เราสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของกองทุนได้มั้ย ?

Can we calculate intrinsic value of funds ?

เราสามารถหามูลค่าที่แท้จริงของกองทุนได้มั้ย ?

คำตอบคือไม่ได้ครับ

ต้องเข้าใจว่ากองทุนโดยตัวมันเองมันไม่ได้มีมูลค่าอะไร  มูลค่ามันมาจากทรัพย์สินที่กองทุนถือเท่านั้น  ดังนั้นถ้าเราจะหามูลค่าที่แท้จริงของกองทุนก็แปลว่าเราต้องคำนวณมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นและทรัพย์สินทั้งหมดที่กองทุนถืออยู่  ซึ่งเราไม่รู้  ปกติเราก็จะรู้แค่ 5 หรือ 10 อันดับทรัพย์สินที่กองทุนถือเยอะสุดแค่นั้น

แล้วสมมติต่อให้รู้ว่ากองทุนถืออะไรบ้างทั้งหมดเลย  การไปขยันนั่งคำนวณทั้งหมดก็ไม่มีประโยชน์อะไร  เพราะซักพักกองทุนก็อาจจะเปลี่ยนหุ้นที่ถือขายบางตัวออกซื้อบางตัวเพิ่ม  มันก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงเปลี่ยนไปละ

และเอาจริงๆก็ไม่รู้จะทำไปทำไมด้วยนะ  วัตถุประสงค์หลักของการถือกองทุนรวมคือเพื่อให้คนอื่นตัดสินใจลงทุนแทนเราและเราไม่ต้องเสียเวลาวุ่นวาย  ถ้าเราถึงกับจะต้องพยายามคำนวณอะไรแบบนี้งั้นเราน่าจะลงทุนเองจะดีกว่านะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Tactical Allocation ทำจริงได้ผลมั้ย ?

Does Tactical Allocation work ?

Tactical Allocation ทำจริงได้ผลมั้ย ?

ไอเดียของ tactical allocation คือการขยับเงินลงทุนของเราระหว่างทรัพย์สินลงทุนประเภทต่างๆหรือกลุ่มธุรกิจต่างๆเพื่อฉวยโอกาสจากแนวโน้มของตลาดหรือธุรกิจ  อย่างเช่นถ้าเราเชื่อว่าช่วงนี้ธุรกิจท่องเที่ยวน่าจะฟื้น  เราก็อาจจะถือหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในพอร์ตและลดกลุ่มอื่นลง

โดยคอนเซปต์ tactical allocation ก็ฟังดูดีอยู่  แต่ในทางปฏิบัติเป็นไงมั่ง  พอดีผมไปเจอบทความของ Morningstar สรุปเรื่องนี้ครับ

Morningstar ทำการสังเกตผลตอบแทนโดยรวมของกองทุนที่มีนโยบายทำ tactical allocation ว่าโดยเฉลี่ยแล้วมันทำได้ดีกว่าตลาดมั้ย  สิ่งที่เค้าเจอคือทฤษฎีดูดีนะแต่ทำจริงท่าจะยาก

กองทุนที่ทำ tactical allocation แพ้กองทุนผสมที่รักษาสัดส่วนการลงทุนคงที่ไม่ว่าจะดูเฉลี่ยย้อนหลังกี่ปี  และอันนี้ไม่นับพวกกองที่ปิดไปแล้วด้วย

ในหมู่กองทุนพวกนี้ก็มีบางกองที่ทำได้ดีอยู่  แต่ดูแล้วเป็นส่วนน้อย  โดยภาพรวมการทำ tactical allocation ทำให้ผลตอบแทนห่วยลง

สำหรับคนที่สนใจอ่านตัวบทความนี้  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://www.morningstar.com/articles/1058700/tactical-asset-allocation-dont-try-this-at-home

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ETF ต่างประเทศ ซื้อได้มั้ย ซื้อยังไง มีอะไรบ้าง ?

Buy ETF abroad

ETF ต่างประเทศ ซื้อได้มั้ย ซื้อยังไง มีอะไรบ้าง ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับการซื้อกองทุนในต่างประเทศ  ตอบไปทีละเรื่อง

ใช้บัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศซื้อกองทุนในต่างประเทศได้มั้ย ?

ซื้อ ETF ได้ครับ  พวกที่ไม่ใช่ ETF ที่เวลาซื้อต้องซื้อจากบริษัทจัดการกองทุนอันนั้นไม่ได้  แต่เนื่องจาก ETF ในต่างประเทศอย่างอเมริกาหรือยุโรปได้รับความนิยมกว่าในไทยเยอะ  ETF มีเยอะและหลากหลายมากดังนั้นซื้อแค่ ETF ก็ควรจะพอละ

 

เวลาซื้อทำยังไง ?

สั่งซื้อเหมือนหุ้นธรรมดาเนี่ยครับ

 

ค่าธรรมเนียมต่างๆแพงมั้ย  มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

อันนี้ไม่ทราบเหมือนกัน  น่าจะแล้วแต่กองทุนนะ  สนใจกองทุนไหนคงต้องไปหาเอาเอง

 

ETF ในต่างประเทศมีอะไรบ้าง ?

คือมีเยอะมาก  ทั้งกองที่ลงทุนแบบ index หรือตามธีมอะไรซักอย่าง  มีทั้ง passive, active  อยากได้อะไรก็ลองหาดูครับ  Google ชื่อตลาดหุ้นประเทศที่เราจะไปลงทุนแล้วก็คำว่า ETF มันก็น่าจะหาได้อยู่

ใน US ก็จะมีของ Blackrock ที่ดังและใหญ่สุดแล้ว  ETF เค้าจะชื่อ iShares  ประเทศอื่นผมไม่รู้เหมือนกันแต่ชัวร์ว่าในยุโรปก็มีเยอะมาก

 

เทียบกับซื้อกองทุนในไทยที่ไปเป็น feeder fund ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศอีกที  อันไหนดีกว่ากัน ?

อันนี้ไม่รู้เลยครับ  แต่เข้าใจว่ากองทุนในไทยที่เป็น feeder fund อาจจะไปลงทุนในกองทุนที่ไม่ใช่ ETF นะ  ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องดีกว่าหรือแย่กว่า  การตัดสินใจคงขึ้นกับว่าเราอยากจะลงทุนในกองทุนอะไรเป็นพิเศษมั้ยมากกว่า

 

มีวิธีการเลือกยังไง ?

ผมว่าก็เหมือนเลือกกองทุนของไทยเนี่ยแหละ  คร่าวๆก็ดูว่าลงทุนในอะไรตรงกับที่เราต้องการมั้ย  ค่าธรรมเนียมเป็นยังไง  ที่ผ่านมาผลการดำเนินงานดีมั้ย

โดยรวมก็มองว่าถ้าไม่คิดอะไรมากก็ซื้อ ETF ที่ลงทุนแบบ passive ตาม index ไปเลยก็ได้  ผมเข้าใจว่าคนที่จะซื้อ ETF ในต่างประเทศก็คือไม่ได้มีในใจว่าจะลงทุนในหุ้นอะไรเป็นพิเศษอยู่แล้วนี่  ถ้าอย่างนั้นก็ลงทุนกระจายตามดัชนีไปเลยมั้ย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กองทุนใหญ่หรือกองทุนเล็กดีกว่ากัน ?

The Largest Funds are the Safest Bets

กองทุนใหญ่หรือกองทุนเล็กดีกว่ากัน ?

The Largest Funds are the Safest Bets

ผมมีความเข้าใจว่ากองทุนขนาดเล็กน่าจะบริหารง่ายกว่ากองทุนขนาดใหญ่มาตลอด  ถ้าไม่นับเรื่องค่าธรรมเนียมที่ปกติกองทุนใหญ่จะได้เปรียบแล้ว  ผมก็นึกภาพว่าการที่ขนาดของเงินที่ต้องบริหารมันใหญ่  มันก็จะทำให้โอกาสที่ผลตอบแทนจะทำได้ดีทำได้ยากกว่าเพราะหุ้นที่ดีบางบริษัทมันอาจจะขนาดไม่ใหญ่และดังนั้นถ้าเราเงินเยอะมากการซื้อหุ้นพวกนี้ก็จะส่งผลต่อผลตอบแทนรวมของพอร์ตไม่เยอะ  เงินที่ต้องบริหารก้อนใหญ่ก็จะลงทุนได้แต่พวกบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น  แล้วมันก็จะมีกองทุนบางกองที่ผมรู้ว่าเค้าปิดไม่รับเงินลงทุนเพิ่มเพราะเค้ามองว่าถ้าเงินเยอะเกินกองทุนจะไม่สามารถลงทุนด้วยกลยุทธ์เดิมได้  และดังนั้นผมก็เข้าใจมาตลอดว่ากองทุนขนาดเล็กกว่าควรจะได้เปรียบและทำได้ดีกว่ากองทุนขนาดใหญ่สิ

แต่ปรากฎว่ามีคนของ Morningstar ที่เค้าลองย้อนไปดูตั้งแต่ปี 2001 แล้วเอากองทุนใน US แบ่งตามประเภทแล้วก็เอา 20 กองที่ใหญ่สุดของแต่ละประเภทเทียบกันกับที่เหลือว่าต่างกันยังไงบ้าง  สิ่งที่เค้าพบคือ

 

1. กองทุนขนาดใหญ่รอดมากกว่ากองทุนขนาดเล็ก

รอดในที่นี้คือไม่ถูกปิดกองไปหรือไม่ถูกรวมกับกองอื่นไป  กองใหญ่รอด 86%  กองอื่นๆรอด 43% เท่านั้น

ซึ่งอันนี้ผมก็ว่าไม่น่าแปลกใจเพราะกองทุนที่ขนาดใหญ่ต่อให้ทำได้ไม่ดีอยู่ช่วงนึง  คนหนีเอาเงินออกก็ยังอาจจะรอดได้เพราะเงินลงทุนเยอะพอที่จะคุ้มก็เลยไม่ถึงขั้นปิดกอง  ในขณะที่ขนาดเล็กถ้าผลงานห่วยคนหนีก็มีโอกาสปิดกองมากกว่า  ดูปกติ

 

2. ผลตอบแทนดีกว่า

อันนี้เค้าวัดผลตอบแทนเฉพาะกองที่รอดเท่านั้น  กองที่ไม่รอดปกติก็น่าจะห่วย  การที่ตัดกองที่ไม่รอดออกก็ทำให้กองอื่นๆที่เหลือที่มีกองที่ไม่รอดเยอะผลตอบแทนน่าจะได้เปรียบ  ในขณะที่กองใหญ่อาจจะเสียเปรียบเพราะอาจจะมีกองที่จริงๆผลตอบแทนห่วยแต่รอดมาเพราะขนาดปนอยู่ถ่วงผลตอบแทน  ตัวเลขที่วัดคือเค้าวัดว่าผลตอบแทนเทียบกับ benchmark เป็นยังไง  ตัวเลข 100 คือค่ากลางของผลตอบแทนกองทุนได้เท่าๆ benchmark พอดี

แต่ผลคือกองใหญ่ก็ชนะอยู่ดี  ค่ากลางของกองใหญ่ outperform ตัว benchmark อยู่ 6% ในขณะที่กองอื่นๆที่เหลือแพ้อยู่ 6%

หนึ่งในเหตุผลที่ชนะก็คือค่าธรรมเนียมต่ำกว่า  ซึ่งอันนี้เราคาดไว้อยู่แล้ว  แต่ผลของค่าธรรมเนียมต่ำกว่าอธิบายความแตกต่างได้ไม่หมด  นั่นแปลว่าต้องมีเหตุผลอื่นที่ทำให้กองใหญ่ผลตอบแทนดีกว่ากองอื่นๆที่เหลือ  ซึ่งคนของ Morningstar เดาว่าอาจจะเรื่องคุณภาพของผู้บริหารกองหรือเปล่า  เพราะกองใหญ่จำนวนมากได้ rating สูงจาก Morningstar

 

3. กองใหญ่พลาดน้อยกว่ากองอื่นๆที่เหลือ

อันนี้เค้าสังเกตว่ากองใหญ่อาจจะไม่ค่อยกำไรหวือหวา  แต่ดูเหมือนกองใหญ่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดแบบเละเทะ

จาก 120 กองใหญ่เหลือรอดอยู่ 103 กอง  ใน 103 กองนั้นมีแค่ 2 กองที่ปัจจุบันได้รับ rating 1 ดาวจาก Morningstar  ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเพราะกอง 1 ดาวคิดเป็น 10% ของกองทุนทั้งหมด  และในหมู่ 103 กองก็มีกองที่ได้รับ rating 5 ดาวเยอะกว่าปกติด้วย

 

4. ETF ก็เป็นเหมือนกัน

ETF มาที่หลังกองทุนรวมและดังนั้นเค้าเลยเริ่มทำแบบเดียวกันแต่ดูเริ่มจากปี 2011 แทน  แล้วก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน

ETF ใหญ่รอดมาถึงวันนี้ทุกกอง  ผลตอบแทนดีกว่า ETF อื่นๆที่เหลือ  และได้รับ rating 5 ดาวเยอะกว่า 1 ดาวน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

 

ผิดคาดผมอยู่เหมือนกัน  สำหรับคนที่สนใจอ่านบทความเรื่องนี้ของ Morningstar ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://www.morningstar.com/articles/1038181/the-largest-funds-are-the-safest-bets

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะเริ่มลงทุนในหุ้น ควรลงทุนด้วยตัวเอง หรือผ่านกองทุนรวมดี ?

Mutual fund or Decide on your own ?


จะเริ่มลงทุนในหุ้น ควรลงทุนด้วยตัวเอง หรือผ่านกองทุนรวมดี ?

อันนี้คือเราพูดถึงกองทุนหุ้นและไม่พูดถึงสิทธิในการลดหย่อนภาษีนะ ผมว่าระหว่างสองทางเลือกนี้มันก็มีข้อดีข้อเสียแล้วแต่ความชอบและสถานการณ์แต่ละคน จะให้บอกว่าอันไหนดีกว่าอย่างชัดเจนคงยาก ผมแจกแจงประเด็นความได้เปรียบของแต่ละทางเลือกให้ฟังคร่าวๆก่อนละกัน

กองทุนได้เปรียบเรื่อง

  1. การกระจายความเสี่ยงได้ง่ายด้วยเงินที่น้อย
  2. หนึ่งกองทุนมันซื้อหุ้นหลากหลาย ปกติเค้าจะมีกำหนดไม่ให้ถือหุ้นใดหุ้นหนึ่งมากเกินหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกิน ดังนั้นมันเป็นการกระจายความเสี่ยงโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว สมมติเราเลือกหุ้นเองเราก็กระจายความเสี่ยงเองได้แหละโดยการไปเลือกซื้อหุ้นหลายตัว แต่มันก็วุ่นวายกว่าและเพื่อให้ได้การกระจายเท่าๆกองทุนก็ต้องใช้เงินเยอะกว่าเพราะปกติซื้อหุ้นมันซื้อเป็น lot ละ 100 หุ้น

  3. สบายสุดๆ
  4. ซื้อกองทุนคือการให้คนอื่นบริหารเงินลงทุนให้เรา ดังนั้นมันมาพร้อมความสะดวกสบายสุดๆแบบที่เราไม่ต้องดูเลย ในขณะที่เลือกหุ้นด้วยตัวเองต่อให้ทำแบบ DCA เลย ยังไงมันก็ต้องมีการตัดสินใจว่าจะ DCA หุ้นอะไรและยังไงก็ต้องคอยตามผลประกอบการบริษัทที่เราเลือกนั้น

 

ลงทุนในหุ้นเองได้เปรียบเรื่อง

  1. ตัดสินใจเองได้
  2. ตัดสินใจเองได้ก็มีความยืดหยุ่นมากกว่า บางคนอาจจะต้องการซื้อหุ้นเพื่อให้ได้ปันผลสูงระดับหนึ่งและสม่ำเสมอ ถ้าซื้อกองทุนมันก็อาจจะกระจายเกินไปและเลือกไม่ได้ว่าจะ dividend yield กี่ %

  3. คาดหวังผลตอบแทนได้ต่างจากค่าเฉลี่ย
  4. ถ้าเราต้องการผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยก็คงต้องลงทุนเองแหละ คือซื้อกองทุนรวมก็อาจจะดีกว่าค่าเฉลี่ยได้นะ แต่นั่นมันคือเราแค่โชคดีเฉยๆเพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ากองทุนไหนจะทำได้ดี ถ้าจะเอาแบบดีกว่าค่าเฉลี่ยแบบไม่ฟลุคก็คือต้องทำเอง

    แต่ผมย้ำนิดนึง ลงทุนเองนี่เราคาดหวังผลตอบแทนที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ย สังเกตตรงคำว่าต่างนะ ต่างคืออาจจะดีกว่าค่าเฉลี่ยหรือแย่กว่าก็ได้ มันขึ้นอยู่กับฝีมือเรา อย่าไปเข้าใจว่าลงทุนเองแล้วจะดีกว่าค่าเฉลี่ย

  5. ไม่โดนค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ
  6. กองทุนมีค่าใช้จ่าย อย่างต่ำๆที่ผมเคยเห็นเป็นกองทุนดัชนี SET50 ค่าธรรมเนียมประมาณ 0.6% ต่อปี ลองนึกดูสมมติปีนึงกองทุนทำผลตอบแทนได้ 5% ค่าธรรมเนียมนี่ก็กินเข้าไปในผลตอบแทนที่ทำได้เกิน 10% ละนะ (0.6%/5% = 12%)

    คิดง่ายๆถ้าสมมติเราฝีมือทำได้เท่ากองทุนรวมเลย ผลลัพธ์สุดท้ายเราจะออกมาดีกว่าเพราะลงทุนเองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

 

ช่วยตัดสินใจ

ฟังถึงตรงนี้ บางคนก็จะยังมีความลังเลอยู่ดีว่าเอาไงดีวะ ดังนั้นผมช่วยตัดสินใจโดยการแยกประเด็นสำคัญที่เราต้องพิจารณาตัวเองออกมาทำให้ตัดตัวเลือกออกง่ายขึ้นครับ

  1. คาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือมีโจทย์ในการซื้ออะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
  2. ถ้าคาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ย อันนี้แปลว่าคงต้องเลือกลงทุนด้วยตัวเองละ จะด้วยวิธีการแบบไหน DCA หรือไม่ก็แล้วแต่

    หรือถ้ามีโจทย์การซื้อหุ้นอะไรที่เจาะจง ชอบบริษัทอะไรเป็นพิเศษ พวกนี้ก็ต้องลงทุนด้วยตัวเองละ จะด้วย DCA หรือเลือกซื้อด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่

  3. มีเวลาศึกษาหรือไม่มี ?
  4. ถ้ามั่นใจว่าไม่มีเวลามาศึกษาอ่านรายละเอียดบริษัท, ทำการประมาณการผลตอบแทน, ติดตามสถาวะอุตสาหกรรมการแข่งขัน, ฯลฯ อย่างนั้นแปลว่าทางเลือกตัดออกเหลือแค่เลือกหุ้นด้วยตัวเองแต่ลงทุนแบบซื้อเฉลี่ยด้วยเงินเท่ากันสม่ำเสมอไปเลย (DCA)

หวังว่าจะตัดสินใจง่ายขึ้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ

https://www.adisonc.com/courses