจอบริษัทที่เหมือนจะดีแต่ไม่ดีจริง  อาจจะแค่โชคดีเฉยๆและอาจจะไม่ได้ยั่งยืนเท่าไหร่  ดังนั้นการตัดสินว่าบริษัทดีแน่นอนจากการแค่ดูงบการเงินเฉยๆมันถึงไม่เวิร์คไง  คนเค้าถึงบอกว่าให้พยายามทำความเข้าใจบริษัทเพื่อจะได้ชัวร์ว่ามันเป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบจริงๆน่ะครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ความแตกต่างระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า”

What's the difference between value and price ?

ความแตกต่างระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า”

สำหรับคนที่ลงทุนสายพื้นฐานหลักการคือเราพยายามซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันใช่มั้ยครับ  ทีนี้ผมพบว่าบางทีก็มีคนสับสนระหว่างคำว่าราคากับมูลค่า  เพราะโดยทั่วไปแล้วคำสองคำนี้มันใช้คล้ายๆกันและหลายครั้งมักจะเป็นเลขเดียวกันด้วย

นึกภาพว่าราคาคือเงินที่เราต้องจ่ายไปเพื่อซื้อของ  ส่วนมูลค่าคือประโยชน์ที่เราได้รับจากของนั้น  ซึ่งสองอย่างนี้มันก็ไม่เหมือนกันถูกมะ  ลองดูตัวอย่างง่ายๆ

สมมติมีคนขาย iPhone 12 ราคา 15,000 บาท (ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากแบบไม่มีอยู่จริงเพราะตอนที่พูดวีดิโอนี้อยู่มันยังไม่ออก)  มันก็จะมีทั้งคนซื้อและคนไม่ซื้อ

  • คนที่เป็นสาวก Apple ก็จะว้าวมาก  ปกติ iPhone รุ่นใหม่เค้าก็พร้อมจะซื้อราคาเกิน 20,000 บาทอยู่แล้ว  เค้ารู้สึกว่า iPhone มันปลอดภัย, คุณภาพสูง, ฯลฯ  ดังนั้นเค้าซื้อทันทีเพราะรู้สึกราคาถูกมาก
  • ส่วนบางคนที่ไม่ชอบ iOS  คือยังไงก็ไม่อยากใช้  รู้สึกว่า App อะไรก็ต้องเสียเงิน, ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นก็ยาก, ฯลฯ  ประโยชน์ที่ได้รับจาก iPhone 12 สำหรับคนกลุ่มนี้อาจจะแค่ 10,000 บาทดังนั้นที่ราคา 15,000 บาทเค้าก็จะไม่ซื้อเพราะรู้สึกว่าแพงอยู่

สิ่งที่อยากให้สังเกตคือ

  1. คนเราจะซื้ออะไรก็ต่อเมื่อเรารู้สึกว่าประโยชน์ที่เราจะได้รับจากของนั้นสูงกว่าราคาเท่านั้น
  2. ของแต่ละอย่างก็มีมูลค่ากับแต่ละคนไม่เท่ากัน
  3. ราคากับมูลค่าเป็นคนละอย่างกัน  แต่มักจะไปในทิศทางเดียวกัน
  4. สำคัญที่สุดเลยคือราคาที่สูงขึ้นหรือต่ำลง  ไม่ได้มีผลต่อมูลค่า

ทีนี้ในบริบทของหุ้น

มูลค่าของหุ้นก็คือประโยชน์ที่เราได้รับจากหุ้นนั้น  พูดง่ายๆก็คือปันผลที่เราจะได้รับในอนาคตกับราคาขายที่เราจะได้รับในอนาคตในกรณีที่เราตัดสินใจจะขาย  ซึ่งพอดีมันไม่เหมือนสินค้าปกติเพราะเราไม่รู้อย่างชัดเจนว่ามันจะเป็นเท่าไหร่  มันมีความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยว  ดังนั้นมูลค่าของหุ้นในสายตาของคนแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน

ส่วนราคาหุ้นก็คือราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อซื้อหุ้นนั้น  ถ้ามองในรายละเอียดราคาหุ้นในขณะหนึ่งเป็นเท่าไหร่ก็มาจากความต้องการซื้อขายของคนในตลาดในเวลานั้น  ซึ่งก็มาจากการตีความมูลค่าของหุ้นเฉลี่ยของคนทั้งตลาดโดยรวม  ถ้าตลาดโดยรวมมองว่าราคาหุ้นตอนนี้ต่ำกว่ามูลค่าก็จะมีคนอยากเข้าไปซื้อหุ้นมากกว่าขายทำให้ราคามันสูงขึ้นมาจนมันพอๆกัน  ถ้าตลาดโดยรวมมองว่าราคาหุ้นตอนนี้สูงกว่ามูลค่าก็จะมีคนอยากขายหุ้นมากกว่าซื้อทำให้ราคามันต่ำลงจนมันพอๆกัน

ทีนี้ที่สายพื้นฐานบอกว่าให้ซื้อหุ้นเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันคือเค้ากำลังสื่อว่าอนาคตจริงๆก็ไม่มีใครรู้  ดังนั้นการตีความมูลค่าขอหุ้นโดยเฉลี่ยของคนทั้งตลาดก็ไม่ได้แปลว่าจะถูกต้อง บางทีคนทั้งตลาดโดยรวมก็ตีความมูลค่าของหุ้นพลาดต่ำกว่าหรือสูงกว่าความเป็นจริงคลาดเคลื่อนไปเยอะได้  ให้เราฉวยโอกาสซื้อในเวลาที่มันคลาดเคลื่อนไปทางต่ำกว่าความเป็นจริงเยอะ  ถ้าทำได้ตามนั้นเราก็จะกำไร  แต่จะทำแบบนั้นได้ผลก็คือเราต้องตีความมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้ถูกต้องและแม่นยำกว่าตลาดโดยรวมเท่านั้นนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses