วิธีคำนวนดอกเบี้ยทบต้น  และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Math 1:  The Formula for Compound Interest Rate

สวัสดีครับ  หลังจากเราเข้าใจแล้วว่าดอกเบี้ยทบต้นคืออะไร  ทีนี้ต่อไปที่ต้องรู้คือแล้วเราจะคำนวนหามันอย่างไร  บางคนถามเคยถามผมว่าต้องคำนวนด้วยเหรอ  ไม่ต้องรู้ได้มั้ยไม่ชอบสูตรไม่ชอบเลข  กดเครื่องคิดเลขเอาได้มั้ย  ผมจะบอกว่าคุณใจเย็นๆมันไม่ยากเกินคุณแน่นอน  ถ้าคุณคำนวนไม่ได้หรือไม่เข้าใจเรื่องนี้นะ  เสียเปรียบโคตร  ผมยกตัวอย่างนะครับ

สมมติมีคนสองคนมาขอยืมเงินคุณน่ะ  ทั้งสองคนอยากยืมคนละ 1,000,000 บาท  แต่คุณมีเงินล้านเดียว  คุณจะให้ใคร

คนแรกบอก  ถ้าให้เค้ายืมนะ  อีก 4 ปี  เค้าจะคืนคุณเป็นเงิน 1,356,400 บาท

คนที่สองบอก  ถ้าให้เค้ายืมนะ  อีก 6 ปี  เค้าจะคืนคุณเป็นเงิน 1,500,730 บาท

มึนมั้ยครับ  ถ้าไม่มีวิธีเปรียบเทียบมันจะความรู้สึกแบบนี้แหละครับ  คุณอาจเผลอไปเลือกคนที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าก็ได้  สุดท้ายการลงทุนถ้ามันต้องมีหน่วยกลางครับ  ซึ่งปกติแล้วคนเค้าจะใช้อัตราดอกเบี้ยทบต้นต่อปีเป็นตัวหลักครับ  ต่อไปนี้ผมจะสอนคุณทำเรื่องนี้  วันหลังจะไม่มีใครมาทำคุณงงได้อีก  ผมรู้เพราะสมัยเรียนเคยงงมาก่อนครับ

ว่าแล้วตั้งใจอ่านดีๆครับ  อย่าตกใจกับเลข  ค่อยๆอ่าน  ต่อจากนี้เราจะใช้ตัวแปรตามความหมายนี้

PV  =  Present value

หรือมูลค่าปัจจุบัน  ว่าง่ายๆคือเงินตอนเริ่มต้นนะ

FV  =  Future value

หรือมูลค่าในอนาคต  ซึ่งคือเงินตอนท้ายที่เราจะพิจารณา

n  =  Number of period

หรือจำนวนหน่วยเวลา  (ปี, เดือน, วัน, รายสามเดือน  หรืออะไรก็แล้วแต่)

r  =  Compound rate 

หรืออัตราดอกเบี้ยทบต้น  (หน่วยจะเป็น  เปอร์เซนต์ต่อหนึ่งหน่วยเวลา)

สมมติ  เราไปฝากเงิน 100 บาท (PV)  ดอกเบี้ยธนาคารอยู่ที่ 3% (r)  หนึ่งปีผ่านไปเราจะได้ดอกเบี้ย 3 บาทครับ  คือมาจากเอา 3% ไปคูณกับเงินต้น 100 บาทได้เป็นดอกเบี้ย  เมื่อเอาดอกเบี้ยที่ได้ไปรวมกับเงินต้นรวมเงินในบัญชีเป็น 103 บาท

ตอนนี้                                  ปีที่ 1

เงินต้นจากปีก่อน + ดอกเบี้ยที่ได้ในปีนั้น

100               –>                100 + (3% × 100)

–>                100 + (0.03 × 100)

–>                100 (1 + 0.03)

จากข้างบนจะเห็นว่า  เมื่อผ่านไปหนึ่งปี  เงินจะโตเท่าไหร่หาได้จากการเอา  เงินต้น x (1 + อัตราดอกเบี้ยทบต้น)

แล้วถ้าผ่านไปอีก 1 ปีล่ะ

ปีที่ 1                                                                   ปีที่ 2

เงินต้นจ่ากปีก่อน + ดอกเบี้ยที่ได้ในปีนั้น

[100 (1 + 0.03)]                     –>                    [100 (1 + 0.03)] + (3% × [100 (1 + 0.03)])

–>                    [100 (1 + 0.03)] + (0.03 × [100 (1 + 0.03)])

–>                    [100 (1 + 0.03)] (1 + 0.03)

–>                    100 (1 + 0.03)2

 

คุณจะเห็นได้ว่า  ถ้าคุณจะหาเงินในอนาคตเมื่อผ่านไป 1 ปี  จะได้เท่ากับ   100 (1 + 0.03)

คุณจะเห็นได้ว่า  ถ้าคุณจะหาเงินในอนาคตเมื่อผ่านไป 2 ปี  จะได้เท่ากับ   100 (1 + 0.03)2

คุณจะเห็นได้ว่า  ถ้าคุณจะหาเงินในอนาคตเมื่อผ่านไป 3 ปี  จะได้เท่ากับ   100 (1 + 0.03)3

จึงเป็นที่มาสูตรว่า

เงินอนาคต  =  เงินต้น (1 + อัตราดอกเบี้ยทบต้น)จำนวนหน่วยเวลา

FV  =  PV (1 + r)n

แล้วเราก็ลองมาใช้กับปัญหาตอนแรกที่ผมให้เลือกว่าจะให้ใครยืมเงิน  คุณจะตัดสินใจเลือกโดยหาว่า r ของการให้สองคนนี้ยืมเงิน  คนไหนให้ r มากกว่ากัน

คนแรกบอก  ถ้าให้เค้ายืม 1,000,000 บาทนะ  อีก 4 ปี  เค้าจะคืนคุณเป็นเงิน 1,356,400 บาท

1,356,400  =  1,000,000 (1 + r)4

r  =  number

ใช้ excel หรืออะไรหาค่าเอาครับ  จะได้ r = 7.92% ต่อปี

 

คนที่สองบอก  ถ้าให้เค้ายืม 1,000,000 บาทนะ  อีก 6 ปี  เค้าจะคืนคุณเป็นเงิน 1,500,730 บาท

1,500,730  =  1,000,000 (1 + r)6

r  =                            number1

ใช้ excel หรืออะไรหาค่าเอาครับ  จะได้ r = 7% ต่อปี

 

จะเห็นว่าลงทุนกับคนแรกจริงๆได้เยอะกว่าครับ

 

และคุณก็สามารถเอาสูตรนี้ไปหาอย่างอื่นได้เช่น  เอาไปหาราคาเป้าหมายที่คุณจะซื้อหุ้นครับ  สมมติถ้าคุณรู้ว่าอนาคตหุ้นตัวนี้อีก 5 ปีน่าจะมีราคาประมาณ 150 บาท  คุณวางแผนอยากได้ผลตอบแทนต่อปีซัก 10%  คุณก็แค่แทนค่าหา PV  ว่าคุณต้องซื้อที่ราคาอะไรถึงจะได้ 10% ต่อปีเป็นระยะเวลา 5 ปี

FV  =  PV (1 + r)n

150  =  PV (1 + 0.1)5

PV  =  number2

 

แก้สมการหา PV กรณีนี้ได้ 93.12 บาท

แปลว่า  ถ้าคุณคิดว่าหุ้นนี้จะราคา 150 บาทใน 5 ปีข้างหน้า  แล้วคุณอยากได้ 10% ต่อปี  แปลว่าคุณต้องซื้อตอนนี้ที่ 93.12 บาทครับ

มาถึงตอนนี้คุณก็จะทราบที่มาของสูตรคำนวนหา PV, FV, n หรือ r ละครับ  แน่นอนว่าคุณสามารถใช้เครื่องคิดเลขไฟแนนซ์ก็จะทำได้ง่ายไม่ต้องตั้งสมการอะไร  แต่ผมอยากให้คุณเข้าใจเอาไว้  เพราะอนาคตถ้าคุณไปคำนวนหาผลตอบแทนพวกกรมธรรม์ประกันชีวิต  หรืออะไรพวกนี้  มันต้องใช้ความเข้าใจพื้นฐานที่ดีครับไม่งั้นทำไม่ได้  ขอบคุณที่ตั้งใจอ่านครับ